ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน : เทคนิคสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ “ครูรักเด็ก เด็กรักครู”


ผมถือว่า ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นเทคนิคสำคัญที่สามารถสนองพระราชดำรัสฯ “ครูรักเด็ก เด็กรักครู” ได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน

        ตอนทำงานที่หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ช่วงปี พศ.2542 ซึ่งเป็นปีที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ผมมีโอกาสร่วมทำงานที่ภาคภูมิใจเรื่องหนึ่งซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นที่กรมสามัญศึกษาเป็นครั้งแรก โดยมีหน่วยศึกษานิเทศก์เป็นผู้รับผิดชอบ คือเรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

              จำได้ว่าตอนนั้นเราไม่ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้ก่อน มีคุณหมอจากกระทรวงสาธารณสุขมาร่วมคิดร่วมเสนอแนะ เรารู้สึกสนุกและมีความหวังว่าต่อไปนี้การดูแลนักเรียนจะเป็นระบบมากขึ้นและจะมีการดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคลบนพื้นฐานของข้อมูล เหมือนหมอที่ดูแลรักษาคนไข้เป็นรายคน โดยระบบนี้ได้เกิดขึ้นที่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษาก่อน       

             ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่คิดค้นกันขึ้นมา เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการด าเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและ เครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้     ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีองค์ประกอบในการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน คือ  1)  การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  2)  การคัดกรองนักเรียน   3)  การป้องกันและแก้ไขปัญหา   4)  การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน  และ 5) การส่งต่อ  ดังแผนภูมิ(ท้ายบทความ)

                        ขอเล่าแต่ละขั้นตอนแบบย่อๆ  กล่าวคือ  

              1)  การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคัดกรองนักเรียน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกทาง ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดา โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด 

                      2)  การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักรียนเพื่อการจัดกลุ่มนักเรียนเป็น กลุ่มปกติซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันและการพัฒนา  กลุ่มเสี่ยงซึ่งต้องให้การป้องกันหรือแก้ไขตามแต่กรณี  กลุ่มมีปัญหาซึ่งต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน และกลุ่มพิเศษคือนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะซึ่งต้องให้การส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ตามความสามารถพิเศษนั้นจนถึงขั้นสูงสุด    

                      3)  การป้องกันและแก้ไขปัญหา มีหลายเทคนิค วิธีการ สิ่งที่ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นจำเป็นต้องดำเนินการมีอย่างน้อยสองประการคือ การให้คำปรึกษาเบื้องต้นและการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา  

                      4)  การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน  มีกิจกรรมหลักสำคัญ เช่น การจัดกิจกรรมโฮมรูม  การเยี่ยมบ้าน การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom  Meeting)  การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กิจกรรมพัฒนานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา(YC : Youth Counseior) เป็นต้น 

                      5) การส่งต่อ อาจมีบางกรณีที่บางปัญหามีความยากต่อการช่วยเหลือหรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นก็ควรดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหาของนักเรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็วขึ้น

             การขับเคลื่อนเรื่องนี้ในตอนนั้นจะมีศึกษานิเทศก์ทั้งส่วนกลาง เขตการศึกษาและจังหวัดเป็นตัวจักรสำคัญในการไปช่วยชี้แจง สร้างความเข้าใจให้แก่โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ โรงเรียนต่างๆ ก็ให้ความสนใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างดีและรับลูกด้วยความเต็มใจ การสื่อสารสร้างความเข้าใจจึงได้รับความร่วมมือและสานต่อกันอย่างกว้างขวาง มีกิจกรรมนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างคึกคัก พอพูดถึงระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอนก็เป็นที่เข้าใจกัน ศึกษานิเทศก์ ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษาจะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนในเบื้องต้น

            ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบคุณภาพในการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระบบที่เรียกว่า TOPSTAR (Think Over, Planing, System, Team, Accessment and Reflection) ขึ้น โดยมีระบบใหญ่ๆ 2 ระบบคือ ระบบหลักและระบบสนับสนุน ซึ่งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นระบบหลักระบบหนึ่งของ TOPSTAR ด้วย หลังจากนั้นก็ยังมีการพัฒนาต่อยอดผ่านนโยบายและกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนก็ยังเป็นระบบสำคัญในการบริหารการศึกษาและการบริหารสถานศึกษาโดยตลอด         
          พูดถึงเรื่องนี้ในช่วงแรกที่เราไปเยี่ยม ไปแนะนำให้กำลังใจโรงเรียนกัน จะพบว่าครูแนะแนวกับครูที่ปรึกษา(ประจำชั้น) จะทำงานร่วมกันและยึดมั่นกับ 5 ขั้นตอน อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะขั้นตอนแรกคือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองนักเรียน ซึ่งเรามีเครื่องมือคัดกรองนักเรียน คือ SDQ (Strength and Difficulties Questionnaire) ตอนแรกๆเวลาเราไปเยี่ยมโรงเรียนไหน ครูมักจะนำผล SDQ มาให้ดู ซึ่งแสดงถึงการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่พอถามถึงขั้นตอนต่อไปคือการป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งเสริมและพัฒนา และการส่งต่อก็ยังไม่คืบหน้าเท่าใด โรงเรียนไหนที่คุ้นเคยกันผมก็จะพูดเชิงหยอกเย้ากันสนุกๆว่า “คัดกรองเสร็จแล้วก็กองเอาไว้ใช่ไหม” ก็เรียกเสียงหัวเราะ และเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนต้องดำเนินการขั้นตอนอื่นๆให้ครบทั้งระบบไปด้วย

            ภายหลังผู้หลักผู้ใหญ่ในกรมฯ ได้มีมาตรการให้ครูไปเยี่ยมบ้านนักเรียน 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี จากมาตรการนี้ทำให้ครูเกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่และเพิ่มจิตวิญญาณความเป็นครูให้เห็นได้อย่างชัดเจน ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นที่เอือมระอานักเรียนบางคนในชั้นที่เกเรก้าวร้าว ไม่ตั้งใจเรียน พอได้ไปเห็นชีวิตความเป็นอยู่ที่บ้านจึงเข้าใจสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทำให้เกิดความรัก ความเมตตา เอาใจใส่นักเรียนในชั้นเป็นรายคนเพิ่มขึ้น ที่สำคัญครูหลายคนต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินเดือน เพื่อช่วยเหลือศิษย์ของตนเองด้วยความสุขใจ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น ครูที่ปรึกษาก็มีการตั้งกลุ่มลายน์กับผู้ปกครองนักเรียนในชั้น ปรึกษาหารือดูแลบุตรหลานได้ใกล้ชิดอีกทางหนึ่ง

            เวลาผมไปเยี่ยมโรงเรียนใด ก็มักจะขอให้ครูที่ปรึกษาเล่าความประทับใจ และยกกรณีตัวอย่างการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของตนให้ฟัง ครูแต่ละคนก็จะเล่าด้วยความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ ต่างเล่าด้วยเสียงสะอื้น น้ำตาคลอด้วยคาวมเต็มตื้น ครูทุกคนอยากเล่าให้พวกเราฟัง จนบางครั้งพวกเรากว่าจะออกจากโรงเรียนได้ก็จนมืดค่ำ ซึ่งเราก็พลอยปลื้มใจน้ำตาไหลไปกับเขาด้วย นี่คงเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จในการสนองตามกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ตรัสในเวลาต่อมาว่าให้ “ครูรักเด็ก เด็กรักครู” ได้อย่างแจ่มชัด

            ต่อมาเมื่อมีการปรับโครงสร้างการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อพ.ศ.2546 มีการยุบรวมระดับประถมกับมัธยมไว้ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และในพ.ศ.2547 สพฐ. ได้กำหนดนโยบายสำคัญประการหนึ่งให้สถานศึกษาทุกแห่ง(ประถมและมัธยม) มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ในสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาท้องในวัยเรียน ปัญหาการใช้ความรุนแรง ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ฯลฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต ทุพพลภาพ การออกจากโรงเรียนกลางคัน และอาจนำไปสู่ปัญหาสังคมต่อไป โดยให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเข้มแข็ง เพื่อให้สามารถดูแลพิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองนักเรียนทุกคนในทุกมิติด้วยกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละปัญหาอย่างถูกต้อง ทั่วถึงและทันการณ์ พร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน ให้เป็นคนดี มีความสุข และปลอดภัย ในสภาพสังคมปัจจุบัน ภายใต้การนิเทศ กำกับติดตามของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา        
            ตลอดจนกำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการ และจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งสนับสนุน ส่งเสริมให้สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเยี่ยมบ้านนักเรียน การจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต การพัฒนาวินัยเชิงบวก รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โดยมุ่งที่จะพัฒนานักเรียนในทุกระดับให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเจตนารมณ์ และความมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551      
            มีโครงการกิจกรรมต่างๆอีกหลายอย่างทั้งมาจากภาครัฐและภาคีภาคส่วนต่างๆเข้ามาร่วมส่งเสริมเติมเต็มระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่พอจำได้ เช่น  โครงการทุนการศึกษา  โครงการอาหารกลางวัน  โครงการจักรยานยืมเรียน  โครงการ “บ้านน้ำใจ”กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมสร้างบ้านให้นักเรียน  โครงการสร้างบ้าน 89 หลัง “คืนความสุขสู่ลูก สพฐ” เฉลิมพระเกีรยติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พระชนมพรรษา 88 พรรษา  กิจกรรมกระทรวงศึกษาธิการจัดสัปดาห์เยี่ยมบ้านนักเรียน  เป็นต้น      
            พูดถึงกิจกรรมกระทรวงศึกษาธิการจัดสัปดาห์เยี่ยมบ้านนักเรียน ซึ่งกำหนดไว้ปีละ 2 ครั้ง คือเดือนสิงหาคม และธันวาคม  เริ่มในปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างรอบด้าน ปีการศึกษา 2553-2554 และดำเนินการมาตลอด โดยจะมีผู้บริหารและข้าราชการทุกเขตพื้นที่การศึกษาจัดคาราวานออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียน  เป็นการปูพรมและกระตุ้นให้เกิดการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างทั่วถึง  ซึ่งเวลาผมไปเยี่ยมเขตพื้นที่การศึกษาใดก็อดจะเสนอแนะการดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้ว่า  สัปดาห์แห่งการเยี่ยมบ้านนักเรียนนี้ คาราวานที่ออกไปเยี่ยมนอกจากผู้บริหารและข้าราชการจากเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนแล้ว น่าจะเชิญชวนคหบดี ผู้ที่มีใจบุญใจกุศลในพื้นที่และนอกพื้นที่ รวมทั้งสื่อมวลชนต่างๆ ร่วมเป็นคาราวานในแต่ละชุดด้วย  ซึ่งจะมีแนวโน้มให้เกิดการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามสภาพปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและอาจดูแลกันอย่างต่อเนื่องด้วย  เพราะการไปแต่เฉพาะกลุ่มข้าราชการเท่าที่ปฏิบัติกันเป็นส่วนใหญ่มักจะได้แต่เพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น        
             นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ให้ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน.สพฐ.) ดำเนินงานตามโครงการยกระดับคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง โดยคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในแต่ละปี เพื่อให้สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ เกิดความเข้มแข็งและความยั่งยืน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างครบถ้วนในทุกมิติ สามารถเรียนรู้และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย               
            จากประสบการณ์ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมดูแลในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ผมคิดว่าปัจจัยความสำเร็จที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่สำคัญได้แก่ 1) ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารทุกฝ่าย ต้องตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานหรือร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 2) ครูทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูที่ปรึกษาต้องมีเจตคติที่ดีต่อนักเรียน และมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน  3) เครือข่ายผู้ปกครอง  คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด อย่างสม่ำเสมอ  และ 5) มีการอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ครูที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้องที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะเรื่องทักษะการปรึกษาเบื้องต้น และแนวทางการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน            
            ผมจึงถือว่า ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นเทคนิคสำคัญที่สามารถสนองพระราชดำรัสฯ “ครูรักเด็ก เด็กรักครู” ได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน                                                             *******************

หมายเลขบันทึก: 631161เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2017 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2020 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะ  ท่านธเนศ...เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ  แต่ปัจจุบันที่น่าเสียดายคือ การนำไปใช้และถือปฏิบัติอย่างแท้จริงสม่ำเสมอ (ส่วนใหญ่) ยังไม่สมบูรณืค่ะ เพราะครูบางคนยังไม่รู้จักนักเรียนของตนอย่างแท้จริง (ไม่งั้น คงไม่มีข่าวเด็กอาศัยกับปู่ ย่า ตา ยายที่พิการ หรือ เด็กต้องออกไปทำงานต้ั้งแต่ดึกดื่น ฯล, ครูมารู้อีกทีเป็นข่าวในโซเชี่ยลแล้ว) และที่น่าสนใจคือ การส่งต่อประวัติของนักเรียนให้ครูประจำชั้น ช้้นต่อๆ ไป ไม่มีพัฒนาการของข้อมูลเด็กมากพอ โดยเฉพาะเชิงพฤติกรรม (นอกจากข้อมูลในสมุดพก ภาคเรียนละครั้ง) *** เป็นข้อมูลที่เคยไปติดตามมาค่ะ / อ.เหมียว สตผ.ค่ะ 

ขอบคุณค่ะ  ท่านธเนศ...เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ  แต่ปัจจุบันที่น่าเสียดายคือ การนำไปใช้และถือปฏิบัติอย่างแท้จริงสม่ำเสมอ (ส่วนใหญ่) ยังไม่สมบูรณืค่ะ เพราะครูบางคนยังไม่รู้จักนักเรียนของตนอย่างแท้จริง (ไม่งั้น คงไม่มีข่าวเด็กอาศัยกับปู่ ย่า ตา ยายที่พิการ หรือ เด็กต้องออกไปทำงานต้ั้งแต่ดึกดื่น ฯล, ครูมารู้อีกทีเป็นข่าวในโซเชี่ยลแล้ว) และที่น่าสนใจคือ การส่งต่อประวัติของนักเรียนให้ครูประจำชั้น ช้้นต่อๆ ไป ไม่มีพัฒนาการของข้อมูลเด็กมากพอ โดยเฉพาะเชิงพฤติกรรม (นอกจากข้อมูลในสมุดพก ภาคเรียนละครั้ง) *** เป็นข้อมูลที่เคยไปติดตามมาค่ะ / อ.เหมียว สตผ.ค่ะ 

ขอบคุณน้องธนัญญาเช่นกันครับ  ความรู้สึกห่วงใยนักเรียนของธนัญญาแสดงถึงความรักความเมตตา ความมีจิตวิญญาณความเป็นครูที่น่าชื่นชมยกย่อง  เพราะ "อันว่าความกรุณาปรานี  จะมีใครบังคับก็หาไม่  หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ  จากฟากฟ้าสุรารัยสู่แดนดิน..." ช่วยกันสืบสานความมีพรหมวิหาร 4 สู่หัวใจของคุณครูทุกๆคนเถอะครับ

แนะนำให้ครู ผู้บริหาร นักเรียน ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อ่านหนังสือ”บุญถึง” ที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนเพื่อท่าน และอยากให้เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติม(นอกเวลา) สำหรับนักเรียน โดยเฉพาะระดับมัธยมด้วย วางแผงที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯครับ ********* http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786164971066 บุญถึง : Barcode 9786164971066รักที่หลุดพ้น : Barcode 9786164747937

 "บุญถึง" เป็นบันทึกความทรงจำของธเนศ  ขำเกิด ที่ย้อนเรื่องราวและชีวิตของเด็กชนบทคนหนึ่ง ในช่วงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 9 จนถึงก่อนปีที่เกิดเหตุการณ์14 ตุลา”วันมหาวิปโยค”  ธเนศ ขำเกิด มองย้อนกลับไปข้างหลัง คิดคำนึงถึงประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็กอันยาวนาน มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทำถูกบ้าง ทำผิดบ้าง  มีหลายรส หลายอารมณ์คละเคล้ากันไป  วันเวลา โอกาส และความพร้อมได้หล่อหลอมกล่อมเกลาให้เขา สามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง และเกิดสำนึกแห่งการ รู้ถูก รู้ผิด รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร มากขึ้น   นี่คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต   เป็นการเรียนรู้อันล้ำค่า จากทั้งครูที่พูดได้ และครูที่พูดไม่ได้  จากทั้งที่บ้าน  ที่โรงเรียน จากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอันหลากหลาย  ผ่านทั้งช่วงเวลาที่รื่นรมย์และช่วงเวลาที่เป็นทุกข์   ด้วยการลงมือปฏิบัติ  ได้ชึมซับ ปรับตัว แก้ปัญหา ในชีวิตจริงมาโดยตลอด   หนังสือ “บุญถึง” จึงไม่เพียงแต่อ่านเพลิน อ่านสนุก แต่ช่วยเตือนใจให้เราได้ตระหนักว่าการเลี้ยงดู ปลูกฝังให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นผู้ที่มีคุณค่าต่อสังคม มิได้เกิดจากการจัดการศึกษาที่พยายามยัดเยียด”วิชา”เข้าไปให้มากที่สุด แต่เกิดจากการสร้างประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นประสบการณ์ที่หลากหลายและรื่นรมย์ เพื่อชุบเลี้ยงหล่อหลอมหัวใจอันบริสุทธิ์แต่ละดวง ให้มีชีวิตชีวา  สนุกสนานในโลกของการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างขึ้น  ธเนศ ขำเกิด มีความหวังลึกๆว่า บันทึกนี้อาจช่วยสะกิดใจเด็กและเยาวชนในยุคปัจจุบันได้บ้าง  แม้ยุคสมัย สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไป แต่ก็อาจเป็นข้อคิดให้เขาเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ชิวิตจริงของตนเองได้  รวมทั้งอาจช่วยสะกิดใจครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และคนทั่วไปให้เข้าใจและหยั่งถึงโลกในใจของเด็กและเยาวชนที่อยู่ใกล้ชิดได้บ้าง

“บุญถึง” เป็นบันทึกความทรงจำของธเนศ ขำเกิด ที่ย้อนเรื่องราวและชีวิตของเด็กชนบทคนหนึ่ง ในช่วงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 9 จนถึงก่อนปีที่เกิดเหตุการณ์14 ตุลา”วันมหาวิปโยค” ธเนศ ขำเกิด มองย้อนกลับไปข้างหลัง คิดคำนึงถึงประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็กอันยาวนาน มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทำถูกบ้าง ทำผิดบ้าง มีหลายรส หลายอารมณ์คละเคล้ากันไป วันเวลา โอกาส และความพร้อมได้หล่อหลอมกล่อมเกลาให้เขา สามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง และเกิดสำนึกแห่งการ รู้ถูก รู้ผิด รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร มากขึ้น
นี่คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการเรียนรู้อันล้ำค่า จากทั้งครูที่พูดได้ และครูที่พูดไม่ได้ จากทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน จากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอันหลากหลาย ผ่านทั้งช่วงเวลาที่รื่นรมย์และช่วงเวลาที่เป็นทุกข์ ด้วยการลงมือปฏิบัติ ได้ชึมซับ ปรับตัว แก้ปัญหา ในชีวิตจริงมาโดยตลอด หนังสือ “บุญถึง” จึงไม่เพียงแต่อ่านเพลิน อ่านสนุก แต่ช่วยเตือนใจให้เราได้ตระหนักว่าการเลี้ยงดู ปลูกฝังให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นผู้ที่มีคุณค่าต่อสังคม มิได้เกิดจากการจัดการศึกษาที่พยายามยัดเยียด”วิชา”เข้าไปให้มากที่สุด แต่เกิดจากการสร้างประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นประสบการณ์ที่หลากหลายและรื่นรมย์ เพื่อชุบเลี้ยงหล่อหลอมหัวใจอันบริสุทธิ์แต่ละดวง ให้มีชีวิตชีวา สนุกสนานในโลกของการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างขึ้น ธเนศ ขำเกิด มีความหวังลึกๆว่า บันทึกนี้อาจช่วยสะกิดใจเด็กและเยาวชนในยุคปัจจุบันได้บ้าง แม้ยุคสมัย สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไป แต่ก็อาจเป็นข้อคิดให้เขาเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ชิวิตจริงของตนเองได้ รวมทั้งอาจช่วยสะกิดใจครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และคนทั่วไปให้เข้าใจและหยั่งถึงโลกในใจของเด็กและเยาวชนที่อยู่ใกล้ชิดได้บ้าง

เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ »> สล็อตxo

Je vous remercie de l’information! Je cherchais et ne pouvait pas trouver. Vous me aidé! <a href=https://1921681254.info/”>192.168.1.254</a>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท