โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล๊อก


ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2560)


ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ


ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ



จีระ หงส์ลดารมภ์


#PSUfutureleaders3


#โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่3



สรุปการเรียนรู้

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 


วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560

ณ ห้องประชุม 3309 คณะพยาบาลศาสตร์ (อาคาร 3) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Learning Forum หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดย    ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านลอจิสติกส์

และอาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการลอจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ร่วมด้วย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล


ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

จาก World Economic Forum พบว่า วิธีการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด การปรับตัวด้านการศึกษาน่าจะสับสน เพราะเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ถ้าคนเก่งภาษาอังกฤษ ก็สามารถเรียนรู้จากคอร์สออนไลน์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกได้ ในอนาคต มหาวิทยาลัยอาจจะอยู่ไม่ได้แล้ว ถ้าสังคมไม่ให้คุณค่าของใบปริญญา ภาคเอกชนสามารถมีสถาบันวิชาชีพที่สามารถสอบ Competency ได้ ปัจจุบันคนเรียนจบคอมพิวเตอร์ต้องไปสอบประกาศนียบัตรวิชาชีพแซฟ ในอนาคต เด็กสามารถจะตรวจสอบได้ว่า ครูสอนผิดหรือไม่ เพราะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ บางคนอ่านภาษาต่างประเทศโดยใช้ Google Translate ได้ เทคโนโลยีลดอุปสรรคด้านภาษา

มหาวิทยาลัยผลิตคนมีทักษะทั่วไป ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแบบที่เอกชนผลิต ปัญญาภิวัตน์ก็ผลิตบุคลากรเอง ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยยังแข่งกับซีพีไม่ได้ วิจัยต้องเปลี่ยนเป็น Applied Research หรือนวัตกรรม แต่เอกชนจะทำด้านนี้เก่งกว่า บริษัทใหญ่ เช่น มิตรผล ก็มีทีมวิจัยพลังงานแต่ละชนิด มีการขยายธุรกิจ มีไร่ทดลอง ถือเป็นความท้าทายของมหาวิทยาลัย เพราะไม่มีพื้นที่ทดลองแบบเอกชน ปัจจุบันนี้ เงินวิจัยส่วนมากอยู่ที่เอกชน และเอกชนนำไปหักภาษีได้ 300%

ปัญหา Superman Model เก่งเป็นรายบุคคล มหาวิทยาลัยต้องมีแรงจูงใจให้อาจารย์อยากทำงานและอยู่กับมหาวิทยาลัยนานๆ แต่ผู้บริหารมักทำงานแบบเดิมเพราะคิดว่าแบบเดิมดีอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทำให้คนทุก Generation มีความสุข มจธ.บางมดออกนอกระบบไป 20 ปีแล้ว แต่อาจารย์มีอิสระในการทำงาน บางครั้งในมหาวิทยาลัยก็มีการประชุมที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะไม่มีใครฟังใคร ส่วนการได้รับตำแหน่งทางวิชาการนั้น ในต่างประเทศพิจารณาจากความมีชื่อเสียงในสาขาและได้สร้างคุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ต่อสังคม ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ถือเป็นการประดับยศเท่านั้น ไม่ควรเน้นการตีพิมพ์ผลงานวิชาการเท่านั้น แต่ควรมีระบบการตรวจสอบคุณภาพผลงานวิชาการนั้นด้วย การมีคนรุ่นใหม่เข้ามาเรียนหรือทำงานในมหาวิทยาลัยทำให้เกิดความทันสมัย อาจารย์รุ่นเก่าจึงควรเปิดกว้างมากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นนี้มีจิตใจบริสุทธิ์ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เรื่องประเด็นท้าทายเป็นความคิดมาปะทะความจริงของม.อ. ควรจะเลือกประเด็นที่เกี่ยวข้องมาใช้ ม.อ.ควรจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุลเลือกความโดดเด่นและเป็นเรื่องที่ทำได้จริง เวลาที่ฟัง ควรนำไปขยายตามแนวของตนเอง ม.อ.ควรเลือกสิ่งที่เด่นแล้วค่อยพัฒนา ประเด็นสำคัญคือ รุ่นนี้ต้องเป็นข้อต่อคนร่วมสมัย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ม.อ.จะมี KPIs ในการประเมินคุณภาพผลงานวิชาการเพื่อรับตำแหน่งทางวิชาการ ควรจะไปร่วมสัมมนาภายนอกและนอกสาขาเพื่อเห็นโลกกว้างมากขึ้น เด็กรุ่นใหม่บางครั้งฉลาดกว่าอาจารย์เพราะอยู่ในยุคดิจิตอล ม.อ.ควรหาเงินจากวิจัยเพราะมีทรัพย์สินทางปัญญาอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตแม้เรียนจบปริญญาเอกแล้วก็ตาม

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

เมื่อความรู้ข้ามศาสตร์กัน จะทำให้เกิดนวัตกรรม Tacit Knowledge สำคัญมากมาจากการนั่งฟังผู้ใหญ่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เป็นความรู้ที่ตกผลึกแล้ว Tacit Knowledge เป็นความรู้ฝังลึกที่เขียนออกมาได้ยาก ต้องได้จากการซึมซับ

กิจกรรม ดูรูปแล้วอธิบายแนวคิด

รูปที่ 1 โลโก้สายการบินต้นทุนต่ำหลายสาย

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

1.การแข่งขันทางธุรกิจ

2.แบรนด์

3.บริการที่พาคนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งให้ถึงเป้าหมาย

4.ระดับการแข่งขัน จะวางตำแหน่งการตลาด (Positioning) อย่างไร

5.อัตลักษณ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรกระโดดออกจากกล่อง (Box Thinking)

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ม.อ.มองว่า ตนเองเป็นมหาวิทยาลัยของพระบิดา เรื่องอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนก็เป็นเรื่องสำคัญ

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

6.การปรับตัวขององค์กรให้อยู่รอด

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ในการแข่งขันนั้น ก็ไม่ทัดเทียม องค์กรที่ปรับตัวได้ก็เป็นเจ้าตลาด แต่ถ้าปรับตัวไม่ได้ก็จะตายเนื่องจากภูมิใจในสิ่งเดิม

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

7. ม.อ.มีการขยายตัว แต่ไม่มั่นใจคุณภาพ เพราะไม่เด่นเท่าที่ควร ผู้นำสำคัญต้องสนับสนุน

8. เป็นการประชาสัมพันธ์ ม.อ.จะทำอย่างไรให้เป็นที่รู้จักระดับโลก

9. เรื่องราวที่ต้องการให้สังคมเห็น แต่ละโลโก้มีที่มา

10. คิดถึง Destination ที่แสดงถึงศักยภาพที่ชัดเจน มีตลาดเป้าหมาย

11. มองเห็นลูกค้าต้องการไปที่ไหนและจัดการตอบสนอง ม.อ.ต้องปรับให้ตอบสนองความต้องการของนักศึกษา ต้องมองให้ไกล

12. การสร้างนวัตกรรมที่ต่างจากเดิม

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

สายการบินต้นทุนต่ำลอกแบบมาจาก Southwest Airlines แต่ก็สร้างความสั่นคลอนให้สายการบินเดิมที่เคยเป็นเจ้าตลาดได้ เนื่องจากสายการบินเดิมนั้นไม่ปรับตัว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้ามีโอกาสใหม่เกิดขึ้น แม้ว่าไม่พร้อม ก็ไม่ควรปฏิเสธ ถ้าผ่านไปแล้ว ก็อาจจะไม่กลับมาอีก ต้องค้นหาโอกาสจากข้อมูลภายนอกมหาวิทยาลัยด้วย อย่าไปหลงกับสิ่งเล็กๆ ที่ไม่มีคุณค่าสูง เวลาทำอะไร ควรเน้นความจริง (Realistic) ทำแล้วมี Impact ทำให้เกิดความสำเร็จและทำอย่างต่อเนื่อง โอกาสรุ่นนี้มีมหาศาล ต้องฉกฉวยโอกาสให้ได้

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

สิ่งที่มองเห็นจากรูปนี้คือ กรุงเทพใกล้แค่ 1 ชั่วโมง ม.อ.ได้ใช้โอกาสนี้หรือไม่จากการที่สายการบินไปกลับหาดใหญ่มากมาย

ในเรื่องคุณภาพนักศึกษา มีประสบการณ์ทำงานกับทีมที่เป็นชาวใต้ส่วนมาก แต่คนเก่งของภาคใต้มาเรียนที่ม.อ.มากเท่าไรหรือว่าไปเรียนที่อื่น ถือเป็นความท้าทายความเป็นเลิศ ผู้สอนและผู้เรียนก็ต้องเก่งด้วย การออกนอกระบบไม่ได้ผล ถ้าคนยังคิดในระบบอยู่ เด็กใต้ที่รวยก็บินไปเรียนพิเศษที่กรุงเทพ แสดงให้เห็นว่า ภาคใต้เป็นที่เกิดแต่ไม่ใช่ที่เรียน ม.อ.จะเน้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศหรือเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดใช้เวลาสั้นๆขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ มหาวิทยาลัยเอกชนนำอาจารย์ชั้นนำไปเป็นอาจารย์ ประวัติศาสตร์ไม่สำคัญแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยการแพทย์เพราะตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์และทำได้ดีที่สุด ม.อ.ตั้งวิทยาลัยมากแต่ทำได้ไม่เต็มที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ได้มีประวัติศาสตร์ทางด้านการแพทย์แต่ตั้งคณะแพทย์แล้ว

รูปที่ 2 ท่านพุทธทาสนั่งริมสระบัว

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

1.บัว 4 เหล่า หมายถึงบุคลากรหรือนักศึกษา มีความแตกต่างกัน ทำอย่างไรให้เป็นบัวพ้นน้ำ ดอกไม้หันเข้าหาแสง ม.อ.จะเป็นดวงอาทิตย์ให้คนหันหาเข้าหาหรือไม่

2.อัตตา สังคมบอกว่า ม.อ.อยู่ในหอคอยงาช้าง ดอกบัวเป็นการพินิจตนให้ปรับตัวอยู่รอดเผชิญความท้าทายในอนาคต

3.ปล่อยวาง เข้าใจธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลง ม.อ.ต้องรู้จักปรับตัว เข้าใจธรรมชาติของสังคม ความรู้ต้องคู่กับคุณธรรม

4.ท่านพุทธทาสเป็นคนดีไม่ยึดติดสมณศักดิ์ สิ่งที่ดีก็มุ่งเข้าหา ม.อ.ต้องเน้นจุดดีแล้วเด็กเก่งก็จะเข้าหา

5.ในอนาคต ม.อ.อาจจะต้องเผชิญกับการแย่งชิงนักศึกษา ต้องศึกษาว่า ทำไมเด็กไปเรียนมหาวิทยาลัยดัง แล้วค้นหาปัจจัยที่สามารถดึงดูดเด็กมาเรียนที่ม.อ.ได้

6.วิเคราะห์ SWOT ตั้งสมาธิเดินไปข้างหน้า

7.ท่านพุทธทาสมักกล่าวถึง เรื่องตัวกู ของกู ทุกอย่างขึ้นกับการเปลี่ยนแปลง ท่านบอกว่า การศึกษาเป็นแบบหมาหางด้วน เป็นไปแบบไม่มีทิศทาง ม.อ.ต้องคิดถึงความเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆที่เกิดขึ้น

8.ท่านพุทธทาสสอนธรรมะผ่านคำกลอน ให้เลือกส่วนดีของคนมา การศึกษาต้องรู้ความจริง ม.อ.ต้องสร้างเอกลักษณ์ เลือกส่วนที่ดีของสังคมเข้ามา เปิดโอกาสให้นักศึกษามา

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

เมื่อทุกมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ต้องบริหารจัดการแบบใหม่ให้ทุกคนละความเห็นแก่ตัวและอัตตา มหาวิทยาลัยมักวิพากษ์วิจารณ์วิทยานิพนธ์มากกว่าร่วมกันหาคำตอบแล้วพัฒนา ระบบของมหาวิทยาลัยทำให้คนมุ่ง KPIs แต่ไม่มีความสุขในการทำงาน

ตอนมจธ.บางมดออกนอกระบบ ยังเป็นมหาวิทยาลัยเล็ก เมื่อออกไปแล้วก็แข่งในเกมของตัวเอง ทำให้สู้มหาวิทยาลัยอื่นได้

รูปที่ 3 แผงขายโรตีสายไหมเรียงกันหลายร้านริมถนน

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

1.ทำร้านให้โดดเด่นเพื่อให้คนมาซื้อ

2.คนซื้อจะเลือกซื้อร้านที่มีคนซื้อมาก

3.แม้แผงร้านสีเดียวกัน แต่สีธงต่างกันจึงเป็นเอกลักษณ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

รูปนี้เป็น Oversupply บางภาควิชาแข่งขันไม่ได้เพราะ Oversupply มหาวิทยาลัยทำเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งแต่ไม่โดดเด่น ทุกมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายสำคัญคือรับใช้สังคม อย่าเอาเรื่องเงินเป็นตัวตั้ง แต่ต้องผลิตความรู้ใหม่มีการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมถ่ายทอดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จุดเด่นของคณะแพทย์ ม.อ.คือปัญหาชายแดนภาคใต้ ทำให้ฮาร์วาร์ดมาดูงานด้านการรักษาคนไข้ฉุกเฉิน ม.อ.อยู่ภาคใต้มีพื้นที่เพาะปลูกมากแต่ศูนย์วิจัยยางพาราไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการพลาดโอกาสอย่างหนึ่ง มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนภารกิจเป็นผลิตความรู้ใหม่ที่ไม่ใช่ความรู้ทั่วไป และผลิตคนที่มีความรู้ขั้นสูง

รูปที่ 4 ติ่มซำนานาชนิดหลายเข่ง แสดงว่า ต้องค้นหาว่า มีอะไรที่โดดเด่น ต้องค้นหาแบบ Soul searching ม.อ.อยู่ได้เพราะคนภาคใต้พึ่งพาได้ และขยายวงกว้างให้สังคมได้พึ่งพาด้วย ควรทำวิจัยเรื่องที่คนไทยได้ประโยชน์ เช่น สารอาหารจากลองกอง ม.อ.ควรเป็นศูนย์วิจัยผลไม้เมืองร้อน มีการศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวผลไม้ที่จะส่งออกไปยังประเทศเมืองหนาว แต่ออสเตรเลียมีการทำวิจัยด้านนี้แล้ว

รูปที่ 4 ติ่มซำนานาชนิดหลายเข่ง

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

1.ความหลากหลาย รูปแบบแตกต่าง แต่เนื้อในเหมือนกัน ทำให้ผู้บริโภคสนใจมากขึ้น ม.อ.ต้องปรับความรู้ให้หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาเลือกได้ตามต้องการ ม.อ.กำลังเพิ่มรายวิชาให้อยู่

2.Value Diversity ม.อ.มีหลายคณะที่ต่างกัน แต่ก็ทำงานไปด้วยกัน แต่มีเกณฑ์ร่วมกันทุกคณะ ทุกคณะร่วมกันทำให้ม.อ.น่าสนใจ

3.ในหาดใหญ่มีร้านติ่มซำจำนวนมาก แต่พาแขกไปชิมไม่กี่ร้าน ม.อ.มีสินค้าอะไรที่คล้ายกับที่อื่น แต่ต้องมีคุณค่าข้างในที่แตกต่าง ทำให้คนเลือกมาเรียน ม.อ.

4.ร้านมีหลายเมนู ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มหาวิทยาลัยที่เน้นบางเรื่องที่เป็นเลิศ ก็ทำได้ดี ถ้าทำหลายอย่าง ก็อาจจะมีปัญหาการควบคุมคุณภาพ

5.แต่ละเข่งของติ่มซำเหมือนคณะต่างๆ แต่ต้องทำให้แก่นเหมือนกัน เช่น ปลูกฝังค่านิยมหลักให้นักศึกษา

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

แต่ละท่านมองได้ลึก เห็นความหลากหลาย แต่อาจจะไม่ใช่คำตอบ คนอาจจะเลือกไปที่ร้านเดียว อย่าดูแค่เปลือก ต้องดูที่แก่นด้วย สามารถหล่อหลอมนักศึกษาด้วยความเป็นอยู่หรือกิจกรรมนักศึกษา ปัจจุบันคนจะกินติ่มซำที่ใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องมาภาคใต้

ปัญหาคือ คนยังยึดติดระบบเก่า บางคณะเก่าแก่และอิ่มตัวแล้ว ส่วนคณะใหม่ก็ทำแล้วไม่มีความสามารถในการแข่งขัน แค่ทำตามมหาวิทยาลัยอื่น ไม่มีระบบใหม่มารองรับ ม.อ.อาจจะต้องออกไปหาลูกค้ามากขึ้น เหมือนอย่างมหาวิทยาลัยหอการค้าใช้ connection จากหอการค้าไทยไปเปิดวิทยาเขตที่ย่างกุ้งได้ ในอนาคต อาจจะมีมหาวิทยาลัยต่างประเทศมาเข้ามาแข่ง ม.อ.อาจจะมีคอร์สออนไลน์มากขึ้นทำให้ไม่มีปัญหาในการเดินทางมาเรียนที่ม.อ.

รูปที่ 5 แผนที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

1.ความหลากหลายวัฒนธรรมและทรัพยากร ม.อ.ควรนำจุดนี้มาใช้ประโยชน์ อาจจะเน้นสิ่งที่ที่อื่นไม่มีแล้วพัฒนาให้โดดเด่น

2.มี 3 จังหวัดเป็นชุมชนมุสลิม

3.มีการท่องเที่ยวเฉพาะ เช่น เบตง การท่องเที่ยวทรัพยากรชายฝั่ง

4.สถานการณ์ความไม่สงบไม่ร้ายแรงเท่ากับคนนอกพื้นที่คิด

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

แม้ภาคใต้จะเป็นชุมชนมุสลิมที่ยิ่งใหญ่ แต่สถาบันฮาลาลอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.อ.อาจจะต้องคิดทบทวน แม้ว่าภาคใต้มีทรัพยากรการท่องเที่ยว แต่คนเลือกไปเรียนที่อื่น เรื่องการรับรู้ความไม่สงบเป็นเรื่องสำคัญ พ่อแม่กังวลเมื่อลูกมาเรียนที่ภาคใต้

ตำแหน่งที่ตั้งกลายเป็นข้อจำกัด อย่าให้คนอื่นกำหนดภาพลักษณ์ให้ม.อ.ว่า ที่อื่นดีกว่า ต้องมีการพิจารณาเรื่องนี้ เรื่องแบรนด์ต้องเป็นการเผยแพร่ของดีที่คนไม่รู้จัก ถ้าม.อ.จะหาเด็กเก่งภาคใต้มาเรียน ก็ต้อง Open House ให้คนนอกมาเห็น มีกิจกรรมให้ชุมชนเข้ามาร่วม ต้องทำให้ชุมชนเห็นความดีของม.อ. ชุมชนก็จะเป็นคนพูดแทนม.อ.ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ดี

รูปที่ 6 รูปเด็กจำนวนน้อย และรูปคนแก่ต่อแถวยาว

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

แนวคิด

1.สังคมปัจจุบัน เด็กมีจำนวนน้อยลง ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น จะมีเด็กเข้าเรียนน้อยลง

2.บุคลากรกำลังจะเกษียณ แต่คนมาทดแทนไม่ทัน ทำให้องค์ความรู้หายไป เพราะถ่ายทอดประสบการณ์ไม่ทัน

3.แววตาเด็กกำลังรอคอยและมีความหวัง คนสูงอายุมีความหวังและมีความสุข ม.อ.มีภารกิจท้าทายที่ต้องสร้างอนาคตของชาติแต่ต้องดูแลบุคลากรสูงอายุที่เคยสร้างประโยชน์ให้องค์กร ม.อ.ก็ต้องดูแลคนเหล่านี้ด้วย

4.จะดูแลคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่อย่างไร

5.ทั้งสองกลุ่มเป็นลูกค้า กลุ่มหนึ่งเป็นนักศึกษาในอนาคต อาจจะมีหลักสูตรรองรับผู้สูงอายุ

6.รูปเด็กคือนักศึกษา รูปคนแก่คืออาจารย์ ถ้าอาจารย์ทำดี ลูกศิษย์ก็จะทำตาม

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ม.อ. ควรนำคนที่มีประสบการณ์เช่น อาจารย์อาวุโสมาถ่ายทอดประสบการณ์สู่คนรุ่นหลัง จะทำให้สามารถบริหารจัดการมหาวิทยาลัยได้ดี

โครงสร้าง เช่น วิทยาเขต และคณะบางแห่งก็กำลังเริ่มพัฒนา บางคณะก็โตแล้ว ในการสร้างศักยภาพต้องเน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ อาจจะต้องใช้ทรัพยากรมากในการพัฒนาคุณภาพ หัวใจสำคัญคือบุคลากร ตอนนี้รายได้หลักของม.อ.อยู่ที่งบประมาณแผ่นดิน ค่าลงทะเบียนนักศึกษาและการรักษาพยาบาล เงินอยู่ที่คณะเก่าแก่มาก ต้องใช้ความสามารถของคณะที่ได้รับเงินมากให้ได้ ต้องค้นหาว่า อาจารย์คณะใดสามารถมาช่วยเหลือมหาวิทยาลัย ต้องมีการประสานให้เกิดประโยชน์ งบกระจายตัวมากจะสร้าง Impact ได้ยาก เพราะมีคณะที่สอนคล้ายกันกระจายตามวิทยาเขตต่างๆ ม.อ.โตมาก แต่ขาดความสมดุลระหว่างคณะและวิทยาเขต

มจธ. บางมดมีเป้าหมายชัดเจนในการออกนอกระบบ จากการวิเคราะห์รูปทำให้เห็น Vision คือจุดที่จะไปด้วยกัน แต่ภาพเดียวกันก็ทำให้คิดต่างกัน ปัญหาคือ คนภายในองค์กรไม่ฟังกันเอง เมื่อม.อ.ออกนอกระบบ ต้องมีบรรยากาศที่ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น เวลาทำงานต้องมองให้เห็นรูปเดียวกัน ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ แต่ต้องสรุปประเด็นให้ได้ อาจารย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีหน้าที่กระตุ้นให้ผู้เรียนออกความเห็นและให้คำแนะนำ เมื่อม.อ.ออกนอกระบบก็ได้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่ภาคใต้ ต้องมีการสำรวจความต้องการของภาคใต้ แล้วมีการพัฒนา บางเรื่องต้องมีการลงทุน โดยมีเกียรติประวัติในระดับหนึ่ง เมื่อออกนอกระบบแล้ว ต้องไม่ทำเหมือนเดิม 



Group Workshop & Presentation

หัวข้อ  แผนปฏิบัติการจัดการกับประเด็นท้าทายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดย    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล


กลุ่ม 3

1.จะสร้างจุดเด่น หรือ อัตลักษณ์ หรือแบรนด์ของม.อ.อย่างไรให้ดีกว่าปัจจุบัน ที่สามารถดึงดูดคนเก่ง ทรัพยากรต่างๆ และที่สำคัญไม่ให้ปัญหา 3 จังหวัดมาปิดกั้นโอกาสต่างๆของม.อ. (Identity)


กลุ่ม 5

2.จะทำอะไรบ้างเพื่อให้ม.อ. มีความหมายมากกว่าปัจจุบันทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ (Strategy)

สร้างความเข้มแข็งภายในม.อ.

1.ทำให้บุคลากรเห็นคุณค่าขององค์กรโดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันแม้จะคิดต่าง ถ้าบุคลากรไม่เห็นคุณค่าของตนเอง คงยากที่คนอื่นจะเห็น

2.ต้องสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริงโดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศในสาขาที่มหาวิทยาลับได้เปรียบเชิงพื้นที่ เช่น สาขาประมง สาขาอิสลามศึกษา ฮาลาล เป็นต้น ซึ่งความรู้ดังกล่าวต้องมาจากความเข้าใจความต้องการและการเข้าถึงพื้นที่อย่างแท้จริง

3.ให้องค์ความรู้ ความร่วมมือที่ม.อ.มีแก่ชุมชน ลูกศิษย์ ประเทศ โดยไม่หวังผล ได้อย่างถูกเวลา เต็มที่ ไม่ใช่แค่ครั้งคราว โดยใช้ความรู้ดังกล่าว แก้ปัญหาได้ถึงที่สุด เพื่อให้เห็นว่า ม.อ.พร้อมเป็นที่พึ่งพาของสังคม

4.มีการสื่อสารในองค์กรและสื่อสารชุมชนสัมพันธ์ โดยเมื่อทำแล้ว ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นว่า ม.อ.ทำอะไร สังคมได้ประโยชน์อะไร เพื่อให้เห็นภาพและคงภาพลักษณ์และความหมายของม.อ.ไว้

กลุ่ม 4

3.จะสร้างกลไกอะไรเพิ่มเติมจากการออกนอกระบบในเรื่องการบริหารจัดการ เพื่อให้ม.อ. ได้เปรียบเชิงพื้นที่มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสามารถเชื่อมโยงความสามารถในความหลากหลายของวิทยาเขต คณะและภาควิชาได้ (Synergy)




กลุ่ม 2

5.ในเรื่อง Execution แผนยุทธศาสตร์ หรือแผนกลยุทธ์ต่างๆที่สามารถทำให้เกิดได้จริง จากปัจจุบันที่ยังไม่มีผลอย่างมีนัยยะ หรือเห็นผลเด่นชัด


Vision to Implementation





กลุ่ม 1

4.จะสืบสานความสำเร็จหรือจุดแข็งของม.อ.ให้สามารถส่งต่อไปยังอนาคตได้ ไม่ให้เกิดปัญหาช่องว่างรุ่นต่อรุ่น (พร้อมยกตัวอย่าง และแนวทางที่ต้องดำเนินการอะไรบ้าง) (Sustainability)





ในการสืบสานความสำเร็จ คนสืบสานจะต้องมีความสุขก่อน ม.อ.ต้องทำให้คนหลงรักให้ได้ ก่อนที่จะทำให้คนนอกหลงรักได้ ก็ต้องทำให้คนในม.อ.หลงรักก่อน ต้องทำให้คิดว่า “โชคดีที่ได้มาอยู่ม.อ.”เพราะมีความรู้ ภูมิปัญญา มีนวัตกรรม มีความสุข มีชื่อเสียง ได้ช่วยเหลือสังคม

         จากรูป แสดงให้เห็นถึงความหมายของ PSU

         P = Professional เป็นมืออาชีพ

         S = Social Responsibility รับผิดชอบต่อสังคม

         U = Unity มีความเป็นหนึ่งเดียว

         แบ่งเป็น 5 ด้าน

1.      Teaching

2.      Research & Development

3.      Academic Service

4.      Management & Executive

5.      Welfare

เวลาที่ส่งต่อ เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์สาดแสงไปยัง 5 ด้านเพื่อส่งต่อแบบยั่งยืน

1. Teaching ประกอบด้วย

1.1 Coaching/Mentoring

1.2 KM

1.3 Learn-share-care นำสิ่งที่สำเร็จมาแบ่งปันกัน

1.4 Plearn เรียนรู้และเพลิดเพลิน

1.5 Empowerment

1.6 Inspiration

1.7 Award

1.8 Network

2. Research & Development ประกอบด้วย

2.1 Coaching/Mentoring

2.2 KM

2.3 Empowerment

2.4 Inspiration

2.5 Raising fund

                  2.6 Interdisciplinary Network

2.7 Award

3. Academic Service ประกอบด้วย

3.1 Inspiration

3.2 Motivation

                  3.3 Mentoring

                  3.4 Social Engagement

                  3.5 KM

                  3.6 Award

4. Management & Executive ประกอบด้วย

4.1 Coaching/ Mentoring

4.2 Empowerment

4.3 Participatory Decision Making มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นเรื่องสำคัญ แต่ยังเป็นจุดอ่อนอยู่

4.4 Awards

         5.Welfare ประกอบด้วย

5.1 Happy Workplace Environment

5.2 PSU family มีความเป็นมืออาชีพ รับผิดชอบต่อสังคม และมีความเป็นหนึ่งเดียว ส่งต่อถึงกัน

5.3 Relationship

5.4 Intercultural Connection

5.5 Awards

มีการจัดเป็น PSU Talk ในแต่ละเดือน ส่งต่อ Mindset มีการเชิญบุคลากร PSU มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ ส่งต่อไปยังสมาชิกในแต่ละวิทยาเขต ทำคล้าย TED Talk


ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

บางเรื่องไม่ใช่เรื่องใหม่ ในภาพรวม ทุกท่านเห็นปัญหาและแนวทาง แต่ติดขัดด้านการลงมือทำ อาจารย์ท่านสุดท้ายกล่าวว่า แบ่งเป็น Teaching, Research, Development, Services, Administration, Welfare ก็เป็นกรอบในการดำเนินการอยู่แล้ว

สิ่งที่ชอบมากคือ ศูนย์ NKC ในเชิงบริหารธุรกิจเรียกว่า Success Case Story บางครั้ง ไม่จำเป็นต้องไปดูงานภายนอก ศูนย์ NKC ทำงานเกี่ยวกับโรคตับ เลี้ยงตัวเองได้ สามารถหาเงินมาจากเอกชนเป็นร้อยล้าน บุคลากรสามารถเข้าไปโด่งดังใน WHO ผู้บริหารมีการทำงานใกล้ชิดเป็นมืออาชีพ บุคลากรศูนย์เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย แต่มีการบริหารจัดการที่แยกจากหน่วยงานอื่นๆ ศูนย์นี้เกิดขึ้นก่อนที่ม.อ.จะออกนอกระบบ แสดงให้เห็นว่า แม้มหาวิทยาลัยอยู่ในระบบ ก็ยังทำได้ ดังนั้นหน่วยงานอื่นควรนำไปทำตาม

ส่วนหน่วยงานที่สอง สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าหน่วยงานอยู่ผิดที่ เช่น อยู่ภายใต้คณะและมีการบริหารแบบเก่าที่ไม่มีอิสระ ก็ล้มเหลว เพราะเป็นการบริหารด้วยคน ไม่ใช่ระบบ จึงมีประเด็นความเป็นปัจเจก ตรงกับประเด็นของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์คือสุดท้ายก็มาตายที่คนโดยเฉพาะภาวะผู้นำ

สิ่งที่ชอบที่สุดคือเนื้อหาการนำเสนอของกลุ่ม 2 ทำให้เห็นประโยชน์เมื่ออยู่ในม.อ.

ส่วนที่กลุ่ม 4 เสนอ TED Talk ก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน KPIs มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมองว่า การที่ศิษย์เก่าสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยพูดใน TED Talk ได้ ถือว่ามหาวิทยาลัยนั้นสำเร็จ ความสำเร็จไม่ได้นับจากจำนวนบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยผลิต และการตีพิมพ์ แต่วัดว่า ศิษย์เก่าคนนั้นพูดใน TED Talk ได้ เพราะคนที่พูดใน TED Talk จะต้องเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งและมีสาระที่จะแบ่งปันให้กับสังคม เรื่องนี้น่าทำ แต่ไม่จำเป็นจะต้องใช้คนของม.อ.เท่านั้น อาจจะรวมถึงทุกเครือข่ายของม.อ. ควรทำ TED Talk แบบมีกลยุทธ์เข้าไปแฝงและมีตัวชี้วัด KPIs ของ Harvard หน้าแรกคือมีศิษย์เก่าพูดใน TED Talk แล้วนำความสำเร็จของศิษย์เก่ามาขึ้นหน้าแรกของเว็บไซต์ Harvard เป็นการวัดความสำเร็จที่แท้จริง

อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวถึงการออกนอกระบบ ชอบแนวความคิด แต่ก็คล้ายกับทุกมหาวิทยาลัยที่ไปปรับหลักสูตรที่ซ้ำซ้อน ถ้าแก้ปัญหาเช่นภาระการสอนไม่ได้ ก็จะกลับมาที่เดิม เพราะไปแบ่งสรรทรัพยากรโดยดูจากภาระงานสอน จึงไม่มีการยินยอมยุบวิชา ต้องมี First Cut คือนำวิชาทั่วไปที่ซ้ำซ้อนกันมารวมกัน ต้องมีการตกผลึกเป็น Second Cut และ Third Cut เพื่อหาคำตอบ ต้องมีการเยียวยาวิชาที่ถูกปิด แต่ถ้าคณะหรืออาจารย์หารือกันเอง อาจะเกิดความขัดแย้ง บางครั้งชี้เป้าถูก แต่ขาดวิธีการ ต้องมีคนกลางมาบริหารจัดการทรัพยากรและตัดสินใจ ต้องมีการสร้างกลไก

สิ่งที่ชอบที่สุดคือข้อ 2 ที่ให้บริหารเชิงธุรกิจ ถ้ามองภายในจะเข้าใจดี ศูนย์วิจัยยางพาราอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ แต่ม.อ.จะต้องเซ็น MOU กับผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ 5 อันดับแรกของภาคใต้ แล้วคนในอุตสาหกรรมเข้ามาหาม.อ. เรื่องที่ศูนย์วิจัยยางพาราไปอยู่ที่อื่นก็ไม่สำคัญ ในด้านอื่นๆ เช่น ประมงก็สามารถทำ MOU กับโรงงานปลากระป๋องได้ อาจทำป้ายประชาสัมพันธ์ว่า โรงงานแห่งนี้ได้รับการตรวจสุขภาพพนักงานจากคณะพยาบาลศาสตร์ 1 โรงงานสามารถเซ็น MOU ได้กับหลายสาขาวิชา แต่ต้องมีเจ้าภาพหลักไปเซ็น MOU ในระดับองค์กรใหญ่ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา มจธ เซ็น MOU กับมิตรผล มีโครงการที่ค้างเสนออยู่ 30 กว่าโครงการ Sugarcane Logistics ก็เป็น 1 ใน 30 โครงการ ในขณะเดียวกันก็มีอาจารย์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลไปตรวจ Boiler มีอาจารย์ทางด้านสิ่งแวดล้อมไปดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม มีอาจารย์อีกกลุ่มหนึ่งทำด้าน GIS และ MIS เพราะฉะนั้น 1 องค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้กับทุกคณะ สิ่งสำคัญคือต้องทำร่วมกับโรงงานในพื้นที่ ถือว่าข้อ 2 ค่อนข้างดี

กลุ่ม 5 เรื่อง Impact สร้างความเข้มแข็งของม.อ.เองให้มีความหมายก่อน  แม้ม.อ.มีสหศาสตร์ แต่ยังไม่มีจุดเด่นที่ให้ประโยชน์เชิงพื้นที่ ต้องมีวิธีการบูรณาการระหว่างวิทยาเขต

กลุ่ม 1 กล่าวว่า Identity อยู่ที่นักศึกษาและงานวิจัย การที่ทำให้นักศึกษาเก่งในสาขาของตนก็เป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้มีความโดดเด่นมากขึ้น แต่วิทยาเขตภูเก็ตเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้นักศึกษามีความสามารถใช้ภาษาถึง 3 ภาษา คนไปเรียนสิงคโปร์เพราะจะมีทักษะถึง 3 ภาษาที่ไม่ได้จากแค่ในห้องเรียนแต่รวมถึงสภาพแวดล้อมด้วย

ความสำเร็จขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ผู้นำ องค์กรที่ดีต้องขึ้นกับระบบที่เป็นมาตรฐาน เรื่อง R&D ก็มีการกล่าวถึงอยู่แล้ว ควรไปดูว่า ศูนย์ใดประสบความสำเร็จด้านวิจัยพัฒนา

ม.อ.มีจุดเด่นที่น่าจะได้เปรียบที่อื่นคือ

1.ม.อ.มีคณะมาก น่าจะรับงานได้ทุกรูปแบบ

2.ม.อ.มีคณะแพทยศาสตร์ ทำให้สามารถทำโครงการร่วมกันได้มาก ปัจจุบันทุกอย่างเช่น ทรัพยากรความสามารถและ Contribution อยู่ที่โรงพยาบาล แต่ละคณะควรจะไปร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์แล้วจะได้เงินและงานวิจัยมหาศาลที่จะได้ตีพิมพ์ รวมถึง Social Contribution, Economic Contribution, Financial Contribution, Academic Contribution

3.ม.อ.อยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 2 ชั่วโมงครึ่งไปถึงสะเดา ไม่เกิน 3-4 ชั่วโมงก็ไปถึงปีนัง สามารถทำงานได้หลากหลายเพราะมีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างในพื้นที่ อาจจะศึกษาเรื่องพลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน

อย่างไรก็ตาม.อ.ยังไม่ได้มีการใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเหล่านี้มากนัก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้ได้อาจารย์พงษ์ชัยมาบรรยายแต่เช้า ท่านมีประสบการณ์จากคนนอกและยินดีเป็นแนวร่วม

ประเด็นท้าทาย ความไม่สมดุลไม่ได้มีแค่คณะ และวิทยาเขต แต่มีระหว่างสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย แต่ถ้าขาดสังคมศาสตร์ จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ ม.อ. ก็ไม่เคยฝึกเป็นนักบริหารจัดการ หลักสูตรนี้ทำให้สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์รู้จักกัน เมื่อออกนอกระบบ คนรุ่นนี้เป็นผู้นำในอนาคต ต้องเปลี่ยนความคิดไปสู่การกระทำ แต่ไม่ใช่กระจายทรัพยากรทุกจุด

อยากเห็นโครงการ Flagship จุดเด่นของม.อ.

เรื่องแบรนด์ มหาวิทยาลัยทำเองไม่ได้ ม.อ.ได้ไปจ้างบริษัทญี่ปุ่นทำ Branding ต้องทำให้คนอื่นมองมาที่มหาวิทยาลัย ไม่ใช่มหาวิทยาลัยมองตัวเอง

อาจารย์ควรสอนวิชาต่างๆเป็นภาษาอังกฤษด้วย เป็นโอกาสจากความเป็นนานาชาติ

ทุกปีโรงเรียนเทพศิรินทร์มอบรางวัลศิษย์เก่าทุกปี และศิษย์เก่าก็กลับมาช่วยโรงเรียน ม.อ.ควรยกย่องศิษย์เก่า

ควรมีการนำมืออาชีพภายนอกมาทำงาน มีการมอบอำนาจ และมีการเซ็นสัญญาทำ R&D ม.อ.ต้องเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเลิศ รวมพลังกันอย่างหลวมๆ ปัจจุบันนี้ ต้องรู้จักเครือข่ายภายนอกซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรด้วย


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิทยากรได้กล่าวถึงการไขว้ความรู้ Workshop นี้ทำให้ม.อ.รู้จักตนเองแล้วจึงหายุทธศาสตร์ไปสู่ความสำเร็จ เหมือน 2R’s คือ Reality และ Relevance

วิชานี้เป็นประเด็นท้าทายมาก เน้นสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกาย

จาก Workshop ข้อ 1 เน้น Identity อัตลักษณ์ของอาจารย์และบัณฑิต ชอบที่ผู้นำเสนอสรุปมาเป็นแนวคิดสั้นๆ ทำให้เข้าใจง่าย ต้องผลักดันให้งานไปเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้ได้เพราะตอนนี้ต้องตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0

ทุกคนต้องมีความรู้เชิงลึกแล้วต้องมีความรู้แนวกว้างด้วยซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่สิ้นสุด แม้ไม่เก่งทุกเรื่อง ก็ต้องหาคนมาช่วย

ในส่วนท่านพุทธทาส โดดเด่นในฐานะเป็นพระภาคใต้ มีสาวกมากมาย บางคนก็อ่านหนังสือของท่านแม้ไม่เคยไปหาท่านที่สวนโมกข์ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงว่า มหาวิทยาลัยจะเป็น Open Source

ถ้าทำให้มอ.โดดเด่น อาจเปิดเป็น Open Source เพื่อขยายการเรียนการสอนของม.อ. เคยมีอาจารย์เสนอจะทำหลักสูตรระยะสั้น อีกท่านเสนอให้เน้นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งในอนาคตจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเมื่อมีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นแต่จำนวนนักศึกษาน้อยลง ในการดึงความโดดเด่นของม.อ. ต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับความโดดเด่นของม.อ. พระบิดาทรงชี้นำสังคมเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วว่า จะต้องหันมามองสาธารณสุขและการแพทย์ ตอนนี้ สาธารณสุขและ Holistic Care ก็เป็นกระแสโลก ควรศึกษาธรรมะในตัวท่านด้วย

ข้อ 2 เน้น Strategy เลือกสร้างความโดดเด่นและให้ในสิ่งที่ตรงตามความต้องการ ม.อ.อาจมีหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน การรักษาสภาพแวดล้อม ชาวบ้านคิดถึงม.อ.เป็นอันดับแรก เมื่อโดดเด่นแล้ว ม.อ.อาจเพิ่มช่องทางใหม่ๆ

ข้อ 3 เน้น Synergy ม.อ.มีภูมิยุทธศาสตร์ที่ดีที่สามารถสร้างประโยชน์ได้

ข้อ 4 Execution ขอชื่นชมกลุ่มนี้เพราะมองความท้าทายได้แก่เรื่อง SMEs วิสาหกิจชุมชน ถือเป็นประเด็นสำคัญของไทยแลนด์ 4.0 ต้องถามลูกค้าก่อนแล้ว สร้างสินค้าตามความต้องการของลูกค้า Execution ถือเป็นกุญแจหนึ่ง ถ้าในระดับใหญ่ยังทำไม่ได้ อาจจะถามในระดับเล็กเช่น ภาควิชา หรือศูนย์ แล้วทำด้วยกุญแจชนะเล็กๆ ทำสำเร็จแล้วก็เคลื่อน

ข้อ 5 มองการบริหารจัดการคนด้วย Outsourcing มหาวิทยาลัยอาจผลิตลูกศิษย์ไปทำงาน Outsourcing ได้ ถือเป็นอาชีพใหม่ที่มีความสำคัญมาก ประทับใจที่กลุ่มที่นำเสนอกล่าวถึงการเก็บเกี่ยวของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อยู่ใน HRDS

1.Happiness ได้แก่ Happy Workplace สถานที่ทำงานสะดวกสบาย เพื่อนร่วมงาน Happiness at Work แม้ไม่มีเครื่องมือทำงานหรือผู้ใหญ่ไม่ได้สนับสนุน แต่ว่ามีสมองและมีก็มี Happiness at Work ได้

2.Respect ให้เกียรติกัน ดังพระราชดำรัสสมเด็จพระบิดา “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์”

3.Dignitiy ประทับใจที่กล่าวถึงเกียรติและศักดิ์ศรีของคนม.อ.

4.Sustainability คือการเก็บเกี่ยว ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แล้วเรียนรู้ร่วมกันเป็นชุมชนการเรียนรู้ ทำให้ Tacit Knowledge มาเป็น Explicit Knowledge ให้ได้ และต้องเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ได้ฟังจากตั้งแต่เช้ารู้สึกว่า มีความสุข

จะขอแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับความล้มเหลวดังนี้

1.ตอนที่ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านลอจิสติกส์ รองอธิการบดีไม่อนุมัติเพราะว่ามีศูนย์ของสกว.อยู่ 9 ศูนย์ เวลาที่ขอไปจึงถูกปฏิเสธเพราะตอนนั้นยังไม่มีเกียรติประวัติ ทำให้เสียใจมากเพราะใช้เวลาเขียนแผนถึง 20 กว่าหน้า แต่สิ่งที่ได้ยินคือการยึดติดกับแนวคิดเดิมจึงมองไม่เห็นเรื่องใหม่ แม้ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว แต่รองอธิการบดีมองลอจิสติกส์ว่าเป็นกระแสที่มาในช่วงสั้นๆแล้วก็จางหายไป จึงได้ไปพบคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย อดีต CEO ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย แสดงให้เห็นว่า ในการทำสิ่งต่างๆ ต้องมีปัญหาอุปสรรค อย่างไรก็ตาม ต้องมีอุดมการณ์และ passion รักที่อยากจะทำ

ต้องเอาชนะอุปสรรคแม้จะล้มเหลวหลายครั้ง

2.บางครั้งไปเสนอโครงการต่อบางหน่วยงาน แต่หน่วยงานนั้นได้อนุมัติโครงการให้หน่วยงานอื่น ควรเลือกทำงานให้กับหน่วยงานที่เห็นคุณค่าหลายๆแห่งก่อน แล้วหน่วยงานอื่นจะสนใจตามมาภายหลัง

3.ม.อ.ต้องเน้นการทำงานแบบผีเสื้ออย่างที่ท่านพุทธทาสกล่าว คือ ผีเสื้อออกไปข้างนอกเพื่อไปทำงานดูดน้ำหวาน แต่ทุกคนมองผีเสื้อที่ความสวยงาม ดูเหมือนกำลังร่าเริง ตรงกับที่อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวถึง Happiness at Work ผีเสื้อบินไป ก็ทำงานไปด้วย แล้วก็จะมีความสุขในการทำงาน

Learning Forum & Workshop หัวข้อ  3 V’s & Innovative Projects:

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 / มหาวิทยาลัย 4.0

โดย     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

 คุณวราพร ชูภักดี

          ตอนที่ปฐมนิเทศในช่วงแรก รุ่นนี้ต้องออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แบ่งผลงานเป็น 2 ชิ้น

          1.โครงการของรุ่น 3 จำนวน 1 ชิ้น

          2.โครงการของกลุ่ม 4 คน จำนวน 1 ชิ้น

          ทั้งสองงานจะส่งงานในรูปแบบโปสเตอร์ขนาด A3 จำนวน 1 แผ่น และคลิปวีดิโอ

ซึ่งโปสเตอร์จะนำมาจัดเป็นนิทรรศการในวันปิดโครงการด้วย

          ตัวอย่างกระบวนการคิดเพื่อตอบโจทย์ ซึ่งโจทย์ก็คือ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 และมหาวิทยาลัย 4.0

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเปรียบเสมือนดุษฎีนิพนธ์ที่ต้องนำเสนอต่อผู้บริหาร เพราะฉะนั้นต้องนำโครงการที่ออกแบบไปนำเสนอวันสุดท้าย ส่วน PSU 2016-2020 ก็คือกรอบของโครงการ แล้วโครงการต้องไปตอบโจทย์ 3V’s เป็น Value-based Economy ของรัฐบาล

          1.Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

          2.Value Creation สร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ

          3.Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย โดยมองในกลุ่มและมหาวิทยาลัยเป็นหลัก

          เวลาทำกระบวนการคิดเพื่อตอบโจทย์ เป็นแบบ Problem-based มาจากปัญหา คิด ร่วมกันแลกเปลี่ยน ค้นหาทางแก้ปัญหา แล้วเลือกปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่จะนำมาทำโครงการนี้ ประธานรุ่นมีหน้าที่ดูแลโครงการทั้งหมด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ในการทำโครงการ มี Theme ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับม.อ.ในอนาคต แต่ละกลุ่มก็จะมี Theme เล็กที่สอดคล้องกับ Theme ใหญ่

          ขอให้ยกตัวอย่างมูลค่าที่จะเกิดขึ้นกับโครงการที่เสนอ เมื่อฟังวิทยากรบรรยายแล้วอาจจะกระเด้งเป็นความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ อาจจะนำความหลากหลายของปัญหามาจากหลากหลายวิทยาเขต แล้วนำมาเป็นพลัง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          เวลาเลือกหัวข้อโครงการ อาจเลือกจากประเด็นท้าทายได้ แล้วหาทางแก้ปัญหา บางครั้งไม่จำเป็นต้องเริ่มจากปัญหา อาจจะคิดโครงการที่เป็นโอกาสก็ได้ 

          แนวคิดเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ลดกับดักการพัฒนา

          แนวคิดเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเศรษฐกิจยุคเดิม ได้แก่

1.0 คือยุคเกษตร

2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา

3.0 ขยายสู่อุตสาหกรรมหนักและการส่งออก

ตอนนี้ประเทศไทยไม่มีแรงงาน คนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทรัพยากรหมด สิ่งแวดล้อมแย่ ก็ต้องแก้ปัญหา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ยุค 3.0 ประเทศไทยยืมเทคโนโลยีมา ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเคมี รถยนต์ ไทยไม่มีภูมิปัญญา เมื่อมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ประเทศไทยเดือดร้อน มีการย้ายฐานการผลิตไปทั้งหมด เช่น ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เกิน 70###/span#< ย้ายไปเวียดนามและลาว ก็ต้อง Back to Basics ก็คือ เกษตร ท่องเที่ยว สุขภาพ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ บรรจุหีบห่อ

ม.อ.เหมาะสมที่จะทำเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ต้องมีคนยินยอมซื้อในราคาที่แพงขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม นวัตกรรมอาจเป็นสิ่งใหม่หรือสิ่งเก่าที่มีการนำมาปรับใหม่ แม้ไม่ใช่นวัตกรรม ก็ต้องมี 3V’s ถือเป็น Value-based

          อุตสาหกรรมเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0

          1. อุตสาหกรรมอาหาร เกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ

          2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีด้านการแพทย์

          3. กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ระบบเครื่องกล อิเลคทรอนิกส์

          4. กลุ่มดิจิตอลและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

          5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและงานบริการมูลค่าสูง รวมถึงด้านท่องเที่ยวด้วย

          แนวคิดการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย

          1. ม.อ.เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับแล้ว

2. การเป็นWorld-class University

3. ม.อ.เป็นเสาหลักของภาคใต้ (Pillars of the South)

4. PSU New Era สิ่งที่เป็นศตวรรษใหม่ของม.อ. ซึ่งเริ่มจากของเก่า ไม่ใช่สร้างใหม่

5. Thailand 4.0

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บางครั้งการทำโครงการอาจพบอุปสรรค ไม่ควรทำโครงการเชิงนวัตกรรมแล้วขึ้นหิ้ง ควรจะเน้นความจริง แม้เป็นโครงการเล็กแต่ต้องเอาชนะอุปสรรค

คุณวราพร ชูภักดี

Keywords การประเมินโครงการ

1. 2R’s มองจากความจริง และสามารถปฏิบัติได้ นำประเด็นที่โดดเด่นมาทำ

2. 3V’s เพิ่มมูลค่าอย่างไร

3. โครงการต้องมี impact ที่ยิ่งใหญ่ต่องานที่ทำ ต้องสามารถวัดผลได้ ทำจริงได้ น่าสนใจ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริหารทรัพยากรที่มีให้เกิดมูลค่าใหม่ๆ

แนวทางการออกแบบโครงการ

1. มีชื่อโครงการ

2. มีหลักการและเหตุผล อาจจะต้องนำเสนอข้อมูลว่าโครงการมีความสำคัญและจำเป็น อาจเป็นการ Review Literature หรือการสัมภาษณ์ผู้บริหารเพื่อยืนยันว่า โครงการน่าสนใจและน่าทำ

3. วัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน

4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ ควรนำทฤษฎีที่เรียนมาใช้อ้างอิง

5. ขั้นตอนดำเนินงาน

6. แหล่งเงินทุน งบประมาณ เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่

7. วิธีการประเมินผล

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9. การวิเคราะห์เชื่อมโยงกับ 3V’s

10. อุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จ อาจมีบทสัมภาษณ์ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจำนวน 2-3 ท่านเพื่อให้มุมมองเรื่องยุทธศาสตร์

นำเสนอเป็นคลิปวีดิโอ 5 นาทีและโปสเตอร์มี Infographics ซึ่งต้องทำให้กรรมการเห็นและซื้อ

ตัวอย่างโครงการรุ่นที่ 1 และ 2

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โครงการรุ่นที่ 1 เป็นแนวหน้า คิดเรื่อง World-class University

กลุ่มที่ 2 ดึงงานวิจัยมาใช้

กลุ่มที่ 3 ทำเรื่องการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในการบริหารจัดการม.อ.สำหรับอนาคต

กลุ่มที่ 4 บูรณาการวิชาการและกิจการนักศึกษาเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนานักศึกษา

กลุ่มที่ 5 ทำเรื่องวิจัยและนวัตกรรม

โครงการรุ่นที่ 2 นำเสนอโครงการใหญ่คือ 5 Stars Halal Innovation Center

กลุ่ม 1 นำเสนอ PSU International Halal Institute

กลุ่ม 2 นำเสนอโครงการ Halal Hospital , Health & Spa

กลุ่ม 3 นำเสนอโครงการ Halal Sport & Tourism

กลุ่ม 4 นำเสนอโครงการ Halal Innovative Study and Training Course

กลุ่ม 5 นำเสนอโครงการ Halal Research & Innovation Center

          อาจจะนำประเด็นในห้องเรียนมาเป็นหัวข้อก็ได้

 สรุปการเรียนรู้

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2560

ณ ห้องประชุม 3309 คณะพยาบาลศาสตร์ (อาคาร 3) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่


Learning Forum หัวข้อ Effective Management for High Performance Organization

โดย    ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริหาร

บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

เวลากล่าวถึงเรื่องคน มีวิจัย Strength Finder ของแกลลอป พบว่า เวลาทำการโค้ช มีจุดเริ่มต้นคือการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน ในงานวิจัย Strength Finder พบว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์อย่างน้อย 5 เรื่อง แต่ระบบการศึกษาไทยเน้นท่องจำ เป็นการตอบได้ยากว่า อะไรคือพรสวรรค์ ถ้ารู้ว่าอะไรคือพรสวรรค์ ทำอะไรก็รุ่ง

วิธีการประเมินทักษะผู้บริหารวิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือ ประเมิน Story-telling Skill ทักษะการเล่าเรื่อง ผู้บริหารซีกโลกตะวันตกที่อยู่ Fortune 500 เมื่อเป็นผู้นำจะได้รับการฝึกทักษะนี้มาก เมื่อขึ้นเวที ผู้บริหารต้องมีเรื่องเล่าที่เร้าพลังคนได้ ทักษะการเล่าเรื่องที่ดีทำให้เกิดพลังได้

เวลาที่กล่าวถึงเรื่องภาวะผู้นำ ความยากคือแต่ละคนและแต่ละองค์กรคิดไม่เหมือนกัน ภาวะผู้นำของมิตรผลคือ BEST ย่อมาจาก

1.Building Strategic Alliance

2.Enhancing Organizational Talents

3.Sharpening Organizational strategy

4.Transform Knowledge Innovation

Marshall Goldsmith กล่าวว่า “What got you here won’t get your there.” หมายถึงสิ่งที่ทำให้บุคคลมาถึงจุดนี้ได้ไม่สามารถจะช่วยให้ไปต่อได้

แก่นของการเป็นนายคน มีความยากคือ ชั่วดีรู้หมด อดใจไม่ไหว

มีงานวิจัยอยู่ชิ้นหนึ่งดูคุณลักษณะการเป็นผู้นำ มีปัญหาคือคนตอบไม่เหมือนกัน จึงไปวิจัยการเลือกผู้นำของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายมนุษย์มากที่สุด ก็คือ ลิงในสวนสัตว์ที่เนเธอร์แลนด์ ใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม เมื่อจ่าฝูงตัวหนึ่งตายก็เลือกตัวใหม่มา ผ่านไปประมาณ 3-4 รอบ นักวิจัยชุดนี้พบว่า ลิงเลือกจ่าฝูงจาก Network ลิงใช้เครือข่ายสายสัมพันธภาพเลือกผู้นำ ในการประเมินศักยภาพคน คำว่า Network ตรงกับ Acceptance

สุภาษิตจีนกล่าวว่า ความรู้สู้ความสามารถไม่ได้ ความรู้บวกความสามารถก็ยังสู้มนุษยสัมพันธ์ไม่ได้

หมายถึง สักแต่รู้สู้ทำเป็นไม่ได้ ทั้งรู้ทั้งทำได้ยังสู้เก่งคนไม่ได้ หัวใจสำคัญเรื่องการบริหารองค์กรคือคน

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กลุ่มมิตรผล Drive Change แรงมาก เมื่อเดือนมกราคม ได้รับรางวัล Best Employer 2017 คู่กับเอไอเอสและโตโยต้า

เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนหน้าการบรรยายครั้งนี้ มีบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจนักศึกษาที่จบใหม่ 3,000 คน ปีที่แล้วมิตรผลได้อันดับที่ 63 ของบริษัทที่คนอยากมาร่วมงานด้วย ปีนี้ได้อันดับที่ 20 ถือเป็นพลังจากการ Drive change ปีที่แล้วเป็นบริษัทน้ำตาลอันดับ 5 ของโลก ใช้กำลังการผลิตเป็นตัวชี้วัด

         แจ๊ค หม่า กล่าวว่า ความสำเร็จของธุรกิจขนาดเล็กอยู่ที่ความฉลาดของเถ้าแก่ แต่ธุรกิจขนาดกลางความสำเร็จอยู่ที่ระบบการจัดการ ธุรกิจขนาดใหญ่ความสำเร็จอยู่ที่การบริหารคน

         การโกงทำให้ธุรกิจเล็กและกลางล้มได้ทันที เวลาเข้า listed company ต้องแสดงระบบการจัดการ

การบริหารคนสำคัญเห็นได้จากกรณีแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ตอนเฟอร์กูสันออกไป ผู้เล่นไม่เปลี่ยน แต่เมื่อเดวิด มอยส์ เข้ามาผู้เล่นไม่เปลี่ยนแต่อันดับร่วงลงมาก

         ในการบริหารองค์กรใหญ่ การเลือก successor สำคัญ บางองค์กรเปลี่ยนผู้บริหารแล้วดี บางแห่งเปลี่ยนแล้วจะแย่

         การทำให้องค์กรเป็น HPO เป็นเรื่องที่น่ากลัวและน่ากังวล เพราะความเปลี่ยนแปลงจะเข้ามาทำให้ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง ธุรกิจในอนาคตต้องการคนที่แตกต่างออกไปเพราะ Business model เปลี่ยน

         จากหนังสือ Good to Great และ Built to Last เป็นวิจัยพบว่า บริษัทในฟอร์จูนอยู่ได้ไม่นาน

         คุณลักษณะ 7 ข้อทำให้ก้าวไปสู่องค์กรยอดเยี่ยม

1.ผู้นำเข้มแข็ง

2.เลือกคนเหมาะกับงาน

3.กล้าเผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้าย

4.แนวคิดแบบเม่นคือ ไม่กลัวอะไร สามารถเอาตัวรอดได้ เป็นบริษัทเล็ก เก่งไว บริษัทใหญ่ agility

5.วัฒนธรรมการมีวินัยองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

6.ความสุดยอดคือผลลัพธ์

7.มีแบรนด์ที่ดี

กิจกรรม

ตอบคำถาม

1.ท่านคาดหวังอะไรในวันนี้

ถาม กลยุทธ์ drive change to HPO

ตอบ

องค์กรที่ล้มเหลว สื่อสิ่งพิมพ์ปิดตัวเช่น playboy และ Penthouse ลงเพราะระบบการสื่อสารทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปรับสารทางดิจิตอลมากกว่า นอกจากนี้ผู้บริโภคน้อยลง หันไปสนใจเพศเดียวกัน

สินค้าที่เคยเป็นอันดับ 1 แต่บริษัทของสินค้าเหล่านี้ต้องปิดตัวไป

โพลาริสปิดไปเพราะไม่แตกต่าง เป็นธุรกิจ Margin สูงทำให้มีคู่แข่งมาก

ร.ส.พ. แพ้ FedEx เพราะดิจิตอลเข้ามา

ผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ก็รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเข้ามา แต่ต้องปิดกิจการไปเพราะผู้บริหารฉลาดอย่างเดียวไม่พอ พนักงานต้องฉลาดด้วย

HPO ต้องมี Sense of Urgency คนทุกระดับในองค์กรรู้เรื่องธุรกิจดี คุณภาพของคนในองค์กรจะต้องไม่อยู่ใน comfort zone

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลง HPO ต้องปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ขั้นแรกต้องสร้าง Sense of Urgency

ถาม ผู้จัดการกับผู้นำต่างกันอย่างไร

ตอบ ผู้นำ Leader มีที่มา LEITH เป็นภาษาอังกฤษโบราณ เป็นการก้าวข้ามธรณีประตู ผู้นำต้องทำให้องค์กรก้าวข้ามข้อจำกัดที่เป็น

ถาม มิตรผลมีวิธีรักษาคนและอยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืนอย่างไร

ตอบ

แต่ก่อน มิตรผลมี Turnover 12 ต่อมาลดลงเหลือ 5.8% ทำให้คนมี Engagement มากขึ้น

เหตุผลที่ทำให้คนอยู่หรือลาออก

ผู้บริหารเอกชนมักถูก headhunt ด้วยการเสนอ package แต่ค่าตอบแทนก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้คนเปลี่ยนงานเพราะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นด้วย

Engagement ที่มิตรผลทำคือ จ่ายค่าตอบแทนเหนือตลาดเล็กน้อย พบว่า คนต่างรุ่นมีความคิดต่างกัน

แต่สิ่งที่ทำให้คนอยู่หรือลาออกก็คือ นาย จึงทำเจ้านายให้เป็น Good boss

การพัฒนาภาวะผู้นำสำคัญต่อ HPO

คุณกานต์ SCG เปลี่ยนเป็น Innovative Organization

การพัฒนาภาวะผู้นำควรดูหนังชีวประวัติเนลสัน แมนเดล่า เรื่อง Invictus สะท้อนว่า แมนเดล่าสร้างแรงบันดาลใจทีมรักบี้สปริงบอกชนะ ทำให้คนดำและคนขาวเป็นหนึ่งเดียวกัน

เคยมีการวิจัยในญี่ปุ่นว่า อยากให้รักษาบริษัทใดให้นานที่สุด คนบอกว่า เป็นบริษัททำชอล์กจ้างพนักงานผู้มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญากว่า 70% ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากพระนิกายเซ็นว่า คนต้องการมีคุณค่าต่อสังคม

กิจกรรม ดูภาพ ทำอย่างไรให้เป็นองค์กร HPO

ตอบ องค์กรที่อยู่ในจุด Deep Change จะมีโอกาสเป็น HPO

หัวใจ HPO

1.กระบวนการและระบบเป็นเรื่องที่ซื้อได้

2.ความยากอยู่ที่คน ถ้าคนไม่รับรู้อะไรเลย ก็จะเป็น HPO ได้ยาก

ปัจจัยที่ทำให้คนเคลื่อนย้ายก้าวข้ามอุปสรรค

1.สื่อสารให้เห็นทิศทางองค์กร เหมือนมิตรผลทำทุกไตรมาส

2.มีแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี

หัวใจการ Lead change และทำให้องค์กรเป็น HPO คือ VCASIT ประกอบด้วย

1.Vision

2.Communication

3.Action Plan

4.Skill

5.Incentives

6.Tool

จากกรณีศึกษามิตรผล ปัจจัยความสำเร็จในการ drive change คือ TTT ทำทันที



วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560

Learning Forum & Workshop หัวข้อ The Inner Voice of Leader

โดย    อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ผู้ก่อตั้ง Jimi The Coach และThailand Coaching Academy

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิดมีประสบการณ์เป็นโค้ช 8 ปี เวลาคนไปเรียนการโค้ชมาก็จะใช้คำว่า โค้ช นำหน้าชื่อ ทุกคนที่เข้ามาทำงานก็มีชีวิตส่วนตัว ถ้าชีวิตติดขัด งานก็ไม่รุ่ง

Performance coach ทำให้งานดีขึ้น Life coach ทำให้เข้าใจพฤติกรรมคนแล้วรู้จักให้อภัย

ส่วนมากคนตัดสินคนอื่นจากสิ่งที่ตนเห็น แต่ไม่ทราบเหตุผลเบื้องลึก การด่วนตัดสินทำให้มีความสัมพันธ์ไม่ดี

ผู้นำต้องเข้าใจพฤติกรรมคนอื่น เพราะผู้นำต้องทำงานผ่านคนอื่น ก่อนที่จะเป็นผู้จัดการ ก็ต้องเป็นเสมียนที่เก่งก่อน แต่ผู้จัดการหลายคนยังไม่เคยชินจึงทำงานเองเพราะคิดว่าง่ายกว่า

มีผู้หญิงคนหนึ่งทำงาน ต่อมาไปเรียนต่างประเทศแล้วกลับมาทำงาน เจ้านายบอกว่าจะเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการ แต่บอกว่า อย่าคลุกคลีกับลูกน้องเกินไป เพราะจะเสียการปกครอง ทำให้มีความสัมพันธ์ไม่ดีกับลูกน้องที่เคยเป็นเพื่อนร่วมงานมาก่อน ผู้หญิงคนนี้เน้นทำงานแต่ขาดเพื่อนไป ถือเป็นความขัดแย้งภายในตัวมนุษย์

เด็กก็ไม่กล้าบอกพ่อแม่ว่า ไม่อยากเป็นหมอ มีโค้ชที่เคยอยากเป็นหมอ ตอนที่มาเรียนกับอาจารย์พจนารถ ทำให้เข้าใจ Being ภายในที่ผลักดันพฤติกรรมออกมา หมอคนนี้มาเรียนเพื่อค้นหาว่าควรเรียนต่อด้านใด แต่เมื่อเรียนแล้ว ก็ทราบวิธีที่บอกพ่อแม่ว่า ไม่ต้องการเป็นหมอแล้ว แล้วพบว่า อยากช่วยคนให้พ้นทุกข์ การเป็นหมอที่มีทักษะการโค้ชก็ช่วยให้คนไข้สบายใจได้

Outside Voice คือสิ่งที่เราคิดและสังคมคาดหวัง บางครั้งผู้นำอาจจะต้องตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ระบุไว้ในนโยบายหรือแนวทาง ก็ต้องใช้ Inner Voice

ตอนช่วงน้ำท่วมใหญ่ บางบริษัทปิดทำการทั้งที่ไม่ท่วมสำนักงานใหญ่เพราะพนักงานมาไม่ได้ แต่เปิดโรงแรมที่พัทยาให้พนักงานพักและทำงานโดยนำครอบครัวไปได้

ชมภาพยนตร์

พ่อลูกอยู่ด้วยกัน พ่อทำงานที่สถานีรถไฟ เปิดปิดสะพานรถไฟ เวลาทำงานก็นำลูกไปด้วย แล้วก็ได้เห็นชีวิตผู้คนมากมาย ลูกชอบไปนั่งดูรถไฟและผู้โดยสารที่มากับรถไฟ วันหนึ่งมีเรือลอดใต้สะพาน พ่อต้องเปิดสะพาน แล้วก็มีรถไฟมา ลูกตะโกนบอกพ่อว่า มีรถไฟมา แต่พ่อไม่ได้ยิน จึงลงไปกดสะพานเอง เมื่อพ่อเห็นรถไฟจึงตะโกนหาลูก แต่มองไม่เห็น พ่อจะตัดสินใจอย่างไร

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

1.ด้วยสัญชาตญาณความเป็นพ่อ ต้องไปช่วยลูกก่อน

2.ปิดสะพานเพื่อช่วยคนในรถไฟซึ่งมีจำนวนมากกว่า

3.เนื่องจากลูกไปทำงานกับพ่อ จึงน่าจะมีทักษะด้านเปิดปิดสะพาน น่าจะเอาตัวรอดได้

4.ถ้าลูกทำบุญมาดี ก็น่าจะมีปาฏิหาริย์ช่วยให้ลูกรอด

คำเฉลย

         พ่อตัดสินใจปิดสะพาน

บทเรียน

         การตัดสินใจขึ้นอยู่กับว่าให้ความสำคัญกับอะไร

ความเห็นผู้เข้าร่วมโครงการ

         การเห็นแก่ส่วนรวมทำให้สังคมจดจำ ซึ่งมาจากการก้าวข้ามความเห็นแก่ตัวก็จะรับใช้สังคมได้ เป็นก้าวหนึ่งไปสู่ความเป็นผู้นำ แบบ Servant Leader ที่ไม่อ้างว่า ความสำเร็จเป็นของตน

เนื้อหา (ต่อ)

         เคยสอน Coaching Online ทีมงานหาเด็กอายุ 18 ปีมาให้โค้ช เป็นเด็กที่พูดจาห้วน เวลาโค้ชต้องสร้างความคุ้นเคย มีปัญหาคือ ครูจับลงทะเบียนเรียนภาษาเวียดนาม กลุ้มใจที่ไม่มีมุขคุยกับเพื่อน มีนิสัยโกรธทุกวัน เพราะเวลาโกรธเพื่อนจะรักเขา เวลาโกรธก็พาเพื่อนไปยกพวกตีกับคนอื่น ตอนเด็กอายุ 5-6 ปี เคยโกรธแม่ที่ตี เพราะแม่บอกให้ขอโทษแต่เขาไม่ผิด จึงถามว่า ถ้าคิดอีกทีว่าเป็นเพราะอะไร เขาตอบว่า แม่อยากให้เป็นเด็กดี ตอนช่วงที่โค้ช แม่เขาตายไปแล้ว แต่บอกว่า เลิกโกรธแล้ว จึงให้เขียนอนาคต 15 ปีข้างหน้า เด็กคนนี้วาดฝันครอบครัวที่มีความสุข มีเพื่อนหลายอาชีพเพราะเปิดใจรับความหลากหลาย

         บางคนมีพื้นฐานโทษตัวเอง (Guilt) บางคนมีพื้นฐานรู้สึกถูกทำร้าย (Hurt) ต้องทำให้คนคิดว่าเป็นได้มากกว่าที่เป็นอยู่ เป็น Spiritual Growth

         สิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่คนนั้นเป็นทั้งหมด

         Inner Drivers ประกอบด้วย

         1.Being

         2.Belief ความเชื่อ

3.Values

4.Needs ปัจจัยพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการ

1.ความแน่นอน/ความมั่นคง/ความสบาย(Certainty/Security/Comfort)

2.ความไม่แน่นอน/ความหลากหลาย/การผจญภัย (Uncertainty/Variety/Adventure)

3.การเชื่อมโยง &ความรัก (Connection & Love)

4.ความสำคัญ (Significance)

5.การเติบโต (Growth)

6.การอุทิศให้ (Contribution)

5.Fears สิ่งที่คนวิ่งหนี

1. กลัวไม่ดีพอ (Fear of not good enough)

2. กลัวคนไม่รัก (Fear of not being loved)

3. กลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Fear of not belong to)

         แต่ละคนมีทั้งตัวตนและบทบาท บางครั้งบางบทบาทไม่ใช่ตัวตน

กรณีศึกษาจากผู้เข้าร่วมโครงการ

เพื่อนนำมาเป็นผู้บริหารคณะ การเป็นผู้บริหารคณะทำให้ไม่มีความสุข ต้องพบผู้ใหญ่ มีพิธีรีตองแต่ตัวตนชอบสบายๆ มีอิสระทางความคิด รักความเท่าเทียม

บทวิเคราะห์จากวิทยากร

         เป็นความทุกข์จากการทำสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คนที่ไม่มีความสุขคือไม่สามารถใช้ในสิ่งที่ตนเองเป็น ความเชื่อของคนมาจากสภาพความเป็นจริงที่แต่ละคนประสบมา การลาออกไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะจะเป็นการลาออกจากที่เดิมไปเจอปัญหาในที่ใหม่ ผู้เข้าร่วมโครงการคนนี้เป็นคนเสียสละ มุ่งมั่น เป็นคนที่ไม่สนใจ need ด้านความแน่นอนในชีวิตเพราะไม่ยึดติดว่าต้องทำงานอะไร ชอบความเป็นอิสระจึงกระทบ need ด้านความไม่แน่นอน รักเพื่อนทำให้กระทบ need ด้านความเชื่อมั่น

เนื้อหา (ต่อ)

ถ้าไม่รู้จักรับพลังคนอื่น เราก็จะไม่รู้ว่า เรามีพลังด้านนั้น สังเกตจากโทนเสียง การหายใจ การที่เป็นคนที่เราอยากเป็น มี inner voice ที่มั่นคง คนอื่นจะรับรู้ Value ของเราได้

ทักษะ Life Coach ต้องเข้าใจมนุษย์และเข้าใจตนเอง และได้ยิน Inner Voice

ควรระวังวิธีคิดของตนที่มีต่อผู้อื่น ทำให้ตีความผิด อย่าคาดหวังให้เด็ก Gen Z เขียนบันทึก (Memo)

คำถามจากผู้เข้าร่วม

ทำอย่างไรจึงจะมีคุณสมบัติที่เราไม่มีได้

คำตอบ

ประสบการณ์ชีวิตทำให้คุณสมบัติบางอย่างหายไป และได้บางคุณสมบัติมา ทุกคุณสมบัติก็มีข้อดี ต้องรู้จักนำข้อดีมาใช้ในเวลาที่ต้องการ

ชีวิตมีไพ่ 3 กอง

1.คุณสมบัติที่ทำแล้วดีเสมอ เป็นตัวตนที่แท้จริง

2.คุณสมบัติที่ทำแล้วไม่ได้ผลเสมอ ทิ้งแล้วไม่นำกลับมาใช้

3.คุณสมบัติที่นำมาใช้ได้บางคราว

ต้องยอมรับว่า บางคุณสมบัติเราเคยมีแต่ทิ้งไป ถ้าต้องการก็เก็บคุณสมบัตินั้นกลับมา คุณสมบัติที่เราไม่มี มีอยู่ในตัวคนที่เราไม่ชอบกับคนที่เราบูชาแล้วเราไม่สามารถเป็นแบบนั้นได้ ในชีวิตนี้ เราสามารถจะเป็นอะไรก็ได้ตามที่จะเป็น

บางครั้งจุดแข็งทุกอย่างก็เป็นที่มาของจุดอ่อนอื่นๆ

E+R = O

E=Event เป็นสถานการณ์รอบด้านที่ไม่สามารถควบคุมได้

R=Response การตอบสนองเพื่อให้ได้ Outcome ที่ต้องการ

O=Outcome

ในชีวิต ต้องเน้น Outcome ว่า อยากได้อะไร แล้วเลือกตอบสนองให้เหมาะสม

คำถามจากผู้เข้าร่วม

         วัยทำให้ Value เปลี่ยนได้หรือไม่

คำตอบ

วัยทำให้ Value เปลี่ยน แต่ความเชื่ออาจจะยังไม่เปลี่ยน ความเชื่ออาจเปลี่ยนได้ วิธีรับข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนไปตามความเชื่อ เวลาฟังคนทะเลาะกัน ต้องฟังให้รู้ว่าเขามีความเชื่ออะไร แล้วเขาจะฟังเรา

คำถามจากผู้เข้าร่วม

         การตอบสนองต่อเหตุการณ์ใช้วิธีต่างกันทำให้ไม่มีจุดยืนหรือไม่

คำตอบ

         จุดยืนอยู่ที่ Being, Belief, Values ซึ่งก็ยังเป็นคนเดิมอยู่

คำถามจากผู้เข้าร่วม

         ทุกอย่าง Being, Belief, Values เปลี่ยนได้หมด อะไรทำให้เปลี่ยน

คำตอบ

         ต้องมีการปรับ Need ให้สนใจ Need ประเภทอื่น อาจใช้ Fear เป็นแรงขับเคลื่อนให้พัฒนาตนเอง

เนื้อหา (ต่อ)

         คุณสมบัติก็เหมือนไพ่แต่ละใบ มีด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งเจ้าของไพ่อาจไม่เห็นเพราะเห็นแค่หลังไพ่ หน้าไพ่หันหน้าออก ตนจึงไม่เห็นแต่คนอื่นเห็น บางครั้ง การชมทำให้คนเห็นคุณสมบัติที่ดีของเขาที่เขาไม่เคยเห็น ทุกสิ่งที่ทำมีประโยชน์เสมอแม้ว่าจะเป็นการกระทำทางด้านลบ (Negative) ก็ตาม

แหล่งที่มา Inner Voice

1.      External Event บางครั้งคนเราละเลยข้อมูลข่าวสารรอบตัวเพราะไม่อยู่ในความสนใจของตัวเรา จนกระทั่งถูกกระทบแรงขึ้น จึงจะรับมันได้ ทุกวินาทีมีข้อมูลเข้ามา 2 ล้านชิ้น แต่รับได้วินาทีละ 134 ชิ้น สมองจึงเลือกทิ้งโดยใช้วิธี

1.1 Delete (ลบ)

1.2 Distort (บิดเบือนให้สอดคล้องกับความเชื่อ)

1.3 Generalize (เหมารวม)

แล้วนำมาทำเป็น Internal Representation (IR) แสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ถ้าไม่สบายก็ให้ Psychology นำ Physiology ควรจะพูดดีกับร่างกายตลอด ทำให้ลดความรู้สึกเจ็บปวดได้ลดลง เพราะจิตกับร่างกายสัมพันธ์กัน

สมองไม่รับคำว่า ไม่ และ อย่า เพราะทำให้คิดถึงสิ่งนั้นก่อน จึงเป็นที่มาของ “เกลียดสิ่งใดมักได้

สิ่งนั้น” วิธีเปลี่ยนความเชื่อ ต้องดูว่า สมอง Delete (ลบ) และ Distort (บิดเบือนให้สอดคล้องกับความเชื่อ) Generalize (เหมารวม) อะไรไว้

แม้ว่าพฤติกรรมไม่ดี ก็มาจาก Being ที่ดี



จากตาราง คนที่เราเกลียด เขาก็มีเหตุผล และก็มีคุณสมบัติที่เราไม่มี เป็นการฝึกให้เราเข้าใจคนอื่น เป็นการฝึกซ้อมคิดแก้ปัญหาต่างๆ

ความเชื่อของเราจะพาเราไปทุกที่ จะแก้พฤติกรรมคนต้องกลับไปแก้ตั้งแต่ Belief เพราะเป็นสิ่งที่แก้ได้ คนเราเปลี่ยนความหมายที่มีต่อประสบการณ์ได้ และสร้างเหตุการณ์ใหม่เพื่อให้มีประสบการณ์ใหม่ได้




บางครั้งคนเราก็ค้นพบตัวเองเมื่ออายุมากขึ้น


คำถามจากผู้เข้าร่วม

วิทยากรมีกรณีศึกษาที่เคยไปโค้ชผู้บริหารให้เข้าใจลูกน้องหรือไม่

คำตอบ

เวลาโค้ช จะมีพลังจากโค้ชส่งออกมาให้ผู้รับการโค้ชได้รู้สึก ก็เหมือนกับผู้บริหารที่บางคนไม่อยากคุยด้วย เพราะคนรู้ว่าคิดอะไรอยู่


ชมวีดิทัศน์อาจารย์พจนารถโค้ชพริตตี้ชื่อ ใบเฟิร์น

บทเรียน

1.สิ่งที่ทำให้ใบเฟิร์นพูดเรื่องต่างๆออกมามาก เพราะรู้สึกปลอดภัยซึ่งมาจากการฟังแบบไม่ตัดสิน

2.คำถามเป็นแบบสงสัยใคร่รู้ ไม่ใช่ต้อนให้จนมุม

3.การประยุกต์ใช้คือ หัวหน้าต้องเปิดใจฟังลูกน้อง ฟังแบบไม่ตัดสิน



Learning Forum & Workshop หัวข้อ People Management by Coaching

โดย    อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

         ใช้การโค้ชบริหารลูกน้องได้เพราะทำให้สำเร็จแบบ Fulfill ให้เกิดความพอใจทุกด้าน ได้แก่ การเงิน สุขภาพ ครอบครัวและเพื่อน ความรัก การเติบโตของตนเอง การพักผ่อน/บันเทิง สภาพแวดล้อม งาน/ธุรกิจ

ต้องมีการให้คำจำกัดความของความสำเร็จแต่ละอย่างในแบบของตนโดยไม่เปรียบเทียบกับผู้อื่น

         Fulfill คือการได้เป็นตัวเองในแบบที่ตนอยากเป็น โดยได้รับการตอบสนองด้านต่างๆดังนี้

•ความเป็นตัวตนของเรา(Being)

•ความเชื่อ(Beliefs)

•ค่านิยม(Values)

•ความต้องการหลักของมนุษย์(Needs)

•ก้าวข้ามความกลัวของตนเอง (Fears)

         สิ่งสำคัญคือมีเป้าหมาย แล้วไปยังเป้าหมายที่ถูกต้อง

กิจกรรม ทักษะสร้าง Trust  จับคู่ นั่งหันหน้าเข้าหากัน มองตาคนอยู่ข้างหน้า 1 นาที

บทเรียน

1.คนรู้สึกเขินเพราะคิดอยู่กับตัวเองว่าอีกคนจะมองอะไร

2.เป็นการฝึกอยู่กับคนตรงหน้า

3.บางครั้งลูกน้องอยากจะพูดด้วย แต่เจ้านายทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันขณะที่ลูกน้องพูด ทำให้ลูกน้องไม่อยากพูด

4.กิจกรรมนี้เป็นทักษะหนึ่งของการโค้ช

เทคนิคกับการอยู่กับคนตรงหน้า (Be there)

มีความเชื่อว่า คนตรงข้างหน้ามีความดี และจะเปิดใจรับฟังเขา

กิจกรรมการอยู่กับคนตรงหน้า (Be there)

บทเรียน

1.การใช้เทคนิคทำให้รู้สึกระยะเวลาสั้นขึ้น

2.บางครั้งรู้สึกว่ายังเป็นเวลานานเพราะรู้สึกตัวว่ายังไม่ดีพอไปช่วยเขา

สรุป

1.พลังของผู้นำเป็น Voice จากข้างใน ต้องดูว่า เรา Value อะไรอยู่

2.การตัดสินใจบางครั้งไม่มีแนวทาง จึงต้องเชื่อในคุณงามความดีของคนอื่นที่มีอยู่แล้ว

3.การโค้ชคือการพาคนจากจุดปัจจุบันไปยังจุดข้างหน้าที่เขาต้องการโดยไม่ทำลายศีลธรรมจรรยา สภาพแวดล้อม การดูแลตนเอง

4.ทักษะ Leader as coach ต้องทำให้ลูกน้องอยากอยู่ด้วย

5.Coaching ถามเพื่อหาทางแก้

6.Managing บอกเพื่อแก้ปัญหา

7.ถ้าลูกน้องจิตตกมา ให้ใช้ counseling ก่อน



โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/30163

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560 หน้า 5

http://www.naewna.com/politic/columnist/30450

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 หน้า 5


http://www.thinkingradio.net/view/594621eae3f8e4d032374644

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.


http://www.thinkingradio.net/view/5958c0fbe3f8e4d0323755ce

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.thinkingradio.net/view/596b4560e3f8e40af5bdaf7d

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.


หมายเลขบันทึก: 630356เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2017 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

Summary of what has been learned and what will be applied to the work

29-June-17

Subject 8:

·      Competition of logistics among low cost airlines

·      History does not matter because popularity is not permanent

·      Apply changes to PSU based on Buddhist principles

·      Use less ego

Subject 9:

·      Identity - Create branding

·      Strategy - Create more meanings nationally and internationally

·      Synergy - Cooperate different campuses, faculties, departments

·      Sustainability - Transfer knowledge from generations

·      Execution - Translate vision to implementation

Subject 10:

·      Innovation requires 3V: 1) value added 2) value creation 2) value diversity

·      Vision with 2R: 1) Reality 2) Relevance

30-June-17

Subject 11:

·      “Be like the bamboo, the higher you grow, the deeper your bow” (Bruce Hancook mentioned blaming does not help in the alignment activity, Asst.Prof.Pongchai also mentioned Buddha-tas)

·      Work for the money or work for the love, or both (PSU main mission is teaching but money is essential)

·      Managing oneself demands each knowledge worker to think and behave like a CEO

Subject 12:

·      Monkey picks a leader from Network, Acceptance

·      Leader is a successful drive-changer

·      Among knowledge, capability and human skill, human skill is the most important

·      Action Planning – No change, Deep Change or Exit

·      Deep change is the key for HPO (High Performance Organization)

o  V = Vision

o  C = Communication

o  A = Action Plan

o  S = Skill

o  I = Incentive

o  T = Tool

1-July-17

Subject 13:

·      Five inner drivers are being, beliefs, values, needs and fears

·      Love what you hate as you cannot be that person

·      Event and response cause outcome (E+R = O)

·      Three universal fears of human beings are

o  Fear of not good enough

o  Fear of not being loved

o  Fear of not belong to

Subject 14:

·      Beliefs, values, attitude, actions can be changed

·      Events and experience cannot be changed

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 2 วันที่ 29-30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2560)

วันที่ 29 มิถุนายน 2560

            ได้รับฟังการบรรยายจาก ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล เกี่ยวกับประเด็นความท้าทายสำหรับการทำงานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยที่ประเด็นสำคัญนั้นคือมหาวิทยาลัยจะยังสามารถมีตัวตนอยู่ได้อีกนานเท่าไร เนื่องจากในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าค่านิยมของสังคมอาจเปลี่ยนไป โดยที่ไม่ได้ให้น้ำหนักหรือความสำคัญของปริญญาดังเช่นสมัยก่อน  ซึ่งในส่วนนี้เป็นโจทย์สำหรับทุกคนที่จะต้องช่วยกันแก้ปัญหาว่าจะมีวิธีการใดที่จะทำให้มหาวิทยาลัยจะสามารถดำรงอยู่ในฐานะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน  นอกจากนี้ในส่วนของรูปแบบของการบริหารภายในที่ต้องการการปฏิรูปให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ในส่วนของผู้บริหารควรจะต้องมองถึงการระดมทุนจากองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยมากขึ้นแทนที่จะเป็นงบประมาณจากภาครัฐเป็นหลัก ทั้งนี้จะเป็นการตอบโจทย์ในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้สามารถนำไปใช้ร่วมกับผู้ประกอบการหรือภาคเอกชนได้

 วันที่ 30 มิถุนายน 2560

            ในช่วงแรกเป็นการนำเสนองานของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้อ่านหนังสือ HBR’S 10 MUST READS-“On Managing Yourself” ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากหนังสือนี้คือเรื่องของการบริหารจัดการชีวิตของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรค์แบ่งเวลาเพื่อสร้างความสมดุลในชีวิตของการทำงานและครอบครัว การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดอัตราการสะสมของงานที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการค้นหาตัวเองให้พบว่าความสุขของการทำงานนั้นอยู่ที่ใด และแต่ละคนคนจะมีตัววัดหรือตั้งเป้าระดับของความสุขหรือความสำเร็จในชีวิตอย่างไร

            ในช่วงบ่ายได้รับฟังการบรรยายจาก ดร. บวรนันท์ ทองกัลยา จากบริษัทมิตรผลในหัวข้อ Effective Management for High Performance Organization ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่พึงมีที่จะทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของผู้นำที่ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าและมีความสามารถในการเป็นผู้นำที่ดี  การสื่อสารของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในองค์กรเพื่อให้เข้าใจถึงทิศทางการดำเนินงาน การพัฒนาทักษะของพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางนโยบายขององค์กร เพื่อเป็นการรองรับปัจจัยจากภายนอกที่สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยที่เราสามารถศึกษาได้จากตัวอย่างขององค์กรต่างๆที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวในช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

 วันที่ 1 กรกฎาคม 2560

            ได้รับฟังการบรรยายจาก อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด หรือ coach Jimi ในเรื่องเกี่ยวกับ life coaching โดยประเด็นที่ได้เรียนรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรู้จักและเข้าใจถึงพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุผลในการที่ตัวเราชอบหรือไม่ชอบลักษณะอุปนิสัยแบบใด  การยอมรับฟังและการเคารพในการตัดสินใจของตนเองและผู้อื่น  การที่คนเราตัดสินใจทำอะไรลงไปนั้นก็จะมีเหตุผลของตัวบุคคล การที่เราจะตัดสินการกระทำใดว่าผิดหรือถูกนั้นอาจเป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งต้องพิจารณาถึงเหตุผลและความคิดของคนผู้นั้นเสียก่อน  การที่เราไม่ชอบอุปนิสัยแบบใดนั้นอาจมาจากการที่เราเคยมีอุปนิสัยนั้นแต่เราได้ทิ้งมันไปแล้วเป็นต้น  ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้นำรวมถึงคนในองค์กรควรจะต้องคำนึงถึงในการที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข

พรสถิตย์ สุขชู

คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตหาดใหญ่

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 2 วันที่ 29-30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2560)

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญคือ อัตลักษณ์ Brand Recognition และ Positioning Issues เนื่องจากในปัจจุบันบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบๆ องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และมีการแข่งขันจากคู่แข่งขันในพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นหากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ปรับตัวก็อาจจะทำให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันหรือความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ จากประเด็นนี้ ม.อ. อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องการสร้างจุดเด่น หรืออัตลักษณ์ หรือ Branding และไม่ควรปฏิเสธ Opportunity ที่เข้ามาและต้องทำให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องผลิต New Knowledge ไม่ใช่ General Knowledge จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างอัตลักษณ์ ควรเน้นความโดดเด่นใน Tacit Knowledge

องค์กรที่ High Organization Performance: องค์กรจะ Good to Great Company ได้จะต้องให้ความสำคัญ 7 เรื่อง คือ 1) ผู้นำต้องมีภาวะผู้นำที่แข็งแรง และมีความต่อเนื่องของ Leadership 2) เลือกคนที่เหมาะสมกับงาน 3) กล้าเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่โหดร้าย 4) ใช้แนวคิดแบบเม่น (The Hedgehog Concept) เล็ก เก่ง ไว คือ เอาตัวรอดได้ 5) Culture of Discipline วัฒนธรรมองค์กรแบบกัดไม่ปล่อยหรือความมีวินัย 6) Defining Great ดู Results ต้องยั่งยืน 7) มี Branding ที่ดี ส่วน Key Success Factors ในการเป็น High Performance Organization (HPO) คือ ผู้บริหารรู้ทุกอย่างหรือฉลาดอย่างเดียวไม่ได้ สิ่งสำคัญต้องสร้างคนในองค์กรให้เกิด Change ด้วย

ดร.กุลวดี ลิ่มอุสันโน คณะวิทยาการจัดการ


 



สะท้อนความรู้จากการเข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 2 วันที่ 29-30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2560) 

  

Learning Forum หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล 

วิทยากรได้กล่าวคำพูดจาก World Economic Forum ว่า วิธีการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด เพราะในอนาคตเด็กสามารถที่จะเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นส่วนตัวของผมเองที่มองว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการใช้ MOOC ผสมผสานกับการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Flip Classroom โดย MOOC ที่ดังๆ ในปัจจุบัน เช่น EdX, Coursera แม้แต่ประเทศไทยเอง ได้แก่ ThaiMooc ดังนั้น มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในการแข่งขัน และการอยู่รอดเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ของสังคม มหาวิทยาลัยควรจะปรับปรุงหลักสูตรที่ตอบสนองกับสังคม 

               มหาวิทยาลัยควรปรับวิจัยต้องเปลี่ยนเป็น Applied Research การบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีกระบวนการหรือมาตรการในการดึงคนเก่งเข้ามาทำงาน ให้อิสระในการทำงานโดยไม่อิงกับกรอบการทำงานแบบเดิมๆ ซึ่งไม่เอื้อต่อการทำงานของคณาจารย์ 

  

Learning Forum หัวข้อ Effective Management for High Performance Organization 

ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา 

               Marshall Goldsmith กล่าวว่า “What got you here won’t get your there.” 

               แจ๊ค หม่า ได้กล่าวถึงการพัฒนาขององค์กรไว้ว่า ความสำเร็จของธุรกิจขนาดเล็กอยู่ที่ความฉลาดของเถ้าแก่ แต่ธุรกิจขนาดกลางความสำเร็จอยู่ที่ระบบการจัดการ ธุรกิจขนาดใหญ่ความสำเร็จอยู่ที่การบริหารคน 

               สำหรับ “ภาวะผู้นำของมิตรผล คือ BEST” ย่อมาจาก  

1. Building Strategic Alliance

2. Enhancing Organizational Talents

3. Sharpening Organizational strategy

4. Transform Knowledge Innovation

หนังสือ Good to Great และ Built to Last ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ 7 ข้อทำให้ก้าวไปสู่องค์กรยอดเยี่ยม ไว้ว่า 

1. ผู้นำเข้มแข็ง 

2. เลือกคนเหมาะกับงาน 

3. กล้าเผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้าย 

4. แนวคิดแบบเม่นคือ ไม่กลัวอะไร สามารถเอาตัวรอดได้ เป็นบริษัทเล็ก เก่งไว บริษัทใหญ่ agility 

5. วัฒนธรรมการมีวินัยองค์กรที่ประสบความสำเร็จ 

6. ความสุดยอดคือผลลัพธ์ 

7. มีแบรนด์ที่ดี 

               ดังนั้น ม.อ. ควรมีมาตรการในการพัฒนาคนและควรมีระบบในการพัฒนาคนที่ชัดเจน มี Outcome ที่ชัดเจนว่าจะพัฒนาบุคลากรของ ม.อ. ให้มุ่งไปในทางใดบ้าง 

  

Learning Forum & Workshop  หัวข้อ The Inner Voice of Leader 

โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด 

               มุ่งเน้นในการสร้างความมีภาวะผู้นำฯ โดยเติมเต็มและตอบสนองด้านต่างๆ ดังนี้ 

1. ความเป็นตัวตนของเรา (Being) 

2. ความเชื่อ (Beliefs) 

3. ค่านิยม (Values) 

4. ความต้องการหลักของมนุษย์ (Needs) 

5. ก้าวข้ามความกลัวของตนเอง  (Fears)

โอภาส เกาไศยาภรณ์ กลุ่มที่ 2 

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3

ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2560ณ ห้องประชุม 3309

คณะพยาบาลศาสตร์ (อาคาร 3) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

สรรวภัทร พัฒโร

         วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ข้อคิดที่ได้คือปัจจุบันมหาวิทยาลัยเดินทางสู่ระบบการแข่งขันเต็มรูปแบบ หากองค์กรที่ปรับตัวเป็นก็จะอยู่รอดได้ ส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวทันก็จะค่อย ๆ ล้มลงไป ประเด็นการรู้จักตนเอง การพัฒนาจากองค์กรด้วยการมองหา จุดเด่น ด้วยยุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์ การขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน เป็นส่วนผสมสำคัญของอนาคต ม.อ.

         3 V’s & Innovative Projects การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 / มหาวิทยาลัย 4.0 ข้อคิดที่ได้คือ การรู้จักทำโครงงานภายใต้แนวคิด Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม Value Creation สร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย และการรู้จักสรรสร้างนวัตกรรม

         Effective Management for High Performance Organization ข้อคิดที่ได้คือการ ก้าวไปสู่องค์กรยอดเยี่ยม HPO ต้องเป็นประเภทรู้แล้ว “ทำ ทัน ที” ภายใต้องค์ประกอบสำคัญคือ ผู้นำเข้มแข็ง ประเภทต้องทำให้องค์กรก้าวข้ามข้อจำกัดที่เป็น เลือกคนเหมาะกับงาน เพราะองค์กรขนาดใหญ่ความสำเร็จอยู่ที่การบริหารคน การกล้าเผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้าย การรู้จักเอาตัวรอดแบบเม่น เล็กแกร่ง รู้จักเอาตัวรอดได้  วัฒนธรรมการมีวินัย ความสุดยอดคือผลลัพธ์ มีแบรนด์ที่ดี          

         The Inner Voice of Leader ข้อคิดที่ได้คือทักษะ Life Coach เป็นสิ่งสำคัญสอนให้เข้าใจมนุษย์และเข้าใจตนเองก่อน และฝึกฟังให้ได้ยิน Inner Voice ของตน การจะเปลี่ยนความเชื่อ จะนำไปสู่การเปลี่ยนคุณค่า ทัศนคติและพฤติกรรมที่แสดงออกมา การพัฒนาชีวิตของตนคือการรู้จักเปลี่ยนจากภายในในด้านบวก ให้มองหาสิ่งที่ซ่อนซ่อนในตัวเรา มองหาสิ่งที่ดีในตัวคนที่เราไม่ชอบ ฝึกเปลี่ยนตนเองให้เป็นก่อนจะเปลี่ยนคนอื่น 

จิรยุทธ์ จันทนพันธ์

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้

1. ข้อคิดจากการอ่านหนังสือ On Management

ทุกคนมีความเป็นผู้นำในตัวเอง แต่เราต้องรู้จักวิธีปลุกความเป็นผู้นำในตัวเราออกมา และในการเป็นผู้นำของเราสามารถเรียนรู้จากผู้อื่นได้ แต่ควรมีรูปแบบที่เป็นของตนเอง

2. ข้อคิดจากการปะทะทางปัญญาร่วมกันในรุ่น ประเด็นที่ท้าทายสำหรับรุ่น 3 ในการพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกันสามารถสรุปได้เป็น 5 ประเด็นสำคัญดังนี้

  • Identity การสร้างอัตลักษณ์ของ ม.อ.เพื่อดึงดูดนักศึกษา
  • Strategy การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา สร้างคุณค่า และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ ม.อ. 
  • Synergy การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาเขต ระหว่างคณะ และการบูรณาการข้ามศาสตร์
  • Sustainability การสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนให้แก่ ม.อ.
  • Deployability การกระจายแผนและการมอบอำนาจไปสู่การปฏิบัติในระดับคณะ หน่วยงาน และบุคคล
พรพรรณ ศรีพรสวรรค์

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ช่วงที่ 2/7 โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 3

วันแรก วิชาที่ 8-9 ได้เรียนรู้มุมมองใหม่ๆ จากอ.พงษ์ชัยได้ร่วมกันกับทีมอาจารย์ในการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับมหาวิทยาลัยทั้ง5 ด้านของมอ. คือ “Identity-Startegy-Synergy-Sustainability- Execution (overcomedifficulty) ให้รู้จักมองหาจุดเด่นที่เรามีเพื่อสร้างอัตตลักษณ์ของตัวเอง โดยที่ไม่ละทิ้งพันธกิจหลักของเราคือ การผลิตความรู้ใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศสู่สังคม รวมถึงการส่งต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นและสิ่งที่นำมาใช้ได้เสมอในการวางแผนปฏิบัติการหรือนวัตกรรมใดๆ ก็ คือ หลัก 2 R ที่ อ.จีระได้เน้นย้ำเสมอ คือ Reality& Relevance ซึ่งสิ่งที่ต้องชวนไปคิดต่อ คือทำอย่างไรเราจะสามารถลด gap ระหว่าง policy & implementationให้นำไปสู่การปฏิบัติที่สัมฤทธิ์ผล สิ่งที่ได้จาก groupworkshop ที่สำคัญที่สุด คือ ความจริงที่ว่า “หัวใจสำคัญของมหาวิทยาลัยคือ บุคลากร” เรามีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญที่หลากหลายตรงจุดนี้ถือเป็นจุดแข็ง เป็น value of diversity แต่ทำอย่างไรให้เกิดvalue added ต่อองค์กรและสังคม          

ในวันที่สองรู้สึกมีความประทับใจในการlearn-share-careร่วมกันจากการอ่านหนังสือOnmanaging yourself ที่เป็นงานกลุ่มไม่เพียงแต่ได้อ่านหนังสือที่ดีแต่ยังได้เรียนรู้จากการวิเคราะห์ของอาจารย์ท่านอื่นๆ และมีอ.จีระและอ.พิชญ์ภูรี คอยสรุปประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้จากแต่ละบทข้อคิดที่ได้คือ การพัฒนาองค์กรได้ต้องเริ่มจากการพัฒนาบุคคลากรซึ่งก็คือตัวเราเองก่อนเพื่อให้ภาพรวมขององค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงและได้เรียนรู้จากตัวอย่างการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจากองค์กรต่างๆซึ่งเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่มักเริ่มจากการมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพ มีวิสัยทัศน์แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้วางตัวสูงส่งจนคนในองค์กรเอื้อมไม่ถึง  

วันสุดท้ายได้เรียนรู้จากโค้ชจิมมี่เรื่องการเป็นผู้นำหรือหัวหน้างานที่ดีต้องรู้จักการทำหน้าที่เป็นcoachซึ่งมีทักษะการฟังอย่างไม่ตัดสินและศิลปะการพูดคุยเพื่อสร้าง motivation รวมถึงการให้ positivefeedback อย่างสร้างสรรค์ ทักษะของการ coachingนี้ยังสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งชีวิตการทำงานและครอบครัว 

รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมนี้ค่ะ

พญ.พรพรรณ ศรีพรสวรรค์

คณะแพทยศาสตร์ 


 

วันที่ 29 มิถุนายน 2560

ควรพิจารณาเลือกจากความโดดเด่นหน่วยงานมี หากหน่วยงานยังทำงานแยกกันเป็นส่วนๆ จะทำให้องค์กรไม่มั่นคง ต้องคิดเสมอว่าระยะทางไม่ใช่อุปสรรค (Distance doesn’t matter) ชื่อเสียงหมดไปตามกาลเวลา (History doesn’t matter) และการออกนอกระบบแล้วจะเป็นอย่างไร (Autonomy doesn’t matter) ดังนั้นจงอย่างตามกระแสไปเรื่อยๆ และจงอย่าลืม content ของตัวเอง

วันที่ 30 มิถุนายน 2560

Family life and work life ต้องไปด้วยกัน ต้องบริหารงานและครอบครัวให้ไปด้วยกันอย่างมีความสุข (happiness) มีความเคารพ (respect) มีศักดิ์ศรี (dignity) และยั่งยืน (sustainability)

การบริหารจัดการองค์กรควรมี drive change โดย key success ในการบริหารจัดการองค์กร ควรมี Vision, Communication, Action plan, Skill, Incentive และ Tool ที่ดี

วันที่ 1 กรกฏาคม 2560

ให้เชื่อว่าเราเป็นได้มากกว่า, ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่เราเป็น แล้วเราจะทำงานได้ดี

Event (E) + Response (R) = Outcome (O) ในชีวิตให้ focus ที่ outcome โดย event คือสถานการณ์รอบด้านที่ควบคุมไม่ได้ และ Response คือเราจะทำอย่างไรให้ได้ outcome ที่ต้องการ

แต่ละวินาทีมีสิ่งเข้ามากระทบเราประมาณสองล้านเรื่อง แต่สมองของเราจะรับและคัดมาแค่ 134 เรื่องเท่านั้น

หากเปรียบชีวิตเป็นไพ่ 3 กอง หากเราทำสิ่งที่ดี แล้วรู้สึกดีเสมอ ให้ทำต่อไป และถือว่าเป็นไพ่กองที่หนึ่งซึ่งจะกลายเป็นตัวตนของเรา กองที่สองเป็นเป็นสิ่งที่เราทำเป็นบางครั้งบางคราว บางครั้งก็ไม่ทำ กองที่สามเป็นไพ่ที่เราคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกไม่ดี จึงทิ้งไปและไม่คิดจะทำอีกเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท