คนตาบอดและวิชาความคุ้นเคยฯ #4


CHRISTOFFEL BLINDENMISSION (C.B.M.) ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการแก่กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันจัดการอบรมวิชา “ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว” หลักสูตร 100 วันขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

     ประวัติโดยสังเขปการศึกษาของคนตาบอดและวิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (ORIENTATION & MOBILITY) ซึ่งเล่าเรื่องโดยคุณแฉล้ม  แย้มเอี่ยม โทรศัพท์  0-2895-4383, 0-1812-4790 ในตอนนี้จะกล่าวถึงการเข้ามาของไม้เท้าขาวสู่คนพิการที่เป็นคนไทย

ตอนที่ 4
    เนื่องจากการฝึกทหารและการสอนทหารผ่านศึกที่ตาบอดโดยใช้ระบบและหลักการของ  ดร.ริชาร์ด  ฮูเวอร์  ในโรงพยาบาลวัลเลฟอร์ด  ได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง  จึงทำให้สถาบันการศึกษาอื่น ๆ  ในประเทศยอมรับ  และเปิดสอนวิชา  ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวในสถาบันของตน  สองมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดสอนวิชานี้ คือ วิทยาลัยบอสตัน  และมหาวิทยาลัยมิชิแกน  ผู้ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยบอสตัน  ถูกเรียกว่า  Peripatologist  ส่วนผู้ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน  ถูกเรียกว่า  ORIENTATION AND MOBILITY SPECIALIST     อย่างไรก็ตามผู้ที่จบจากสถาบันทั้ง 2  แห่งนี้  คือผู้ที่ได้รับการฝึกฝนวิชาการทางด้านการสอนให้คนตาบอดเดินทางด้วยเท้า  (SCIENCE OF TEACHING FOOT TRAVEL)

    หลักจากนั้น  วิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว  ได้แพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ  ทั่วโลก  เช่น  ออสเตรเลีย  อังกฤษ  อินโดนีเซีย  อินเดีย  ญี่ปุ่น  เกาหลี  มาเลเซีย  และสิงค์โปร์  เป็นต้น  สำหรับประเทศไทยเรา  เคยส่งครูไปอบรมวิชานี้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  อังกฤษ  มาเลเซียและอินเดีย 

    แต่ที่สำคัญที่สุด คือ  ในปี  พ.ศ.2527  องค์กรความช่วยเหลือคนตาบอดของประเทศเยอรมัน  คือ  CHRISTOFFEL  BLINDENMISSION (C.B.M.)  ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการแก่กองการศึกษาพิเศษ  กรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  ร่วมกันจัดการอบรมวิชา  “ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว”  หลักสูตร  100  วันขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย  ระหว่างวันที่  9  เมษายน  2527  ถึงวันที่  9  กรกฎาคม  2527  มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด  13  คน  อำนวยการสอนโดย  ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลีย  นายโธมัส  เจ.  แบลร์  (MR.THOMAL  J. BLAIR)  พร้อมกับผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจาก  นายโธมัส  เจ.  แบลร์  ที่ประเทศอินเดียอีก  2  คน  คือ นายแฉล้ม  แย้มเอี่ยม  และนายอดิเรก

[ตอนที่ 1]  [ตอนที่ 2]  [ตอนที่ 3]  [ตอนที่ 4]

หมายเลขบันทึก: 6351เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2005 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่ มมส ก็จัดอบรมเกี่ยวกับ O&M ค่ะ ปีงบประมาณ2549 จัดไป 4 ครั้ง ดังนี้ค่ะ    อบรมอาสาสมัครเพื่อนช่วยเรียน รุ่นที่ 1  , อบรมอาสาสมัครเพื่อนช่วยเรียน รุ่นที่ 2 และ 3  , อบรมอาสาสมัครเพื่อนช่วยเรียน รุ่นเยาว์ พี่หนิงเองก็เคยเรียนเชิญอาจารย์แฉล้มมาอบรมให้เด็กๆที่นี่นะคะ  แต่ท่านอาจารย์ไม่สะดวก  ทั้ง 4 ครั้ง  โครงการเหล่านี้เราก็ได้ความอนุเคราะห์วิทยากรจากทีม CBR ของมูลนิธิธรรมมิกชนเพื่อคนตาบอดฯค่ะ 

งานของ DSS นอกจากบริการสนับสนุนนิสิตพิการแล้ว  เพื่อให้นิสิตดำรงชีวิตอิสระ IL ที่นี่เราจึงต้องสร้างอาสาสมัครเพื่อนช่วยเรียนให้นิสิตทั่วไปเข้าใจนิสิตตาบอดด้วยค่ะว่า  เพื่อนมีความคับข้องอย่างไรบ้าง  และนิสิตทั่วไปจะได้เข้าใจบทบาทของการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเพื่อนนิสิตตาบอดด้วยค่ะว่า  ควรจะแค่ไหน และอย่างไร 

เรามีแผนในการจัดอบรมต่อเนื่องทุกปีค่ะ  ค้นหาผู้เข้าอบรมใหม่ๆเพื่อสร้างอาสาสมัคร  และความเข้าใจต่อผู้พิการต่อๆไป ปีงบประมาณ 2550 ก็จัดทำค่ะ  แต่ยังรอการอนุมัติใช้งบประมาณอยู่  เฮ้อ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท