เอกสารที่ผมได้รับมาจาก ลุงช่วง เรืองจันทร์ นายกสมาคมคนตาบอดจังหวัดพัทลุง เป็นประวัติโดยสังเขปการศึกษาของคนตาบอดและวิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (ORIENTATION & MOBILITY) ซึ่งเล่าไว้โดย คุณแฉล้ม แย้มเอี่ยม โทรศัพท์ 0-2895-4383, 0-1812-4790 และส่วนหนึ่งผมก็ได้นำไปสำเนาเพื่อเผยแพร่ต่อ รวมถึงการนำมาบอกต่อ ด้วยเพราะลุงช่วงฯ อยากให้ทุกคนได้เข้าใจคนพิการตาบอด ที่ลุงเล่าว่า ไม่เหมือนคนที่ไม่มีขา ไม่มีแขน ที่ยังไปไหนมาไหนได้ง่าย หากไม่พิการซ้ำซ้อน คนตาบอด จะไปไหนไม่ได้เลย หากไม่ได้ฝึกทักษะการใช้ชีวิต และการใช้ไม่เท้าขาว รายละเอียดมีคังนี้นะครับ
ตอนที่ 1
ในสมัยโบราณเด็กตาบอดนับว่าโชคร้ายมาก
เพราะถ้าไม่ถูกฆ่าตายตั้งแต่แรกเกิดอย่างในประเทศกรีก
และประเทศโรมัน ก็จะถูกขายไปเป็นทาส หรือเป็นโสเภณี
จะมียกเว้นบ้างสำหรับคนตาบอด ที่มีบุคลิกภาพดี
เข้มแข็ง กล้าแสดงออก
มีความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถพิเศษ
ซึ่งจะได้รับการยกย่องและยอมรับนับถือมาก ในฐานะผู้วิเศษ
ผู้ทำนายโชคชะตา หรือกวี
อย่างไรก็ตามคนตาบอดก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเขาก็เป็นมนุษย์
ที่สามารถเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
ในยุคกลาง คนตาบอดในยุโรปจะถูกผลักไสให้ไปอยู่รวมกันในบ้านสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสงครามครูเซคส์ มีทหารฝรั่งเศสจำนวนมากที่กลายเป็นคนตาบอด เนื่องจากได้รับเชื้อโรคจากประเทศที่ถูกส่งไปประจำการ ด้วยเหตุนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 จึงตัดสินใจสร้างสถานสงเคราะห์ของรัฐสำหรับคนตาบอดขึ้นเป็นแห่งแรก ในปี 1329 อังกฤษเจริญรอยตาม โดยสร้างสถานสงเคราะห์เพื่อให้เป็นที่อาศัยของทหารซึ่งตาบอดจากสงครามครูเซคส์เช่นเดียวกัน แต่คนตาบอดก็ยังไม่ได้รับการเหลียงแลและช่วยเหลือแต่อย่างใด จนถึงศตวรรษที่ 18 คนตาบอดส่วนมากก็ยังเป็นขอทานอยู่
พวกเขาจะเร่ร่อนไปตามถนนจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง บางกลุ่มจะขอทานอยู่ในโบสถ์ บางคนโชคดีจะมีคหบดีผู้สูงอายุในเมืองแบ่งที่ว่างในชุมชนให้เป็นโรงทาน ซึ่งอย่างน้อยจะทำให้คนตาบอดมีขนมปัง และสตางค์ พอที่จะประทังชีวิตและอยู่รอดต่อไปได้ แต่มีคนบางกลุ่มไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วการให้ที่พักอาศัยดังกล่างเป็นวิธีกักกันคนตาบอดมิให้ออกสู่โลกภายนอกมากกว่า แทนที่จะคิดช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขามีโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถของตนเอง
ตอนที่ 2 จะได้กล่าวถึงประเด็นของการเริ่มมีโรงเรียนสอนคนตาบอด
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชายขอบ ใน ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน