ร้อยภาคี รวมพลังชุมชนจักรยาน ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่


ข้อเสนอต่อที่ประชุมที่ผู้เขียนได้เสนอคือ ทุนองค์กรการเงินที่ภาคประชาชนดำเนินการอยู่ เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บูรณาการกับกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช) โดยให้ทางท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการถกแถลง เพราะเชื่อมั่นว่าเรื่องเล็กๆสามารถเป็นฐานพลังสู่เรื่องที่ยิ่งใหญ่ได้ เปลี่ยนแปลงสังคมจากฐานราก


1 เวทีสรุปการดำเนินงานชุดโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ปีที่2  ซึ่งทางสำนักสร้างสรรค์โอกาส และนวัตกรรม  หรือ สสส สำนัก6 ร่วมกับสภาบันการเดินและการจักรยานไทย และชุมชนทั่วประเทศ 99 ชุมชน ร่วมโครงการ จักรยานในชีวิตประจำวัน ระยะไกล้ 1-3กิโลเมตร เพื่อนำไปสู่การเกิดสุขภาวะที่ดี ในชุมชน สังคมทีาน่าอยู(Lieable Society)  

2  สิบเดือนที่ได้ร่วมโครงการจักรยาน ครั้งแรกที่โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคนได้พัฒนาโครงการ ได้แลกเปี่ยน ได้เรียนรู้ ได้ทักษะ ในการสื่อสารส่งเอกสารผ่านการ ออนไลน์  ได้เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  นำข้อมูลมาแยกประเด็น แล้วนำไปคิดวางแผนเพื่อทำโครงการต่อเนื่องในจากประเด็นปัญหาที่ค้นพบจากข้อมูล และคืนข้อมูลให้ชุมชน ช่วยกันคิดวางแผนตั้งแต่ต้น

3 โครงการจักรยานชุมชนสุขภาวะ เป็นเครื่องมือ ในการทีรวมพลังรวมคิดรวมคุยหลายภาคส่วน ทั้งแต่ ท้องถิ่นเทศบาล ท้องที่กำนันผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าทีา รพสต ครู ที่สำคัญคือตำรวจจราจร และนักการศาสนา มาให้ความรู้การปัานจักรยานให้ปลอดภัย และช่วยกำหนดเส้นทางปั่นจักรยาน  เป็นการทำงานแบบไตรภาคี ที่เทศบาลตำบลปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ภาคประชาชนคนกองทุนสวัสดิการ เป็นเจ้าภาพหลักในการชวนคิดชวนคุย ชวนทำงาน ให้เกิดพื้นที่กลาง โดยใช้พื้นที่ของสภาองค์กรชุมชน ในการ คิด คุย คลำ คลิก โครงการ



4  ใน  99โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ มีหลากหลายรูปแบบ ในการสร้างชุมชนจักรยาน เช่น

 รูปแบบของกลุ่มที่1

 มีฐานชุมชนดี มีแกนนำเข้าถึง มีการสร้างภาคีร่วมที่หลากหลาย สร้างสรรค์กิจกรรมที่คุณค่า ต่อชุมชนนำโครงการมักเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ของเทศบาลหรือผู้นำท้องถิ่น

 รูปแบบที่ 2 กลุ่มพลิกมวลวิกฤติสร้างสรรค์ นวัตกรรมให้ชุมชน

 รูปแบบที่ 3 รูปแบบการเชื่อมร้อยภารกิจบูรณาการงานและมีแผนงานที่เป็นรูปธรรม แกนนำผสมผสานระหว่างเจ้าที่เทศบาลกับนักการเมืองท้องถิ่น  เช่นที่เทศบาลตำบลนาท่อง จังหวัดพัทลุง

 รูปแบบที่4 กลุ่มที่สามารถนำแผนเข้าสู่นโยบายท้องถิ่น สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้เป็นแบบอย่าง ตัวอย่างให้ชุมชนต่างๆนำไปประยุกต์ใช้ เป็นบทเรียนจากประสบการณ์จริงของพื้นที่ชุมชนแกนนำมักเป็นผู้บริการท้องถิ่น หัวหน้างานกองสาธารณสุข หรือปลัดเทศบาล เช่นที่ ตำบลบาเจาะนราธิวาส 


กลุ่มที่สามารถบรรจุแผนการใช้จักรยานเพื่อสุชภาวะในชีวิตประจำวันเข้าบรรจุในข้อบัญญัติของเทศบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่โครงการต้องการสร้างความยั่งยืน มีเจ้าภาพรับงานต่อ และเปฌนแรงผลักดันให้โครงการย่อยทั้งหลายต้องนำพาโครงการจักรยานไปสู่เป้าหมายคือการได้บรรจุการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ถูกบรรจุไว้ในข้อบัญญัติของท้องถิ่น ทุกตำบลที่เคลื่อนโครงการนี

 5 ข้อเสนอต่อที่ประชุมที่ผู้เขียนได้เสนอคือ ทุนองค์กรการเงินที่ภาคประชาชนดำเนินการอยู่ เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บูรณาการกับกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช) โดยให้ทางท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการถกแถลง เพราะเชื่อมั่นว่าเรื่องเล็กๆสามารถเป็นฐานพลังสู่เรื่องที่ยิ่งใหญ่ได้  เปลี่ยนแปลงสังคมจากฐานราก...............


คุณหมอรุ่ง จากรพสต บ้านบุ่งเข้ ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี นครนายก ใช้จักรยานเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาพ ประชาชนและสุขภาพสังคม

บูธของเทศบาลตำบลนาท่อม น้องเหน่ง นั่งเฝ้าบูธตลอด ต้องการผู้มาเยือนเขียนสิ่งดีลงไปรษณียบัติ ส่งให้คนที่คิดถึง

หมายเลขบันทึก: 632573เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2017 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2017 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ..ท่านวอญ่าผู้เฒ่า..อ่านจบ..มีปิ๊งขึ้นมาในหัว..ว่า..(.ฝรั่ง)..เห็นว่าการใกล้ชิด..สัตว์..ทำให้..สุขภาพ..จิต..และกาย..ดีขึ้น..เป็นต้นว่า..เด็กปัญญาไม่สู้ปรกติ..ก็รักษาบำบัด..ด้วย..ม้าบ้างปลาบ้างหมาบ้างเป็นต้น....น่าจะทำเรื่องใหญ่ที่กลายเป็นเรื่องเล็กและถูกลืม...ให้เป็นเรื่ิองใหญ่..เพื่อสังคมอีกครั้ง..ก็น่าจะดี..

เลี้ยงช้างเลี้ยงม้าเลี้ยงลา..สัตว์ดีมีประโยชน์..สำหรับ..คนที่ไม่สามารถซื้อ..จักรยานมาขี่..ก็คงจะดี..นะเจ้าคะ..

ควายก็ไม่เลวนะ..เวลาน้ำท่วม..มีควายน้ำ...อยู่แล้วในทะเลน้อย..แพร่พันธุ์แพร่..ความคิด..คงได้ใช้ทันเหตุการณ์..เพื่อสุขภาพ..ดีๆ ได้ในอนาคตอันใกล้..ที่จะมีแต่ความเดือดร้อน..เรื่องวัตถุนิยม..อิอิ..

ขอบคุณ  คุณยายธี การปลูกต้นไม้ก็เป็นการทำเรื่องเล็กๆให้เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

การปั่นจักรยานน่าจะเป็นกรรมฐานหรือการปฏิบัติธรรมชนิดหนึ่ง เพราะเป็นการเคลื่อนที่ไปด้วยความสมดุลในระดับซับซ้อน ระบบประสาทจะใช้ทักษะภายใต้องค์รวมของการเคลื่อนไปข้างหน้า ทำให้ร่างกายได้ตัดวงจรและสลายมลพิษที่สร้างขึันจากอารมย์ที่เรียกว่าอนุมูลอิสระให้หมดไปด้วยพลังสมาธิที่ทุกคนเข้าถึงได้

แวะมาถามจ้ะ

เช็คตารางงานรึยังจ๊ะลุงวอ

ขอบคุณครับคุณแก้ว ที่ชื่นชม

รุกงานเด็กเยาวชนและครอบครัวเป็นหลัก

เรียนอาจารย์ จำรัส 

ทุกอย่างหากเข้าถึงธรรม มัมมัศฐาน ย่อมมีญาณหยั่งรู้

สวัสดีน้องมะเดื่อ มาบอกว่า ติดงานลงพื้นที่ ตามตัวชี้วัดของ พอช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท