นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึก การพัฒนาศึกษานิเทศก์ ด้วยกระบวนการ PLC : ศึกษานิเทศก์ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1


ดิฉันพอใจกับการทำกิจกรรม PLC มาก ส่วนหนึ่งที่คิดว่าประสบผลสำเร็จ คือ ศึกษานิเทศก์ (บางส่วน) เข้าใจแนวคิดเป้าหมาย ของการทำ PLC และ มีความมั่นใจที่จะไปนิเทศ ในเรื่องนี้ ..แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สะท้อนเกี่ยวกับปัญหาของการนิเทศการศึกษา ดิฉันก็แค่มีความหวังงว่า สักวัน ..คงจะมีใคร ขับเคลื่อนต่อ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การนิเทศการศึกษา

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 เรามีวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มานาน แสนนาน เป็นประจำ ทุกคนมักจะมีเรื่องราวมาแชร์ประสบการณ์การทำงาน อยู่ทุกปี ถึงแม้จะไม่บ่อย แต่พวกเราก็ทำตลอด

เมื่อมีนโยบาย PLC ประเด็นก็คือ "ทำอย่างไร ศึกษานิเทศก์ทุกคน จะเป็นพี่เลี้ยง ในวันอบรมที่พวกเราออกแบบไว้อย่างเลิศหรูได้" ดิฉันได้จำลองสถานการณ์ การอบรมในวันนั้น มาให้ ศึกษานิเทศก์ได้ลองเวิรก์ชอปก่อน ตามกระบวนการ PLC แต่เป็นปัญหาของศึกษานิเทศก์จริงๆ

คำถาม " ศึกษานิเทศก์มีปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอนอย่างไร เราจะหาวิธีการแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร "


กลุ่มที่ 1


เมื่อพวกเราไปนิเทศ เราพบปัญหามากมาย โดยสรุปๆ คือ การเข้าไม่ถึงครู ผู้บริหารและโรงเรียน ทำให้การนิเทศ สะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง และ เมื่อเราไปพบปัญหาที่เกิดกับโรงเรียน ก็ไม่รู้วิธีการที่จะไปจัดการ และ แก้ปัญหา เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนได้


กลุ่มที่ 1 เลือกปัญหา คือ ทักษะและการนิเทศของศึกษานิเทศก์ขาดประสิทธิภาพ โดยเรานิยามสาเหตุ ว่า เกิดจากตัวศึกษานิเทศก์ และ ร่วมกันอภิปรายว่า ควรจะใช้กระบวนการนิเทศ ตามแนวพระราชดำริ ร.9 ที่ ศธจ.กาฬสินธุ์ ได้พัฒนาขึ้น คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา , กระบวนการ PLC และการ สังเกตชั้นเรียน

กลุ่มที่ 2


กลุ่มที่ 2 ได้เล่าถึงสภาพที่ไปพบเห็นที่โรงเรียน ซึ่งมีปัญหามากมาย ที่สะท้อนถึงระบบการนิเทศภายใน ที่ขาดประสิทธิภาพ ปัญหาครูผู้สอน ปัญหาพฤติกรรมนักเรียน และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน



กลุ่มที่ 2 เลือกปัญหา โรงเรียนขาดระบบการนิเทศภายใน (โดยผู้บริหารโรงเรียนไม่เข้มแข็ง) และ วิธีการที่ศึกษานิเทศก์ จะนำไปแก้ปัญหา คือ ควรจะใช้กระบวนการนิเทศ ตามแนวพระราชดำริ ร.9 ที่ ศธจ.กาฬสินธุ์ ได้พัฒนาขึ้น คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 7 ขั้นตอน

ทั้งสองกลุ่ม เลือกปัญหาต่างกัน แต่วิธีการแก้ปัญหา กลับเลือกใช้กระบวนการเดียวกัน คือ กระบวนการนิเทศ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 7 ขั้นตอนรูปแบบการนิเทศ เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา ได้มาจากการประยุกต์ใช้หลักการ ตามแนวพระราชดำรัสในการจัดการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้แนวทางพระราชดำรัส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้ใช้แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาใช้ในการศึกษา โดย วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน ออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ ดาวน์โหลด เอกสารฉบับเต็ม ที่นี่




กิจกรรมที่ 2 เราจะออกแบบ logbook อย่างไร

ในอนาคต การพัฒนาครู จะอยู่ที่หน้างานด้วยกระบวนการ PLC + และต้องมีการบันทึกการทำงาน logbook

วิทยากรได้ให้ concept หลังจากนั้นได้ให้ ศน.ทั้งสองกลุ่ม ออกแบบ logbook การทำงาน ของครู และ ศึกษานิเทศก์ โดยใช้กระบวนการ PLC


กลุ่มที่ 1

กลุ่มที่ 1 มีการทำ PLC อย่างเข้มข้น มีบันทึกการ PLC และ ได้หน้าตา logbook ของศึกษานิเทศก์ ที่ต้องจดบันทึก การทำงาน เป็นอย่างนี้



กลุ่มนี้ มีการจดบันทึก การแชร์ประสบการณ์



หน้าตา logbook ของศึกษานิเทศก์


กลุ่มที่ 2

สำหรับกลุ่มนี้ บอกให้แต่ละคน คิดร่าง logbook ของโรงเรียน และครู ออกแบบร่างๆ ไว้ แล้วค่อยมา PLC กัน






สุดท้ายกลุ่มที่ 2 ก็ไม่ได้กลับมา PLC กันเพราะหมดเวลา


พวกเราไม่มีเวลาสรุปกัน เพราะมีเรื่องที่จะแชร์กันต่อ แต่จากการวิเคราะห์พบว่า พวกเราออกแบบได้ใกล้เคียงกันมากๆ โดยหลักๆคือ จะประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

1. วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย ...ในการทำกิจกรรมในครั้งนั้นๆ

2. วิธีดำเนินการ .. ทำอย่างไร มีวิธีคิดอย่างไร อธิบาย

3. ผลเป็นอย่างไร ... ผลที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

4. ความรู้สึก.. เป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีต่อเรื่องที่ทำ

5. ส่วนอื่นๆ เช่น วัน เวลา สถานที่ .ครั้งที่ .การรับรองของ ผู้บังคับบัญชา ผู้เข้าร่วมประชุม ฯลฯ


โดยสรุป ดิฉันพอใจกับการทำกิจกรรม PLC มาก ส่วนหนึ่งที่คิดว่าประสบผลสำเร็จ คือ ศึกษานิเทศก์ (บางส่วน) เข้าใจแนวคิดเป้าหมาย ของการทำ PLC และ มีความมั่นใจที่จะไปนิเทศ ในเรื่องนี้ ..แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สะท้อนเกี่ยวกับปัญหาของการนิเทศการศึกษา ดิฉันก็แค่มีความหวังว่า สักวัน ..พวกเรา หรือ ใครสักคน ควรขับเคลื่อน และสานต่อ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การนิเทศการศึกษา




แถมด้วยคลิป เล่นกัน ขำๆ ค่ะ


เต้ย PLC เนื้อเพลง เครดิต ครูดำเกิง มาปรับแก้ นิดหน่อยค่ะ



หมายเลขบันทึก: 628799เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2017 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2017 04:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท