ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๔๒. มั่นคงในเป้าหมายและการมีวินัย



บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๔๒ มั่นคงในเป้าหมายและการมีวินัย ตีความจาก Element 40 : Displaying Objectivity and Control   ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายใน ภาค ๙  สร้างความสัมพันธ์  


สาระในตอนนี้ว่าด้วยพฤติกรรมของครู ที่ช่วยให้นักเรียนมองครู ว่าเป็นคนที่จะไม่มีอารมณ์เมื่อนักเรียน ประพฤติไม่ดี    แต่จะบังคับใช้กติกาและข้อพึงปฏิบัติอย่างไม่ใช้อารมณ์


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการแสดงความมั่นคงในเป้าหมายและการมีวินัย   คือ    “ครูแสดงความมั่นคงในเป้าหมายและวินัยได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้เพื่อให้ตนแสดงความมั่นคงในเป้าหมายและการมีวินัย มีดังต่อไปนี้





ครูต้องทำความเข้าใจจุดอ่อนของตนเอง ในเรื่องการควบคุมอารมณ์ ควบคุมสถานการณ์ความไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อยของชั้นเรียน    และฝึกฝนตนเองตามในตารางข้างบน    ผมมีความเห็นว่า ทักษะเหล่านี้ไม่เพียงช่วยป้องกัน หรือแก้ปัญหาวินัยเท่านั้น  แต่ยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของศิษย์ด้วย    เพราะช่วยให้ศิษย์มีความศรัทธาเชื่อมั่นในครู     และความรู้สึกว่าห้องเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย   นำไปสู่ผลดีต่อการเรียนรู้    


ผมตีความต่อว่า ครูต้องถือเป็นหลักการเอกอุหรือคอขาดบาดตาย ว่าต้องไม่ทะเลาะกับนักเรียน     ไม่ว่านักเรียนจะร้ายกาจยั่วยวนกวนโทโสเพียงใด   


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนรู้สึกมั่นคง จากความสงบเยือกเย็นของครู
  • นักเรียนบอกว่าครูควบคุมตัวเองได้ดี และควบคุมชั้นเรียนได้ดี  
  • นักเรียนบอกว่า ครูไม่มีความอาฆาตแค้น หรือมองปัญหาเป็นเรื่องส่วนตัว

 

นี่คือตอนสุดท้ายของ ภาค ๙  สร้างความสัมพันธ์   ซึ่งมี ๓ ตอน    หนังสือ The New Art and Science of Teaching แนะนำว่า ให้วางแผนสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนอย่างเป็นระบบ   


หลักการสำคัญของภาค ๙ คือ เปลี่ยนความสัมพันธ์กับนักเรียนจากความรู้สึกชอบส่วนตัวของครู   ไปสู่ความสัมพันธแบบมีเกณฑ์พฤติกรรม     ซึ่งเป็นการเอาชนะสัญชาตญาณตามปกติของมนุษย์    ที่แสดงความชอบคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมตามความชอบส่วนตน    แต่ครูต้องฝึกให้สื่อสารความรักและความเมตตา ต่อนักเรียนทุกคน รวมทั้งคนที่มีลักษณะที่ตนไม่มีความชอบด้วย 


ครูน่าจะตรวจสอบว่าตนรู้จักนักเรียนคนไหนน้อยเป็นพิเศษและหาทางทำความรู้จัก    รวมทั้งตรวจสอบว่า นักเรียนคนไหนมีแนวโน้มจะก่อกวนและทำให้ตน “หลุด” และมีแนวโน้มจะโต้ตอบรุนแรงเกินควร (over-react)     แล้วหาทาง เตือนสติตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพฤติกรรมโต้ตอบรุนแรง


ผมขอเสนอความเห็นส่วนตัวว่า ยุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์ในภาพรวมคือ ใช้ความสัมพันธ์เชิงบวก หรือความสัมพันธ์ที่ดี  ไล่ความสัมพันธ์เชิงลบ หรือความสัมพันธ์ที่ไม่ดี    ให้อารมณ์ของความสัมพันธ์เชิงบวกยึดครอง พื้นที่    ไม่เปิดช่องให้ความสัมพันธ์เชิงลบมีโอกาสก่อหวอด


ผมแปลกใจที่หนังสือ The New Art and Science of Teaching ไม่แนะนำให้ครูช่วยเหลือกันเลย    ผมมองว่าหากครูรวมตัวกันเรียนรู้ฝึกฝนซึ่งกันและกัน เป็น PLC    รวมทั้งส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนให้แก่กัน การดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์จะง่ายขึ้นมาก 



วิจารณ์ พานิช

๑๓ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 632482เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2017 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2017 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท