นิเทศการเรียนการสอนภาษาอังกฤษครูเครือข่ายศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี


กิจกรรมนิเทศการเรียนการสอนภาษาอังกฤษครูเครือข่ายศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 หลังจากที่ผู้เขียนจัดค่ายภาษาอังกฤษเสร็จในบันทึกนี้  ตั้งใจและนัดกับคุณครูประมาณ 4 โรงเรียนเอาไว้หลังจากที่ได้อบรมครูในบันทึกนี้ โรงเรียนแรกที่คุณครูชิดชนก พิศูจน์ ผู้ประสานงานพาไปคือโรงเรียนวัดถ้ำองจุ ท่านผอ.นิคม แสวงหาเป็นผู้อำนวยการ ผู้เขียนไปดูการสอนของครูปลา หรือคุณครู ปานฤดี สวัสดิ์กระจ่างและครูใบเงิน นักเรียนชั้นอนุบาล มารวมกันครูให้นักเรียนแข่งกันเขียนตัวพยัญชนะหลังจากถามเรื่องสัตว์ ผลไม้และสีต่างๆแล้ว 


ครูให้นักเรียนเขียน A-Z แต่นักเรียนคิดว่าให้เขียน ก-ฮ เลยได้ภาพแบบนี้ กิจกรรมของครูจัดได้ดี แต่ว่าคงต้องมีสื่อการเรียนการสอนที่เตรียมให้นักเรียนมากกว่านี้เช่น สื่อเกี่ยวกับรูปสัตว์ หรือ ครูควรใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษง่ายๆกับนักเรียนนักเรียนจะได้คุ้นเคย




ความคิดเห็นของผู้เขียน

แต่ในภาพรวมถือว่าดีเป็นการสอนแค่การเริ่มต้นในชั้นเล็กๆ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ..โรงเรียนต่อมาที่ไปนิเทศครูตือโรงเรียนบ้านนาสวนท่าน ผอ.พิสิทธิ์ ยั้งประยุทธ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาสวน น้องคุณครูจันทิมา สวัสดิ์ดารา  เป็นผู้สอนนักเรียนเรื่อง Preposition คุณครูจันทิมาใช้การสอนแบบ Phonic ให้นักเรียนออกเสียงและใช้ภาษาอังกฤษตลอดคาบการเรียนการสอน นักเรียนทำกิจกรรมได้ดี

นักเรียนมารอรับหน้าอาคารเรียน ถามว่าทำอะไรนักเรียนบอกว่าซ้อมร้องเพลงอยู่

มีการใบ้คำภาษาอังกฤษแข่งกันด้วย หลังจากนั้นก็เป็นการเรียนรู้เรื่องการบอกตำแหน่ง ครูให้นักเรียนมาจัดตำแหน่งตามที่ครูออกเสียงเช่น in front of เป็นต้น ในภาพรวมถือว่าการสอนจัดกิจกรรมได้ดี ผู้เขียนให้ความคิดเห็นไว้ดังนี้


โรงเรียนต่อมาที่ไปเยี่ยมคือ โรงเรียนบ้านดงเสลาของท่าน ผอ.สายัญ สุขสำราญ ผู้เขียนไปเยี่ยมดูการสอนของครูอนุบาลก่อน โดยไปดูคุณครูปิ๋ว นักเรียนอนุบาลตอบคำถามได้ดี แถมนักเรียนสามารถบอกสีต่างๆได้เมื่อผู้เขียนถามเป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เขียนใช้ลูกบลอสีต่างๆถามนักเรียน 



ลองดูนักเรียนอนุบาลร้องเพลงภาษาไทยนะครับเป็นเพลงเป็ด แต่คนละ version กับที่เราเคยร้องสมัยเด็กๆ 

ผู้เขียนตามไปดูนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เรียน โดยคุณครูสอนทั้งหมด 3 ท่านสอนอ่าน A-Z ใช้กิจกรรมที่เคยอบรมให้คุณครูครูตอนแรกลุ้นนักเรียนน่าดู


แต่ดูเหมือนครูเริ่มเหนื่อยผู้เขียนเลยให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่5-6 ที่อยู่แถวนั้นช่วยคุณครู ผู้เขียนเพิ่มกิจกรรมโดยให้นักเรียนทำตัวอักษรภาษาอังกฤษโดยใช้ตัวต่อกัน


ผู้เขียนและคุณครูชิดชนกข้ามฝั่งมาที่โรงเรียนบ้านเจ้าเณร ตั้งใจไปนิเทศครูต่อ แต่ว่าครูไม่มีสอนเลยให้ไปนิเทศครู Ann ชาวฟิลิบปินล์แทน แต่ Ann ได้ดีทีเดียว แต่มีผิดตรงที่นักเรียนพูดว่า This is a apple. ซึ่งควรเป็น an แต่งงว่าทำไม Ann ไม่แก้ให้นักเรียน 


ผู้เขียนให้ความคิดเห็นแก่ Ann ไว้ดังนี้ จริงๆแล้วมีแบบฟอร์มประเมินการสอนของครูด้วย แต่ไม่ได้ใช้มันละเอียดมาก อาจส่งให้คุณครูทีหลัง 


น้องครูคุณครูชิดชนก พิศูจน์ ผู้ประสานงานโครงการพามาส่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ประมาณ 4 โมงเย็น พออาบน้ำเสร็จ หัวถึงหมอนก็หลับสนิทเลย ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านครับ...



ความเห็น (6)

กลับบ้านแล้วนะครับ อาจารย์  ฝากกราบคุณแม่ของอาจารย์ด้วยนะครับ

ใช่ครับพี่แสง ได้เลยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

อ.ขจิตตื่นยังคะ  แต่คุ้มเหนื่อยใช่ไหมละคะ  (ถ้าตอบว่ายังไม่ตื่น  ก็ตัวใครตัวมันละคร้าบบบบบบบบ)

การนิเทศติดตามแล้วเสนอแนะคุณครูไว้พัฒนาต่อเนื่อง  ดีมาก ๆ นะคะ ... อนาคตเด็กรุ่นนี้คงไม่กลัวการพูดภาษาอังกฤษอีกแล้ว

อาจารย์สร้างการเรียนรู้ให้คุณครูนำไปใช้กับเด็ก ๆ ให้ชอบ  ให้มีแรงบันดาลใจ  สนใจภาษาอังกฤษตามธรรมชาติของเด็กหรือผู้เรียนได้ดีมาก ๆ ค่ะ

แต่ยังเคยนึกแว้บ ๆ เป็นห่วงวิธีการของอาจารย์ว่า  เหมือนอาจารย์กระจายวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไปในพื้นที่ต่าง ๆ มากมายแล้ว ... บันทึกนี้ได้คำตอบ  ลายมือที่อาจารย์เสนอแนะนั่นเอง  คือ ผลลัพธ์จากที่คุณครูนำไปใช้ได้จริง  ยินดีด้วยนะคะ

คุณครูพัฒนาต่อ  บันทึกผลลัพธ์รอบสองอีก .... ผลดีขึ้นเรื่อย ๆ อยู่ที่ตัวผู้เรียนนะคะ

ตื่นนานแล้วครับคุณหมอธิ 555

พยายามหาโอกาสไปดูพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนว่าควรเพิ่มสิ่งใดบ้าง

การพัฒนาการเรียนการสอนต้องจัดให้สอดคล้องกับนักเรียนและพื้นที่คนที่จะรู้ข้อมูลนักเรียนได้ดีที่สุดคือครูผู้สอนครับ

ตอนนี้ได้คู่มือ 1 เล่ม ต่อไปจะให้ครูใช้ครับ ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิชให้ความกรุณาแก่ผมเขียนคำนิยมให้

คำนิยม

หนังสือ เกมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

วิจารณ์ พานิช

...............

 

สำหรับเด็ก การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเล่น    เพราะเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดการสนใจหรือสนุก ที่ภาษาวิชาการทางการเรียนรู้เรียกว่ามี student engagement    

การประยุกต์เกมเข้ามาเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่ง     และจริงๆ แล้ว ใช้ได้สำหรับคนทุกวัย  ไม่ใช่เฉพาะเด็กๆ เท่านั้น  

หนังสือ เกมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เล่มนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับ ใช้เป็นเครื่องมือครู  ในการจัดการเรียนภาษาอังกฤษให้สนุกสนานน่าสนใจ พร้อมๆ ไปกับการได้บรรลุเป้าหมาย ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด    ยิ่งเป็นหนังสือที่เขียนจากประสบการณ์กว่า ๒๐ ปี    ซึ่งหมายความว่า ได้เคยทดลองใช้เกมเหล่านี้ในนักเรียนหลากหลายบริบทในสังคมไทย    แล้วนำมาปรับปรุงเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้    ยิ่งมีคุณค่าสูง ...ยังมีต่อครับ

หนังสือพิมพ์เสร็จแล้วจะเอามาให้อ่านนะครับ

ขอบคุณอาจารย์ Anuroj48 มากๆครับ

อาจารย์สบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท