นิวรณ์ ๒


           นิวรณ์ มีได้ไม่จำกัดจำนวน โดยทั่วไป ท่านกล่าวนิวรณ์ไว้เพียง ๕ อย่างเท่านั้น แต่ในที่บางแห่งโดยเฉพาะเช่นในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ได้เพ่ิมนิวรณ์ขึ้นอีก ๓ อย่าง คือ  อวิชชาหรือัญญาณ เป็นนิวรณ์ ญาณเป็นเอกัตตะ นี้คู่หนึ่ง อรติเป็นนิวรณ์ ปามุชชะเป็นเอกัตตะ นี้คู่หนึ่ง และอกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์กุศลธรรมทั้งปวงเป็นเอกัตตะ นี้คู่หนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นได้ว่า อัญญาณ หรือวิชชา ในที่นี้อาจสงเคราะห์เข้าได้ในวิจิกิจฉา อรติ คือความไม่ยินดีหรือความขัดใจนั้น อาจสงเคราะห์เข้าได้กับพยาบาท ส่วนอกุศลธรรมทั้งปวงนั้นเป็นอันกล่าวเผื่อไว้สำหรับอุปกิเลสที่ไม่ได้ออกชื่อ แต่ก็อาจจะสงเคราะห์เข้าไปในข้อใดข้อหนึ่งของนิวรณ์ ๕ ข้างต้นนั่นเอง

          โดยนัยนี้จะเห็นได้ว่า สิ่งที่เรียกว่านิวรณ์นั้น โดยที่แท้ไม่จำกัดจำนวนคือจะเป็นอุปกิเลสชื่อไรก็ได้ การกำหนดไว้เพียง ๕ อย่าง เป็นบาลีพุทธภาษิตดั้งเดิม ได้รับความนิยมทั่วไป เพราะฉะนั้นจึงได้พิจารณากันแต่ ๕ อย่างเท่านั้น

          เหตุที่ได้ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความมหายว่าเป็นเครื่องปิดกั้น เมื่อถามว่าปิดกั้นอะไร มีคำตอบต่างๆ กัน เช่นปิดกั้นจากความดี ปิดกั้นทางแห่งพระนิพพาน ดังนี้เป็นต้น แต่ในกรณีที่เกี่ยวกับการเจริญสมาะินี้ ท่านจำกัดความกันลงไปว่ ดดยบุคลาธิษฐาน ก็คือปิดบังสัตว์ หรือจิตของสัตว์ไม่ให้รู้ธรรม ส่วนโดยธรรมาธิษฐานนั้น หมายถึงปิดบัง นิยยานิกธรรม หล่าวคือธรรมเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ หรือกล่าวโดยนิตินัย ก็กล่าวได้ว่าปิดบังเอกัตตะนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นเนกขัมมะ หรือความที่จิตว่างจากกาม เป็นนิยยานะอันหนึ่งของพระอริยเจ้าหมายความว่าพระอริยเจ้ามีจิตออกจากทุกข์ด้วยเนกขัมมะนั้น ส่วนกามฉันทะเป็นเครื่องปิดกั้นเนอกขัมมะ คือกั้นหรือกีดกันเนกขัมมะออกไป แล้วมีกามฉันทะเข้ามาอยุ่แทน กามฉันทะจึงได้ชือว่าเป็นนิวรณ์ หรือเป็นนิยยานาวรณา ซึ่งมีความหายอย่างเดียวกัน กลาวคือเป็นเครื่องปิดกั้นธรรม ซึ่งเป็นเครื่องนำสัตซืออกจากทุกข์ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ปุถุชนไม่รู้ว่าเนกขัมมะนั้น เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ของพระอริยเจ้า เรพาะถูกกามฉันทะหุ้นห่อปิดบังจิ โดยนัยนี้ จึงได้ความมหายเป็น ๒ ทาง คือปิดบังธรรมฝ่ายเอกัตตะไม่ให้ปรากฎแก่จิตหรือปิดบังจิตไม่ให้ลุถึงธรรมที่เป็นฝ่ายเอกัตตะ แต่ดดยผลแล้วเป็นอย่างเดียวกันคือจิตถูกหุ้มห่อด้วยนิวรณ์อยู่ตลอดเวลา เมื่อถือเอาโดยพฤตินัย จึงได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นหุ้มห่อจิตอยุ่เป็นปรกติ นั่นเอง จิตเศร้าหมอง จิตไม่มวิเวก จิตไม่มีสุขเป็นต้นด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์นั้น

            การละนิวรณ์ มีหลายประเภท การทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์นั้น คือความมุ่งหมายโดยตรงของการทำสมาธิ ฉะนั้น การที่จิตปราศจากนิวรณ์ กับการที่จิตเป็นสมาธิ จึงเป็นของอันเดียวกัน เมื่อใดจิตปราศจากนิวรณ์โดยอาศัยการปฏิบัติ จิตก็มีสมาธิชนิดที่เรากำลังศึกษากันอยู่นี้ สมาธิตามธรรมชาติ ทำให้จิตพ้นจากนิวรณ์

            ได้โดยบังเอิญ เรียก่า ตทังควิมุตติ แปลว่าหลุดพ้นเพราะประจวบเหมาะ หรือบังเอิญประจวบเหมาะกับส่งิที่เป็นเครื่องระงับนิวรณ์ ส่วนในสามาธิที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัตินั้น นิวรณ์ถูกละไปด้วยอำนาจของสมาธินั้น การปราศจากนิวรร์ด้วยอาการเช่นนี้ เรียกว่ วิกขัมภนวิมุตติ  แต่ตลอดเวลาที่กิเลสยังไม่หมดสิ้นไปนิวรณ์ย่อมกลับเกิดขึ้นใหม่ ในเมือว่างจากสมาะิ ฉะนั้น จึงต้องมีการปฏิบัติอกขชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำลายรากเหง้า หรือต้นตอแห่งนิวรณ์เสีย ส่ิงนั้นคือวิปัสสนาจิตที่ไม่ถูกนิวรณ์หรือกิเลสรบกวนอีกต่อไป ได้ชื่อว่ามี สมุเฉทวิมุตติ คือควาหลุ่มพ้น เรพาะความขาดสูญของกิเลส เป็นความหลุดพ้นอย่างเด็ดขาด โดยนัยที่กล่าวมานี้ จะเห็นไดอย่างชัดแจนว่า สิ่งที่เรียกว่านิวรณ์นั้น รำงับเองได้โดยบังเอญอย่างหนึ่ง รำงับอยู่ไดดด้วยอำนาจของสมาธิ อย่างหนึ่ง และมีรากเหง้าอัน ขาดสูญไปได้ด้วยอำนาจของวิปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง สองอย่างแรกเป็นการชั่วคราว อย่างหลังเป็นการถาวร

          ผุ้ปฏิบัติต้องไม่เพียงแต่ศึกษาหรือจดจำเรื่องราวอันเกี่ยวกับนิวรณ์อย่างเดียว แต่ต้องรู้จักหรือหยั่งทราบชัด ต่อส่ิงที่เรียกว่านิวรณ์ด้วยใจของตนเองจริงๆ ว่ามีอยู่อย่างไร เพียงไร และเมื่อไรเป็นต้น และรู้จักลัษณะที่นิวรณ์นั้นๆ กำลังรบกวนตนเองอยู่อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อจะได้เห็นโทษแห่งนิวรณ์นั้นได้จริงๆ จนมีความพอใจและแน่ใจ ในการที่จะกำจัดนิวรณ์นั้นเสีย แม้เพื่อประโยชน์แห่งความอยุ่เป็นสุขในปัจจุบัทันตาเห็น ได้ทุกขณะที่ตนต้องการ กล่าวคืแม้ยังจะไม่ไมดกิเลสสิ้นเชิง แต่ก็จะมีชีวิตอยฦุ่ได้ด้วยอุบายชนิดที่นิวรณรบกวนไม่ได้เรื่อยๆ ไป จนกว่าจะหมดกิเลสสิ้นเชิง โดยนัยนี้จะเห้ฯได้ว่า ความปราศจากนิวรณืนั้น เป็นความสงบสุขอย่างยิ่งอยู่ในตัวของมนเอง ชั้นหนึ่งก่อน แล้วยังเป็นโอกาสหรือเป็นฐานที่ตั้งสำหรับกาปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลสอันเป็นรากเหง้าของนิวรณืนั้นให้หมดสิ้นไปอีกต่อหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำลายนิวรณ์ในขั้นเด็ดขาด และเป็นความดับทุกข์ในขั้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป

            การละนิวรณ์ คือหน้าที่ของสมาธิ สำหรับการปฏิบัตในขันนี้ เป้นเพียงขั้นสมาธิ ยังไม่ใช่ขั้นวิปัสสนาหน้าที่ของเราอันเกี่ยวกับนิวรณื จึงเป็นเพียงการทำสมาธิหรืออุบายอันเป็นเครื่องกีดกันนิวรณืออกไปเสียจากจิต ด้วยการนำเอาสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์เข้ามาสู่จิตจนกระทั่วนิวรณ์ตาง ๆระงับไป สิ่งที่กีดกันนิวรณ์ออกไปจากจิตในที่นี้คือตัวสติที่เกิดขึ้นในการกำหนดลมหายใจ ดดยวิธีที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยกรรมวิธีก็คือเป็นการนำจิตเข้าไปผูกไว้กับลมหายใจ จนกระทั่งเกิดเอกัตตธรรมต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์ นิวรณ์จึงหมดโอกาสหรือนิมิตแห่งสมาธิได้อยู่ เมื่อนั้นชื่อว่าไม่มีนิวรณ์ มีแต่เอกัตตธรรมอยู่แทนที่ดังที่กล่าวแล้ว ผุ้ปฏิบัติจะต้องมองให้เห็นชัดเจนที่เดียว่า เอกัตตธรรมเหล่านี้มีอยุ่อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เนกขัมมะ หรือการหลีกออกจากกามนั้น เป็นสิ่งที่อาจกล่าวได้ว่า ได้เริ่มมีแล้วตั้งแต่ขณะหลีกออกไปสู่ที่สงัด และมีมากขึ้น หรือมั่นคงขึ้น นับตั้งแต่ขณะแห่งคณนา ซึ่งเป็นอันกล่าวได้ว่า เป็นเนกขัมมะในที่นี้แล้วอย่างสมบูรณ์ เอกัตตธรรมข้ออื่น เช่นอัพยาบาทเป็นต้น ก็ดำเนิอนไปในแนวเดียวกัน แต่ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็ต่อเมือได้ศึกษาจนทราบว่าอค์ฌานนั้นๆ มีอะไรบ้างและองค์แห่งฌานนั้นๆ เป็นตัวเอกัตตธรรมข้อไหน ฉะนั้น จะได้วินิจฉัยกันถึงองค์แห่งฌานสืบไป...

         - อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ

คำสำคัญ (Tags): #นิวรณ์ ๒
หมายเลขบันทึก: 643935เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2018 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2018 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท