กรมอนามัย รวมมือกับพระสงฆ์ เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร พระสงฆ์ อสว.ลดความเจ็บป่วยด้วยพระสงฆ์เอง และสร้างความรู้ที่ถูกต้องต่อการถวายอาหารพระสงฆ์


"การอาพาธเจ็บป่วยของพระสงฆ์ สืบเนื่องจากอาหารที่ญาติโยมใส่บาตร เพราะชาวบ้านบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของพระสงฆ์เองบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง แม้จะมีหลักประกันสุขภาพก็ตาม แต่พระสงฆ์ก็ยังมีปัญหาการเข้าถึงการบริการ การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ หากไม่มีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริมพระสงฆ์ กลไกการพัฒนาในพุทธสาสนาก็อ่อนแอลง​"

 กรมอนามัย รวมมือกับพระสงฆ์ เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร พระสงฆ์ อสว.ลดความเจ็บป่วยด้วยพระสงฆ์เอง  และสร้างความรู้ที่ถูกต้องต่อการถวายอาหารพระสงฆ์

 


         พระสงฆ์ก็ไม่พ้นเรื่องความเจ็บป่วยเช่นคนธรรมดาทั่วไป การเจ็บป่วยของพระสงฆ์มาจากหลายสาเหตุ แม้คนปกติทั่วไปจะรู้สึกว่า พระสงฆ์ไม่ได้ทำงานหนัก บริโภคอาหารที่ดีจากญาติโยม หากมองดูความเป็นจริงแล้ว พบว่า พระสงฆ์กำลังเผชิญกับภาวะเสี่ยงจากโรคต่างๆ หรือที่เรียกว่า โรคทาง NCD  จากการสรุปบทเรียนการทำงานเครือข่ายพระสงฆ์ 4 ภาค  มูลนิธิสังฆะเพื่อสังคม พบว่า  อาหารที่ญาติโยมมาถวาย ไม่ว่าจะเป็นสังฆทานก็ดี ล้วนเป็นอาหารที่มีทำให้พระสงฆ์เสี่ยงกับโรค NCD อาทิ อ้วนลงพุง เบาหวาน ความดัน ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสังฆทานก็หมดอายุ   สิ่งนี้ก็ไม่ใช่เป็นความเจตนาของญาติเสียทีเดียว เพียงแต่สะท้อนพฤติกรรมการบริโภคอาหารคนส่วนใหญ่ เป็นแบบไหนก็มักจะนำมาถวายพระสงฆ์แบบนั้น 

          ระหว่างวันที่ 10 - 12 มกราคม 2561 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข  ร่วมกับเครือข่ายพระสงฆ์ และภาคคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) มูลนิธิสังฆะเพื่อสังคม   ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมพระ อสว. ณ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นคราชสีมา โดยมีนายแพทย์อรรถพล แก้วสมฤทธิ์  รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน  

           "การอาพาธเจ็บป่วยของพระสงฆ์ สืบเนื่องจากอาหารที่ญาติโยมใส่บาตร เพราะชาวบ้านบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของพระสงฆ์เองบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง  แม้จะมีหลักประกันสุขภาพก็ตาม แต่พระสงฆ์ก็ยังมีปัญหาการเข้าถึงการบริการ การดูแลสุขภาพพระสงฆ์  หากไม่มีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริมพระสงฆ์ กลไกการพัฒนาในพุทธสาสนาก็อ่อนแอลง" นายแพทย์อรรถพล กล่าวในคราวเป็นประธานเปิดการประชุม

        ด้าน พระครูอมรชัยคุณ (หลวงตาแชร์) กรรมการมูลนิธิและประธานเครือข่ายพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า "พระสงฆ์ส่วนหนึ่งก็เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ  สุขภาพอ่อนแอลง ไม่สามารถที่จะปฏิบัติศาสนกิจได้ บางรูปก็หันไปซื้อประกันชีวิต เพื่อให้ตนเองได้รับการบริการที่ดี  นอกจากนี้ในทางพระพุทธศาสนา การดูแลพระสงฆ์ยังเป็นการอุปฐากพระพุทธศาสนาให้มั่นคงอีกทางหนึ่งด้วย”

    การพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้ไม่เพียงแต่ยกร่างจากฝ่ายของกระทรวงสาธารณะสุขเท่านั้น แต่ยังมีนักวิชาการหลากหลายที่ให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตร  โดยเฉพาะการการดูและพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย การขับเคลื่อนงานในครั้งนี้ยังเป็นความร่วมมือระหว่างเครือข่ายต่างๆ ที่จะทำงาน เพื่อสุขภาวะพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังเป็นสนองต่อธรรมนูญสุขภาวะพระสงฆ์ที่การประกาศใช้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2560 อีกด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 643940เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2018 06:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2018 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท