การสื่อสารแบบ KM


การสื่อสารแบบ KM

         31 ต.ค.48   ในการประชุม อกพร. เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ฯ   มีการระดมความคิดกันเรื่อง  การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง   มีการนำเสนอเอกสาร "คู่มือการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง"  ซึ่งดีมาก   และมีการนำเสนอ PowerPoint ให้เห็นภาพของหลักการ   ซึ่งก็ดีมากเช่นกัน

         แต่ผมได้เสนอความเห็น (ซึ่งอาจจะผิด) ต่อที่ประชุมว่า    แนวคิดที่เสนอในเอกสารและ Ppt. นั้น   ค่อนไปทางเน้น explicit knowledge,  ความรู้เชิงหลักการ/ทฤษฎี,   และมีลักษณะ top-down   ซึ่งถ้าจะมีผลต่อ impact ด้านการเปลี่ยนแปลงหน่วยราชการ   ก็คงจะมีผลแค่ประมาณ 20%   หรืออย่างมากไม่เกิน 30%   การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ผมคิดว่าสำคัญกว่าคือ
     - การสื่อสาร tacit knowledge หรือความรู้ปฏิบัติ
     - การสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติ ("คุณกิจ")
     - การสื่อสารระหว่างคนระนาบเดียวกัน   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ปฏิบัติระหว่างกัน   โดยที่ "คุณกิจ" ก็ ลปรร. กับ "คุณกิจ"   ผู้บริหารระดับกลางก็ ลปรร. ระหว่างผู้บริหารระดับกลาง   ผู้บริหารระดับสูงก็ ลปรร. ระหว่างผู้บริหารระดับสูง   แล้วมีการ ลปรร. ข้ามระนาบด้วย
     - การสื่อสารความสำเร็จหรือผลงานที่ภาคภูมิใจในบรรยากาศของความชื่นชมยินดี   มีเป้าหมายเพื่อช่วยกันขยายผลความสำเร็จ
     - ร้อยละ 80 - 90 ของการสื่อสารควรเป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ   เน้นการเล่าเรื่องที่ตนปฏิบัติ,  คิด,  ฝัน,  หรือจินตนาการ   ซึ่งเครื่องมือ ICT ที่เหมาะสมที่สุดคือ บล็อก

          ในคณะ อกพร. มีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายกันมาก   คุณชุมพล  พรประภา  รองประธานฯ ให้ความเห็นว่าแนวทางที่ผมเสนอเป็นแนวทางที่บริษัทโตโยต้าใช้   ทำให้โตโยต้าแข่งขันเป็นผู้ชนะในตลาดรถยนต์โลก   จนคาดว่าจะชนะบริษัทจีเอ็มภายในไม่กี่ปีข้างหน้า   คณะอนุกรรมการฯ จึงตกลงกันว่าจะยกขบวนกันไปดูงานที่บริษัทโตโยต้าประเทศไทย   ประมาณกลางเดือน ธ.ค.48   แล้วผมจะเอามาเล่าครับ

วิจารณ์  พานิช
 1 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 6359เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2005 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท