โครงการอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ ประจำปี 2561


สวัสดีครับชาวบล็อก ,

         ผมได้รับเกียรติจากการเคหะชาติได้ให้เกียรติ Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จัดโครงการอบรมหลักสูตร  การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 16 มีนาคม 2561 ณ ที่ทำการเคหะแห่งชาติ โดยได้มีกำหนดการเปิดโครงการฯ (Kick Off) ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561

         เพื่อเป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผมจึงเปิด Blog นี้เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ครับ 


จีระ หงส์ลดารมภ์  

สรุปการสัมมนาเปิดโครงการ (Kick Off)

โครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” (Executive Development Program for Top Team) ประจำปี 2561 

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          มีความภูมิใจที่ได้มาทำการเคหะอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 โดยการจัดใน  2 ครั้งแรกอาจนานหน่อย  ที่มาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม และเมื่อได้รับโอกาสในครั้งที่ 4 จะทำให้งานครั้งนี้ดีกว่าเดิม

          คนการเคหะ พูดถึงดินแดง ชุมชน และอาเซียนมากขึ้น และเป็นองค์กรที่เข้ากับแนวทาง 3 V’s ของ ดร.จีระ คือ Value Added , Value Creation และ Value Diversity

          ทุกครั้งที่มาจากการเคหะฯ ได้รับความรู้อย่างมหาศาล หลายท่านที่จบ Class room แล้วกำลังทำ Non-Classroom  ก็อย่าลืมบรรยากาศทางด้านนี้

แนวทาง

          1. ค้นหาตัวเองก่อนว่าอยู่ตรงไหน มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร พยายามใช้จุดแข็งให้มากที่สุด

          2. เรียนเป็นทีม

3. ต้องรู้วิธีการเรียนคือ Learning how to learn หรือเรียกว่า Process

- ทุกอย่างที่ทำ ทำโดยความขับเคลื่อนของสังคม พยายามหาความรู้ใหม่ ๆ

- การเรียนยุคใหม่ ไม่ต้องลอก แต่พยายามต่อยอดให้ได้คือการเอาประสบการณ์มาปะทะความคิดที่มีอยู่ และสร้างให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ Ideaใหม่ ๆ เกิดขึ้น และเราจะมีความภาคภูมิใจ และให้เราไป Apply

- การเคหะต้องเข้าใจเรื่องมิติสังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง และต้องเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้วย

- หลักสูตรนี้ต้องเน้น Wisdom อย่างที่นี่เริ่มจาก Data สู่ Information สู่ Knowledge และเรียนรู้เพื่อหา Wisdom ร่วมกัน แสดงว่าหลักสูตรนี้เห็นถึงพลังของการทำงานร่วมกัน ต้องสามารถ Turn idea into action

- ยุคต่อไปคือยุคประชาธิปไตย ต้องจัดการกับอนาคตให้ได้

- การเคหะฯ ต้องลงทุนเรื่องคนอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่องของคุณยังไม่พอ แต่ละรุ่นยังไม่ได้สำเร็จทุกเรื่อง ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอดเวลา

- ในรุ่นนี้จึงอยากให้ทุกคนรวมพลังกัน มีอะไรที่เราจะร่วมมือกันนั้นมีความยินดี เพราะเวลาผ่านไปเร็วมาก

- การเรียนที่การเคหะฯเป็นเสมือนการมาแชร์กัน และรู้สึกดีใจมากที่การเคหะฯ บอกว่าทำเรื่องดินแดงสำเร็จ

หลักสูตรนี้อยู่ที่แรงบันดาลใจในที่อยากเรียน และความเป็นเลิศจะออกมา สิ่งสำคัญต้องปรับ Mindset ว่าสิ่งที่ได้จากการเรียนนั้นเราต้องทำให้ได้ อย่างการปรับ Mindset ในห้องนี้ไม่ต้องปรับมาก แต่สิ่งหนึ่งคือการรู้จักการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองต่อไป อย่างการเคหะฯ เมื่อเจออุปสรรคอาจไม่ต้องพูดมากแต่จะรวมตัวแก้ไขอย่างไร อย่างกรณีศึกษาดินแดง กระบวนการ Chira Way สามารถนำมา Apply ได้

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          จากโครงการนี้เป็นลักษณะการบริหารได้รับการวางแผนร่วมกัน คือการเตรียมความพร้อมในการสืบทอดตำแหน่งคือทั้งโค้ชรายบุคคล และ Classroom ซึ่งเป็นกระบวนการและวิธีการ ศักยภาพในแนวตรงอยู่ในตัวทุกท่านอยู่แล้ว แต่หลายครั้งไม่ได้รับการกระตุ้น แม้คนเก่งมากแต่บารมีไม่ถึงก็อาจไม่มีคนฟังก็ได้

          ยกตัวอย่างเช่น กระทรวงเกษตรฯ ทำนวัตกรรมอยู่แล้วแต่ไม่ทราบว่าที่เป็นอยู่คือนวัตกรรม นวัตกรรมแบบเดิมเกิดขึ้นแล้วที่ทำให้เกิดความพร้อมใจ เช่นเดียวกับการเคหะฯ กรณีดินแดง ถ้าทำให้แฟลตดินแดงเดิมเป็นอาคารแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าและการจัดการแนวใหม่เข้าไป เช่นการออกแบบบ้านผู้สูงอายุ เป็นลักษณะการสร้างนวัตกรรมรุ่นต่อรุ่น ซึ่งเป็นกระบวนการแบบหนึ่งใน Chira Way

          2R’s – Reality คือความจริง อาจารย์จีระจะสอนให้สังเคราะห์เป็น ไม่ใช่มาแชร์อย่างเดียว

          นอกเหนือจากวิสัยทัศน์การเคหะฯ เทคโนโลยีต้องใช้ นวัตกรรมต้องสร้าง และสร้างความยั่งยืนแบบศาสตร์พระราชาที่จะใส่เข้ามา

          การออกแบบหลักสูตร ทำด้วยความเข้าใจ เป็นการออกแบบทั้งส่วนการเคหะฯ และ Chira Academy ด้วย ยกตัวอย่างโครงการฯ

          กลุ่ม 1 HAPPY  WORK TO HAPPY WORKPLACE

          กลุ่มที่ 2 โครงการ “NHA Digital 4.0”  “การนำระบบ Digital มาใช้ในการพัฒนางานของการเคหะแห่งชาติ” ภายใต้การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของการเคหะแห่งชาติ

          กลุ่มที่ 3 โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง : ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรมคุณภาพชีวิต 4.0 พ.ศ.2560 – 2564

          กลุ่มที่ 4 โครงการยกระดับหน่วยงานบริหารชุมชนในพื้นที่ เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรรองรับแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี ของการเคหะแห่งชาติ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ดร.จีระ อยากเสริมในการใส่เข้ามาด้วยคือเรื่องชุมชน แต่ต้องเป็นชุมชนที่สามารถขยายได้ เช่น กทม.กับการเคหะฯ คนที่อยู่ในเขตต่าง ๆ อาจสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนที่ไม่มียาเสพติด เป็นต้น ในหลักสูตร 9 วันนี้อาจเอาตัวอย่างแบบนี้มาคุยต่อ

มหาวิทยาลัยในปัจจุบันที่ล้มเหลวเพราะคนที่จบโดยใช้ทฤษฎีอย่างเดียวต้องมีประสบการณ์มาประกอบด้วยถึงจะเห็นผล ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่มีงานวิจัยที่ขึ้นหิ้งจำนวนมากเพราะยกย่องคนที่ตีพิมพ์ แต่ประเด็นควรเน้นในเรื่องความจริงด้วย อย่างการเคหะฯ ต้องอยู่ในเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม งานที่ยิ่งใหญ่ของการเคหะฯ ต่อไปอาจเกี่ยวกับการเมืองก็ได้คือการรวมตัวป้องกันอย่างไรไม่ให้ภัยต่าง ๆ เข้ามา

การเรียนเรื่องทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่พัฒนาองค์กรอย่างเดียว ต้องมีศาสตร์พระราชา การรวมตัวกันจะสามารถช่วยประเทศได้แน่นอน

การเคหะฯ ต้องสร้างแบรนด์ให้ใหญ่โตขึ้น และเมื่อมีโอกาสที่ทำรุ่น 4 ต้องทำให้ดีกว่ารุ่น 3  

สิ่งที่ดร.จีระ ทะเยอทะยานคือการเปลี่ยนแปลงในการเคหะฯในอนาคต

 

อาจารย์วราพร  ชูภักดี

Learning how to learn : Chira’s Way

          ในแต่ละวิชา อาจารย์จีระจะสอดแทรกวิธีการใหม่ ๆ เพื่อผลักดันให้ไปสู่นวัตกรรมที่ยั่งยืน

 4L’s

Learning Methodology      มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment       สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities      สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

Learning Communities       สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2R’s (ดร.จีระเสริมว่า)

1. Reality - มองความจริง      2. Relevance - ตรงประเด็น  

          ยกตัวอย่างใน 3 จังหวัดภาคใต้ R1 คือ Logistics  R2 คือความปลอดภัย

          อย่างการเคหะฯ ออกไปแล้วต้องมีเครื่องมือหรือแนวคิดติดตัวออกไป

          ถ้าเราค้นพบอะไรบางอย่าง ก็ดูว่ามี Conceptualize อย่างไร

 2I’s

Inspiration – จุดประกาย

Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ

 3V’s

          Value Added           สร้างมูลค่าเพิ่ม

Value Creation        สร้างคุณค่าใหม่

          Value Diversity        สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

 3L’s

          Learning from pain  เรียนรู้จากความเจ็บปวด

Learning from experiences    เรียนรู้จากประสบการณ์

Learning from listening    เรียนรู้จากการรับฟัง

 C & E

Connecting & Engaging

 C – U – V

          Copy – Understanding -  Value Creation/Value added

 3 ต

          ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

 3 ต(ใหม่)

          แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

 Learn – Share – Care

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          กล่าวถึงการเดินทางไปที่ดาร์วอสของ Trump ได้พูดว่ากลับมาแล้วมีเรื่องการลดภาษี การแก้ปัญหาการว่างงาน ทำให้คนอเมริการวยขึ้น แต่มีคนถามว่าคนรวยขึ้นแล้วโลกได้อะไร  เช่นโลกร้อน

          การเคหะฯ ต้องไป Link กับอาเซียน การมีเรื่องวิสัยทัศน์เป็นสิ่งสำคัญ การเคหะฯ เวลาทำอะไรต้องคิดถึงวิสัยทัศน์ของการเคหะฯ ในอนาคต

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ดีใจที่ได้มาเรียนอีกครั้ง ที่ผ่านมาได้มีการออกแบบนวัตกรรม ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน พัฒนาทีมงาน และนำความรู้มาประยุกต์ใช้และต่อยอดกับทีมงานต่อไป

2. ดีใจที่ได้พบอีกครั้งหนึ่ง ติดตามผลงานอาจารย์ทางไลน์และเว็บไซด์ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก ทางกลุ่มที่ได้อบรมเมื่อปีที่แล้วยังเหนียวแน่นอยู่ มีความรักกัน จัดกิจกรรมร่วมกัน และมีความกลมเกลียวกันอยู่  ซึ่งนอกจากความรู้แล้วยังมีความสามัคคีมาเกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันเพื่อพัฒนาให้องค์กรมีเสถียรภาพ

ดร.จีระ เสริมว่า อยากให้ดูในมิติข้างนอกด้วย เช่นการเมือง สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ เราต้องสามารถมองไปในอนาคตให้ได้ อย่างการเมืองที่ผ่านมา มีปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่อยากเห็นคือบทบาทของชุมชนที่สร้างมูลค่าเพิ่ม  เช่นการนำนักธุรกิจไปพูดเรื่องจิตวิญญาณของผู้ประกอบการในชุมชน

จากที่ผ่านมาได้แสดงถึงความใกล้ชิดกัน

3. ฟังแล้วรู้สึกหนักใจพอสมควรเพราะอาจารย์จีระชมรุ่น 3 ไว้เยี่ยมมาก รุ่น 4 จะต้องพยายามมากขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาให้มากขึ้น

4. ท่านผู้ช่วยวิไล จากที่เคยอบรมแล้วในรุ่นที่ 1 ได้พูดเรื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้ การได้เรียนกับอาจารย์จีระมา เห็นความสำคัญของทุนมนุษย์มาก มีการปรับและพัฒนาบุคลากรมากขึ้น ในชุมชน มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย มีการจัดการขยะ การให้ความรู้ประชาชนเรื่องต่าง ๆ มีการทำการเคหะประชารัฐร่วมกับมหาดไทย มีโครงการนำร่อง 4 โครงการใหญ่ บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ที่ทำให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้น มีทำที่ตลาดบวรร่มเกล้า ตลาดเยสบางพลี และที่วัดกู้ สิ่งที่เห็นชัดคือรายได้เพิ่มขึ้น และมีการออกบู้ทที่ชุมชน และคลองผดุงกรุงเกษมด้วย อย่างโครงการที่พหลโยธินก็ทำด้วย

          การที่อาจารย์พูดเรื่องชุมชนให้สังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้รู้สึกดีใจมากด้วย เพราะการเคหะฯ ก็มีชุมชนน้ำใส น้ำใจงดงาม

          ดร.จีระ เสริมว่า ความรู้ในห้องนี้เป็นทั้ง Reality & Relevance  และในอนาคตข้างหน้าจะสั่งการจากข้างบนไม่ได้จะ Command & Control ไม่ได้ สิ่งที่อยากฝากไว้คือ สร้างความต่อเนื่อง และให้คนใฝ่รู้ ซึ่งถ้าทุกท่านสนุกกับการเรียนรู้จะจบ มหาวิทยาลัยล้มเหลวเพราะยัดแต่วิชาการเข้าไป การเปิดตัวเป็นสะพานเชื่อมทุกคนเข้าไป

          ให้ทุกท่านลองคิดดูว่าวันนี้เราได้อะไร 2 ประเด็น  ดร.จีระ เก่งคนเดียวไม่ได้ ต้องมีคนที่เก่งคนอื่น ไปทำต่อ และจะรอด ถ้าเราทุกคนเป็นแนวร่วมกัน เราคือ Networking หรือ Alliance

การแนะนำ Individual Development Plan

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

          สิ่งที่ได้ประเมินเป็นสมรรถนะหลัก  Core Function และ Managerial สิ่งที่อยู่ในมือคือ Individual Development Plan การเข้า Classroom ในการพัฒนาระดับสูง ในหลักสูตรนี้จะพัฒนาทุกท่านให้มีความรู้ความสามารถตามที่องค์กรต้องการ

          โค้ชชี่จะมีหลากหลาย และถ้าท่านใดไม่มี Gap เลย วิธีการที่ผู้บังคับบัญชาจะโค้ช จะตกลงกับโค้ชของท่านเอง

          อย่างไรก็ตามในเอกสารชิ้นนี้มีตัวจริงกับสำเนาที่ให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น ตัวจริงส่งคืนกับคุณวิทยา

          มีเรื่องการทดสอบ การทำงานกลุ่ม เพราะมีผล  ส่วนที่ต้องรับการโค้ช มีแบบฟอร์มบันทึกการโค้ชให้ ทุกครั้งที่พูดคุยกันคนที่ได้รับการโค้ชจะเป็นผู้บันทึกด้วย และต้องมีการเซ็นรับเห็นชอบกันด้วยทุกครั้ง

          ทริสต์ดูจริง ๆ จะดูว่าเรา Deploy จริงหรือไม่ ถ้า Deploy จริงจะมีการเซ็นรับทราบ และต้องดูผลว่าเกิด Learning หรือไม่ ส่วน Integrate คือการนำไปผนวกกับสัมพันธ์ในส่วนงาน HR หรือไม่ เป็นอยู่ในกระบวนการ Succession Planning ซึ่งเป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลอยู่แล้ว

คุณวิทยา

          สิ่งสำคัญทุกท่านต้องเซ็นลายเซ็นแล้วจะพัฒนาเรื่องอะไร มีบันทึกการโค้ช โค้ชกันจริง ๆ จะผ่านทุกขั้นตอน

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ของ การเคหะแห่งชาติ

โดย.. ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Workshop

1. เสนอ 1 ไอเดีย/ คำคม เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ของการเคหะแห่งชาติพร้อมอธิบายเหตุผล

2. เสนอ 1 โครงการในรูปแบบ Classroom ที่อยากทำเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของการเคหะฯ

3. เสนอ 1 โครงการในรูปแบบ Non - Classroom ที่อยากทำเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของการเคหะฯ

 

Quotations

 

 

“คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร”  

พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

 

“ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร

แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล”    

จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

“People have unlimited Potential”      

Antony Robbins

 

His philosophy of work is “curiosity and thirst for learning.” 

Satya Nadella CEO Microsoft

 

“Cultivation is necessary but harvesting is more important”

Chira Hongladarom

 

ปลูกพืชล้มลุก..  3-4 เดือน

ปลูกพืชยืนต้น..  3-4 ปี

พัฒนาคน..  ทั้งชีวิต

สุภาษิตจีน

 

การมองภาพทรัพยากรมนุษย์  จาก Macro สู่ Micro”       

จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

“If we don’t change, we perish”           

Peter Drucker

 

“Change before you are forced to change”

Jack Welch

 

การจะทำงานสำเร็จได้…ต้องมีตัวละคร 3 กลุ่ม

  • CEO หรือ ผู้นำ
  • Smart HR
  • Non-HR

          ทรัพยากรมนุษย์   ต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร

       

ประเด็นสำคัญในการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

  • ปลูก
  • Execution

2.      เก็บเกี่ยว

+ Macro – Micro

วัฒนธรรมของการเคหะฯ เป็นจุดอ่อน หรือจุดแข็งในการทำงาน

ทฤษฎีทุนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital เป็น Concept ทางเศรษฐศาสตร์เมื่อ 50 ปีที่แล้ว แต่เขาจะลงทุนอย่างไรเพื่อให้แตกต่างกันและพัฒนาสิ่งเหล่านั้น ทั้งด้านโภชนาการ การเรียนรู้ ครอบครัว ฯลฯ ซึ่งการลงทุนมนุษย์สิ่งที่ทำให้เป็นมนุษย์ที่ดีได้นั้น ดร.จีระ ได้เสนอว่ามี 8 ทุน และ 5 ทุนดังนี้

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital                  ทุนมนุษย์

Intellectual Capital           ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                  ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital            ทุนแห่งความสุข

Social Capital                   ทุนทางสังคม

Sustainability Capital        ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                   ทุนทาง IT

Talented Capital              ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital         ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital      ทุนทางความรู้

Innovation Capital       ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital       ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม

แต่ 8K’s+5K’s คือ การปลูก และเก็บเกี่ยว ก็คือ ต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีคุณค่า

 

     ต้องแยกให้ชัดระหว่างปลูกและเก็บเกี่ยว ปลูกคือตั้งแต่เกิด และต้องมีการเรียนรู้แบบ Life Long Learning

         ถ้ามีอุปสรรคเราต้องค้นหาในองค์กรของเราว่าอะไรเป็นอุปสรรคที่ทำให้เราไปสู่จุดที่สำเร็จไม่ได้

         ทำแล้วต้องสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้

วงกลมที่ 1 ดู contextในองค์กรว่าเอื้ออำนวยหรือเปล่า

         - จะเอา IT มาใช้

         - ระบบองค์กรที่คล่องตัว

         - process ของงาน

         - การนำ data และ knowledgeมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

วงกลมที่ 2 มองดูคุณภาพจาก gap analysisว่ามี skills และ competencies อะไร

และขาดอะไร  แล้วพยายามลดช่องว่าง

Competencies ที่ผมได้เกริ่นไว้ในตอนต้น ประกอบด้วย 5 เรื่องที่สำคัญ ประกอบด้วย

1. Functional Competency 

           คือ ความรู้ที่เราต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงาน เช่น วิศวกร ต้องฝึกเรื่องช่าง บัญชีก็ต้องฝึกเรื่องบัญชี

2. Organizational 

    Competency เน้นเรื่องความรู้ที่มีประโยชน์ให้องค์กร  มีการศึกษาเรื่อง Reengineering, Six Sigma, การปรับองค์กร, TQM, วัฒนธรรมองค์กร, การทำงานเป็นทีม, การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

3. Leadership  Competency

           เน้นเรื่อง People Skill

           เน้นเรื่อง Vision

           เน้นเรื่องการสร้าง Trust

 4. Entrepreneurial  Competency

           (1.) มีความคิดริเริ่ม

           (2.) มีความคิดในเชิงผู้บริหาร

           (3.) เผชิญหน้ากับความล้มเหลว

           (4.) บริหารความเสี่ยง

5. Macro and Global Competency

           (1.) รู้ทันเหตุการณ์ว่าอะไรกำลังดำเนินอยู่ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก

           (2.) แสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

ผมว่าคนไทยยังไม่มี...

  • การแสวงหาความรู้ (Learning Culture )
  • เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • ภาวะผู้นำ
  • การมองโลกทัศน์ที่กว้างและกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดี
  • Innovation
  • การบริหารเวลา (Time Management)
  • Creativity
  • การมีทัศนคติเป็นบวก (Positive Thinking)
  • ทำงานเป็นทีม
  • การบริหารความรู้ (Knowledge Management)
  • Change management
  • การกระจายอำนาจให้ได้ผล
  • ความสามารถในการตัดสินใจ
  • ความสามารถในการรับฟังและยอมรับความจริง

วงกลมที่ 3 จะทำอย่างไร ให้การ motivationมีประสิทธิภาพ และเกิดผลจริงกับงาน

  • โครงสร้างเงินเดือน
  • การมีส่วนร่วม
  • การทำงานที่ท้าทาย
  • การทำงานเป็นทีม
  • การให้รางวัลพิเศษ
  • การไปเพิ่มพูนความรู้
  • ค่าตอบแทนที่เป็นไปได้ เช่น โบนัส
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • การประเมินผลอย่างโปร่งใส
  • ความเป็นธรรม
  • Style การบริหาร
  • สภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • Empowerment
  • อื่นๆ

ทฤษฎี HRDS เป็นแรงจูงใจที่มองไม่เห็น

  • Happiness
  • Respect
  • Dignity    
  • Sustainability

และสุดท้าย..สำเร็จได้..ต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้ ผมเรียกว่า  HR Execution คือ หลักๆก็คือ ต้องทำงานต่อเนื่อง, Networking และภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีม ก็จะประสบความสำเร็จได้

         “Execution – คือลงมือทำให้สำเร็จ”

  • Leadership
  • CEO/HR/Non HR
  • Peter Druckers
  • Jack Welch
  • ตัวละคร (Style Kotler)

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและการเรียนรู้ การจะสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้ ผมขอเสนอแนวคิดดังต่อไปนี้

  • หลักคิดและปรัชญาของพระเจ้าอยู่หัวฯ
  • แนวคิดของ Peter Senge
  • Learning how to learn : Chira’s Way

         พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นตัวอย่างขององค์กรแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้          1) ทำอะไร          2) ทำอย่างไร          3) ทำเพื่อใคร          4) ทำแล้วได้อะไร

         6 หลักการในการทำงาน

1) คิด Macro ทำ Micro

2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)

6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

กฎของ Peter Senge อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future

Personal Mastery    รู้อะไร รู้ให้จริง

Mental Models       มีแบบอย่างทางความคิด

Shared Vision          มีเป้าหมายร่วมกัน

Team Learning        เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

System Thinking      มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

           โจทย์ของการเคหะฯ คือการสร้างผู้นำที่สามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่ฝากไว้คือเรื่อง 1. ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง และ 2. ทฤษฎี 3. วงกลม

           - เตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำทุกระดับ อาทิ การจัดการการเปลี่ยนแปลงได้

ยกตัวอย่างทฤษฎี 3 วงกลม  

           - ทำอย่างไรถึงลดการเหลื่อมล้ำ

           - การใช้เงิน

 

Workshop

1. เสนอ 1 ไอเดีย/ คำคม เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ของการเคหะแห่งชาติพร้อมอธิบายเหตุผล

2. เสนอ 1 โครงการในรูปแบบ Classroom ที่อยากทำเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของการเคหะฯ

3. เสนอ 1 โครงการในรูปแบบ Non - Classroom ที่อยากทำเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของการเคหะฯ


 

Workshop

1. เสนอ 1 ไอเดีย/ คำคม เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ของการเคหะแห่งชาติพร้อมอธิบายเหตุผล

กลุ่ม 1/1

          การเรียนรู้และประสบการณ์ นำมาสู่ความปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน  การได้มาซึ่งประสบการณ์การแชร์ เป็นการปะทะกันทางปัญญา เป็น Intelligent Debate หรือ Impact เป็นผลของไอเดียที่นำมาสู่ความยั่งยืนของการเคหะฯ

          ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างของ ม.อ. ที่ได้มีการจัดอบรมโดยเชิญแต่ละคณะมาร่วมประชุมกัน ให้กล้าพูดและมีความปลอดภัยในการพูด

          คนเราต้องกระตุ้นความเป็นเลิศให้เขาออกมา พยายามให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็น  ในโลกอนาคต 1+1 ไม่เป็น 2 ก็ได้

กลุ่ม 1/2

          การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ (Make inspiration drive to success) คิดว่าหลังจากพูดแล้วคนในห้องจะเกิดแรงบันดาลใจแน่นอน รู้สึกซาบซึ้งที่อาจารย์จีระชม

          แรงบันดาลใจ เกิดได้อย่างไร เช่นการมีอะไรไปสะกิดโดนใจในบางเรื่อง ทำให้อยากแสดงความคิดเห็น ที่เลือกหัวข้อนี้เนื่องจากเห็นความสำคัญมาก อย่างในเรื่อง SEPA ระบบงาน ต้องอาศัยคนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้ามีคนมาเฉย ๆ จะไม่มีตัวขับเคลื่อน เลยคิดว่า Inspiration จะเป็นตัวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง

          ดร.จีระ เสริมว่า ความสามารถในการเรียนรู้ของการเคหะฯ ไม่เป็นรองใคร

แรงบันดาลใจ เช่นจอห์น เอฟ เคนาดี พูดว่าอย่าถามว่ารัฐบาลจะทำอะไรให้ แต่ให้ถามว่าเราจะทำอะไรให้รัฐบาล หรือมาร์ติน ลูเธอร์คิง มีแรงบันดาลใจเรื่องผิวขาว ผิวดำ หรือ บิล คลินตันอยากเป็นประธานาธิบดีเพราะได้จับมือกับ จอห์นเอฟเคเนดี้เป็นต้น

อย่างความยั่งยืนของ ดร.จีระ คือไม่หยุดการเรียนรู้  ต้องไม่โง่

ครูที่ดี ครูที่ทำให้เด็กตื่นเต้น อยากเรียนรู้เพิ่มเติม การสร้างแรงบันดาลใจต้องฝึก ต้องมีวิธีการ สร้างพลังให้เกิด แรงบันดาลใจก็คือ Motivation อย่างหนึ่ง

2. เสนอ 1 โครงการในรูปแบบ Classroom ที่อยากทำเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของการเคหะฯ

กลุ่ม 2/1

          1. รูปแบบการอบรมรูปแบบที่ 1 เราต้องวางรากฐานกับองค์กรให้ชัดเจนให้รู้ว่าบริบทเป็นอย่างไร จะได้รู้แจ้งเห็นจริง เพื่อเกิดความผูกพันเป็นพื้นฐาน

          2. แยกกลุ่มและเจาะลึกตลาด หาวิทยากรเก่ง ๆ เป็นพี่เลี้ยง รู้แจ้งเห็นจริง ลงมือทำจริง เป็นพี่เลี้ยง

          3. อบรมศึกษาดูงาน เพราะการออกนอกกรอบเท่ากับการเปิดวิสัยทัศน์เห็นว่าข้างนอกทำอย่างไร เพื่อมาพัฒนาองค์กร

          4. มอบหมายงานให้นำมา Present หลังจากที่ได้พัฒนาแล้ว เพื่อดูความคิดว่ามีอะไร

กลุ่ม 2/2

          การเรียนรู้ใน Classroom อยากให้ไปดูงานในสภาพของ HR ที่ประสบความสำเร็จ แล้วมาวิเคราะห์กับการเคหะฯ ดูข้อดี และข้อเสีย มาวิเคราะห์เป็นประสบการณ์ของการเคหะฯ

3. เสนอ 1 โครงการในรูปแบบ Non - Classroom ที่อยากทำเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของการเคหะฯ

          ดร.จีระ เสริมว่าไปดูงานก็จะดี

กลุ่ม 3 /1

1.การบริหารอย่างเรื่องงานก่อสร้าง การเคหะฯ น่าจะเอาบุคลากรไปเรียนรู้ นำความรู้มาถ่ายทอดให้องค์กร เรียนรู้ฟรีๆ ศึกษาข้อมูลนำมาพัฒนาองค์กรด้านต่าง ๆ

          2. จากประสบการณ์ผู้ที่เกษียณอายุที่เกษียณไปแล้วไม่มีโอกาสมาถ่ายทอด ไม่ว่าจะเป็นบัญชี วิศวกร น่าจะเอาประสบการณ์มาถ่ายทอด เป็นลักษณะของ Learning by doing

กลุ่ม 3/2

การเสวนาโต๊ะกลมเพื่อพูดคุยปัญหาในเรื่องการทำงานและปัญหาฝ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การแลกเปลี่ยนปัญหาทั้งด้านที่สำเร็จและไม่สำเร็จ นำสู่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจมีการสัญจรต่างจังหวัดเพื่อสร้างให้เกิดการ Relax

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          จากการฟังทั้ง 6 กลุ่ม เห็นถึงการจุดติดเร็วมาก

          1. ต้องการรู้จักตัวเอง

          2. โต๊ะกลมทำอย่างไรไม่ให้เป็นแค่เสวนาโต๊ะกลม เพราะเป็น Think Tank การเคหะฯ

          3. การฟังทั้ง 6 กลุ่มทำให้เกิดแรงบันดาลใจ

          4. ประเด็นเรื่องคลังสมอง มีการนำเสนอเรื่อง Learning by doing โดยเฉพาะการเสวนาโต๊ะกลม การลงลึกในองค์กร ซึ่งประเด็นพวกนี้นำไปสู่อะไรได้อีกมาก

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

การฟังการเคหะฯในครั้งนี้แสดงถึงว่า การเคหะฯมี Consistence คงเส้นคงวา และมีความหลากหลายในองค์กร คือ มีทั้ง Science & Social Science เป็นการ Balance ที่พอดีเลย

องค์กรที่น่ากลัวอีกแห่งคือ กระทรวงเกษตรฯ เนื่องจากตอนแรกยังไม่เข้าใจเรื่องชุมชน เรื่อง Smart Farmer เนื่องจากเน้นวิทยาศาสตร์มาก

ฝากเรื่องดูงาน และถ้าอยากให้ผู้ใหญ่พูดถึงองค์กรของเราน่าจะทำได้

 

การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ กลุ่ม Non-Classroom จำนวน 66 คน

โดย  ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • ดำเนินการ “การโค้ช” ระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2561
  • โค้ชต้องบันทึกการโค้ชทุกครั้งในแบบบันทึกการโค้ช
  • กำหนดหัวข้อการโค้ช กับผู้ถูกโค้ช  เช่น “ประเด็นความท้าทายของหน่วยงาน กับเป้าหมายของแผนพัฒนาชาติ 20 ปี / Thailand 4.0”

คำอธิบาย

1. การเจอโค้ชกับโค้ชชี่ต้องเอา IDP ดูว่าอันไหนมีความจำเป็นเร่งด่วน

- อันไหนมีผลการประเมินติดลบหรือลบสองหมายถึงด่วนที่สุด ต้องรีบพัฒนา

2. วัตถุประสงค์ของโค้ชชี่ คือเป็นทั้งผู้พัฒนาให้การช่วยเหลือ และเป็นทั้งเพื่อนด้วย

- สไตล์การโค้ชแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่จะบอกคือ Expectation คือความคาดหวัง จะได้ปรับสไตล์ซึ่งกันและกัน

3. โค้ชและโค้ชชี่ต้องบันทึกในแบบบันทึกการโค้ช

- ใส่วันที่ในการโค้ช

- ครั้งแรกที่พบกันคือ เรื่องที่โค้ช รายละเอียด และผลลัพธ์ อาทิ การสรุปใจความสำคัญ การอ่านบทความกี่บทความ ระยะเวลาที่อ่านกี่วัน และการติดตามผล

- แบบฟอร์มทุกท่านจะได้แบบฟอร์มเป็น Soft Copy

- การบันทึกการโค้ช จะขอให้โค้ชชี่ทำการบันทึกลงใน Soft Copy  และต้องให้โค้ชอ่านแล้วเห็นด้วยว่าสิ่งที่บันทึกเป็นสิ่งที่คุยกัน แล้วให้ลงลายเซ็นทั้งคู่

4. ระยะเวลาการโค้ช ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม

- โค้ชจะมาที่ Coaching คนละ 2 ครั้ง

5. การมอบหมายงาน

- ต้องมีระยะเวลาในการติดตาม จะให้เวลาในการดำเนินโครงการย่อยเพื่อพัฒนาทักษะหรือความรู้อย่างไร

- ในกรณีที่โค้ชชี่ยังไม่ได้อะไร โค้ชต้องทำหน้าที่ตอกย้ำไปเรื่อย ๆ เพราะสิ่งที่สำคัญคือการให้เห็นผล

- ต้องมีตัวชี้วัดความสำเร็จด้วย

 

 

การประเมินผล

  • ผลสำเร็จของงานที่โค้ชและผู้รับการโค้ชตกลงกัน
  • Feedback จากผู้บังคับบัญชา

 

 

Enhancing Performance and Create Change

          ถ้าลูกน้องมีจุดแข็ง ต้องให้เขาคงความเก่งศักยภาพที่ดีเอาไว้แล้วทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม หน้าที่โค้ชคือต้องหาวิธีดึงศักยภาพของเขาขึ้นมา และให้ขจัดสิ่งรบกวนในหัวใจออกไปด้วย ถ้าลูกน้องมีจุดอ่อนให้ดูสิ่งที่ต้องพัฒนา

As a Performance Leader, What we must do.

          1. มีเป้าหมาย มี KPI ทำ Review Performance

          2. การทำให้คนทำตามเป้าหมายที่ดี หัวหน้าต้องพบลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ  ระบบการบริหารปฏิบัติงานจะถูกขับเคลื่อนด้วยการโค้ชและ Feedback ของหัวหน้างาน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม

          - Competency มีเรื่อง Skill , Knowledge, Attribute

          - การโค้ชที่แท้จริงคือการสนทนาที่เป็น 2 Ways Communication เป็นการให้ Feedback ต้องสามารถโค้ชได้ทั้งความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม ต้องดูอย่างสม่ำเสมอ

การเรียนรู้และพัฒนาแบบ 70 : 20 :10

10% การเรียนรู้แบบเป็นทางการ การเรียนรู้ในห้องเรียน

20% การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

70% การเรียนรู้ในระหว่างการทำงาน On the job training

สิ่งที่อยากเห็นหลังการโค้ช

          การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ทำให้ลูกน้องมีแรงบันดาลใจ ที่จะทำตรงนี้

การบริหารจัดการ

1. การโค้ชได้ดี ต้องสามารถดูได้ว่าเราต้องปรับปรุงอะไรได้บ้าง

2. ดูที่ Performance ขององค์กรดีขึ้นหรือไม่

3. ถ้าลูกน้องทำไม่เป็นอาจทำให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือหากรณีศึกษาที่เอามาให้โค้ชชี่นำมาทำเป็นการบ้านได้ ,การฝึกการถ่ายทอดการนำเสนอ  Role Play , Stimulation , การจำลองการทำงาน

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. โมเดล 70 :20:10 อาจมีการเปลี่ยนแปลง

          อาจจะโมเดลจะมีการเปลี่ยนเป็น 30 :  50 : 20 แต่เป็นหลักสูตรที่ New Knowledge และ Refresher Model

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โค้ชอาจไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่มีทักษะการเป็นโค้ชที่ต้องเก่งกว่าโค้ชชี่ เช่น Thailand 4.0 คืออะไร แล้วไปเกี่ยวโยงกับการเคหะฯ ได้อย่างไร  อย่างไรก็ตามเราต้องมองเกมส์ออก และดูว่าสิ่งไหนมากระทบกับสิ่งที่เราเป็น อย่างประสบการณ์ ทักษะเรื่องงาน และ New Knowledge เราต้องหา

เราไม่ได้มาสอนกัน แต่เรามาทำงานร่วมกัน มาแชร์กัน ถ้าเราใช้ทักษะและสร้างพื้นที่ปลอดภัย มีบางประเด็นที่ถามตรงแล้วไม่ตอบ แต่ถ้าคุยไปเรื่อย ๆ จะหลุดออกมา ต้องให้ความสัมพันธ์แบบเปิดใจ เช่น เราเดินไปแนวนี้ เขาจะเดินไปในแนวไหน อย่างการสรุปให้ได้ใจความเป็น Competency แบบไหน

 

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

          อยากให้ทุกท่านกลับไปอ่านที่ประเมินในพฤติกรรม หรือ Competency เพราะในองค์กรจะระบุถึงความคาดหวังในนั้น

          อย่างไรก็ตาม การพูดคุยกันในแบบ Executive Coach ทุกครั้งที่เราคุยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นเสมอคือการขัดจังหวะ จะดูพฤติกรรมตรงนี้ก่อน เช่นอยากบอกให้ลูกน้องปรับสักอย่างหนึ่ง สิ่งที่ควรพูดคือสังเกตมาหลายครั้งแล้ว และสิ่งที่สังเกตเป็นประโยชน์กับลูกน้องมากเลย เพราะการโค้ชเป็นศิลปะ หรือ Art

ทักษะของโค้ช คือการฟัง การให้ Feedback และการซักถาม


โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ ประจำปี 2561

NHA Executive Development Program for Top Team

 

http://www.naewna.com/politic/columnist/34110

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 หน้า 5

 

http://www.gotoknow.org/posts/645206

Source: Learning from Reality with Dr. Chira Column. Naewna.

             Saturday 17 February 2018, p.5

 

http://www.gotoknow.org/posts/645320

ที่มา: บทความจากรายการวิทยุ Human Talk ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561


    


หมายเลขบันทึก: 644371เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2018 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
นางวิลาวัลย์ โชครุ่งเรือง

     ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ทั้งจากตัวเราและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร  เราต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา และทำใจให้มีความกับการเปลี่ยนแปลง                      การบริหารในยุคอาเซี่ยนเราควรศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในแต่ละประเทศก่อนที่จะเข้าร่วมทุน

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, อาจารย์พิชย์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์จะกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น การเห็นประโยชน์ของการเขียนบทความ การหาความรู้เพิ่มเติม การสร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกันเอง ในขณะเดียวกันอาจารย์ได้สอดแทรกวิธีคิด ความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ควรจะทำ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับประเทศ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์ ที่ปรึกษา บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง

อาจารย์ได้ให้แนวคิดในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ internal change เริ่มเปลี่ยนจากตัวเราก่อน ทำในสิ่งที่ดีขึ้น โดยเริ่มจาก 4 ขั้นตอน คือ มองไปข้างหน้า คิดวิเคราะห์เพื่อหาทางออก มุ่งมั่นเพื่อฝ่าฟันสู่ความสำเร็จ เรียนรู้จากความผิดพลาด และอาจารย์ได้ให้ทดลองทำแผนการปรับปรุงตนเองว่าควรจะปรับปรุงเรื่องใด ทำอย่างไร และมีการติดตามประเมินผลด้วย

โดย คุณชูชาติ มั่นครองธรรม หัวหน้าสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ได้เรียนรู้วิธีคิดของผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน เพื่อให้การจัดการการเปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น โดยยกตัวอย่าง Best practices คือ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าทำไมต้องเปลี่ยน และต้องสื่อสารให้คนในองค์กรเข้าใจตรงกัน วางแผน แล้วลงมือทำ โดยผู้บริหารเป็นผู้นำ

การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC)

โดย รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

การเคหะแห่งชาติ สามารถพัฒนาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยในเขตอุตสาหกรรม ของประเทศ CLMV คนในประเทศ CLMV ยังขาดที่อยู่อาศัยอยู่มาก โดยเริ่มทำจากประเทศที่มีศักยภาพเหมาะสม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่น นโยบายเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ควรจะต้องมี partner ในการดำเนินงานร่วมกัน เช่น การตั้งบริษัทลูกในกลุ่ม ASEAN

การบริหารกลยุทธ์องค์กร โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสวิวัฒน์

ได้เรียนรู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของโลกในช่วงต่าง ๆ แนวคิด วิเคราะห์ การเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ และเน้นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารกลยุทธ์องค์กร คือ ต้องปรับ mindset ระบบคิด วิเคราะห์ โดยเน้น External Change และต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของเรา แล้วจึงกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน

การบริหารธุรกิจในยุค AEC : กรณีศึกษาของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)

โดย คุณพูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม บริษัทซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)

อาจารย์ได้ให้แนวคิดและประสบการณ์ในกระบวนการบริหารธุรกิจที่สำคัญ คือ การสร้างสรรค์นวัตกรรม  เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีและความรู้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

วิลาวัลย์ โชครุ่งเรือง

 การบริหารกลยุทธ์องค์กร  ได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำใหเกิดความคิดใหม่ๆๆเกิดขึ้นมากมายจากความชาญฉลาดของมนุษย์ ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง ทำให้มองเห็นภาพและคิดตาม การที่เราจะประสบความสำเร็จได้นั้นเราต้องมีการวิเคราะห์ วางแผนและบริหารจัดการที่ดี และให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรโดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นภารกิจของการเคหะแห่งชาติ                                 สำหรับการบริหารในยุค AEC การดำเนินกิจการมีการแข่งขั้นกันมากขึ้น เราต้องมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆมีเป้าหมายมีนวัตกรรมเพื่อจะทันต่อโลกที่มีการอย่างรวดเร็ว

16 กพ.61 การบริหารกลยุทธ์องค์กร ต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน/ภายนอกให้ถูกต้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง กคช.ต้องพัฒนาให้ก้าวไกล  ส่วนกรณีศึกษาของบริษัทซีพีฯ มีการนำเสนอนวัตกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้ทราบการพัฒนางานเพื่อความรวดเร็วทันสมัย เราต้องทำงานเป็นทีม หมั่นเรียนรู้ให้ทันโลก

ประสงค์ ดวงแก้ว รอง ผอ.สน.

5 มีนาคม 2561

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (1)

โดย ดร.ทายาท  ศรีปลั่ง  ดร.เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค

          ได้หลักแนวคิดและวิธีการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร

1.       Leadership Pipeline  ด้วยหลักถนน 6 เส้นทางว่าจะเริ่มพัฒนาอย่างไร เริ่มจากเป็นพนักงานจนไปถึงผู้บริหาร

2.       แนวคิด 9 Box – เกณฑ์การเวียนงานหรือเลื่อนตำแหน่ง

3.       Mentoring

4.       Coaching

5.       Trust  เป็นเรื่องของความเชื่อมั่น

Management in the difital Age

การบริหารงานในยุค digital จะต้องทำอย่างไรให้อยู่ได้และอยู่รอดการพัฒนาคนยุคใหม่เราเน้นคุณค่าคือ

1.       Diversity  2. ValueCreation  3. Value  Added

และได้สอบถามบทบาทของการเคหะแห่งชาติ กับการพัฒนาในยุคนี้เราควรจะวางตำแหน่งว่าจะเป็น Deverloper หรือ Regulator ซึ่งจะต้องมาร่วมกันคิดและพลักดันแนวคิดและหาวิธีการให้ไปถึงจุดนั้น

 

การบริหารธุรกิจในยุค AEC (asean  economic community) โดยคุณกษิต  ภิรมย์  อดีต รมต. กระทรวงการต่างประเทศ

         ได้ทรายประวัติและแนวคิดการทำงานของท่าน ประสบการณ์ในการทำงานขณะดำรงตำแหน่งทูตหลายประเทศและได้พลักดันแนวนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะประชาคมอาเชี่ยนในช่วงเริ่มต้นมีแผนงานและกฎบัตรอาเชี่ยนที่ทุกประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติ

         การเป็นข้าราชการขอให้คำนึงถึงคุณสมบัติ 3 ประการคือ

1.        ความเป็นเลิศในหน้าที่การงาน  ตั้งใจ มุ่งมั่น ขยันมั่นเพียรต้องทำให้ดีที่สุด และสุดฝีมือ

2.       ความซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งมั่นทำอะไรที่ดีงามต่อตัวเองและประเทศชาติ

3.       ความคิดความอ่านที่ดี สร้างสรรและมีนโยบายอยากให้พี่น้องคนไทยทุกคนมีหลังคาคุมหัว คือมีบ้านมีที่อยู่อาศัย ซึ่งกคช. ก็มีบทบาทต่องานนี้ และมีบทบาทในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศ และในกลุ่มอาเชี่ยนนี้ด้วย

         การพัฒนาของกลุ่มอาเชี่ยนมีหลายอย่างหลายประเด็นที่ยังไม่ก้าวหน้า  ซึ่งแตละประเทศก็ยังมีปัญหาภายในอยู่  บางประเทศเป็นประชาธิปไตยบางประเทศยังเป็นเผด็จการ และช่วงหลังๆมานี่ ผู้นำของสมาชิกทั้ง 10ประเทศก็ยังไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างจริงจังเหมือนประชาคมยุโรปทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจซึ่งบางประเทศก็ยังมีข้อจำกัดยังไม่สามารถเป็นเสรีได้ทุกประเภทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในกฎบัตรอาเชี่ยนซึ่งจะต้องมีการพัฒนาและพลักดันกันต่อไปอีกยาวนาน

5 มี.ค.61 

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ให้แนวคิด การพูดต้องพูดให้อ่อนหวาน พูดความจริงอย่าพูดเพ้อเจ้อ ต้องชมคนเป็นให้รู้สึกว่ามีความห่วงใย รู้จักให้เครดิตลูกน้อง  และการบริหารเจ้านายที่ดีที่สุดคือทำงานให้ได้ผลงาน  และทำให้ทราบการบริหารงานของกลูเกิ้ล ที่ว่า EQ สำคัญกว่า IQ คนเราต้องรู้จักปรับความคิดให้เป็น

การบริหารธุรกิจในยุค AEC  เราต้องมีความคิดเป็นเลิศในหน้าที่การงาน มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานอย่างสร้างสรรค์คิดให้เป็น ในอนาคตการสร้างบ้านต้องทำอย่างไร ให้ประหยัด ทั้งเรื่องของพลังงานที่ต้องใช้ โดยไม่มีสารตกค้าง

การบริหารงบประมาณเชิงกลนุทธ์ 

สิ่งสำคัญในการจะทำงบประมาณ

-ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20ปี (2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล แผนแม่บทกระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- กิจกรรมที่มีการบูณาการใน 3 มิติ ได้แก่ มิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area) มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวง/หน่วยงาน (Function) และมิติยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล (Agenda)

- การกำหนดโครงการ กิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ให้ชัดเจนพร้อมรายละเอียดประกอบ

การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ มีเรื่อง Technology และ Digital เป็น input  แล้วหรือยัง

สิ่งสำคัญในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์สู่กรปฏิบัติ 

1. แผนระยะสั้น ระยะยาว

2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

3. จัดสรรทรัพยาการให้เพียงพอ

4. กำหนดตัวชี้วัด

5. คาดการณ์ผลดำเนินการ

บทเรียนเพื่อพัฒนา กคช. กรณีศึกษ บ.น้ำตาลมิตรผล จก. 

6 Factor ที่ทำให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

1. Vision ต้องพูดเรื่องวิสัยทัศน์ให้ชัด

2. Communication การสื่อสารให้ชัดสำคัญมาก

3. Incentive แรงจูงใจที่จะให้เปลี่ยน

4. Skill มีความรู้ความสามารถทักษะสูง

5. Action Plan จะต้องมีแผนงาน

6. Tool ต้องจัดสรรทรัพยากรและเครื่องมือให้

บัณฑูรย์ มนธาตุผลิน

สรุปความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรม            วันที่ 7 มีนาคม 2561 

เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยอาจารย์สมชายและอาจารย์ ดร.สุรพงษ์  ทำให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เข้าใจในหลักการบริหารความเสี่ยงโดยแบ่งประเภทความเสี่ยงออกเป็น 4 ด้านคือ

 1 ด้านกลยุทธ์ 2 ด้านการปฏิบัติงาน 3 ด้านการเงิน 4 ด้านการปฏิบัติตามระเบียบปัจจัยความเสี่ยงเกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร   

           การบริหารจัดการความเสี่ยงจึงควรมีหลักด้วยกัน 4 ประการคือ 1 หลีกเลี่ยงความเสี่ยง 2 ลดความเสี่ยง 3 การร่วมจัดการความเสี่ยง 4 การยอมรับความเสี่ยง    

           กระบวนการบริหารความเสี่ยงคือการติดตาม   รายงานและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและปัจจัยที่จะทำให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จคือการได้รับการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมจากผู้บริหารระดับสูง มีการชี้แจงการบริหารการเปลี่ยนแปลง,การสื่อสารที่มีคุณภาพเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ และ Risk Culture ก็เป็นเรื่องสำคัญขององค์กรนั้นๆ

บัณฑูรย์ มนธาตุผลิน

สรุปความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรม            วันที่ 7 มีนาคม 2561 

เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยอาจารย์สมชายและอาจารย์ ดร.สุรพงษ์  ทำให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เข้าใจในหลักการบริหารความเสี่ยงโดยแบ่งประเภทความเสี่ยงออกเป็น 4 ด้านคือ

 1 ด้านกลยุทธ์ 2 ด้านการปฏิบัติงาน 3 ด้านการเงิน 4 ด้านการปฏิบัติตามระเบียบปัจจัยความเสี่ยงเกิดขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร   

           การบริหารจัดการความเสี่ยงจึงควรมีหลักด้วยกัน 4 ประการคือ 1 หลีกเลี่ยงความเสี่ยง 2 ลดความเสี่ยง 3 การร่วมจัดการความเสี่ยง 4 การยอมรับความเสี่ยง    

           กระบวนการบริหารความเสี่ยงคือการติดตาม   รายงานและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและปัจจัยที่จะทำให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จคือการได้รับการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมจากผู้บริหารระดับสูง มีการชี้แจงการบริหารการเปลี่ยนแปลง,การสื่อสารที่มีคุณภาพเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ และ Risk Culture ก็เป็นเรื่องสำคัญขององค์กรนั้นๆ

สรุปการเรียนวันที่ 7 มีนาคม 2561

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

กลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง

-Accept การยอมรับ ยอมรับความเสีี่ยงที่เกิดจากการปฏิบัติงานและภายใต้ระดับความเสี่ยงที่องค์กรสามารถรับได้

-Reduce การลด การดำเนินการเพื่อเติมเพื่อลดโอกาสเกิดหรือผลกระทบความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

- Avoid การหลีกเลี่ยง ดำเนินการเพื่อยกเลิกหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง

-Share การจัดการร่วมกัน โดยแบ่งความเสี่ยงบางส่วนกับบุคคลหรือองค์กรอื่น

7 ประเด็นที่ COSO เน้นเมื่อทำ ERM (Enterprise Risk Management)

1. การจัดการให้ผลลัพธ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม

2. เพิ่มโอกาสให้กิจการบรรลุวัตถุประสงค์หรือลดโอกาสที่จะพลาดเป้าหมาย

3. การทำ ERM ได้รับการออกแบเพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของกิจการให้มีระดับสูงที่สุด

4. เป็นกระบวนการซึ่งต้องทำเป็นขั้นตอนตามกรอบที่กำหนด

5. ต้องร่วมกันทำ โดยบุคลากรทุกคน ทุกระดับ ทั่วทั้งองค์กร

6.เน้นและเริ่มจากการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร

7.ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมทุกประเภทขององค์กรและทั่วทั้งองค์กร

นายบัณฑูรย์ มนธาตุผลิน

นายบัณฑูรย์  มนธาตุผลิน ผู้ตรวจการระดับ 9 กลุ่มที่ 2 ขอสรุป ความรู้ที่ได้จากการอบรมในวันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561 จากการบรรยายของท่านอาจารย์ พายัตและท่านอาจารย์ว่าที่ร้อยตรีจิรวัฒน์ โดยท่านอาจารย์ พยัต  ได้บรรยายถึงวิวัฒนาการของบริษัท พฤกษาโฮลดิ้ง ที่ประสบความสำเร็จ มีรายได้ จากการประกอบการ สูง มีวิธีดำเนินงาน โดย ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และสร้างนวัตกรรมใหม่ ที่สามารถ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี การบริหารงานภายในของบริษัท สามารถนำผลประกอบการมาแบ่งโบนัสให้แก่พนักงาน ภายในบริษัท โดยแบ่งกลุ่มการแข่งขันการทำงานได้รับโบนัส ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ผลประกอบการของกลุ่ม ต่างๆภายในบริษัท ทำให้เกิดการแข่งขัน และ การก่อสร้างโครงการที่ สำเร็จโดยใช้เวลาอันสั้น โดยนำ นวัตกรรม ใหม่ๆเข้ามาช่วยในการดำเนินการ ท่านอาจารย์ดอกเตอร์พยัตได้ บรรยายถึงวิวัฒนาการของ การบริหารงานของบริษัท ปตท .เกี่ยวกับวิธีคิดและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะเข้ามา  take Over บริษัท jet ซึ่งบทสรุปที่ได้จาก บริษัททั้งสองคือ  ต้องดูว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ และต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กรณีศึกษาทั้ง 2 บริษัท  สามารถนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติได้เป็นอย่างดี สำหรับ ว่าที่ร้อยตรีจีรวัฒน์ ได้บรรยายและยกตัวอย่างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking process ซึ่งมีหลักการ ที่ต้องเข้าใจลูกค้า   ตีโจทย์   ระดมความคิด สร้างสรรค์ต้นแบบ รวมถึงได้บรรยาย ให้ผู้รับการอบรมเข้าใจถึง บุคลากรในยุค Gen M Millennium ว่ามี บุคลิกและความสามารถอย่างไรเพื่อให้สามารถนำศักยภาพของเด็กรุ่นนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ท้ายที่สุดได้บรรยายถึงการก่อให้เกิดธุรกิจ platform ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในธุรกิจต่างๆ

นายบัณฑูรย์ มนธาตุผลิน

นายบัณฑูรย์  มนธาตุผลิน ผู้ตรวจการระดับ 9 กลุ่มที่ 2 ขอสรุป ความรู้ที่ได้จากการอบรมในวันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561 จากการบรรยายของท่านอาจารย์ พายัตและท่านอาจารย์ว่าที่ร้อยตรีจิรวัฒน์ โดยท่านอาจารย์ พยัต  ได้บรรยายถึงวิวัฒนาการของบริษัท พฤกษาโฮลดิ้ง ที่ประสบความสำเร็จ มีรายได้ จากการประกอบการ สูง มีวิธีดำเนินงาน โดย ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และสร้างนวัตกรรมใหม่ ที่สามารถ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี การบริหารงานภายในของบริษัท สามารถนำผลประกอบการมาแบ่งโบนัสให้แก่พนักงาน ภายในบริษัท โดยแบ่งกลุ่มการแข่งขันการทำงานได้รับโบนัส ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ผลประกอบการของกลุ่ม ต่างๆภายในบริษัท ทำให้เกิดการแข่งขัน และ การก่อสร้างโครงการที่ สำเร็จโดยใช้เวลาอันสั้น โดยนำ นวัตกรรม ใหม่ๆเข้ามาช่วยในการดำเนินการ ท่านอาจารย์ดอกเตอร์พยัตได้ บรรยายถึงวิวัฒนาการของ การบริหารงานของบริษัท ปตท .เกี่ยวกับวิธีคิดและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะเข้ามา  take Over บริษัท jet ซึ่งบทสรุปที่ได้จาก บริษัททั้งสองคือ  ต้องดูว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ และต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กรณีศึกษาทั้ง 2 บริษัท  สามารถนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติได้เป็นอย่างดี สำหรับ ว่าที่ร้อยตรีจีรวัฒน์ ได้บรรยายและยกตัวอย่างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking process ซึ่งมีหลักการ ที่ต้องเข้าใจลูกค้า   ตีโจทย์   ระดมความคิด สร้างสรรค์ต้นแบบ รวมถึงได้บรรยาย ให้ผู้รับการอบรมเข้าใจถึง บุคลากรในยุค Gen M Millennium ว่ามี บุคลิกและความสามารถอย่างไรเพื่อให้สามารถนำศักยภาพของเด็กรุ่นนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ท้ายที่สุดได้บรรยายถึงการก่อให้เกิดธุรกิจ platform ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในธุรกิจต่างๆ

นายสมบูรณ์ แพรงาม

สรุปโดยนายสมบูรณ แพรงาม

Panel Discussion การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี สำนักงาน ก.พ.

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์  รองกรรมผู้จัดการ บริษัท ทรีสคอร์ปอเรชั่น จำกัด

ดำเนินการอภิปรายโดย  อาจารย์ทำนอง ดาศรี

วันที่ 7 มีนาคม 2561

 

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

การบริหารความเสี่ยงและวัฒนธรรมความเสี่ยง

หลายองค์กรกล่าวถึงการบริหารความเสี่ยง แต่ไม่กล่าวถึงวัฒนธรรมความเสี่ยง แต่วัฒนธรรมความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ  โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผ่านมามีผลกระทบในภาพใหญ่ของโลก ทำให้อุณหภูมิความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้ต้องมีการตรวจอย่างเข้มงวดเวลาไปต่างประเทศ เช่น

-          ผลกระทบเหตุการณ์ 11 กันยายน มีผลกระทบต่อทั่วโลก

-          ในเรื่องเศรษฐกิจ มีวิกฤติต้มยำกุ้ง มาจาก BIBF กระตุ้นเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจเป็นฟองสบู่

-          ปีค.ศ. 2008 เกิดวิกฤติจากการออกหุ้นกู้ที่มีหลักประกันหลายชั้น เกิดเป็นฟองสบู่แตก นำไปสู่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้หลายประเทศต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน

และบริษัทหลักทรัพย์ระดับโลกต้องล้มไป ทำให้เกิดมาตรการ QE แล้วดอกเบี้ยลดลง เมื่อเปลี่ยนระบบนิเวศการเงิน ดอกเบี้ยขึ้นก็กระทบไปทั่วโลก

ความเสี่ยง หมายถึง เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร ดังนั้น องค์กรจึงควรดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย แต่สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่เป็นโอกาสในการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร

การบริหารความเสี่ยง หมายถึง การกำหนดนโยบาย โครงสร้าง และกระบวนการ เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรของบริษัทฯ นำไปปฏิบัติในการกำหนดกลยุทธ์และปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร โดยกระบวนการบริหารความเสี่ยงจะสัมฤทธิ์ผลได้ องค์กรจะต้องสามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ประเมินผลกระทบต่อองค์กร และกำหนดวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในระดับหนึ่งว่าผลการดำเนินงานตามภารกิจต่างๆ จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร หรือการบริหารความเสี่ยงองค์กร ERM (Enterprise-wide Risk Management) หมายถึง การบริหารความเสี่ยงโดยประสานโครงสร้างองค์กร กระบวนการ/กิจกรรมตามภารกิจ และวัฒนธรรมองค์กร เข้าด้วยกัน โดยมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การผสมผสานและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร การพิจารณาความเสี่ยงทั้งหมด ครอบคลุมความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร การมีความคิดแบบมองไปข้างหน้า และการได้รับการสนับสนุนและมีส่วนร่วม

COSO ออกเอกสาร Internal Control-Integrated Framework เพื่อให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานอื่นใช้ในการประเมินและปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน และมีการผสมผสานแนวคิดการจัดการความเสี่ยงเข้าไป จนพัฒนาขึ้นเป็นแนวคิด Enterprise Risk Management ซึ่งมี 8 ขั้นตอน

1.สภาพแวดล้อมภายในองค์กร

2.การกำหนดเป้าหมาย

3.การระบุเหตุการณ์

4.การประเมินความเสี่ยง

5.การตอบสนองความเสี่ยง

6.กิจกรรมควบคุม

7.ระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร

8.การติดตามและประเมินผล

 

ในเชิงประเมินผล ความเสี่ยงสำคัญอย่างยิ่ง ต้องมีระบบดูแลให้ได้มาตรฐาน เวลาทำยุทธศาสตร์ มีเป้าประสงค์ ก็ต้องขจัดความเสี่ยงต่างๆ ถ้ามีระบบ ก็บรรลุยุทธศาสตร์ เป้าหมายดี เกิดกระบวนการสื่อสาร ทำให้ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ปรับปรุงการทำงานต่อเนื่อง ช่วยการตรวจสอบภายในเน้นแค่เรื่องสำคัญไม่ต้องตรวจทุกเรื่องเพราะมีวัฒนธรรมความเสี่ยงแล้ว ลดผลกระทบ ความตื่นตระหนกเพราะมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น สคร. สำนักงบประมาณ กระทรวง รัฐบาล ผู้เกี่ยวข้อง ลูกค้า ทำให้พบโอกาสใหม่ๆด้วย

 

หลัก COSO ERM มีการบริหารความเสี่ยงตามขั้นตอน มีความครอบคลุม กลยุทธ์ การปฏิบัติงาน การรายงาน(การเงิน) กฎหมาย และต้องทำทุกระดับ COSO ไม่เน้น strategic risk แต่ ERM COSO เน้น strategic risk มีหลายองค์กรพยายามปรับตัว เช่น เดิมนำยุทธศาสตร์เข้าบอร์ดแล้วมาทำเรื่องความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน Risk owner มีหน้าที่บริหารความเสี่ยง

ต้องทำแผนความเสี่ยงพร้อมแผนธุรกิจ มีการติดตามต่อเนื่องตลอดเวลา แผนบริหารความเสี่ยงสามารถปรับได้ การบริหารความเสี่ยงไม่ใช่ขจัดแต่ควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การบริหารความเสี่ยงทำให้มูลค่าองค์กรสูงขึ้น จึงดีกับทุกคน

 

ดร.สุรพงษ์ มาลี

คนเข้าใจผิด 3 เรื่อง

1.เข้าใจว่าความเสี่ยงไม่ดีเสมอไป ในมุมบริหารความเสี่ยงปัจจุบัน ไม่มองว่าบวกหรือลบ high risk high return บางโครงการเสี่ยงสูง ก็มีผลตอบแทนสูงเหมือนกันถ้าประสบความสำเร็จ

2.ในโลกนี้ไม่มี risk free world เป้าหมายบริหารความเสี่ยงไม่ใช่ทำให้มันหมดไปจากโลก แต่ควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

3.ทุกคนจะพูดว่า play safe ขัดกับหลักบริหารจัดการยุคใหม่ จิตวิญญาณผู้ประกอบการ ระดับความเสี่ยงสำคัญ วัฒนธรรมความเสี่ยงในองค์กรสำคัญ บางองค์กรไม่ชอบเสี่ยง บางองค์กรชอบแสวงหาโอกาสใหม่ จะสะท้อนในโครงสร้างองค์กรและรางวัล องค์กรที่มีโครงสร้างชัดจะไม่มี risk culture ส่วน reward ไม่แตกต่างกันทำให้คนคิดอะไรเหมือนๆกัน องค์กรบางรูปแบบสนับสนุนให้คนลองผิดลองถูก คิดสิ่งแตกต่างเพราะถือเป็นชีวิตใหม่ขององค์กร เป็น The most innovative organization

Risk must be identified with strategic objectives.

Risk assessment ค้นหา critical risk and risk appetite ดูโอกาส ผลกระทบ ระบบควบคุมปัจจุบันมีประสิทธิภาพหรือไม่ แก้ได้ทันทีหรือไม่ ผลคูณ 3 กลุ่มนี้ออกมาเป็น risk priority ทำ risk map จะมีระดับที่ยอมรับได้ คือ risk appetite ระดับที่ยอมรับไม่ได้คือ critical risk

Risk response (5T)

1.Tolerate อยู่ร่วมกับบางความเสี่ยงได้ ในกรณีต้นทุนในการจัดการความเสี่ยงไม่คุ้ม

2.Treat บริหารจัดการเพื่อควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ คือ ลดโอกาสการเกิดและลดผลกระทบ

3.Transfer มีพันธมิตร ประกัน

4.Terminate อาจจะต้องเลิกบางงาน หรือบางหน่วย ภาครัฐอาจจะทำได้ยาก

5.Take opportunity ความเสี่ยงอาจนำมาซึ่งโอกาส เช่น ครัวเรือนไทยมีสมาชิก 2.3 คน สังคมเป็นสังคมเมืองมากขึ้น จะทำให้เป็น smart city มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะตอบสนองยุทธศาสตร์ 20 ปีอย่างไร

Internal Control เหมือน 5Ts

1. Pre-event control

2. Post-event control

3. Emerging Opportunity

Risk evaluation and review ติดตามตรวจสอบว่าได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง แผนที่ดีต้องลดโอกาสความเสี่ยงหรือลดผลกระทบ สิ่งสำคัญคือการสื่อสาร อะไรเป็น critical risk ใครเป็น risk owner สำคัญกว่า risk committee

 

 

 

Risk ยุคนี้

Disruptive technology /Volatility/Uncertain/Complex

Ambiguity ความคลุมเครือ แก้ยากที่สุด จะสร้างสมดุลระยะยาวกับระยะสั้นอย่างไร

การจัดการความเสี่ยงช่วยแก้ uncertainty เท่านั้นเพราะการจัดการความเสี่ยงทำสิ่งไม่แน่นอนให้แน่นอนได้

Technological risks การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมส่งผลต่อการทำงานของการเคหะ บริษัทพฤกษาจะนำเทคโนโลยีมาใช้เกี่ยวกับบ้าน เช่น smart home บางอาชีพจะถูกทดแทนด้วย automation

Information risks เช่น Big data ถ้าฐานข้อมูลไม่ทันสมัย อยู่ก็ยาก

การตัดสินใจ ถ้าเป็น critical risk จริง มีโอกาสเกิดและผลกระทบสูง ก็ตัดสินใจง่าย แต่โอกาสเกิดเป็น 0 แต่ถ้าเกิด จะมีผลกระทบรุนแรง ก็ตัดสินใจยาก

 

Learning Forum –การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (2)

นำเสนอบทเรียนจากหนังสือดีๆ เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์และการปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

(นำเสนอหนังสือ The Alibaba Way)

วันที่ 7 มีนาคม 2561

Chapter Five: Integrity Capital - Based Microfinance

-          จากการที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการขยายตัวของธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจรายย่อย และธนาคารต่างๆ มองเห็นอนาคตทางการเงิน  จะย้ายไปอยู่ที่ธุรกิจขนาดย่อมและในยุคที่ Internet มีบทบาทอย่างมากต่อธุรกิจ โลกการบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และทำให้เกิดแนวคิดและมุมมองใหม่ๆ (Mindset)

-          ในปี 2542  Alibaba ได้เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นเพื่อช่วยผู้ส่งออกรายเล็กที่มีส่วนร่าวมในการผลิตและการค้า  ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศจีนให้เข้าถึงผู้ซื้อทั่วโลก ก่อตั้งโดย แจ็ค หม่า โดย E-commerce รายใหญ่ สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อความเป็นอยู่ของคน สร้างความเข้าใจทางด้านการเงินและเงินทุน การบริหารเงินทุน

-          ในปี  2546 Alibaba ได้สร้างเว็บไซต์ขายปลีกที่ใหม่ที่สุด   ในประเทศจีน ชื่อ Taobao.com เป็นเว็บไซต์ในการซื้อขายสินค้าที่สามารถ   ตอบโจทย์ผู้บริโภคในประเทศจีนได้อย่างเต็มรูปแบบ  แต่ก็ยังมีในด้านความไม่มั่นใจในการซื้อ-ขายสินค้าของผู้ซื้อและผู้ขาย Customer to Customer

-          Alibaba ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย เสมือนเป็นผู้ค้ำประกันให้กับทั้ง 2 ฝ่าย โดยสร้างระบบ Alipay มาใช้กับ Taobao เมื่อ 15 ต.ค. 2546 ซึ่งเมื่อผู้ซื้อจ่ายเงินผ่าน Alipay ระบบจะเตือนให้ผู้ขายส่งของ และเมื่อได้รับการยืนยันว่าส่งของแล้ว และระบบมีเงินเข้าแล้ว ระบบก็จะจ่ายเงินให้กับผู้ขาย สร้างความเชื่อมั่นให้ทั้ง 2 ฝ่ายและยังทำให้จ่ายเร็ว สะดวก และง่ายขึ้น Alibaba มีการพัฒนาต่อยอด Alipay   ในการร่วมมือกับธนาคารทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงบัตรเครดิตต่างๆ ในการชำระสินค้า

-           ในการทำธุรกิจ E-commerce ผู้ประกอบการขนาดเล็กไม่มีความยั่งยืนในเรื่องแหล่งเงินทุนเกิดความเสี่ยงในการพัฒนาประเทศ Alibaba จึงมีแนวคิดสร้าง Ali Small Loans (เงินกู้ขนาดเล็กของ Ali)    และออกแบบระบบการเงินให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือส่วนบุคคล ภายใต้ชื่อ Yuebao   ต่อมาพัฒนาเป็นกองทุนรวมตลาดเงินใหญ่อันดับ 4 ของโลก และสอนให้ประชาชนรู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อวางแผนการลงทุนและดูแลทรัพย์สิน Alibaba “เปลี่ยนความเชื่อมั่น เป็นความร่ำรวย และทำให้การยืมเงินเป็นเรื่องง่าย”

 

 

Chapter 7 The Routinization of ALiBABA’s Corporate Culture Innovation

องค์กร ALiBABA เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมองค์กรวัฒนธรรมอาลีบาบาต้องการให้พนักงานทุกคน “ทำงานให้มีความสุข และใช้ชีวิตอย่างจริงจัง” แจ็ค หม่า “ลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง พนักงานอันดับสอง และผู้ถือหุ้นอันดับสาม”   ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรของอาลีบาบา และเป็นหัวใจสำคัญของหลักการทำธุรกิจแบบแจ็ค หม่า โดยให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเป็นอับดับแรกทุกสินค้าและบริการต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด พนักงานทั่วไปของบริษัทซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนงานของบริษัททั้งหมดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดี เห็นได้จากการจ่ายโบนัสประจำปี จะคำนึงถึงพนักงานทั่วไปก่อนผู้บริหารระดับสูงซึ่งมักจะไม่ได้รับโบนัส

ตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงนี้คือการปฏิบัติของอาลีบาบาในการทำให้ผู้คนยืนหยัดอยู่ด้วยอยู่ในศีรษะของตน อาลีบาบาอยากให้พนักงานมองโลกในแง่มุมใหม่ ๆ เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงให้พนักงานใหม่ทุกคนอายุน้อยหรือหนุ่มสาวอ้วนหรือผอมเรียนรู้ที่จะยืนอยู่บนศีรษะของเขากับผนัง ผู้ชายต้องมีกลับหัวอย่างน้อย 30 วินาที ผู้หญิงต้องให้ไว้ 10 วินาที  ถ้าทำไม่ได้ผู้สมัครใหม่ก็ต้องกลับบ้านไป  สิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือการบังคับให้คนคิดจากมุมมองที่แตกต่างออกไป แจ็คบอกว่า “ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะยืนอยู่บนศีรษะเพราะเมื่อคุณคว่ำหัวลงเลือดไหลเข้า สมองของคุณและคุณเห็นสิ่งต่างไปจากที่คุณต้องการ นอกจากนี้คุณยังสามารถนึกถึงประเด็นต่างๆ ในแบบที่คุณจะได้พบก่อนหน้านี้”

อีกวิธีหนึ่งที่ระบบของอาลีบาบาทำคือ การหมุนตำแหน่ง  คือจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อาลีบาบามีโปรแกรมที่หมุนเวียนอยู่เสมอ ทุกปีมีการกำหนดตำแหน่งระดับผู้บริหารอีกครั้ง หากผู้จัดการมีความปรารถนาที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งใด ๆ พวกเขาต้องปฏิบัติตามข้อควรพิจารณา 2 ข้อ ประการแรกพวกเขาต้องมีแผนการที่ดีในใจสำหรับผู้ที่จะประสบความสำเร็จพวกเขาในตำแหน่งปัจจุบันของพวกเขา ประการที่สองพวกเขาต้องมีประสบการณ์ในการหมุนเวียนตำแหน่งพนักงานที่โดดเด่นกว่ามากของอาลีบาบาได้ทำทุกงานเดียวใน บริษัท รองผู้อำนวยการอาวุโสของอาลีบาบากล่าวว่า "ในขณะที่คุณเปลี่ยนตำแหน่งคุณจะขจัดอุปสรรคระหว่างตำแหน่งหนึ่งและตำแหน่งถัดไปเท่านั้นหากคุณทำอย่างนั้นจริงๆแล้วผู้คนสามารถทำสิ่งต่างๆได้จากมุมมองที่ต่างออกไป ได้สร้าง เครือข่ายการสื่อสารภายในของ Ali เรียกว่า "อาลี Flavor" ชื่อของ forum คือ Say What You Want “ ในเครือข่ายนี้เป็นกระดานข่าว เช่นการแชททางธุรกิจข่าวเกี่ยวกับลูกค้าและเรื่องอื่น ๆ และยังมีกระดานข่าวเกี่ยวกับงานอดิเรกผลประโยชน์ ความเพลิดเพลินอื่น ๆ อีกด้วย

การสื่อสารภายในอาลีบาบา เรียกว่า WCBBS (ย่อมาจาก Water Closet Bulletin Board Service) ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะวางกระดาษไว้ด้านหลังประตูห้องน้ำ เขียนความคิดเห็นและแนวคิด แผ่นมีหัวข้อที่สามารถระบุได้และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งคราว เมื่อใดก็ตามที่พนักงานรู้สึกกระตุ้นเพื่อที่จะพูดพวกเขาสามารถจดความคิดของพวกเขา วิชาที่แตกต่างกันไปในแต่ละหัวข้อจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในนั้นกล่าวว่าถ้าเอดิสันยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเขาจะทำอย่างไร? "ชนิดของสิ่งนี้มักกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองอย่างกระตือรือร้น ผลิตภัณฑ์ใหม่และการตอบสนองให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงพวกเขาทุกเดือนฝ่ายทรัพยากรบุคคลเก็บรวบรวม WCBBSs และดำเนินการวิเคราะห์ความคิดเห็น ทางสถิติ จากวิธีเหล่านี้ อาลีบาบา  สามารถส่งเสริมกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาจากแนวคิดของพนักงานทุกระดับ

 

การปรับใช้สำหรับการเคหะ

-          การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น วิจัยสำรวจความต้องการลูกค้า สภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ลูกค้าต้องการ การบริการการเคหะต้องให้ความสะดวกแก่ลูกค้ามากที่สุด เป็น platform เปิดรหัสจอง ใช้เทคโนโลยี ถือบัตรประชาชนมายื่นจองบ้านการเคหะได้

-          แนวคิด“อาลี Flavor”สร้างกระดานข่าวสื่อสารระหว่างหน่วยงาน การแชร์แบ่งปันข้อมูลภายในองค์กร เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหา แนวทางแก้ไข ที่ประสบความสำเร็จ 

-          จากแนวคิดโครงการ “A-Star” Alibaba Star ให้ทุนนักศึกษามาพัฒนา หรือการคัดเลือกบุคคลTalentเด่นในแต่ละสาขามาพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติม เหมือนการสร้างทุนมนุษย์ให้องค์กร อาจใช้ 8K’s 5K’s สร้างแรงบันดาลใจพัฒนาให้เป็นทุนมนุษย์ช่วยงานการเคหะ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อ การพัฒนาที่อยู่อาศัย...กับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 กรณีศึกษา

โดย     ดร.โสภณ พรโชคชัย

          นายสิทธิชัย เนี๋ยมเจริญ

ดำเนินการอภิปรายโดย  ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

วันที่ 14 มีนาคม 2561

 การเจริญเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ ในระดับล่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคนทำ  แต่ข้อดีคือสลัมลดลง  ตรงไหนมีโครงการเยอะ ตรงนั้นจะมีจุดตั้งโครงการ และมีการขายโครงการเยอะ  ปี 2017 มีโครงการประมาณ 410 โครงการ  ปีนี้โครงการลดลง เช่น ที่สนามหลวง ราชดำเนิน ถนนข้าวสาร วัดอรุณฯ แต่มีการเสนอขายยังเยอะอยู่

             ในรอบ 20 ปี จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นมาตลอด แต่แนวโน้มการลดลงจะมีมากขึ้นเช่นกัน แต่กลุ่มที่มีอำนาจซื้อก็ยังอยู่ เช่น บ้านราคา 15 ล้านบาท ในปีหนึ่งคอนโดเกิดขึ้นมาส่วนใหญ่มีน้อยลง

แนวโน้มที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ

ในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา Trend บ้านแฝดกำลังมากำลังมาแรง (เงื่อนไขต้อง 35 ตารางวาขึ้นไป) ที่ดินมีความสำคัญมาก ถ้าลดราคาที่ดินลงมาหน่อยก็จะขายได้มากขึ้น

             อย่างการเคหะฯ ถ้าทำขึ้นมาแบบญี่ปุ่นก็จะสามารถขายได้ในช่วงวิกฤติปี 40 การไป Survey ปี 41-43 ไม่ได้ย่ำแย่มากเท่าไหร่ ซึ่งถ้าศึกษาให้ดีปัญหาต่าง ๆอาจไม่เกิดขึ้น

ข้อดีของการเคหะฯ คือ สร้างเสร็จหรือเกือบเสร็จก่อนขาย

สัดส่วนการเคหะฯ ที่เหลือขายประมาณ 190,000 หน่วย เทียบสัดส่วนกับสมัยก่อนถือว่าไม่มากเท่าไหร่การแบ่งกลุ่มที่ทำเลขายได้ดี ถ้าตั้งอยู่ที่ที่ตั้งแถวนี้น่าจะขายได้แน่ ยกเว้นว่า มีเหตุที่ทำให้บ้านไม่น่าซื้อ ได้แก่ รัชโยธิน บางบัวทอง ปทุมวัน นวมินทร์ บางนาตราด พหลโยธิน ศรีนครินทร์ ลาดกระบัง ยานนาวา-สีลม คลองสาน  ป้อมพระจุล พหลโยธิน  วงแหวนรอบนอกเพชรเกษม พิบูลสงคราม  ฯ

 

ลำดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บริษัทมหาชน  10 อันดับแรก   ได้แก่ พฤกษา เรียลเอสเตท  ,เอพี (ไทยแลนด์),  แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์  , อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ , ออริจิ้น พร้อมเพอร์, ศุภาลัย ,เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ,พร้อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค  แผ่นดินทอง พร๊อบเพอร์ตี้ ดีเวลล้อปเม้นท์ , เอเวอร์แลนด์ บริษัทที่ไปต่างจังหวัดมากที่สุดได้แก่    บริษัทแสนสิริ  แต่ขายไม่ค่อยดี เลยเลิก

 

 

 

 

 

Innovation แบบอย่างต่างประเทศ

ยกตัวอย่าง

1. ที่ตั้ง World Expo เซี่ยงไฮ้ ก็เป็นโรงงานเก่าอายุร่วมร้อยปี เทียบคลองเตย

2. สนามบินไคตัก (ในอดีต) ที่ฮ่องกง ขณะนี้แปลงเป็นเขตที่อยู่อาศัยราคาแพง สำนักงาน หน่วยราชการ โดยเว้นพื้นที่บางส่วนเป็นสวนสาธารณะ

3. KL Sentral ของกัวลาลัมเปอร์ก็พัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมรวมทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า

4. พื้นที่รถไฟใจกลางมหานครของญี่ปุ่นที่เดี๋ยวนี้ลงใต้ดินไปแล้วกำลังจะพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ไม่มีใครเอาไปทำสวน

5. ท่าเรือเก่าใจกลางกรุงลอนดอน บริเวณ Canary Whraf เอามาทำศูนย์ธุรกิจ

6. กรุงลอนดอนในวันนี้ แสดงศูนย์การเงิน Lendenhall

 

นายสิทธิชัย เนี๋ยมเจริญ

          ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ Thailand 4.0 ประเทศไทยกำลังปรับตัวเองไปด้านนวัตกรรม  สิ่งที่ดูคือ Envision for solution จะตรงมาที่หน่วยงานก่อนว่าทำอะไรกัน

Envision คือการ Imagine Something Possible

          SCG จึงเน้น Platform 4 อย่างคือ

          - Construction Platform

          - Elder Care Solution Platform

          - ECO Solution Platform

          - Smart Solution Platform

          ในปี พ.ศ. 2561 SCG เกิดมา 105 ปี เต็ม ผ่านวิกฤติมากมายอย่างในปี 1997 วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก จนต้อง Restructure  มีบริษัท 205 บริษัท หลังจากที่เรามีบริษัทมาก หลังจากนั้นเข้ามายุคที่เริ่มตั้งหลักได้ ปี 2004 คือยุคที่เริ่มเปลี่ยนแปลง เป็นยุคการทำ Innovation เพราะไม่เช่นนั้นธุรกิจไม่รอด และในวันนี้ปี ค.ศ. 2017 เรากำลังเจอวิกฤติตัวใหม่คือ การ Disrupt ทาง Business สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การ Disrupt ในยุค Digital Transformation ยกตัวอย่างที่เมืองจีนไม่ใช้ Currency ปกติแล้ว เขาใช้มือถือยิง QR code อย่างเดียว

 

 

 

 

 

 

นวัตกรรม คืออะไร

Innovation ต่างกับ Invention

Invention คือการประดิษฐ์ สิ่งไหนที่เกิด Invention หมายถึงเกิดขึ้นครั้งแรกของโลก แต่ Invention ทั้ง 100 % ไม่เป็นนวัตกรรม หมายถึง Innovation จะไม่เกิดประโยชน์ถ้าไม่สร้าง Value สู่ Customer

          1. New to us สิ่งนั้นใหม่สำหรับเรา

          2. New to market ในตลาดยังไม่มีใครทำแต่เราไป Import มาขายได้

          3. New to the world ในโลกยังไม่มีใครทำ แล้วเราทำแล้วขายได้ สิ่งนี้ถือเป็นสุดยอดมาก

          โลกเสมือนจะเกิดขึ้นจริงในเร็วนี้

ความสัมพันธ์ระหว่าง Creativity , Invention and Innovation

          Invention ตัวไหนที่มีการกระแทกใจอย่างดีแล้วลูกค้าได้รับประสบการณ์แล้วชอบ สิ่งนั้นคือ Innovation

What SCG believe in Innovation

          แนวคิดของ SCG  คือ ถ้าไม่มี Innovation จะไม่สามารถสร้าง Sustain Growth

How to Build an Innovation Organization?

          - Vision

          - Innovation Culture

          - Innovation Process

          - Customer Centric

ใครเป็นคนมี Vision

          คือ Leader  มองปลายทางคือลูกค้า หมายถึงสิ่งที่ทำต้องขายได้ ต้อง Build Process  

โครงสร้าง SCG มียึดมั่นในอุดมการณ์ 4  SCG Innovation Organization สร้าง Innovation for life

1. Customer Centric

2. Visionary Leadership & People Competency

3. Inno- Culture Practice

4. New Idea System

Where a potential idea come from?

          1. Technology Scanning

          2. Competitor Landscape

          3. Mega Trend

          4. Customer Insight

 

 

มอง Mega Trend ว่าอะไรคือ Key Driver

          จะลงทุนตัวไหน รู้ก่อนได้เปรียบ 

1.STEEP  to Driver

2. S-Curve to Landscape

3. Technology Roadmap

Global Mega Trend

          ยกตัวอย่างเช่น ความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับบ้านมีเรื่องอะไรบ้าง สิ่งที่พบคือคนส่วนใหญ่เริ่มสนใจสิ่งที่เป็น Life Style ความเป็น Smart Goal มากขึ้น แต่ตัวเปลือกเริ่มสนใจลดลง

การคาดเดา   เราต้องรู้ว่าจะดูว่าอันไหนอยู่ตรงไหน

Create our Own strategic opportunity Areas (SOA)

1. Construction Platform งาน Construction ต้องลด Skill Labor งานก่อสร้างกำลังจะเจ๊ง เพราะทุกอย่างว่าด้วย Standard อยู่ที่โรงงาน Platform จึงเป็นสิ่งสำคัญ

2. ECO Solution Platform มีเรื่อง Energy generation, Energy saving , Thermal Comfort, Air Quality

ยกตัวอย่าง- Renewable Energy

3. Elder Care Solution Platform  ประเทศไทย เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว สิ่งที่คนสูงวัยต้องมีคือเรื่อง Safety ,Wellness, Convenience, และ Multi-Generation คือการ Mix กันระหว่าง Generation  ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ

4. Smart Solution Platform   ประกอบด้วย Better living solution, One connectivity Platform, Reliability สิ่งที่พบโดยมากจะพบว่า Smart City นำร่องโดยภาคเอกชน

 

หัวข้อ การบริหารกลยุทธ์องค์กร (2)

โดย     ดร.ณัฐวุฒิ  พงศ์สิริ

          อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูลย์  

ดำเนินการอภิปรายโดย  ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

วันที่ 14 มีนาคม 2561

 

กรณีศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย

ดร.ณัฐวุฒิ  พงศ์สิริ

          ปัจจุบันแผนกลยุทธ์จะเป็น 3 ปี เน้นเชิงคุณภาพมากขึ้น มีการประเมินผล ในช่วงหลังการทำแผนกลยุทธ์ มีบอร์ดในหลายภารกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

          การเริ่มทำแผนกลยุทธ์ต้องดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป

The World is changing

             - Fewer boundaries โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เรามีความสามารถแข่งขันอย่างไรก็ได้

- Free flow information การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจผู้บริโภค เช่น Wall mart สามารถทราบได้ว่าใช้สบู่ขนาดไหนแล้ว จะซื้ออีกเมื่อไหร่ สังเกตได้จากการ Flow ข้อมูล

          - Rapid tech advancements, enablers and distractors เทคโนโลยีมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เป็นหนึ่งในสมการการคิดแผนกลยุทธ์องค์กร

          - Smarter mobiles

          - Virtual Reality is reality จะเป็นลักษณะ Work from home มากขึ้น

          - More Connected

Navigating the next industrial revolution

          เปลี่ยนแปลงเร็วมาก สังเกตได้ว่าจะเห็นเครื่องมือใหม่ ๆ มี AI และมีระบบ Face recognition คือระบบจดจำภายหน้าเป็นระบบ Machine Learning และถึงขั้น Deep Learning สามารถสั่งการขับรถโดยพิมพ์ได้โดยไม่ต้องใช้มือพิมพ์

Technology is everywhere

          ทุกอย่าง Customization เรื่องที่เกิดขึ้นเป็น มีเดียต่าง ๆ เป็นลักษณะ Streaming มีการupload ข้อมูลได้เร็วขึ้นจาก Big Data

          - Social ,Mobile ,Analytics & Cloud

          - Artificial Intelligence, Cognitive &Robotics

          - Big Data and Automation

 

 

The Quest for Customer Focus

ใครมีข้อมูลทางการตลาดจะวิเคราะห์ได้เร็วขึ้น โลกในปัจจุบันเป็นโลกของผู้ซื้อไม่ใช่ผู้ขาย ผู้ซื้อได้ประโยชน์เนื่องจากสามารถเทียบราคาได้ แต่ในวันนี้พลิกกับเป็นโลกของผู้ผลิต คือคนที่ขายของได้ต้องสร้างความรู้สึกในการที่คนต้องใช้สิ่งของนั้นเสมือนเป็นการบังคับให้ผู้ซื้อใช้ของที่เป็น Experience

ในองค์กรเอง ถ้าผลิตจนถึงการสร้างให้เกิดความเป็นส่วนหนึ่ง เหมือน Challenge มีความสุข ทำแล้วรู้สึกภาคภูมิใจ คนได้เรียนรู้ทุกวัน สรุปคือ Experience จะทำให้คนซื้อของ และอยู่ในองค์กร

VUCA

          โลกยุค VUCA คือ ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน ไม่ชัดเจน

องค์กรและการเปลี่ยนแปลง

          1. องค์กรที่ไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น – ยังมีการจ้างคนเหมือนเดิม และมีการรั่วไหล ยังไม่อยากเปลี่ยนแปลง ไม่ลงทุน

          2. องค์กรที่เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงและรอจนกว่าจะกระทบตัวเอง

          3. องค์กรที่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรู้ว่าทำอย่างไรแต่ไม่ลงมือทำ

          4. องค์กรที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง เป็นองค์กรที่จะอยู่รอดได้ในอนาคต ทุกสายงานบอกได้ว่าต้องการคนกี่คน ลักษณะแบบไหน

          ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันอาจเกิดปัญหาได้  เราต้องสร้างค่านิยมร่วม ไม่มีองค์กรไหนที่ไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่ปรับเทคโนโลยี เพราะโลกเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ในอดีตจะเห็นว่าเราไม่สามารถป้องกันอะไรได้  ปัญหาคือ HR ไม่ได้มองการ Retain คนเป็นเรื่องใหญ่ เรามองดูว่าเราจะใช้ศักยภาพให้เต็มที่ได้อย่างไร แล้วต้อง Deliver ไห้ได้อนาคตเป็นสิ่งที่ต้องดูในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน มีการกำหนดเรื่องโครงสร้างทางสังคมในการเลือกปฏิบัติ มีการปรับกฎระเบียบต่าง ๆ

Some Fundamental Questions ?

Key Questions in Strategic Management

             1. Where are we now?  

             2. Where do we want to go?

             3. How will we go there?

Factors Shaping the Choice of Strategy

          มีปัจจัย Internal Factors และ External Factors และมีการ Mix of considerations that determines a company’s strategic situation

 

 

 

 

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูลย์  

การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรสร้างสรรค์

1. COD – Creative Organization Development

2. Strength Based Organization

 

COD – Creative Organization Development

การแสดงความเห็น

             1. การตอบโจทย์ลูกค้าได้ถูกต้อง และเพิ่มมูลค่าสินค้าบริการ

             2. คนขับรถมีคุณภาพสามารถวางในจุดที่ดีกว่า

             3. ความคิดสร้างสรรค์เกิดได้กับทุกคนในองค์กรไม่จำเป็นต้องเป็นแผนกบริหารหรือแผนกใด ๆ

             4. ไอเดียต่าง ๆ จะอยู่ที่ผู้ปฏิบัติจริง

             สรุปโดยอาจารย์ศรัณย์ แนวคิดด้านบนคือความรู้องค์รวม ส่วนข้างล่างเป็น Specific Knowledge แนวคิดสร้างสรรค์อยู่ตรงไหน

 

คำถามคือ COD ดีอย่างไร

ให้ผู้บริหารเลือกได้ 2 อย่างจากทั้งหมด 8 อย่าง จะเลือกอะไร

ตอบ        1. ทำงานง่ายขึ้น

             2. ประหยัดค่าใช้จ่าย

             3. ประหยัดเวลา

             4. ปรับปรุงบริการลูกค้า

             5. พนักงานมีส่วนร่วม

             6. ปรับปรุงพัฒนาองค์กร

             7. ปรับปรุงผลพัฒนาองค์กร

             8. เพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน

             ผลจากการสำรวจพบว่าในห้องประชุมการเคหะฯเลือก พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น

 

 

 

 

 

 

หากไม่ COD คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ตอบ        1. เสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง

             2. ลูกค้าไม่พอใจ

             3. เสียลูกค้า

             4. พลาดโอกาสดี

             5. ผลการดำเนินงานองค์กรตกต่ำ

             6. พนักงานขาดความเคารพและเชื่อมั่นในตัวผู้บริหาร

             7. พนักงานไม่ทุ่มเทอย่างเต็มที่เพราะไม่มีส่วนร่วม

             ผลจากการสำรวจพบว่าในห้องประชุมการเคหะฯเลือก พนักงานไม่ทุ่มเทเพราะไม่มีส่วนร่วม

ผลดีของการทำ COD (เลือก 2 ข้อ จาก 9ข้อ )

ตอบ        1. หัวหน้ามีความเคารพพนักงานอย่างจริงใจ

             2. พนักงานช่วยให้ผลงานดีขึ้น

             3. พนักงานได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

             4. เกิดไอเดียต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง

             5. สร้างวัฒนธรรมสู่ความเป็นเลิศ

             6. พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น

             7. พนักงานใส่ใจมากขึ้น

             8. พนักงานรู้สึกมีคุณค่าต่อองค์กร

 

หลักความคิดสร้างสรรค์ 4 M

             1. Mindset – ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ

             2. Mood – อารมณ์ ความรู้สึกที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์

             3. Mechanic – ขั้นตอนการคิด

             4. Momentum – ทำอย่างไรให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยั่งยืนไม่เป็นไฟไหม้ฟาง

 

Strength Based Organization

             องค์กรทั่วไปจัดวางพนักงานองค์กรอย่างไร สิ่งที่ทำอย่างนี้ทำให้พนักงานไม่ใช้ความสามารถเต็มร้อย อาจทำให้ไม่สำเร็จหรือใช้ทรัพยากรไม่เต็มที่  เพราะสิ่งที่ขาดหายไปคือพรสวรรค์และ Talent ถ้าเอา Talent มาพิจารณาด้วยจะเกิดจุดแข็งที่แท้จริง

             Talent = Skill + Knowledge

ดังนั้นการ Recruit คนต้องดู Talent + Skill + Knowledge

             จากการสำรวจพบว่า Talent ทุกคนมีพรสวรรค์ของตัวเอง ที่พบคือ 34 Talent ที่ทำให้เกิดรูปแบบความคิดพฤติกรรม ที่ทำซ้ำ ๆ ให้เกิดการทำงานได้ การมี Talent จะทำให้เกิด High Performance มีทั้งหมด 34 Theme แบ่งเป็น 4 กลุ่ม มีการประเมินแบบ Strength Finder

             เราสามารถรู้ได้ว่าเรามีพรสวรรค์แบบใด พนักงานมีพรสวรรค์แบบใด

             ท้ายที่สุด ไม่ว่าเราอยากให้องค์กรเป็นแบบใดก็แล้วแต่ต้องมีการออกแบบด้วย

 

สรุปคือ องค์กร COD และ Strength Based Organization น่าจะมีการประยุกต์เอา Design Organization ในการออกแบบองค์กร

 

โครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” ประจำปี 2561 หลักสูตร Classroom

หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ

โดย     ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

          ดร.ทรงวุฒิ ชนะภัย

ดำเนินการอภิปรายโดย  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันที่ 15 มีนาคม 2561

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

             เราจะจัดการการท้าทายอย่างไร เราจะเปลี่ยนเป็น Opportunity ได้อย่างไร สิ่งสำคัญในวันนี้คือเราต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานของเรา เราต้อง Turn Challenge into Action และ Turn Action into Success

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

วันนี้อยากให้คิดแบบคนนอกมองมาที่การเคหะฯ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนโลกทัศน์หรือจุดยืนของว่าที่ผู้นำแบบนักการตลาดที่เรียกว่า Demand Focus

             เดิมสิ่งแรกที่จะเกิดคือ ผู้นำหรือผู้ตามในอดีต เวลาเราจะทำธุรกิจอะไรเราจะเริ่มจากฉันทำอะไรเก่ง แต่เราไม่ได้ถามว่าทำไมคนมาร้านเรา

             ประเทศไทย การเคหะฯ ต้องดูนโยบายระดับชาติแบบราชการ  ต่างกันมากก็ไม่เยอะ  เรามี Mindset ว่าเราสามารถทำได้ก่อนโดยไม่มีคู่แข่ง การเคหะฯ จะอยู่ในสถานะลูกคนกลางในหมู่รัฐวิสาหกิจ จะมีความรู้สึกคือสมดุลแต่ไม่เสริมแรง

ก. การทำ SWOT (เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์)

- SW = พลังภายใน เป็นพลังความแข็ง (Strength) และอ่อนข้างใน (Weakness)

- OT = พลังภายนอก  คือโอกาส (Opportunities) และการคุกคาม (Threats)

-  PEST คือพลังจากสิ่งแวดล้อมสากลภายนอก (สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ใหญ่กว่ารัฐบาล)

P = Politic   E = Economic   S = Social T=Technology

ข. Mega Trends

        แนวโน้มระดับโลกมีหลายอย่างที่เกี่ยวกับ กคช.

        1. Aging Society สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น

        2. Urbanization การเป็นสังคมเมือง

        3.  Disruptive Technology เทคโนโลยีที่ไม่อาศัยความคิดเก่า เช่น Prefab ตัวบ้านสำเร็จรูป ระยะแรกแพงกว่าบ้านปกติ 20%  แต่ถ้าปริมาณสินค้ามากพออาจได้บ้านทั้งราคาถูกและคุณภาพดี

        

 

 

ความท้าทายเชิงธุรกิจและกลยุทธ์การแข่งขัน

1. ความท้าทายเชิงธุรกิจ

1. ภาพประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย  สิ่งที่เห็นในภาพคือ ถ้าเมืองเจริญ  ตรงไหนคือเมืองจริงที่เป็น Center เมืองเจริญ มี Mass Transportation ดี แล้วคนจะซื้อรถอะไร

ความท้าทายที่เกิดในภาคอุตสาหกรรม อยากเห็นการมีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง

2. โลกเปลี่ยน เราต้องการทำให้เป็น Smart Mobility

3. ค่านิยมผู้บริโภคมีความหลากหลายมากขึ้น

4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านอุตสาหกรรมจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี

5. ปัญหาทางสังคมที่มีความรุนแรงมากขึ้น

2. กลยุทธ์การแข่งขัน

มีการแข่งขันในธุรกิจได้ต้องมีการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ และมาปรับใช้ในงานที่ทำอยู่ ต้องมีการวิเคราะห์คนก็เป็นส่วนสำคัญในการปรับระบบ

- Action Learning

- Learning by doing

3. มาตรการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ในปี พ.ศ. 2565 มีแนวทางว่า การเคหะฯ จะต้อง นอกจากคุณภาพราคาต้องทำเพื่อสังคมด้วย  การเคหะฯ ต้องบอก Brand Image จากการเคหะฯ ให้ได้ คือการสร้างความตระหนักให้เกิดกับบุคลากรในองค์กรของท่าน          สิ่งที่อยากฝากคือ เราไม่สามารถหยุดนิ่งได้  เพราะเราจะไม่สามารถเดินได้  ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจะมีแนวทางการปรับตัวอย่างไรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และจะต่อยอดความสำเร็จขององค์กรในอนาคตได้อย่างไร

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในมหาวิทยาลัย เราต้อง Transform จาก Quantity เป็น Quality เวลาเราทำอะไรเราต้องมี High Standard หรือ World Standardเมื่อเจออุปสรรคแล้วเราจะข้ามได้หรือไม่  การตั้งสถาบันทำให้เราไปลุยข้างนอกได้ สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อเจออุปสรรคต่าง ๆ ต้องเข้าใจว่า Success ความสำเร็จที่จะเดินต่อไปเป็นความสำเร็จที่ต่อเนื่อง ๆ และเราต้องชนะเล็ก ๆ ก่อน

 

 

 

 

ดร.ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์สรุป 3 ข้อเป็นข้อแนะนำผู้นำรุ่นใหม่ของการเคหะฯ

1. คิดแบบ Demand side ทิ้งความคุ้นชินที่เริ่มจากการมองจากข้างในคือ Supply side ต้องเปลี่ยนเป็นการมองจากข้างนอก Demand side การเคหะฯ มีคู่แข่งมาก ขอเสนอว่า อะไรที่เราทำได้เก่งที่สุดเก็บไว้เป็น Routine 50% ส่วนอีก 50% ขอให้ดู Demand ด้วย ต้องตอบสนองในฐานะที่คนนอกมองเข้ามาด้วยเป็นแหล่งเงินและลูกค้า ต้องมองปัจจัยภายนอกแล้วตอบสนองได้อย่างดีและยั่งยืน

2. อย่าไปกังวลกับกรรมเก่าอย่างเดียว เพราะลูกค้าเก่าก็สามารถเป็นลูกค้าในอนาคตได้  จากลูกหลานเขา เน้นการเตรียมตัวและพร้อมทำงานใหม่ ๆ ในลักษณะโครงการและนวัตกรรม

ก็ต้องมีหน่วยงานที่ต้องดู กรรมเก่าจะจัดการอย่างไรเช่นทวงหนี้ ต้องสร้างกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์ เช่น ใช้ Assets ให้ได้ประโยชน์เพิ่มคุณค่า พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะ

- ต้องเตรียมพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง

- ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่นการมีสุนทรียสนทนา (Dialogue)  ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ทำงานคิดและร่วมมือข้ามสายงานได้ เช่นเป็น Engineer อยู่หน้างานอาจต้องมาคุยกับฝ่ายการเงินและฝ่าย Back up บ่อยที่สุดแบบมีความสุข

- มองแบบระยะยาวบ้าง ทำความเข้าใจ  ปัญหาใหม่ ๆ ร่วมกัน จะเก็บผลไปอวดคนที่วัดเราอย่างสง่างาม (KPIs)

3. พัฒนาวัฒนธรรมองค์กร เช่นอาจต้องดู  5 อย่าง ดังนี้

        1) Hero ในองค์กรเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร ลองสังเกตว่า กคช. Idol คือใคร ถามตนเองว่าทำไมถึงนับถือคนนี้  นิยมคนนี้ สิ่งนี้คือวัฒนธรรมใหม่ คนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ให้ความนับถือคนแบบไหน เหมือนกันหรือไม่ จะได้สร้างต้นแบบใหม่ได้ทันโลก

        2) พิธีกรรมที่ยังสำคัญสำหรับ กคช. หมั่นสังเกตเคหะฯ ว่ากิจกรรมการเคหะฯ ไม่ใช่ Routine มีการเปลี่ยนมากหรือไม่ คนสนใจอะไรในงานพิธีสำคัญภายใน

        3) ก๊วนคนเป็นอย่างไร เช่น ดูคนในการเคหะฯ ต่าง ๆ  ปัจจุบันคุยกันเรื่องอะไร จะเห็นคำพูดไม่เหมือนเก่าระหว่าง Gen X กับ Gen Y

        4) ข่าวสำคัญกระจายอย่างไร ข่าวลือกระจายเร็วที่สุดได้เพราะใคร  ปชส. เช็คให้ได้เพื่อการสื่อสารภายในที่ดีกว่า

        5) สิ่งริเริ่มต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้นน้ำของ Actions ใหม่ ๆ เป็น Soul Leadership มีผู้นำทางจิตวิญญาณ หรือนำกันเองโดยไม่มีผู้นำ (Emergence)

        สุดท้ายได้ฝากคือ KM ไปใช้ในการบันทึกข้อมูล และเป็นการแชร์ประสบการณ์ สร้างบรรยากาศในการสนทนาแบบสุนทรีย์ ในการพัฒนาองค์กรและการแก้ปัญหา

ถามแบบเมตตา กรุณาสงสัยใคร่รู้ และมีการใคร่ครวญ Reflection  การทำ KM บ่อยพออย่างรู้จริงจะทำให้เกิดการคุยที่เกิดแรงในการพัฒนาคล้ายทำ Coaching 

        จริงอยู่การวางแผนยุทธศาสตร์ดีกว่าการไม่ได้วางแผนเชิงยุทธศาสตร์ แต่ที่สำคัญคือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Execution) ในวันนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามศาสตร์เกิดเป็นการยกระดับวัฒนธรรมองค์กร กคช.ให้แข่งขันได้ (Positive Spiral)

วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนได้ จะต้องปรับตามแผนยุทธศาสตร์ปกติ 20 ปี ของสภาพัฒน์ฯ ด้วย จึงจะช่วยชาติได้แบบไม่หลงยุค

หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ

(Group Assignment Presentation)

โดย     ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

          ดร.ทรงวุฒิ ชนะภัย

ดำเนินการอภิปรายโดย  อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วันที่ 15 มีนาคม 2561

 

Workshop

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ และเสนอแนะวิธีการจัดการ ดังนี้

( 1 ) ด้านภารกิจของการเคหะแห่งชาติและด้านทรัพยากรบุคคล (กลุ่ม 2)

( 2 ) ด้านลูกค้าและด้านทรัพยากรบุคคล (กลุ่ม 4)

( 3 ) ด้านการเงินและด้านทรัพยากรบุคคล (กลุ่ม 1)

( 4 ) ด้านการปฏิบัติงานและด้านทรัพยากรบุคคล (กลุ่ม 3)

 

 

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ(บทเรียนเพื่อพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)  

 โดย ดร.พยัต  วุฒิรงค์  ว่าที่ร้อยตรี จีรวัฒน์  เยาวนิช  

            สรุปความรู้จากบทเรียนในวันนี้ในเรื่อง Trend ของโลก วิเคราะห์ลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไร อาจจะทดลองลงไปทำเป็นลูกค้าเองแล้วลองทำตามขั้นตอนต่างๆที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แล้วจะรู้ว่ามีความรู้สึกอย่างไร จะได้รู้ว่าลูกค้าคิดอย่างไร  แล้วนำมาปรับปรุงหรือปรับใช้อย่างไรให้ตรงใจลูกค้า

                                       TREND

               WEST                                             EAST

                - BIG                                             - SMALL

                - BUSINESS                                    - CONSUMER

                - MASS                                           - NICHE

                - VOLUME                                      - VALUE

 

นวัตกรรม( INNOVATION) – เป็นสิ่งที่ใหม่ หรือเก่าก็ได้  สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง  สิ่งที่ทำได้จริงต้องมีประโยชน์  เช่น บริษัทพฤกษา สามารถนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการก่อสร้างได้จริง ลดเวลาเหลือในการก่อสร้างบ้านหนึ่งหลังไม่เกิน 15 วัน เป็นต้น

การเข้าใจลูกค้า – เครื่องมือ design think process + นวัตกรรม 10 แบบ

design think process ต้องเข้าใจลูกค้า  define ideation prototyping test

นวัตกรรม 10 รูปแบบ

CONFIGURATION

1.  รูปแบบธุรกิจ

2.  เครือข่าย

3.  โครงสร้าง

4.  กระบวนการ

OFFERING

5.  ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

6.  ระบบผลิตภัณฑ์

EXPERIENCE

7.  การให้บริการ

8.  ช่องทาง

9.  แบรนด์

10. การสร้างความผูกพันลูกค้า

 

การคิดเชิงออกแบบ เข้าใจลูกค้า ตีโจทย์แตก สนองความคิด สร้างต้นแบบ สร้างพันธมิตร

สร้างภาพลักษณ์ Brand /สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า Customer  Engagement

ภาคบ่าย

เป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ยุทธศาสตร์ของการเคหะแห่งชาติการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของการเคหะแห่งชาติ 4 กลุ่ม ได้แก่

1.       การนำเสนอการแปลงหนังสือและโครงพัฒนาที่อยู่อาศัยข้ามพรมแดนมิตรภาพ ไทย – ลาว

2.       NHA DNA e-Learning Platform

3.       โครงการทุ่งสองห้อง

4.       NHA e- Platform Start UP

16 มีนาคม 2561

ช่วงบ่าย

เป็นการนำเสนอบทเรียนจากหนังสือดีๆ เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธและการปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ

HBR'S 10 MUST READS  "On Innovation"

และการเสนอผลงาน การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของการเคหะแห่งชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท