ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๓๙. แสดงการรับรู้ต่อการไม่ดำเนินตามกติกาและข้อพึงปฏิบัติ





บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง

ตอนที่ ๓๙ แสดงการรับรู้ต่อการไม่ดำเนินตามกติกาและข้อพึงปฏิบัติ  ตีความจาก Element 37 : Acknowledging Lack of Adherence to Rules and Procedures    เป็นตอนสุดท้ายของภาค ๘ ใช้กติกาและข้อพึงปฏิบัติ


เช่นเดียวกันกับตอนที่แล้ว ที่ครูแสดงการรับรู้ต่อพฤติกรรมด้านดีที่ตกลงกันไว้ของนักเรียน    ครูก็ต้องแสดงการรับรู้ต่อพฤติกรรมด้านไม่ดีด้วย     โดยมีหลักการสำคัญว่า ต้องไม่ตามด้วยการลงโทษ 

 

คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการแสดงการรับรู้ต่อการไม่ดำเนินตามกติกาและข้อพึงปฏิบัติ   คือ    “ครูจะทำอย่างไรเพื่อแสดงการรับรู้ต่อการไม่ดำเนินตามกติกาและข้อพึงปฏิบัติ”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูแสดงการรับรู้ต่อการไม่ดำเนินตามกติกาและข้อพึงปฏิบัติ   มีดังต่อไปนี้




ผมแปลกใจมากที่หนังสือ The New Art and Science of Teaching กล่าวเรื่องการจัดการวินัยนักเรียน โดยโยนความรับผิดชอบไว้ที่ครูทั้งหมด   ไม่กล่าวถึงความรับผิดชอบระดับโรงเรียนและครูใหญ่เลย   


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนหยุดประพฤติไม่ดีตามสัญญาณจากครู
  • นักเรียนยอมรับว่า ความประพฤติของตนมีผลต่อการเรียนการสอนในชั้น
  • นักเรียนบอกว่าครูมีความยุติธรรมในการแก้ปัญหาความประพฤติของนักเรียน  

 


เป้าหมายหลักของภาค ๘ ใช้กติกาและข้อพึงปฏิบัติ คือ เปลี่ยนความรับผิดชอบ ต่อการกำกับให้ ชั้นเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและมีระเบียบ เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน จากครูรับผิดชอบและตัดสินใจฝ่ายเดียว เป็นนักเรียนร่วมรับผิดชอบด้วย    คือให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของชั้นเรียนและหวงแหนให้ชั้นเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และมีระเบียบ เอื้อต่อการเรียนรู้    


ดังนั้น ครูจึงชักชวนให้นักเรียนช่วยกันเขียน SOP (Standard Operating Procedures) ในกรณีต่างๆ    เช่นตัวอย่างกรณีนักเรียนมาเข้าชั้นเรียนสาย   ดังนี้ 



วิจารณ์ พานิช

๑๒ เม.ย. ๖๐

โรงอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 


หมายเลขบันทึก: 631747เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2017 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2017 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท