นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

PLC รูปแบบการนิเทศ " เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" สู่การปฏิบัติ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1


บันทึกนี้ อาจจะเป็นบันทึกสุดท้าย ที่เป็นภาพการขับเคลื่อน ของตัวดิฉัน ในบทบาทศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 สถานะใหม่ ที่กำลังจะไปข้างหน้าง คือ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ ...

บันทึก วันที่ 2 มิถุนายน 2560

1. ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2560 สพป.กส.1 PLC รูปแบบการนิเทศการศึกษาสู่การปฏิบัติ การทำ PLC ต่อเนื่องจากปัญหาที่กลุ่มนิเทศ เคย PLC กันที่ศูนย์ศึกษาลำปาว เคยคุยกันไว้ในที่นี่ โดยสรุปก็คือ สาเหตุปัญหาอุปสรรคที่เกิดขั้นจากการนิเทศ ที่ต้องได้รับการแก้ไข คือ ประสิทธิภาพของการนิเทศ และ พวกเราตกลงและเลือก ที่จะใช้ รูปแบบการนิเทศ ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ได้มอบหมายให้กลุ่มนิเทศ สพป.กส. 1 พัฒนาขึ้น คือ “การนิเทศแบบ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”


2. ประเด็นที่จะพูดคุย / เป้าหมาย คือ ศึกษานิเทศก์ จะนำ รูปแบบ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา สู่การปฏิบัติอย่างไร

  • เริ่มจากการเปิดประเด็น เรื่อง ที่เป็นปัญหาเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ คือ รายงานผลการนิเทศของศึกษานิเทศก์แต่ละคนหลังจากสิ้นปีการศึกษา คือ ประเด็นการรายงานที่มีความยืดหยุ่นมาก (วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินกิจกรรม ผลที่เกิดขึ้น) ทำให้การวิเคราะห์ผลการนิเทศ ที่เกิดจากการรายงาน ของ ศึกษานิเทศก์ (18 คน) หลายกหลายมาก จนไม่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ กระบวนการที่เกิดจากการทำงานที่เป็น ปัญหา อุปสรรค จุดดี จุดเด่น ที่ส่งผลต่อ ข้อมูลในการพัฒนาการนิเทศ ในปีต่อ ๆ ไป อย่างมีประสิทธิภาพ มีการอภิปราย นำเสนอกันอย่างกว้างขวางมาก สุดท้าย มีข้อสรุปที่เกิดขึ้นว่า

ประเด็นการรายงาน ควรรายงานตามกระบวนการพัฒนาแบบเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ที่พวกเรากำลังจะร่วมกัน คลี่ แนวทางสู่การปฏิบัติ

ดาวน์โหลด เอกสารฉบับเต็ม ที่นี่....

ภาพ กระบวนการนิเทศ 7 ขั้นตอน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามกรอบต่อไปนี้ เราจะคลี่เพื่อให้เห็นภาพการนำสู่การปฏิบัติอย่างไร

เมื่อจะแปลง แนวคิดสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน และ ขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหา ตามโจทย์ คือ การใช้กระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนา / แก้ปัญหา ในการขับเคลื่อนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จะมีวิธีการทำอย่างไร พวกเราได้ร่วมกันอภิปรายทุกคน และนำเสนอด้วยแง่มุม และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน สุดท้าย ได้ข้อสรุปที่เป็นขั้นตอนการทำงาน ดังนี้


ระยะเวลา การปฏิบัติ ร่องรอยหลักฐาน
มิถุนายน
การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
การเลือกโรงเรียนของศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มเครือข่าย อาจจะ เลือกทุกโรงเรียน หรือ โรงเรียนเป้าหมายเฉพาะ 1-2 เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. อาจจะเลือกจากโรงเรียนที่เป็นปัญหาที่สุด หรือ โรงเรียนที่ผู้บริหารเปิดใจ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
2. แจ้งในที่ประชุม กลุ่มเครือข่าย เพื่อให้ ผู้บริหาร โรงเรียนรับทราบเข้าใจ นโยบายต่างๆ และให้ผู้บริหารสะท้อนว่าต้องการแก้ไข อะไรบ้าง และเลือก
3. ใช้กระบวนการ AAR , PLC ในทุกโรงเรียน เพื่อทราบ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และ เลือก
ขั้นตอนการนิเทศ 7 ขั้นตอน
- Logbook
- แบบบันทึกการ PLC
- ข้อมูลสรุป ที่เกี่ยวข้องกับ NT ONET SAR , การเยี่ยมชั้นเรียน

มิถุนายน













ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้ทราบสภาพบริบท ศึกษานิเทศก์ ควรมีการ วิเคราะห์ รวบรวม จาก เอกสาร และกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
1. ศึกษา ทําความเข้าใจนโยบาย เป้าหมาย ของกระทรวง ศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขต พื้นที่การศึกษา
2. วิเคราะห์ข้อมูลผลการสอบ ระดับชาติ NT ,ONET ของทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ตนเองรับผิดชอบ
3. ศึกษา SAR ของโรงเรียน , ข้อมูลจากรายงานการนิเทศกลุ่มเครือข่าย
4. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวของ เกี่ยวกับ สภาพปัจจุบัน ปัญหา เช่น การอ่าน การเขียน ผลสัมฤทธิ์ ข้อมูลระบบดูแล ยาเสพติด เด็กพิเศษเรียนร่วม หรือ อื่นๆ
5. ใช้กระบวนการเยี่ยมชั้นเรียน , สังเกตชั้นเรียน เพื่อให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง เกี่ยวกับ ตัวครู ตัวนักเรียน กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการนิเทศภายใน



Logbook แบบบันทึก
กรกฏาคม ขั้นตอนที่ 2 รู้ชัดปัญหา
ใช้กระบวนการ AAR , PLC ร่วมกับทางโรงเรียน (ควรมีศึกษานิเทศก์ ไปหลายๆ ท่าน) โดยมี
ประเด็นในการ AAR
a. ผลการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร ปัญหามีอะไรบ้าง
b. สาเหตุ คืออะไร
c. เราจะแก้ปัญหาอย่างไร
(อาจจะทำหลายครั้งได้)


Logbook แบบบันทึก
กรกฏาคม
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมาย
เลือกปัญหา ร่วมกัน เป้าหมายที่จะแก้ปัญหา Vision

Logbook
แบบบันทึก

กรกฏาคม
ขั้นตอนที่ 4 วางแผนออกแบบ
ร่วมมือกับโรงเรียนด้วยกระบวนการ PLC เพื่อกำหนดกระบวนการทำงาน และการขับเคลื่อน เพื่อแก้ปัญหาในโรงเรียน ซึ่งแนวทางที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น
- ศึกษาดูงาน - พัฒนาความรู้ อบรม - ศึกษาด้วยตัวเอง ฯลฯ

ไทม์ไลน์การนิเทศการศึกษา
Logbook
แบบบันทึก

สิงหาคม -กุมภาพันธ์
ขั้นตอนที่ 5 ลงมือปฏิบัติ
ในขั้นตอนนี้ บทบาทของศึกษานิเทศก์ เป็นผู้เอื้ออำนวยการ ให้ความสะดวก และสนับสนุนโรงเรียน ให้สามารถดำเนินการตามแผน โรงเรียน ที่ได้ออกแบบไว้ เช่น นิเทศ ติดตาม
สนับสนุนงบประมาณ Coaching mentoring สังเกตชั้นเรียน

Logbook
แบบบันทึก
แบบสังเกตชั้นเรียน
เครื่องมือฯ ตามโครงการ

สิงหาคม – กุมภาพันธ์
ขั้นตอนที่ 6 นำสะท้อนผล
ใช้กระบวนการ KM – BAR , DAR , AAR ในช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น ก่อนการพัฒนา , ระหว่างการพัฒนา และหลังการพัฒนา โดยมีประเด็นในการทำ KM คือ
- ทำอะไร
- ผลเป็นอย่างไร
- ปัญหาอุปสรรค / ข้อเสนอแนะ
ในขั้นตอนนี้ ควรทำบ่อยๆ และหลายๆ ครั้ง

Logbook
แบบบันทึก

ตุลาคม และ
มีนาคม
ขั้นตอนที่ 7 ดลใจพัฒนาให้ยั่งยืน
ศึึกษานิเทศก์ ต้องสร้างโอกาส จูงใจ ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งอาจจะดำเนินการได้ ดังนี้
- Show และ Share
- ใช้ social network g เช่น ไลน์ facebook , gotoknow
- เกียรติบัตร รางวัล
- นิเทศให้ต่อเนื่อง ในขั้นตอนนี้ จะมีการ รายงานผล 2 ครั้ง คือ ในช่วงประมาณ สิ้นภาคเรียนที่ 1 และ 2
ชิ้นงาน ผลงาน รางวัลรายงานผลการพัฒนา ฯลฯ


โดยสรุป พวกเราได้ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนมาก และแบ่งกันทำหน้าที่ ในการสร้างเครื่องมืออย่างชัดเจน และมอบให้ ทีมที่ทำเครื่องมือในการนิเทศตามรูปแบบ ไปสร้างแบบนิเทศ ที่เป็นกลางๆ เพื่อให้มีการนำไปใช้

  1. Logbook
  2. แบบบันทึกการ PLC
  3. แบบสังเกตชั้นเรียน
  4. เครื่องมือฯ ตามโครงการ
  5. ไทม์ไลน์การนิเทศการศึกษา

    บันทึกนี้ อาจจะเป็นบันทึกสุดท้าย ที่เป็นภาพการขับเคลื่อน ของตัวดิฉัน ในบทบาทศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1

    สถานะใหม่ ที่กำลังจะไปข้างหน้าง คือ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ ...

    ภูมิใจเพื่อนร่วมงาน ทุกคนค่ะ


หมายเลขบันทึก: 629169เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2017 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2017 07:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท