ศาสตร์ และศิลป์


ศาสตร์ และศิลป์

ดร.ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

            ศาสตร์ (Science) มีความหมาย ดังนี้

     ศาสตร์ หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือกฎที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ

     ศาสตร์ หมายถึง สาขาวิชาหรือสาขาความรู้ต่างๆ เช่น เคมี ชีววิทยา

ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ แต่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา

สังคมศาสตร์ เกษตรและวิศวกรรมจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์

      ศาสตร์ หมายถึง กระบวนการและกิจกรรมที่ทำให้ได้ความรู้ที่สามารถทดสอบได้

ประกอบด้วย การสังเกตปรากฏการณ์ การตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล

     ศาสตร์ เป็นได้ทั้งที่เป็นสาขาวิชา และตัวความรู้

ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ตาม

กระบวนการขั้นตอนการเรียนรู้ ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ

เพราะเป็นการเรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้

ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นการบวนการเดียวกับการวิจัย

Research process นั้นเอง

               

ความรู้หรือสิ่งที่จะจัดเป็นศาสตร์ มีลักษณะดังนี้

       1. มีองค์ความรู้ Body of knowledge เป็นเรื่องเฉพาะตัว

ซึ่งองค์ความรู้คือมวลสาระที่จัดไว้เป็นระบบ หมวดหมู่ จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม

และจัดอย่าง่ายๆไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยข้อเท็จจริง (Fact) มโนทัศน์

(Concept) ข้อเสนอ (Proposition) สัจพจน์ (Axiom or Postulate)

ทฤษฎี Theory และ กฎ Law

        มวลสาระต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าทุกศาสตร์จะมีครบถ้วน

ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าและการสั่งสมองค์ความรู้หรือการทดลองทดสอบข้อค้นพบ

ของศาสตร์นั้นๆ ในศาสตร์ที่มีความก้าวหน้ามากจะมีมวลสาระความรู้ในระดับสูงๆ มาก

คือในส่วนที่เป็นทฤษฎีและเป็นกฎที่ค้นพบ และในขณะเดียวกันในศาสตร์ใดที่มีความล้าหลัง

จะมีมวลสาระความรู้ในระดับต่ำ เป็นเพียงข้อเท็จจริง และมโนทัศน์ ซึ่งมวลสาระที่เป็น

องค์ความรู้นี้ต้องสามารถตรวจสอบความถูกผิดได้ ไม่ว่าจะโดยเชิงประจักษ์ Empirical

หรือเชิงวิตรรก Rational

       2. มีศัพท์เฉพาะตัว (Technical term) ซึ่งคำศัพท์เฉพาะในแต่ละศาสตร์

เป็นสิ่งที่มีลักษณะเด่นและจำแนกศาสตร์ออกจากกัน เป็นประโยชน์ในการใช้สื่อ

ความรู้ให้มีความเข้าใจตรงกัน ศาสตร์ใดมีการคิดค้นบัญญัติศัพท์เฉพาะของตนมาก

เท่าใดจะแสดงถึงความความรู้ความก้าวหน้าของศาสตร์ดังกล่าวด้วย

        3. มีวิธีการค้นคว้าความรู้เฉพาะตัว (Method of inquiry knowledge)

ในแต่ละศาสตร์ต้องมีวิธีการนำความรู้มาใช้เพราะลักษณะมวลสาระความรู้ของแต่

ละศาสตร์มีความแตกต่างกันทั้งลักษณะความรู้ และประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อค้นคว้า

เพื่อให้ความรู้ในศาสตร์ของตนเองพอกพูนอยู่เสมอ วิธีการที่นำมาใช้อาจก่อให้เกิด

ความน่านเชื่อถือของความรู้ที่ค้นคว้ามาได้มีความแตกต่างกัน กล่าวคือบางวิธีอาจก่อ

ให้เกิดความน่าเชื่อถือต่ำ มักเรียกกันว่าทำให้ได้ความรู้ที่มีความเป็นอัตวิสัยหรือเป็นอัตนัย

(Subjectivity) ขาดความตรง (Invalidity) ขาดความเที่ยง (Unreliability) 

แต่ในขณะที่อีกวิธีหนึ่งทำให้ความรู้มีความเป็นวัตถุวิสัยหรือเป็นปรนัย (Objectivity)

มีความตรง (validity) มีความเที่ยง (reliability) สูง ซึ่งศาสตร์ใดใช้วิธีการสั่งสมความรู้

ในลักษณะแรกมักมีความก้าวหน้าน้อย ซึ่งเรียกว่าศาสตร์อ่อน (Weak science) 

ในทางตรงกันข้ามถ้าศาสตร์ใดใช้วิธีการสั่งสมความรู้ตามลักษณะหลังจะมี

ความก้าวหน้ามาก ซึ่งจะเรียกว่าศาสตร์แข็ง (Strong science)

การสั่งสมความรู้ของแต่ละศาสตร์จะได้จากการสังเกต สำรวจ สัมภาษณ์

ตรวจสอบเอกสาร ซาก หลักฐาน การทดลอง เป็นต้น

         จากที่เราพบเห็นว่ามีคำว่า ศาสตร์ ต่อท้ายในสาขาวิชาต่างๆ นั้น

ทั้งนี้เป็นเพราะวิชาการแต่ละสาขามีคุณลักษณ์แห่งความเป็นศาสตร์ครบถ้วน

ทั้งสามประการ ส่วนประกอบขององค์ความรู้ในศาสตร์ล้วนแต่ได้มาจาก

การสั่งสมความรู้จากสองวิธีคือ วิธีการเชิงประจักษ์ (Empirical) หรือวิธีการเชิงวิตรรก

(Rational)

          จากรายละเอียดการศึกษาที่กล่าวมาทั้งนั้นถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่ก่อเกิด

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ Empirical หรือเชิงวิตรรก Rational และระเบียบวิธีวิจัย

คือกระบวนการนำมาซึ่งความรู้ของศาสตร์ หรือศาสตร์เป็นผลผลิตของการวิจัยนั้นเอง


ประเภทของศาสตร์

    จัดตามลำดับความเกี่ยวเนื่องในการพัฒนามนุษย์ชาติจำแนกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่

๑.    ศาสตร์หรือวิธีการเชิงประจักษ์ (Empirical level)

๒.    ศาสตร์ระดับปฏิบัติ (pragmatic level)

๓.    ศาสตร์ระดับปทัสถาน (Normative level)

๔.    ศาสตร์ระดับคุณค่า (Meaning or purposive level)

          การจัดกลุ่มศาสตร์โดยพิจารณาจากปรากฏการณ์ที่ศาสตร์นั้นๆ

มุ่งศึกษาโดยจำแนกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ

          กลุ่มที่ ๑ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือธรรมชาติศาสตร์ (Natural science)

มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสิ่งต่างๆ ยกเว้นปรากฏการณ์

ทางพฤติกรรมมนุษย์ ตัวอย่างของศาสตร์นี้ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น

           กลุ่มที่ สังคมศาสตร์ (Social science) มุ่งศึกษาพฤติกรรมระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

หรือปรากฏการณ์เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์

รัฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น

          กลุ่มที่ มนุษย์ศาสตร์ (Humanities science) ศึกษาปรากฏการณ์ของมนุษย์ในส่วนที่

เป็นปัจเจกบุคคล ในเรื่องของคุณค่า ความงาม ความสุนทรีย์ การใช้เหตุผลทำนองนี้

เป็นต้น เช่น ภาษาวรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี

            จะเห็นได้ว่าในแต่ละศาสตร์จะจัดตามลักษณะของปรากฏการณ์ที่มุ่งศึกษา

และในแต่ละศาสตร์อาจจะมีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันอยู่ไม่แยกจากกันโดยยังต้องอาศัย

ความรู้ทั้งสองหรือสามศาสตร์ประกอบกัน แต่ในบางครั้งเราจะพบว่ามีการแบ่งศาสตร์

ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) และศาสตร์ประยุกต์

(Applied science) โดยศาสตร์บริสุทธิ์มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติเพื่อให้

เกิดความรู้เป็นหลัก ในขณะที่ศาสตร์ประยุกต์ มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ

และนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ตอบสนองประโยชน์สุขของมนุษย์เป็นสำคัญ



  เป้าหมาของศาสตร์

          ศาสตร์มีเป้าหมาย ๔ ประการ เรียงลำดับจากเป้าหมายต่ำจนกระทั่งถึงระดับสูง

ได้แก่ เพื่อบรรยาย เพื่ออธิบาย เพื่อทำนาย และเพื่อควบคุมปรากฏการณ์ในธรรมชาติ

หรือปรากฏการณ์ที่มุ่งศึกษา โดยแต่ละเป้าหมายมีลักษณะดังนี้

           1. เพื่อบรรยายหรือพรรณนา Description ปรากฏการณ์หมายถึงการบอกเล่า

คำถามว่าใครหรือสิ่งใด Who What Where When How ซึ่งการตอคำถามดังกล่าวนี้

ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์อย่างรอบครอบ แล้วนำสิ่งที่ได้จากการสังเกตมา

เรียบเรียงอย่างตรงไปตรงมา ตามที่สัมผัสและรับรู้

            2. เพื่ออธิบาย Explanation ปรากฏการณ์ หมายถึง การบอกว่าปรากฏการณ์นั้นๆ

เกิดขึ้นเพราะเหตุใด นั้นคือคำถาม Why หรือการบอกเชิงสาเหตุ และผลของปรากฏการณ์นั้นๆ

การอธิบายเชิงสาเหตุและผลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ใดนั้นต้องมีปรากฏการณ์

ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สังเกตเห็นและพรรณนาได้ในระดับหนึ่ง จึงสามารถตอบ

คำถามอธิบายเชิงสาเหตุและผลนั้นได้

            3. เพื่อทำนาย Prediction หมายความว่า

การบอกหรือคาดคะเนได้ว่าถ้ามีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว

จะมีปรากฏการณ์ใดตามมา นั้นคือการบอกในลักษณะว่า

ถ้า If.. แล้ว Then.. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนคือสิ่งที่เป็นสาเหตุ

ส่วนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามหลังคือสิ่งที่เป็นผล การที่จะทำนายสิ่งใด

ด้อย่างแม่นยำต้องขึ้นอยู่กับการค้นพบอธิบายความสัมพันธ์

ระหว่างปรากฏการณ์ที่เป็นเหตุและปรากฏการณ์ที่เป็นผลได้ก่อนแล้ว

มีความเข้าใจในเหตุและผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนจึงอธิบายและทำนายได้แม่นยำ

            4. เพื่อการควบคุม Control หมายถึง การทำให้เกิดหรือไม่

เกิดปรากฏการณ์ใดๆ ตามที่มนุษย์ นักวิจัย หรือนักทดลอง ต้องการ

เป้าหมายนี้จะเกิดได้ต่อเมื่อสามารถอธิบายและทำนายได้ว่าปรากฏการณ์ใด

จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด กล่าวโดยสรุปว่าการที่ได้ผลสิ่งใดมานั้นต้องขึ้น

อยู่กับเหตุ และถ้าเมื่อใดไม่ต้องการให้เกิดผลใดขึ้นก็ต้องดับเหตุนั้นเสียเพื่อ

ไม่ให้เกิดผลตามมา ซึ่งเหตุและผลจะเป็นตัว Control ซึ่งกันและกัน

เป้าหมายของศาสตร์นี้คือศูนย์รวมของศาสตร์ต่างๆ เพราะใน

เป้าหมายนี้สิ่งที่ตามมาคือ การตอบสนองประโยชน์สุขของมวลมนุษย์และสังคมโดยรวมนั้นเอง

               ศาสตร์ใดมีความก้าวหน้ามากจะมีองค์ความรู้ที่บรรลุเป้าหมายสูงๆ ได้แก่

การทำนายและควบคุม ได้มาก ในทำนองเดียวกัน ศาสตร์ใดมีองค์ความรู้

แค่การพรรณนาอธิบาย หรืได้เฉพาะการพรรณนาปรากฏการณ์

ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกๆ ของศาสตร์ แสดงว่าศาสตร์นั้นยังมีความก้าวหน้าไม่มากนัก

จะเห็นว่าศาสตร์ด้านธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ จึง

มีความก้าวหน้ากว่าศาสตร์อื่นๆ เพราะมีองค์ความรู้ขั้นควบคุม

ปรากฏการณ์ในธรรมชาติได้มาก มีการนำความรู้ไปใช้สนองความต้องการมนุษย์

ในนามของเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในขณะที่

ศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ มีความก้าวหน้าถึงเป้าหมายสูงสุดค่อนข้างยาก

ศาสตร์ด้านมนุษย์ถูกจัดว่ามีความออ่น หรือมีความก้าวหน้าน้อยที่สุด

ซึ่งตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

               

ความหมายของศาสตร์

    ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Fact) และกฎ (Law) สาขาวิชา เช่น

เคมี ฟิสิกส์ วิธีการแสวงหาความรู้ ประกอบด้วย การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ

แล้วกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล

      สรุปความหมายของศาสตร์ เมื่อนำมารวมกันได้ดังนี้ มีกระบวนการค้น

หาความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความจริง (Reality) เมื่อได้หลายๆครั้งซ้ำๆกัน

จะนำมาสู่สาขาวิชาใหม่ๆ (discipline) หรือกล่าวว่าสาสตร์เกิดจากการสั่งสมความรู้มาเรื่อยๆ


ลักษณะของศาสตร์ประกอบด้วย

   1. มีองค์ความรู้ (Body of Knowledge) เป็นมวลเนื้อสาระที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ

หมวดหมู่ จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม จากง่ายไปสู่ซับซ้อน ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง

(fact) มโนทัศน์ (conception) ข้อเสนอ (Proposition) สัจพจน์ (Axiom or Postulate)

ทฤษฎี (Theory) และกฎ (Law) ศาสตร์ที่ก้าวหน้าจะมีทฤษฎีหรือกฎ ในขณะที่

ศาสตร์ต่ำกว่าจะมีข้อเท็จจริง มโนทัศน์ องค์ความรู้เหล่านี้ต้องสามารถทดสอบ

ความถูกผิดจากวิธีการเชิงประจักษ์หรือเชิงวิตรรก (Rational)

2. มีศัพท์เฉพาะตัว (Technical term) มีประโยชน์ที่ใช้สื่อสารในหมู่นักวิชาการ

และสามารถนำไปแสดงตัวตน

3. วิธีการศึกษาค้นคว้าความรู้เฉพาะตัว (Method of inquiry knowledge)

จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ถ้าศาสตร์ที่มีความเป็นปรนัยสูง (Objectivity)

จะมีความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability) มักมีความก้าวหน้ามากทำให้

เป็นศาสตร์แข็ง แตกต่างจากศาสตร์ที่มีความเป็นอัตนัย (Subjectivity) มักเป็นศาสตร์อ่อน

 วิธีการศึกษาค้นคว้าความรู้เฉพาะตัว มี 2 ลักษณะ

1. Materialism or Empiricalism จะเชื่อในข้อมูลเชิงประจักษ์ จะมี

ความเชื่อถือเมื่อวิธีการศึกษามีความเป็นปรนัย ที่มีความตรง ความเที่ยง

ซึ่งมักพัฒนาเป็นศาสตร์แข็งจนกลายเป็นทฤษฎี

2. Idealism ใช้ Subjectivity บางครั้งทำให้เกิดขาดความตรง ความเที่ยง

ประเภทของศาสตร์

    1. Natural science ศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ

    2. Social science ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน

    3. Humanities science ศึกษาปรากฏการณ์ของมนุษย์ที่เป็นปัจเจกชน

ได้แก่ คุณค่า ความงาม การใช้เหตุผล


ศิลป์

        ศิลป์ หรือ ศิลปะ หมายถึง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ

และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทางทัศนศิลป์

ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้

       ข้อที่ 1 เข้าใจวิธีสื่อความคิดจินตนาการ ความรู้สึก ความประทับใจ

ด้วยวัสดุอุปกรณ์ เทคนิควิธีการทางศิลปะ และสื่อความหมายได้

       ข้อที่ 2 คิดริเริ่ม ดัดแปลง ยืดหยุ่น ใช้ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

เทคนิควิธีการรูปแบบใหม่ๆในการพัฒนางานทัศนศิลป์ตามความถนัด และความสนใจ

      ข้อที่ 3 ใช้กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ประยุกต์ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์และ

เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ

       ข้อที่ 4 แสดงออกถึงความรู้สึกในการรับรู้ความงามจากประสบการณ์

จินตนาการโดยใช้หลักและความงามของศิลปะ ตามความถนัดและความสนใจ

      ข้อที่ 5 แสดงความคิดเห็นต่อผลงานทัศนศิลป์ โดยวิเคราะห์ทัศนธาตุและความงามของศิลปะ

      ข้อที่ 6 นำความรู้ เทคนิคและวิธีการทางทัศนศิลป์ที่ตนถนัดและสนใจมาใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ และชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 

ความหมาย ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์      

           มนุษย์เรารับรู้ถึงความสวยความงาม ความพอใจ ของสิ่งต่างๆได้แตกต่างกับ

ระดับความพอใจของแต่ละบุคคล ก็แตกต่างกันออกไปทั้งนี้อาจขึ้นกับรสนิยม

สภาพสังคม ศาสนา ความเชื่อและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับรู้นั้นดำรงชีวิตอยู่

หากแต่ว่าผู้รับรู้นั้นได้เข้าใจถึงกระบวนการ องค์ประกอบและพื้นฐานที่

สำคัญของสิ่งที่ได้สัมผัส ก็ย่อมทำให้รับรู้ถึงความงาม  ความพอใจนั้นๆเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง               

           ศิลปะนั้นดูเหมือนว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก เพราะอาศัยแต่

ความสุนทรียะทางอารมณ์เพียงประการเดียว แต่หากว่าได้ศึกษาถึงความสุนทรียะ

อย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่ามันมีกฎเกณฑ์ในตัวของมันเอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องศึกษาถึง

องค์ประกอบต่างๆเหล่านั้นที่ประกอบกันขึ้นเป็นงานศิลปะ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

คือผู้เรียนจะต้องเข้าใจในหลัก องค์ประกอบของศิลปะ เป็นพื้นฐานเสียก่อน

จึงจะสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณค่าและรับรู้ถึงความงามทางศิลปะ ได้อย่างถูกต้อง               

          1. ความหมายขององค์ประกอบศิลป์   

องค์ประกอบของศิลปะหรือ(Composition )นั้นมาจากภาษาละติน โดยคำว่า Post

นั้นหมายถึง การจัดวาง และคำว่า Comp หมายถึง เข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วใน

ทางศิลปะ  Composition จึงหมายความถึง องค์ประกอบของศิลปะ

การจะเกิดองค์ประกอบศิลป์ได้นั้น ต้องเกิดจากการเอาส่วน ประกอบของศิลปะ

(Element of Art) มาสร้างสรรค์งานศิลปะเข้าด้วยหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

(Principle of Art) จึงจะเป็นผลงานองค์ประกอบศิลป์ 

ความหมายขององค์ประกอบศิลป์นั้นได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายเอาไว้

ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้               

         คำว่าองค์ประกอบ ตามความหมายพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานคือ ๒๕๕๔

ส่วนต่างๆที่ประกอบกันทำให้เกิดรูปร่างใหม่ขึ้นโดยเฉพาะ

         องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง สิ่งที่ศิลปินและนักออกแบบใช้เป็นสื่อ

ในการแสดงออกและสร้างความหมาย โดยนำมาจัดเข้าด้วยกันและเกิดรูปร่างอันเด่นชัด

          องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง เครื่องหมายหรือรูปแบบที่นำมา

จัดรวมกันแล้วเกิดรูปร่างต่างๆ ที่แสดงออกในการสื่อความหมายและความคิดสร้างสรรค์

 

องค์ประกอบศิลป์

          องค์ประกอบศิลป์ หมายถึงศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกทางอารมณ์

ความรู้สึก ความคิดหรือความงาม ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้นและส่วนที่เป็น

การแสดงออกอันเป็นผลที่เกิดจากโครงสร้างทางวัตถุ 

          องค์ประกอบศิลป์หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ เช่น จุด เส้น รูปร่าง

ขนาด สัดส่วน น้ำหนัก แสง เงา ลักษณะพื้นผิว ที่ว่างและสี (มานิต กรินพงศ์:51)

          องค์ประกอบศิลป์คือความงาม ความพอดี ลงตัว อันเป็นรากฐานเนื้อหาของศิลปะ

อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ทางศิลปะให้ผู้สร้างสรรค์ได้สื่อสารความคิดของตนเองไปสู่บุคคลอื่น

           จากความหมายต่างๆข้างต้น พอสรุปได้ว่า องค์ประกอบศิลป์ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อ

ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยนำส่วนประกอบของศิลปะมาจัดวางรวมกันอย่าง

สอดคล้องกลมกลืนและมีความหมาย เกิดรูปร่างหรือรูปแบบต่างๆอันเด่นชัด

            ซึ่งจากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่จะเกิดผลงานศิลปะดีๆสักชิ้นนั้น

ผู้สร้างสรรค์จะต้องใช้กระบวนการ ที่หลากหลายมาประกอบกันได้แก่

องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ องค์ประกอบของศิลปะ และการจัดองค์ประกอบ

ของศิลปะ มาถ่ายทอดลงในชิ้นงานหรือผลงานนั้นๆเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่า

ทั้งด้านความงามและมีคุณค่าทางจิตใจ อันเป็นจุดหมายสำคัญที่ศิลปิน

ทุกคนมุ่งหวังให้เกิดแก่ผู้ชมทั้งหลาย

      2. ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์   

ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสาขาวิจิตรศิลป์

หรือประยุกต์ศิลป์ ผู้สร้างสรรค์นั้นต้องมีความรู้เบื้องต้นด้านศิลปะมาก่อน

และศึกษาถึงหลักการองค์ประกอบพื้นฐาน องค์ประกอบที่สำคัญ

การจัดวางองค์ประกอบเหล่านั้น รวมถึงการกำหนดสี ในลักษณะต่างๆ

เพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจ เพื่อเวลาที่สร้างผลงานศิลปะ จะได้ผลงาน

ที่มีคุณค่า ความหมายและความงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้พบเห็น

หากสร้างสรรค์ผลงานโดยขาดองค์ประกอบศิลป์ ผลงานนั้น

อาจดูด้อยค่า หมดความหมายหรือไม่น่าสนใจไปเลย ดังนั้น

จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบศิลป์นั้นมีความสำคัญอย่างมากใน

การสร้างงานศิลปะ มีนักการศึกษาด้านศิลปะหลายท่านได้ให้

ทรรศนะในด้านความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ที่มีต่อ

การสร้างงานศิลปะไว้ พอจะสรุปได้ดังนี้

          การสร้างสรรค์งานศิลปะให้ได้ดีนั้น ผู้สร้างสรรค์จะต้อง

ทำความเข้าใจกับองค์ประกอบศิลป์เป็นพื้นฐานเสียก่อน

ไม่เช่นนั้นแล้วผลงานที่ออกมามักไม่สมบูรณ์เท่าไรนักซึ่งองค์ประกอบหลัก

ของศิลปะก็คือรูปทรงกับเนื้อหา

          องค์ประกอบศิลป์เป็นเสมือนหัวใจดวงหนึ่งของการทำงานศิลปะ

เพราะในงานองค์ประกอบศิลป์หนึ่งชิ้น จะประกอบไปด้วย

การร่างภาพ(วาดเส้น) การจัดวางให้เกิดความงาม (จัดภาพ)

และการใช้สี (ทฤษฎีสี) ซึ่งแต่ละอย่างจะต้องเรียนรู้สู่รายละเอียดลึกลงไปอีก

องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่รวบรวมความรู้หลายๆอย่างไว้

ด้วยกัน จึงต้องเรียนรู้ก่อนที่จะศึกษาในเรื่องอื่นๆ


องค์ประกอบศิลป์ 

       การจัดองค์ประกอบและการใช้สี เป็นหลักการที่สำคัญในการสร้างสรรค์ให้งานศิลปะ

เกิดความงาม ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม วาดเขียน ประติมากรรม

สถาปัตยกรรมและการพิมพ์ภาพ หากปราศจากความรู้

ความเข้าใจเสียแล้วผลงานนั้นๆก็จะไม่มีค่าหรือความหมายใดๆเลย 

          องค์ประกอบศิลป์จัดเป็นวิชาที่มีความสำคัญสำหรับผู้ศึกษางานศิลปะ

หากว่าขาดความรู้ความเข้าใจในวิชานี้แล้ว ผลงานที่สร้างขึ้นมาก็ยากที่

ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานศิลปะสมัยใหม่ที่มีการแสดงเฉพาะ

เส้น สี แสง เงา น้ำหนัก พื้นผิว จังหวะ และบริเวณที่ว่าง

มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องนำหลักการองค์ประกอบศิลป์มาใช้ 

         หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีความสำคัญและเกี่ยวข้อง

กับงานทัศนศิลป์โดยตรง ทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์

การจัดภาพหรือออกแบบสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิด

คุณค่าความงามนั้น การจัดองค์ประกอบศิลป์จะมีบทบาทสำคัญ มากที่สุด

         จากทรรศนะต่างๆ สรุปได้ว่า องค์ประกอบศิลป์เป็นหัวใจสำคัญ

ของงานศิลปะทุกสาขา  เพราะงานศิลปะใดหากขาด การนำองค์ประกอบศิลป์ไปใช้

ก็จะทำให้งานนั้นดูไม่มีคุณค่า ทั้งด้านทางกายและทางจิตใจของผู้ดู

หรือพบเห็นขณะเดียวกัน ก็จะบ่งบอกถึงภูมิความรู้

ความสามารถของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นด้วย                                

          การที่จะเข้าถึงศิลปะ (Appreciation) นั้น

จะต้องผ่านการฝึกฝนและหาทางดูเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

ทั้งจะต้องมี รสนิยมที่ดีพอสมควร การฝึกฝน การทำซ้ำๆอย่างสนใจ

เมื่อนานเข้าก็จะเกิดความเข้าใจ ทำด้วยความคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านั้น

จึงจะเข้าใจ รู้เห็นในคุณค่าของศิลปะนั้นๆได้ดี


องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ

          องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ เป็นแนวคิด

หรือจุดกำเนิดแรกที่ศิลปินใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทาง ในการสร้างสรรค์

ก่อนที่จะมีการสร้างผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เนื้อหากับเรื่องราว

        ๑. เนื้อหาในทางศิลปะ  คือ ความคิดที่เป็นนามธรรมที่แสดง

ให้เห็นได้โดยผ่านกระบวนการทางศิลปะ เช่น ศิลปินต้องการเขียนภาพ

ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนบท ก็จะแสดงออกโดยการเขียนภาพทิวทัศน์ของชนบท

หรือภาพวิถีชีวิตของคนในชนบทเป็นต้น

         ๒. เรื่องราวในทางศิลปะ คือส่วนที่แสดงความคิดทั้งหมดของ

ศิลปินออกมาเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการทางศิลปะ เช่นศิลปินเขียนภาพ

ชื่อชาวเขา ก็มักแสดงรูปเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรือกิจกรรมส่วนหนึ่งของชาวเขา

นั่นคือเรื่องราว ที่ปรากฏออกมาให้เห็น

          ประเภทของความสัมพันธ์ของเนื้อหากับเรื่องราวในงานทัศนศิลป์นั้น

เนื้อหากับเรื่องราวจะมีความสัมพันธ์กัน น้อยหรือมาก หรืออาจไม่สัมพันธ์กันเลย

หรืออาจไม่มีเรื่องเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น โดยขึ้นกับลักษณะของงาน

และเจตนา ในการแสดงออกของศิลปิน ซึ่งเราสามารถแยกได้ดังต่อ

ไปนี้คือ การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานกัน

ของศิลปินกับเรื่อง เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง และเนื้อหาไม่มีเรื่อง 

         ๑. การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง ได้แก่ การใช้เรื่องที่ตรงกับเนื้อหา

และเป็นตัวแสดงเนื้อหาของงานโดยตรง ตัวอย่างเช่น เมื่อศิลปินต้องการให้

ความงามทางด้านดอกไม้เป็นเนื้อหาของงาน เขาก็จะหาดอกไม้ที่สวยงามมาเป็นเรื่อง

สีสันและความอ่อนช้อยของกลีบดอกจะช่วยให้เกิดความงามขึ้นในภาพ 

         ๒.  เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างศิลปินกับเรื่อง 

ในส่วนนี้ศิลปินจะเสนอความเห็นส่วนตัว หรือผสม ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในเรื่อง

เป็นการผสมกันระหว่างรูปลักษณะของเรื่องกับจินตนาการของศิลปิน เช่น

เรื่องความงาม ของดอกไม้ โดยศิลปินผสมความรู้สึกนึกคิดของตนเองลงไปใน

เรื่องด้วย เขาจะดัดแปลง เพิ่มเติมรูปร่างของดอกไม้ ให้งามไปตามทัศนะของเขา

และใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นองค์ประกอบทางรูปทรงให้สอดคล้องกับความงามของเรื่อง 

          ๓. เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง   เมื่อศิลปินผสมจินตนาการของตนเองเข้าไปในงานมากขึ้น ความสำคัญของเรื่อง จะลดลง ดอกไม้ที่สวยที่เป็นแบบอาจถูกศิลปินตัดทอนขัดเกลา หรือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด จนเรื่องดอกไม้ นั้นหมดความสำคัญไปอย่างสิ้นเชิง เหลือแต่เนื้อหาที่เป็นอิสระ การทำงานแบบนี้ศิลปินอาศัยเพียงเรื่อง เป็นจุดเริ่มต้นแล้ว เดินทางห่างออกจากเรื่องจนหายลับไป เหลือแต่รูปทรงและตัวศิลปินเองที่เป็นเนื้อหาของงาน กรณีนี้เนื้อหาภายในซึ่ง หมายถึงเนื้อหาที่ที่เกิดขึ้นจากการประสานกันของรูปทรงจะมีบทบาทมากกว่าเนื้อหาภายนอก หรือบางครั้งจะไม่แสดงเนื้อหา ภายนอกออกมาเลย 

          ๔. เนื้อหาไม่มีเรื่อง ศิลปินบางประเภท ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เรื่องเป็นจุดเริ่มต้น

งานของเขาไม่มีเรื่อง มีแต่รูปทรง กับเนื้อหา โดยรูปทรงเป็นเนื้อหาเสียเองโดยตรง

เป็นเนื้อหาภายในล้วนๆ เป็นการแสดงความคิด อารมณ์ และบุคลิกภาพ ของศิลปินแท้ๆ

ลงไปในรูปทรงที่บริสุทธิ์ งานประเภทนี้จะเห็นได้ชัดในดนตรีและงานทัศนศิลป์ที่เป็น

นามธรรมและแบบนอนออบเจคตีฟ 

         องค์ประกอบพื้นฐานด้านรูปธรรมของศิลปะองค์ประกอบพื้นฐาน

ด้านรูปธรรมของศิลปะ คือสิ่งที่แสดงแนวคิดเกี่ยวกับ เนื้อหาและเรื่องราว

ของศิลปินให้เห็นหรือรับรู้ผ่านผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เอกภาพ ดุลยภาพ และจุดเด่น

   

๑.  เอกภาพ 

   หมายถึงการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้

แต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน  

ประสานกลมกลืนเกิดเป็นผลรวมที่แบ่งแยกไม่ได้

โดยถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะด้วยกระบวนการศิลปะ

๒. ดุลยภาพ

    คือการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกัน

ให้เกิดความเท่ากันหรือสมดุล โดยมีเส้นแกนสมมุติ ๒ เส้น

เป็นตัวกำหนดดุลยภาพเส้นแกนสมมุติจะทำหน้าที่แบ่งภาพ

ออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวา หรือด้านบนและด้านล่างเพื่อ

ให้ผลงานศิลปะที่ปรากฏเกิดความสมดุลในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น

แบบซ้ายขวาเหมือนกันและแบบซ้าย ขวา ไม่ เหมือนกัน

๓. จุดเด่น

    คือ ส่วนที่สำคัญในภาพ มีความชัดเจนสะดุดตาเป็นแห่งแรก

รับรู้ได้ด้วยการมองผลงานที่สำเร็จแล้ว จุดเด่นจะมีลักษณะการมีอำนาจ

ตระหง่าน ชัดเจนกว่าส่วนอื่นทั้งหมด โดยเกิดจาก

การเน้นให้เด่นในลักษณะใดลักษณะนึ่ง เช่น จุดเด่นที่มีความเด่นชัด

หรือจุดเด่นที่แยกตัวออกไปให้เด่น


การบริหารเป็นศาสตร์และศิลป์ ?


  พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔

     ศาสตร์ มาจากรากศัพท์ ศาสตร, ศาสตร์

         [สาดตฺระ, สาดสะตฺระ, สาด] น. ระบบวิชาความรู้,

มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์มนุษยศาสตร์. (ส.).

ส่วนคำว่า

    “ศิลป์”

     ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ

    [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง,

การทำให้วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่าง

มีศิลปะผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์

การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ

อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี

ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์.

(ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่ามีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

    ศิลป์ ๒

     [สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ

งามขนงวงวาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร

พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

       ตามนัยทางการบริหารจึงแปลความได้ว่า การบริหารเป็นศาสตร์

เพราะการบริหารเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีแนวคิดและทฤษฎีที่สามารถ

อธิบายปรากฏการณ์การบริหารได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

(ไม่ใช่เรื่องลึกลับหรือไสยศาสตร์)เป็นสาขาวิชาที่มี

การจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบกล่าวคือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎี

ที่พึงเชื่อถือได้อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ใน

การบริหาร เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยาสังคมวิทยา

และรัฐศาสตร์โดยลักษณะนี้การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science)

       การบริหารเป็นศิลป์ พิจารณาจากการบริหารของผู้บริหารที่

สามารถนำแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารไปปรับหรือประยุกต์ใช้ใน

การบริหารงานโดยอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะ

ของผู้บริหารแต่ละคนที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย โดย

การประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร

ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพบริบท

สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ การบริหารจึงเป็นศิลป์ (Arts)

คืออาศัยศิลปะ ไหวพริบ ไหวแววของนักบริหารคนนั้น ๆ

เป็นการเฉพาะกิจเฉพาะคราว



การบริหารเป็นศาสตร์และศิลป์ ?

      พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔

ศาสตร์  มาจากรากศัพท์ ศาสตร, ศาสตร์

[สาดตฺระ, สาดสะตฺระ, สาด] น. ระบบวิชาความรู้,

มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น

วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์มนุษยศาสตร์. (ส.).

ศิลป์

ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ

[สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิศดาร, เช่น

เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว

รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์;การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ

อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ

ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่ามีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

ศิลป์ ๒

[สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์.

(อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

         ตามนัยทางการบริหารจึงแปลความได้ว่า

         การบริหารเป็นศาสตร์ คือการบริหารเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีแนวคิด

และทฤษฎีที่สามารถอธิบายปรากฏการการบริหารได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

(ไม่ใช่เรื่องลึกลับหรือไสยศาสตร์) เป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ

กล่าวคือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์

เพื่อประโยชน์ในการบริหาร เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา

สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science)

         การบริหารเป็นศิลป์ พิจารณาจากการบริหารของผู้บริหารที่สามารถ

นำแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารไปปรับหรือประยุกต์ใช้ในการบริหารงานโดย

อาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน

ที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎี

ทางการบริหารไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์

และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)



สรุป

       ศาสตร์ หมายถึงระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น

วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์มนุษยศาสตร์. ศิลป์ ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง

การทำให้วิจิตรพิสดาร เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ

ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์การแสดงออก

ซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว

รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์

      การบริหารเป็นศาสตร์ คือการบริหารเป็นวิชาการแขนงหนึ่ง

ที่มีแนวคิดและทฤษฎีที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์การบริหารได้โดย

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (ไม่ใช่เรื่องลึกลับหรือไสยศาสตร์)

เป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ

มีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์

เพื่อประโยชน์ในการบริหาร เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา

สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ โดยลักษณะนี้

การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science)

      การบริหารเป็นศิลป์ พิจารณาจากการบริหารของผู้บริหารที่

สามารถนำแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารไปปรับหรือประยุกต์ใช้ใน

การบริหารงานโดยอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะ

ของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยประยุกต์เอาความรู้

หลักการและทฤษฎีทางการบริหารไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้

เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม

การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)



แหล่งข้อมูล











คำสำคัญ (Tags): #ศาสตร์#ศิลป์
หมายเลขบันทึก: 630485เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2017 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2017 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท