โครงงานคุณธรรม : เป็นที่ปรึกษาโครงงาน


โครงงานคุณธรรม ที่แก้ปัญหาให้กับนักเรียน  ต้องเกิดจากแรงบันดาลใจของนักเรียนเอง  นักเรียนจะเป็นผู้ที่แก้ไขปัญหาได้ถูกจุด  เพราะ เหตุเกิดกับขึ้นกับเรียนเอง  ครูอ้อยจึงต้องลดบทบาทตนเอง  จากเป็นผู้จัดทำโครงงาน  กลายมาเป็นที่ปรึกษาโครงงาน  เพราะมีความต้องการให้โครงงานชัดเจนยิ่งขึ้น  นักเรียนต้องคิดหาทางแก้ปัญหาให้ได้   โดยครูที่ปรึกษาป้อนคำถามให้นักเรียนคิด  ไม่ใช่บอกให้เขาทำ  ด้วยนักเรียนเป็นเด็ก  การคิดถึงปัญหาก็จะเป็นแนวเด็กๆ  


ครูอ้อยคลุกคลีตีโมงกับนักเรียนพอสมควร   จนพอจะรู้ได้ว่า  นักเรียนแต่ละคน  มีสาเหตุต่างกัน  บางคน  อุปกรณ์ล่วงหล่น  เพราะไม่มีภาชนะใส่  บางคนร่วงหล่นกระจัดกระจาย  เพราะ ไม่รู้ว่าเป็นของตนเอง  ไม่ได้เขียนชื่อไว้  บางคนพ่อแม่เป็นคนจัดการให้  จึงไม่รู้ว่า สิ่งนั้นเป็นของตนเอง  คำถามเหล่านี้  น่าจะให้นักเรียนที่ทำโครงงานนี้  ได้สอบถามกับนักเรียนที่เป็นเป้าหมายกันเอง   พวกเขาอาจจะได้ข้อสังเกตมาอีก  


ในแต่ละวัน  ครูที่ปรึกษาจะต้องพูดคุยกัน  ทำความเข้าใจกัน  โครงงานคุณธรรมนี้จึงจะเดินหน้า  และมีประสิทธิภาพ  

หมายเลขบันทึก: 631908เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2017 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2017 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท