บ้านสวนขวัญข้าว (๑)


หลังจากได้ใคร่ครวญถึงการดำเนินชีวิตและน้อมนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณา พบว่า ผู้เขียนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ๓ อย่างในชีวิต ได้แก่ ๑) แบ่งเวลาออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพตนเอง เพราะเกิน ๔๐ แล้ว หากป่วย จะลำบากครอบครัวและคนที่รักเรา เริ่มมาเดือนกว่าสัปดาห์ละสามวัน ๒) สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนา EF (Executive Function) ให้กับลูกจนกว่าพวกเขาจะเรียนจบประถม (ผมเคยเขียนถึง EF ไว้ที่นี่) และ ๓) เร่งปฏิธรรมเจริญสติ "มีสติ รู้กาย รู้ใจ ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง" ไม่รู้ว่าจะตายเมื่อใด ชีวิตนี้ช่างเปราะบาง ... แน่นอนว่าต้องไม่ทิ้งอุดมการณ์ด้านการศึกษาและสืบสานพระราชปณิธานต่อไปอย่างเต็มโอกาส 

คุณยายและคุณตาของหลานท่านเห็นด้วยและช่วยสนับสนุนงบประมาณทั้งหมดอย่างเต็มที่ จนได้สถานที่พอเหมาะขนาด ๒ ไร่เศษ เป็นที่นาโคก น้ำท่วมไม่ถึง ห่างจากคลองน้ำธรรมชาติประมาณ ๕๐๐ เมตร มีน้ำซึมใต้ดินที่ระดับ ๓ เมตร ลักษณฺะดินเป็นดินทรายร่วนซุย ผู้เขียนออกแบบแผนผังของการสร้างสถานที่สำหรับพัฒนา EF ด้วยธรรมชาติ ดังรูป 

ผังนี้เกิดจากการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ออกแบบตามเหตุผลและเป้าหมายดังที่กล่าวไปข้างต้น น้อมนำเอาตัวอย่างเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ได้คำนวณสัดส่วนแบบ ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ เช่น จะเห็นว่า แปลงนาขนาดเล็ก เพราะคำนวณไว้เพียงจะใช้สาธิตและพาลูกลงดำนำเกี่ยวด้วยมือ จึงเหลือพื้นที่ไว้เพียงทำไหวในเวลาว่างจากงานหลักเท่านั้น (ใช้หลักพอประมาณกับศักยภาพ) 

ขณะนี้การเตรียมพื้นที่เสร็จเรียบร้อยไปแล้วตามเป้าหมาย ขอบันทึกภาพด้านล่างนี้ไว้เป็น "Before" รอเปรียบเทียบกับ "After" ในอีกสิบปีข้างหน้า 


ขั้นตอนต่อไปคือ ทำให้ดินชุมชื้นและรักษาหน้าดินไม่ให้พังทะลายโดยใช้กล้วยและหญ้าแฝก พร้อมๆ กับเริ่มปลูกต้นไม้แบบ ๗ ชั้น ที่ได้ไปเรียนรู้มาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อเดือนที่ผ่านมา 

ตั้งใจว่าจะค่อย ๆ ทำไปให้ได้ครบทุกชั้น ... ท่านผู้อ่านมีประสบการณ์จะแนะนำมือใหม่ จักขอบพระคุณมากครับ 

หมายเลขบันทึก: 644799เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2018 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2018 04:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาเชียร์

อยากให้ปลูกให้หลากหลายคละกัน

พยายามปลูกต้นไม้ที่ทนต่อภาคอีสานครับ

รอดูต่อครับ

ชอบ ๆ แนวคิดปลูกต้นไม้แบบ ๗ ชั้น  เดี๋ยวดูแลกลุ่มต้นไม้ชั้นต่าง ๆ ที่พอทำได้  ไม่ได้ปรับปรุงดินให้ดีพอก่อนปลูกค่ะ  ปลูกไป ๆ ไม่งามเท่าไหร่  ตอนนี้ที่บ้านไม้ชายทุ่ง  ปลูกไปปรับปรุงดินไปเรื่อย ๆ ค่ะ (ดินถม)  ปลูกแบบตามใจฉันและญาติ ๆ  แต่ใช้แนวคิดปลูกคละระดับต่าง ๆ กันอยู่นะคะ  ที่มีแล้ว 

(๑) ยางนา  ประดู่  สัก  มะค่า  จิกน้ำ

(๒) มะม่วง  มะพร้าว  ขนุน  ส้มโอ  มะไฟ  มะปราง  มะยงชิด

(๓) มะนาว  มะกรูด  มะละกอ  กล้วย  มะเขือพวง  มะตูมซาอุ

(๔) กระเพา  ตะไคร้  ชะพลู  หอม  พริก  ว่านหางจระเข้  เตย

(๕) แต่ว่าพืชเกาะเกี่ยวมีมากหน้าฝน  หน้านี้ไม่มีค่ะ  เหลือแต่อัญชันนิดหน่อยที่รดน้ำได้  ยังพอมีดอกให้เก็บกินบ้างค่ะ

(๖) ขิง  ข่า  กระชาย  ตอนนี้ใบแห้ง  แต่ไม่ตายหรอกค่ะ  รดน้ำเลี้ยงไว้  มันเทศก็ยังมียอดใบเขียวทอดเครือยาวไป  เคยปลูกเผือก  เลี้ยงยากจัง  ไม่ออกหัวค่ะ  มันสำปะหลังปีแรก ๆ ยิ่งเยอะค่ะ  ปลูกก่อนเพื่อนเป็นพืชพี่เลี้ยงบังเงาให้ต้นอื่น ๆ  เวลาลงหัวดินจะซุยไม่แน่น  เพราะรากชอนไชไป  แล้วพอลงหัวขยายใหญ่ดินจะไม่แน่น  ดีต่อรากต้นไม้หลักที่เราปลูกไว้ก่อนค่ะ

หญ้าแฝกพี่เอามาปลูกแทรกตามต้นไม้ยืนต้นแทบทุกต้น  ให้รากชอนไชดินไม่แน่นค่ะ

(๗) ไม่ค่อยมี  ปลูกบัวในกระถาง  ไม่มีสระน้ำแบบบ้านอาจารย์ค่ะ  หน้าฝนจึงจะมีผักบุ้งขึ้นตรงที่ดินชื้น ๆ บ้างค่ะ

รอชื่นชมที่อาจารย์มีโอกาสและต้นทุนพอทำตามเกษตรทฤษฎีใหม่นะคะ


อีกต้นปลูกง่ายมาก  ต้นหม่อนค่ะ  ปลูกเป็นพี่เลี้ยงให้ร่มเงาต้นอื่น  แต่ตอนนี้ต้นไม้หลักที่เราต้องการสูง  เริ่มได้ตัดต้นหม่อนละค่ะ

-สวัสดีครับ

-ตามมาอ่านบ้านสวนขวัญข้าว 1

-จุดเริ่มต้นแบบนี้อีกไม่กี่ปีก็เห็นผลครับ

-ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท