"ขออภัย" กับ "ขอโทษ" ต่างกันมา ... ประเทืองปัญญายิ่ง


ผมฟังธรรมะจากยูทูปของพระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ได้ทราบว่า "ธรรมทาน" นั้น ยิ่งใหญ่กว่า "อภัยทาน" มากนัก และประทับใจตอนท่านอธิบายที่มาของคำว่า "อภัย" อย่างยิ่ง ... จึงนำมาบันทึกให้อ่าน จะเขียนให้สั้น ๆ ที่สุดครับ แนะนำให้ฟังเองจากคลิปด้านล่างครับ 


ตามตำรา...ครั้งหนึ่ง พระอินทร์องค์ก่อน (ไม่ใช่องค์นี้) รบแพ้พระอินทร์องค์ปัจจุบัน ต้องอพยพลงมาอยู่เชิงเขาติดกับชายทะเล  ท่านพิจารณาว่าตนเองรบแพ้เพราะดื่มสุราเป็นเหตุ  จึงอุทาน (ปฏิญาณกับตนเอง) ว่า ... "อสุรา" ... คือต่อไปจะไปดื่มสุราอีกแล้ว .... ด้วยเหตุนี้  พวกอสูรหรืออสุรกาย คือกลุ่มที่ไม่ดื่มเหล้า และอาจเป็นเทวดา (ตกสวรรค์) พวกหนึ่ง ...  

ทุกครั้งที่ขึ้นไปรบกับพระอินทร์แล้วแพ้ อสูรกลุ่มนี้มักไประบายอารมณ์กับที่พักของฤาษีที่พำนักอยู่แถวริมทะเล ฤาษีได้รับความเดือดร้อนมาก  จึงขอไป แล้วไปพูดคำว่า "ขออภัย" จากหัวหน้าอสูร ... เพื่อขอ "ความไม่มีภัย" จึงมีแก่พวกตน 


สรุปคือ  คำว่า "ขออภัย" คือ ขอความไม่มีภัยจงมีแก่ผู้พูด โดยที่ผู้พูด ไม่ได้ไปก่อเวรใด ๆ (ในภพชาตินั้น) ดังเช่น พวกฤาษีที่อยู่ดีๆ ก็ถูกพวกอสูรไปทำลายที่พัก 

ส่วนคำว่า "ขอโทษ" เป็นคำพูดของผู้มีสำนึกที่ได้กระทำผิด และต้องการจะขอให้ตนเองพ้นจากการจงเวรของผู้ถูกกระทำ ตรงกับความหมายและบริบทที่มักพูดว่า "เสียใจ" (sorry) ที่พูดกันทั่วไปทั่วโลก

คำว่า "ขอโทษ" จึงแตกต่างจาก "ขออภัย" ทั้งความหมายและการใช้ ...นำมาให้ท่านพิจารณา

คำสำคัญ (Tags): #ขออภัย
หมายเลขบันทึก: 643962เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2018 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2018 07:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Is it not common to hear 'ขออภัยโทษ'? We're betting each way ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท