​ปฏิรูปตำรวจ : ยังมีหวังอยู่ ? โดย วสิษฐ เดชกุญชร


ปฏิรูปตำรวจ : ยังมีหวังอยู่ ? โดย วสิษฐ เดชกุญชร

ผมนึกว่าในชีวิตนี้คงไม่มีโอกาสได้เห็นการปฏิรูปตำรวจแล้ว แม้ว่าจะ มีการบัญญัติเรื่องปฏิรูปตำรวจไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดเงื่อน เวลาเอาไว้ด้วยว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายในหนึ่งปีก็ตาม ที่ผมนึกว่าจะไม่ได้ เห็นก็เพราะผมรู้ว่าการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญต้องมีหลายขั้นตอน และ ผู้ไม่ต้องการจะให้เกิดการปฏิรูปตำรวจก็ยังอาจใช้อุบายประวิงหรือพลิก

แพลงให้เนิ่นช้าออกไปได้จนกระทั่งไม่สำเร็จ

แต่เมืื่อผมเห็นข่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปรารภ เมื่อวันอังคารที่ผ่านไป (23 พฤษภาคม 2560) ถึงแนวทางการปฏิรูปตำรวจ ผมก็กลับมีหวังขึ้นมาอีก

นายกรัฐมนตรีปรารภว่าอยากจะให้ตำรวจเป็นตำรวจพื้นที่ โดยไปอยู่ ในพื้นที่ของจังหวัด และไปอยู่ในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จังหวัด และต้องมีความชัดเจนในเรื่องสายการบังคับบัญชาและวิธีการ ปฏิบัติงาน และการที่จะทำให้ตำรวจมีความสามารถมากขึ้น จะต้องกระจาย อำนาจออกไป ส่วนเรื่องการสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดีถือเป็นจุด เริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรม ถ้าจบภายในจังหวัดได้ก็จะช่วยผู้ว่าราช การจังหวัดลดปัญหาที่จะเข้ามาส่วนกลาง

คำปรารภของนายกรัฐมนตรีแสดงว่าท่านตระหนักในปัญหาของ ตำรวจโดยเฉพาะในด้านโครงสร้างซึ่งกระทบถึงกระบวนการยุติธรรมทั้ง ระบบ นายกรัฐมนตรีคงเห็นแล้วว่า ในปัจจุบันนี้การที่โครงสร้างของ สำนักงานตำรวจเป็นแบบที่รวมศูนย์เอาไว้ที่ส่วนกลางนั้นทำให้ตำรวจไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องกระจายอำนาจออกไปยังจังหวัด

โครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันนั้นเทอทะและ สายการบังคับบัญชายาวโดยไม่มีเหตุผล คณะกรรมการพัฒนาระบบงาน ตำรวจที่ตั้งขึ้นในสมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.2549 ได้เสนอให้กระจายอำนาจลงไปยังส่วนภูมิภาค ให้ยกฐานะ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคขึ้นเป็นอธิบดีตำรวจภูธรภาค และให้ทอน อำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติลงให้เหลือเสมือนเป็นปลัดกระ ทรวง โดยมิให้มีอำนาจก้าวก่ายกับงานระดับปฏิบัติการ หรืองานบริหาร ภายในของตำรวจภูธรภาค ตำรวจนครบาล หรือกองบัญชาการได้

ที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ คณะกรรมการพัฒนาระบบงาน ตำรวจได้เสนอให้มีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับตำรวจขึ้น โดยเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือส่วนราชการอื่นใด และให้คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับ ตำรวจ รวมทั้งการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และหากพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นความจริงก็ให้คณะกรรมการแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือพนักงานสอบสวน หรือผู้บังคับบัญชา ทราบเพื่อดำเนินการต่อไป

การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจได้กระทำ โดยพิสดารจนถึงขั้นร่างเป็นกฎหมายและเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ช้าเกินไปเพราะสภาถูกยุบเสียก่อน การปฏิรูป ตำรวจจึงเป็นแต่เพียงฝันค้างมาจนถึงบัดนี้

ถ้าหากว่านายกรัฐมนตรีตั้งใจที่จะปฏิรูปตำรวจจริง ๆ ผมก็เห็นว่า จำเป็นที่นายกรัฐมนตรีจะต้องใช้อำนาจ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ บันดาลให้เกิดการปฏิรูปตามแนวทางที่ท่านปรารถนา แต่ถ้าหากปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ คณะกรรมการหรือ อนุกรรมการชุดใดก็ตามพิจารณาเรื่องปฏิรูปตำรวจ ผมก็เชื่อว่าคงไม่สำเร็จ เพราะความอืดอาดล่าช้าในการพิจารณาแบบคณะกรรมการ

และการปฏิรูปตำรวจก็คงจะเป็นเพียงความฝันต่อไปอีก.

หมายเลขบันทึก: 629164เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2017 05:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2017 05:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท