การพัฒนาทั้งจังหวัดอย่างบูรณาการ


การพัฒนาทั้งจังหวัดอย่างบูรณาการ

          1 พ.ย.48   ศ. นพ. ประเวศ  วะสี  เชิญหน่วยงานตระกูล ส. ทั้งหลายซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based Development) ได้แก่ สกว.,  สวรส.,  สปรส.,  สปสช., สสส., สคส.,  มสช.,  เป็นต้น   มาร่วมหารือกันที่ มสช. เพื่อร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนสังคมไทยให้แข็งแรง "ด้วยอิฐ 3 ก้อน" ได้แก่
     - ศาสนา
     - เศรษฐกิจพอเพียง
     - ชุมชนเข้มแข็ง

โดยใช้หลัก 4 ประการคือ
     (1) สร้างฐานล่างของสังคมให้เข้มแข็งด้วยอิฐ 3 ก้อน
     (2) ต่อเชื่อมการพัฒนาในส่วนบนของสังคมเข้ากับฐานล่าง
     (3) พัฒนานโยบายสาธารณะให้สนับสนุนข้อ 1 และ 2
     (4) ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ 

              

                                                 ผู้เข้าร่วมประชุม       

           โดยยุทธศาสตร์คือ : การพัฒนาโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง   และพื้นที่ยุทธศาสตร์คือจังหวัด   ท่านที่สนใจรายละเอียดรออ่านหนังสือ "การประกอบโครงสร้างสังคมเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข" ที่จะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประชาศาสตร์ในเดือน ม.ค.48 นะครับ

            ดร. สีลาภรณ์  บัวสาย  ผอ.ฝ่ายชุมชน สกว. ได้เล่าความสำเร็จในการดำเนินการโครงการนำร่องบูรณาการจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาความยากจน 12 จว. ของ ศตจ.  ซึ่งเป็นโครงการที่ทางราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ empower ให้ภาคประชาสังคมรวมตัวกันดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาความยากจน   โดยใช้เครื่องมือหลักคือการทำแผนแม่บทชุมชน   ความสำเร็จที่น่าชื่นชมคือการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมเข้ามาแสดงบทบาทนำในการแก้ปัญหาของชุมชน/ท้องถิ่น   และทางจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ก็ได้ผลงาน   รัฐบาลก็ได้ผลงาน   และมีนโยบายจะขยายออกไปอีก 40 จังหวัด

            มองจากมุมของผู้ที่ต้องการ empower ภาคประชาสังคม   โครงการนำร่องของ ศตจ. (ศูนย์ต่อสู้ปัญหาความยากจน) เป็นการเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนให้อยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน

            เป้าหมายคือการส่งเสริมการพัฒนาแบบ Demand - driven ในพื้นที่   หาทางให้ทรัพยากรที่เข้าไปสนับสนุนในโครงการที่ลงพื้นที่เข้าไปบรรจบกันที่ผู้ดำเนินการภาคประชาสังคมในพื้นที่

            อ. หมอประเวศอยากให้มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าไปรับผิดชอบหนุนการพัฒนาทั้งจังหวัดอย่างบูรณาการ    ในลักษณะ "1 จังหวัด 1 มหาวิทยาลัย" 

            ตกลงกันว่า สสส. กับ สปรส. จะร่วมกันเป็นหน่วยงานแกนนำนัดภาคีที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่มาหารือร่วมกัน

            งานนี้ สคส. ไม่ใช่แกนนำ   คือเป็นเพียงผู้จัด "KM Inside" ครับ   ที่เล็งไว้คือช่วยพัฒนา "คุณอำนวย" หรือ นจท. - นักจัดการความรู้ท้องถิ่น

วิจารณ์  พานิช
 1 พ.ย.48

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6307เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2005 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 เห็นด้วยครับ หนึ่งจังหวัด หนึ่งมหาวิทยาลัย แต่ ยุทธศาสตร์ชาติ มอบหมาย ให้ทำงานแบบบูรณาการ และมอบหมาย ให้เน้นพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับผิดชอบ พื้นที่ คือ " ร้อย แก่น สาร " หมายถึง ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม ซึ่งทำให้การทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แต่อย่างไรก็ดี ทางทีมงานศูนย์บริการวิชาการ กำลังปรับเน้น พื้นที่ให้ลดน้อยลง และ ประสานงานกับจังหวัดที่มีความต้องการจริงครับ

JJ

 เรียน เพิ่มเติมครับ ทีมงาน " จัดการความรู้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น" จะไปปรึกษาหารือ กับทีมงาน " จังหวัดร้อยเอ็ด" ในวันจันทร์ ที่ ๑๔ พ.ย ๔๘ ครับ

JJ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท