โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 7: ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล็อก

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 7: ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2560) ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย ประกอบด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และคณะพันธมิตรที่เป็นเครือข่าย 6 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1


กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560


วันที่ 29 พฤษภาคม 2560

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

Panel Discussion & Workshop


หัวข้อPassion & Engagement


โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์


อาจารย์รณกฤต สิทธิพรหม


เทรนเนอร์ด้านการนำเสนอเพื่อเปลี่ยนชีวิต


อุปนายกสมาคมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อธุรกิจท่องเที่ยว

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เอา Passion ไปตอบโจทย์ Happiness at work ถ้า Passion เป็น Independent ไปตอบโจทย์ Happiness ได้อย่างไร

Passion เป็นได้ทั้งบวกและลบ แต่จะใช้ Passion ให้เป็น Positive และส่งผลต่อ Engagement ได้อย่างไร

Passion

1. ค้นพบตัวเองว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการคืออะไร

ได้ยกตัวอย่างที่ ดร.จีระ กล่าวว่า ดร.ป๋วย ได้ขอกับคุณสุนทร หงส์ลดารมภ์ ให้เป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ดร.จีระ ได้ไปเรียนปริญญาเอกที่เมืองนอกซึ่งใช้เวลาถึง 5 ปี แต่ที่ผ่านมาได้เพราะ Passion

2. Passion is nothing to do with the job, you have to love what to do and crazy.

3. ปัญหาของเมืองไทยคือช่วงเด็ก ๆ ถูกสกัดกั้นจากค่านิยมของคนไทย ที่จำกัด ควรให้เขาค้นพบสิ่งที่ชอบและทำเพื่อตัวเอง

4. ชอบอะไรก็ตามต้องทำสิ่งนั้นให้เป็นเลิศด้วย คือ Passion ต้องมี Ability to deliver ด้วย

5. ทำอะไรที่ซับซ้อนให้ดูง่าย

6. เรียนรู้ร่วมกัน แล้วให้ทำอย่างต่อเนื่อง

7. Passion ในการทำงาน กับ Passion ต้องไม่ขัดแย้งกัน

8. สรุปคือ Passion ไม่ใช่มาทำงานในแต่ละวัน แต่ให้ถามว่าจะทำอะไรให้ดีที่สุด จะทำอะไรให้สำเร็จ

9. ยกตัวอย่างเช่น ก่อนไปทำงานจะตั้งเป้าหมายว่าจะทำอะไรในวันนี้ ซึ่งถ้าเราคิดแบบนี้ได้จะแก้ปัญหาได้ ในแต่ละวันต้องทำให้งานของเราดีขึ้นเรื่อย ๆ

10. Passion เป็นสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องและ Work at it . ยกตัวอย่างการค้นพบอะไรเสมอเนื่องจากชอบในสิ่งที่เขาทำ

11. Passion ที่ดีต้องมี Positive feedback ให้มอง Feedback ที่เกิดขึ้นในอนาคต

12. ยกตัวอย่าง Passion ของ ดร.จีระ เป็นเป้าหมาย ไม่ได้งาน คิดว่าทุกวินาที่ที่ทำจะพัฒนา Human Capital in Thailand

13. Passion เป็นส่วนหนึ่งของทุนแห่งความสุข

Concept ทุนแห่งความสุข

1. แนวคิดทุนแห่งความสุขเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทุนมนุษย์

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capitalทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข

Social Capitalทุนทางสังคม

Sustainability Capitalทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capitalทุนทาง IT

Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ในทฤษฎี 8K’s ของ ดร.จีระ Happiness Capital ได้มาจากตัวดร.จีระเองที่ทำงานมาก แต่ขาดความสุขในการทำงาน จนกระทั่งช่วง 10 ปีที่แล้วผมจึงได้วิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุขเป็นทุนที่สำคัญของทุกคน

2. ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)” กับ “Happy Workplace” ซึ่งในการสำรวจวรรณกรรม 95% เน้น Happy Workplace ซึ่งหมายความว่า Unit of Analysis จะเป็นองค์กร คือ CEO+HR สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข แต่ Happiness Capital คือ ส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน

3. เพื่อให้เกิด Outcome หรือ Impact ต่อองค์กร การมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้นำต้องทำให้เขามีบรรยากาศในการทำงานแบบ Happy Workplace ด้วย ก็จะเกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ ++” แต่ก็ยังมีสถานการณ์แบบที่ 2 คือ มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่ไม่ใช่ Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ +-” ซึ่งก็จะทำให้ Impact ที่ได้น้อยลงและสถานการณ์แบบที่ 3 คือไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่องค์กรพยายามสร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ -+” ซึ่งก็ทำให้ Impact ที่ได้น้อยลงเช่นกันและสถานการณ์แบบสุดท้ายซึ่งแย่ที่สุด คือ ไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานและองค์กรก็ไม่สร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ --” ซึ่งก็ทำให้เกิด Impact ด้านลบมากมาย

4. ปัจจุบันมีการนำเอาแนวคิดของผมไปทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมากขึ้น โดยให้ Human Capital เป็นตัวแปรตาม (Dependence Variable) ซึ่งต้องหาปัจจัยที่ทำให้ทุนแห่งความสุขสูงขึ้น เช่น ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน

กฎ 11 ข้อของ ดร.จีระ

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

ซึ่งถ้าจะมีการวิจัยก็ต้องสำรวจ ทำ Questionnaires ขึ้นมา ดร.จีระ ได้เขียนแนวทางการสร้างทุนแห่งความสุข (แสดง 2 ตาราง)

ตารางหนึ่งเป็นวิธีคิดจากประสบการณ์ของดร.จีระในช่วงเวลากว่า 30 ปี (กฎ 11ข้อของ ดร.จีระ) และอีกตารางหนึ่งท่านได้ปรับปรุงจากแนวคิดของ Dr.Timothy Sharp นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลียที่สนใจเรื่องความสุข หรือ Happiness ผู้เขียนหนังสือ เรื่อง 100 Ways to Happiness. (A guide for busy people)

Happiness Capital (Sharp/Hongladarom’s Model)

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise)

2. อย่าแบกงานที่หนักเกินไป (Put down your burden)

3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน (Communicate Effectively)

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง (Recognize your strengths)

5. มุ่งมั่นในงาน (Keep Focus)

6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ(Reduce the ‘shoulds’)

7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน (Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล (Overcome worry and stress)

9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง (Refine your workload)

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your words)

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน (Create good environment)

ส่วนงานวิจัยอีกแนวหนึ่งก็จะทำให้ Happiness Capital เป็นตัวแปรอิสระ เพื่อวัด Outcome ขององค์กร ซึ่งเทรนด์ล่าสุด คือ การวัด 3 V ประกอบด้วย

  • Value added
  • Value Creation
  • Value Diversity

ในทางสถิติสิ่งที่ยากที่สุด คือ จะวัด Happiness Capital ได้อย่างไร? พบว่า ให้มีการ Rank ออกมาเป็นคะแนน 0 – 10 หรือ 0 – 5 แล้ว เอาค่าเฉลี่ยขององค์กร หรือ ตัวบุคคลมาวิเคราะห์ Productivity ว่ามีความสัมพันธ์ทางสถิติหรือไม่?

ทฤษฎี HRDS

เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุขและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

  • Happiness
  • Respect
  • Dignity
  • Sustainability

ทฤษฎี 8 H ของคุณหญิงทิพาวดี..ก็เน้นความสุข

  • Heritage
  • Home
  • Hand
  • Head
  • Heart
  • Happiness
  • Harmony
  • Health

ดร.จีระได้ไปอ่านหนังสือ Tal Ben-Shahar เขาทิ้งประเด็นไว้ดีมาก การทำงานที่เน้นทุนแห่งความสุขไว้ 3 - 4 เรื่อง

ทุนความสุข เกิดจากงานที่ทำใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่

งานที่ทำ อย่าให้ทำเป็นท่อน ๆ ให้เข้าใจ Process ตลอด

งานที่ทำต้องมี Impact ต่อคนอื่น

และสุดท้าย..การทำงานอย่างมีความสุขต้องถามตัวเองว่า เวลาทำงานต้องการเน้นเรื่องอะไร?

Job/Career/Calling

การทำงานอย่างมีความสุข คือ ต้อง Calling แปลว่า เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา เราจะทำสุดฝีมือ ทิ้งมรดกที่ดีไว้ แต่แค่เป็น Job หรืออาชีพเราก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

ทุนแห่งความสุข คือ สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนควรจะมี ถ้ายังไม่มีก็จะไม่มีทุน ซึ่งต้องสร้างขึ้นมา วันนี้เราคงจะต้องมองไปอีก 2 เรื่อง คือ มีไปทำไม นอกจากพูดกว้างว่า Happiness Capital สร้าง Performance แค่นี้คงง่ายเกินไป

ดร.จีระ ได้ไปค้นหา web ของคุณAlexander Kjerulf ซึ่งมีตำแหน่งใหม่ CHO หรือ Chief Happiness Officer ซึ่งก็เป็นตำแหน่งที่น่าสนใจ ซึ่งเขียนหนังสือ Happy Hour is 9 to 5

คุณ Kjerulf เน้น 10 เรื่องว่า Happiness Capital ช่วยอะไรได้บ้าง?

ประโยชน์ 10 ข้อของการมีทุนแห่งความสุข

  • ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด
  • ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น อันนี้ผมเห็นด้วย ผมชอบแนวคิดนี้ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย
  • ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง
  • มองโลกในแง่ดี (Optimism)
  • มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น
  • ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า
  • ไม่ค่อยจะป่วย..เป็นโน่นเป็นนี่บ่อย ๆ
  • สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข
  • มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทำ
  • ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

สรุป

Happiness Workers จำเป็นจะต้องอยู่ในบรรยากาศการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด

ดังนั้น ตัวละคร 3 กลุ่ม ต้องมีความสามารถและจะต้องทำงานร่วมกันกลุ่มแรก คือ CEO – ต้องเป็นคนที่มีความสุขด้วยไม่ใช่เป็น “Unhappy CEO” ก็คงไม่มีใครอยากทำงานด้วย แต่มี “Happy CEO” ก็ไม่พอต้องมี “Smart and Happy CEO” คือ รู้จักใช้ศักยภาพของเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่ เช่น

  • มอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย)
  • ลดการขัดแย้งในองค์กร
  • ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้

อาจารย์รณกฤต สิทธิพรหม

1. ทำในสิ่งที่แตกต่าง

- ทฤษฎีและการทำเป็นคือใช้ความกล้า และความสม่ำเสมอ

ทำไมถึงไม่ Passion and Engagement

1. วิธีคิด

- สามารถทำสิ่งที่ดีก็ได้และทำลายล้างได้เช่นกัน อย่างเช่น เครื่องบินเกิดจากอะไร Passion คือวิธีคิด

2. ไม่เข้าใจของสิ่งที่คิด และสิ่งที่ทำ

3. ไม่ให้กำลังใจกัน

4. มีนิสัยต่างคนต่างอยู่

5. ไม่เข้าใจคน

6. มีปัญหาชีวิตส่วนตัว

วิธีที่แก้ไม่ได้แต่จัดการได้

1. เลิกดราม่า

2. ไดโนเสาร์สูญพันธ์เพราะไม่ปรับตัว

3. เราจะเรียนอย่างไรเป็นแบบนั้น

ที่มาของวิธีคิด

1. ครอบครัว

2. การศึกษา

3. สิ่งแวดล้อม

– ก่อนจะสอนเขาต้องเป็นพวกกับเขาก่อน เช่นจะเริ่มเรียนอะไรกับใครเขาต้องยอมรับก่อน

4. วัฒนธรรม

5. กรรมเก่า

- ความซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ใช้เวลานานอยู่กับมัน

ที่มาของวิธีคิด

1. ผัสสะจาก หู ตา จมูก ปาก สัมผัส ใจผ่านจิตสำนึก และเกิด Action

2. ผัสสะถ้าทำซ้ำบ่อย ๆ จะเกิดเป็นนิสัย ดังนั้น Love & Passion ถ้าทำซ้ำ ๆ

- สมองมีหน้าที่เห็นแก่ตัว แต่ Passion & Inspiration เป็นเรื่องที่เหนือสมอง

- การเชื่อที่เห็นอย่างเดียวอาจทำให้เราโดนหลอกได้ ดังนั้นอย่าเพิ่งตัดสินสิ่งที่เห็นอันดับแรกหรือประเมินจากภายนอก

- ปล่อยวางและลงมือทำ

แสดงความคิดเห็น สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. เริ่มต้นที่ทำอะไรแปลกไปจะเริ่มกลัว

2. อย่าประเมินที่ภายนอก ให้โอกาสที่เขาก่อนว่าทำได้ไหม

กิจกรรม ให้แชร์ความรู้กับเพื่อนในกลุ่มว่าได้อะไรบ้าง

Passion and Engagement Building

ตัวบ่งชี้ ที่จะทำให้เกิด Engage ในองค์กรหรือไม่เป็นอย่างไร

1. To be respected จงให้ความเคารพเขา

- คำที่ Respect มาก ๆ แล้วคนฟังรู้สึกใช่เลยคือ คำขอบคุณ และคำขอโทษ

- วิธีการเอาชนะคนเลียแพล๊บ ๆ ทำอย่างไร

คนเลียแพล๊บ ส่วนใหญ่ จะซื้อของให้ และปากหวาน วิธีคือ ให้เอาความเก่งมาใช้ แล้วเลียนแบบคนที่เลียแพล๊บ จะดีทั้ง 2 อย่าง เรียกว่า Respect

กิจกรรม ชมแบบ Respect 3 อย่างใน 5 วินาที

- รู้จักชื่อ

- ชมสิ่งที่ดีของเขา

กิจกรรม 1. ให้นึกถึงคนที่ขอบคุณ แล้วไปหาเขา

2. คำขอโทษ ให้เขียนคนที่จะขอโทษเขา

การแสดงความรู้สึกในกิจกรรม

การกล่าวขอบคุณไม่ยาก แต่การกล่าวขอโทษอาจต้องเรียบเรียงนิดนึง แต่เมื่อขอโทษไปแล้วจะรู้สึกสบายใจ สัมพันธภาพจะรู้สึกรักกันมากขึ้น

2. To Learn & Grow

เรียนรู้เพื่อเติบโต และต้องมีการเจริญเติบโตได้

เริ่มต้นจากการสร้างเป้าหมาย

คำถามสร้างเป้าหมาย

1. คุณต้องการอะไร (ชัดเจนคือพลัง)

2. ทำไมคุณต้องการมัน – ไปถึงตรงนั้นจะรู้สึกอย่างไร (เลยคำว่าเหตุผล)

3. เป้าหมายของคุณมีประโยชน์กับผู้คนอย่างไร

เข้าใจคน

ความเข้าใจสามารถขจัดความกลัว ความขี้หงุดหงิด

1.กระทิง – คนที่เป็นลักษณะสู้ชีวิต พูดตรง มีเป้าหมายพุ่งชน ข้อเสีย คือใจร้อน โกรธ

ทางแก้ไขคือ มีเมตตาให้มากขึ้น ใช้ตัววางแผนของอินทรีย์ และระบบของหมี

2.หนู – คนที่รักทุกคน ข้อเสียคือขี้กลัว ไม่ลงมือทำ พูดอย่างเดียว อาจถูกเลี้ยงไม่ให้เผชิญกับเรื่องจริง

ทางแก้ไขคือ ให้ลงมือทำ อย่าผัดผ่อน

3. หมี – ทุกอย่างต้องปลอดภัย มี Check list ตลอด วิเคราะห์ เริ่มต้นจากภาพเล็กก่อน ข้อดีคือละเอียดรอบคอบ ข้อเสียคือไม่กล้าลงมือทำเพราะกลัวพลาด งานที่เหมาะสมเช่นงานระบบ

ทางแก้ไขคือ ลงมือทำ

4. อินทรีย์ – เป็นคนที่เห็นจากมุมสูง เป็นลักษณะผู้บริหาร มี Option เสมอ ชอบแต่งตัว ข้อดีคือ วางแผน ชัดเจน ตอบได้เป็นขั้นตอน ข้อเสียคือ ไม่รู้อะไรที่ทำได้จริง

ทางแก้ไขคือ ประหยัดเงิน

กิจกรรมประเมินตนเอง ก่อนรู้จักคนอื่นให้รู้จักตัวเองก่อนว่าเป็นใคร ให้ลองประเมินตัวเองว่าเป็นในสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์

สรุปคือ ให้วิเคราะห์คนในองค์กรมาก ๆ จะทำให้เข้าใจคนในองค์กรมากขึ้น และไม่โกรธ

3. To be an “Insider”

ทำอะไรก็ตามให้มีส่วนร่วม แล้วจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

4. To do Meaningful Work

งานมีคุณค่าอย่างไร งานทุกคนมีคุณค่า ถ้าไม่มีคุณค่าจะรู้สึกไม่อยากทำแม้ว่างานนั้นจะง่าย

A : ถ้าคุณ(ชื่อ)........ ต้องการให้ผมช่วยเรื่อง......เพราะฉันถนัดเรื่อง.....................

B: ขอบคุณมาก ครับ /ค่ะ แล้วผมจะจดจำไว้นะ คุณสุดยอดมาก

5. To be on a winning Team

สรุปแทนที่จะสร้างกำแพงให้สร้างสะพานก่อน –Mark Zuckerberg

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ให้แต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็น

1. พูดสิ่งที่ Combine ระหว่าง Passion – Happiness Capital – Engagement มาดูให้ลองเชื่อมแนวคิดของ 2 คนเข้ามาและ Combine อะไรบ้าง คล้าย ๆ Value Diversity

กลุ่ม 1 จากการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงคือการมองเรื่องการทำงานแบบมีความสุข มีการทำงานเป็นทีมเวอร์กที่ดี ทำงานอย่างมีความสุขได้ ทุกคนต้องมีความเข้าใจ เริ่มจากการให้ความรักเข้าใจเขา ต้องให้เกียรติ และชื่นชมในสิ่งที่ดีของเขา ดึงจุดเด่นเป็นพลังให้ทำต่อ สร้างให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน แล้วคนจะกำหนดวิธีการเพื่อไปถึงเป้าหมาย ต้องทำให้อาจารย์มีความชัดเจนในภูมิปัญญา และมีความสุขในการใช้ภูมิปัญญาได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Passion เป็นตัวทำให้เกิด Happiness Capital ทางสถิติ Passion เป็น Independent Variable ส่วน Happiness เป็น Dependent Variable คือถ้ามี Passion จะมีความสุขได้

ถ้าเราไม่ชอบงานที่ทำอยู่ งานอันนั้นจะไม่ Fulfill เรา แต่ถ้าเราชอบงานนั้นอยู่แล้วให้ไปหาแนวทางอย่างครูคิมได้เลย ประเด็นคือ Passion สำหรับคนในห้องนี้เป็น Passion จริงหรือไม่มีความหลงใหลในงานของเราหรือไม่ และถ้าไม่มีให้ใช้แนวของครูคิมเพิ่มขึ้นมา เพราะเราเลือกงานไม่ได้

Happy at work (เกิดจากตัวบุคคล) ต่างกับ Happy workplace (เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน)

ถ้ามีอะไรบางอย่างติดตัวเราไป สิ่งนั้นจะติดตัวไปเรื่อย ๆ และไม่แก่ ประเด็นคือ Passion ที่มีอยู่นั้นยัง Discover ไม่ได้เต็มที่

ข้อดีในห้องนี้มี Technical Skill แต่ต้องแยกแยะให้ออก

กลุ่ม 2 เรื่อง Passion ที่ Relevant to context เป้าหมายในวันพรุ่งนี้คือวันปิด ทำเพื่ออะไรมีพระปณิธานของพระบรมชนกว่าถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ 2 ก็ได้ Design งาน ให้มีการเติมเต็มซึ่งกันและกัน และรู้สึกว่าไอเดียที่เราทำเป็นสิ่งที่เติมเต็มกัน Teamwork แสดงให้เห็นถึงวันพรุ่งนี้ถึง เห็น Passion ถึงศักยภาพในองค์กร Teamwor

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องแยกแยะให้ได้ระหว่าง Passion กับ Quality Improvement มอง Passion เป็น Independent แล้วไปเกิด Happiness อย่างไร

กลุ่ม 3 Passion ที่ทำอย่างไรให้ตรงกับ Engagement ของเรา แล้วมี Grow กับเป้าหมายแล้วเกิดประโยชน์กับองค์รวมและองค์กรด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Passion ทำให้เกิด Happiness Capital แต่ถ้าทำงานแล้วงานไม่มีคุณค่าหรือความหมายต่อองค์กร Passion อาจไม่เกิด มี Engagement ก็อยากให้ทำงาน บ้าคลั่งงาน และมีคนวิเคราะห์ว่า Engagement ไปสู่ Happiness ด้วย

กลุ่ม 4 ตัวแปรต้น น่าจะมีหลายตัวคือ Passion และ Engagement ที่ทำให้เกิดตัวแปรตามคือ Happiness บางครั้งต้องเคลียร์หรือดูในส่วนที่ Overlap กัน

เป้าหมายที่มีเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลา เคยคิดว่าเป้าหมายชีวิตเพื่ออะไร เคยถามว่าเกิดมาเพื่ออะไร และอะไรที่เป็นเป้าหมายให้เรามีความสุข การทำให้คนอื่นมีความสุข ต้องตั้งเป้าหมายคือการให้ความรู้ทำให้คนมีความสุข ตั้งเป็นเป้าหมายของงานอย่างหนึ่งเช่นอยากให้คนมีสุขภาพช่องปากดี การเป็นอาจารย์ก็ส่วนหนึ่ง การเป็นสื่อ เป็นวิทยากรก็อีกทางหนึ่ง สิ่งที่เรียนรู้เพิ่มคือ การเป็นผู้บริหารทำอย่างไรให้คนมีเป้าหมายมี Passion ตรงนั้นเราต้องถามอะไรก่อนว่ามีเหตุผลอะไรในการมีชีวิต

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทำให้เกิด Performance ทั้งนักเรียน และอาจารย์ การมีเรื่อง Training ไม่พอ แต่ขึ้นกับว่าเรา Train แบบไหน สิ่งที่พูดเป็น Area ใหม่ของโลก

Mindfulness คือการรู้จักสติของตนเอง ยุคต่อไปเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นข้างในเรา

Happiness ที่ Run ไม่ได้ run กับ Real Business บางอันเป็นเรื่อง Engagement ด้วย

ค้นหาตัวเองอีกครั้งว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ใช่ และถ้าใช่ต้องไม่หยุด แต่ปรับปรุงและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าค้นหาตัวเองไม่ได้ Passion จะไม่เกิด

อาจารย์รณกฤติ สิทธิพรหม

จะด้วยวิธีใดก็ตามคือต้องลงมือทำ และต้องมีความรู้ที่เป็นของตัวเองด้วย 1 อันสิ่งที่พิสูจน์คือคนมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นให้ลงมือทำ แล้วมีการ Update ผลลัพธ์ขึ้นเรื่อย ๆ แล้วหมั่นลงสื่อบ้าง ให้ท่านรู้ว่าทำ แล้วให้มีความต่อเนื่องในการอัพเดท คนจะช่วยเชื่อแล้วสร้างพลังให้ท่านได้


Panel Discussion & Workshop


หัวข้อเจาะลึก AEC กับผลกระทบต่อการพยาบาลไทยในหลากมิติ


โดยศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันท์


ที่ปรึกษาภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด


คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล


แพทย์หญิงเมธินีไหมแพง


ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ


ผู้บริหารระดับสูงของสภาการพยาบาล


ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์



ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันท์

บทบาทและทิศทางของพยาบาลกับ AEC

พยาบาลและพระมหากรุณาธิคุณ

พยาบาลทำงานเพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศชาติมากแค่ไหน จงภูมิใจในความเสียสละ การบริการเป็นเรื่องของแพทย์และพยาบาล พระราชดำรัสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสให้กับวิชาชีพพยาบาลคือ ให้อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าไปดูถูกใคร คือให้สุภาพแล้วไมตรีจิตจะเกิดขึ้น มีความเห็นอกเห็นใจเกิดขึ้น จะทำให้การฟ้องร้องจะน้อยลง ซึ่งพระราชกระแสนี้มีประโยชน์มาก ไม่เฉพาะแพทย์ พยาบาล แต่ในทุกสาขาอาชีพสามารถนำไปใช้

อาชีพพยาบาลเริ่มในสมัย ร.5

เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เสด็จสวรรคต ได้คิดว่ายังไม่ได้ช่วยได้ จึงเกิดโรงพยาบาลขึ้น

พยาบาลเมื่อ AEC เข้ามา

- พยาบาลไม่พอ หรือพอแต่จัดการไม่ดียังเป็นปัญหาอยู่

- AEC เข้ามารับหรือไม่

- ดูตามทิศทางว่าจะเป็นอย่างไร ต้องเตรียมความพร้อมให้ดี ถ้าเปรียบเทียบพยาบาลจะพบว่าพยาบาลในโลกสู้ประเทศไทยไม่ได้

พยาบาลต้องมีความสุข

- คนไข้จึงจะได้รับบริการที่ดี

- ปกป้องผลกระทบต่อวงการพยาบาล – เป็นการสร้างความเข้าใจให้คนนอกรู้ว่าอาชีพพยาบาลมีความเสียสละมากน้อยแค่ไหน , ต้องดูสภาพการณ์ในอนาคต

ความเจริญของพยาบาล

- วิสัยทัศน์ พันธกิจ ก้าวต่อเนื่อง

- ให้ความสำคัญทุกงานอย่างยุติธรรม เดินทางไปพร้อม ๆ กัน

- สร้างเครือข่ายวิจัยวิชาการ การศึกษา และบริการทั้งในและต่างประเทศ มีการเอางานประจำมาเป็นงานวิจัย

- คุณภาพความเป็นสากลและเทคโนโลยี

ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

- ดูแลตนเองได้โดยเฉพาะด้านจิตใจ

- ดำเนินการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง พูดอะไรคนจะเชื่อถือ

คุณภาพทางวิชาการ

- มาตรฐานคุณภาพทางวิชาการ

พยาบาลต้องได้มีโอกาสปรับปรุงความรู้ ความสามารถ ไม่เกี่ยงอายุ

- มีการสนับสนุนการเรียนการสอนองนักศึกษาพยาบาล

- ห้องสมุดเป็นแหล่งวิชาการพยาบาล (ทันสมัย)

คุณภาพทางการศึกษา

- สนับสนุนให้สามารถรับนักศึกษา (ดี เก่ง) เข้าเรียนมากขึ้น

- สนับสนุนให้มีการพัฒนาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ

- สนับสนุนให้มีความยืดหยุ่นในการจัดหลักสูตรมากขึ้น

- สนับสนุนให้มีนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้คิดเป็นระดับนานาชาติ

- แลกเปลี่ยนพยาบาลและนักศึกษาพยาบาลระหว่างต่างประเทศ

คุณภาพงานวิจัย

- สร้างกลไกที่จะสนับสนุนงานวิจัยอย่างจริงจัง –ศูนย์วิจัยพยาบาล

- พัฒนาพยาบาลด้วยงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

- R2R (Routine to Research)

- สนับสนุนการวิจัย ระบบบริการสุขภาพเพื่อนำไปสู่การป้องกันอย่างยั่งยืน

ยกตัวอย่าง ถ้าใครไปดูงานให้ไปดูในส่วนที่ถนัดแล้วนำมาใช้จัดการงานให้เป็นประโยชน์

คุณภาพความเป็นสากล

- ไม่ละทิ้งแนวคิดหรือค่านิยมที่ดีของไทย

- การพัฒนาโครงการนานาชาติ

- มีการควบคุมและประเมินคุณภาพการพยาบาล

- Medical Hub (โดยไม่มี double standard สำหรับคนไทย

เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพ

- ปัจจัยที่กำหนดความสามารถคือ เทคโนโลยี

- เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีราคาแพง ล้าสมัยเร็ว และต้องการ

- การฝึกฝนหรือประสบการณ์ จึงต้องมีการวางแผนระยะยาวที่ดี

- สนับสนุนด้านงบประมาณ กำลังคน

ประเทศไทย 4.0 จึงมีการยกระดับ 4 องค์ประกอบสำคัญได้แก่

เกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรสมัยใหม่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยี

SMEs แบบเดิม สู่ Smart Enterprises

บริการแบบเดิม มูลค่าค่อนข้างต่ำ สู่ บริการที่มีมูลค่าสูง

แรงงานทักษะต่ำ สู่ แรงงานที่มีความรู้

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม

เปลี่ยนความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศที่มีอยู่สองด้าน ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายเชิงวัฒนธรรมให้เป็นความได้เปรียบเชิงแข่งขัน

5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย

- กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ

- กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์

- กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกล

- กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ

- กลุ่มเทคโนโลยีสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง

อาชีพพยาบาลสำคัญมาก เราจะเตรียมรับมืออย่างไร ต้องมีพื้นฐานที่ดี เราถึงไปต่อสู้กับประเทศในอาเซียนได้ จึงหนีไม่พ้นที่เข้าไปอยู่ในภาครัฐ จึงอยากให้ดูแลทั้งสองด้านให้ดี

ประเทศไทย 4.0 จะช่วยผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น เช่นผู้สูงอายุมีหุ่นยนต์เข้ามาช่วยเหลือเรื่องต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน

นักศึกษาพยาบาลที่มีคุณภาพ

- สร้างโอกาสหลายหลายให้มีนักศึกษาในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ (ทั้งภายในและภายนอกประเทศ, ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในนักศึกษาพยาบาลอย่างจริงจัง)

- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษาใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นเหตุที่จะทำให้นักศึกษาพยาบาลให้รับการถ่ายทอดทั้งความรู้และคุณธรรม

- กระจายความสามารถทางการศึกษาให้แก่ผู้ด้อยโอกาส

คุณภาพชีวิต

- สร้างเสริมสุขภาพทุก ๆ ด้าน

- ไม่สร้าง Pressure

- ผลักดันให้มีระบบค่าธรรมเนียมวิชาชีพหรือค่าตอบแทนตามปริมาณงาน

- วิชาชีพการได้รับการคุ้มครองและเป็นธรรม (แพ่ง,อาญา)

- แก้ไข พร.บ.ให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน และอนาคต เช่น คุ้มครองบริโภค

คุณภาพของพยาบาล

- มีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการทำงานและให้บริการ

- การดำเนินการใด ๆ ที่เป็นนโยบายหลัก จะต้องมีการอธิบายให้ข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความคิดเห็นของพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องด้วย

- คุณภาพต้องนำผลงานประเมินไปในทางสร้างสรรค์ไม่ใช่การจับผิด

- ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมและพัฒนาคน

- มีสภาพการทำงานที่เหมาะสม ไม่มีภาระงานจนเกินไปให้ความยุติธรรมเกิดขึ้น มีระบบค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเที่ยงธรรม

ในมหาวิทยาลัยจะมีคน 2 กลุ่มคือ ผู้บริหาร และ Expert การที่ผู้บริหารสนับสนุน Expert สู่ระดับนานาชาติได้ เป็นการทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง

คุณภาพการบริหารของพยาบาล

- สามารถแสวงหาทรัพยากรนอกเหนือจากงบประมาณปกติ

- อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของพยาบาล

- ตรวจสอบ ชี้แจงและตอบคำถามได้ทุกเรื่อง

- ยึดถือความโปร่งใส 4 ประการ ซื่อสัตย์ ขยัน กตัญญู และไม่เลือกปฏิบัติ

บทสุดท้าย

ไม่มีคำว่า...เหน็ดเหนื่อย

พยาบาล เป็นอาชีพต้องสร้างคุณงามความดี

การทำงานหนักเกิดผลต่อชาติ บ้านเมือง

สรุป คนเราต้องเกิดมาเพื่อทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ให้หางานที่ไม่ได้เงินแต่สร้างคุณประโยชน์ แต่ถ้าทำไม่ได้แค่สร้างความดีพอ

แพทย์หญิงเมธินีไหมแพง

ในฐานะเคยทำภาครัฐที่ ม.อ.ก่อนไปสู่ภาคเอกชนจะเลือกมุมมองของภาคเอกชนต่างจากภาครัฐอย่างไร

รู้จัก AEC ในพริบตา

การรวมตัวกันทำให้เราทำอะไรได้มากมาย อย่างการเรียงธง ก็เรียงตามตัวอักษรเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

ประเทศไทยถ้าเปรียบเทียบตลาดร่วม AEC เป็นที่ 3 ของเอเชียถ้าเทียบกับตลาดโลกจะเป็นอันดับ 7

มูลค่าสินค้าตั้งแต่ปี 2007 – 2014 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาท และเป็นการซื้อขายในอาเซียนเอง

ในช่วงปี 2007 – 2014 เรื่อง Connectivity พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นมหาศาล ดังนั้นการรวมตัวกัน ให้ประโยชน์อย่างมาก

AEC

- ความเป็นอยู่ถ้าไม่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนจะไปไม่ถึงไหน

- การรวมตัวกันช่วยให้เศรษฐกิจโลกยั่งยืน

- Free Flow of Skills Labour ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก บัญชี ทันตแพทย์ แพทย์

ความรู้ AEC มากสุดคือ นักบัญชี

ความรู้ AEC น้อยลงมา คือ แพทย์ สถาปนิก

ความรู้ AEC น้อยสุดคือ พยาบาล

ประสบการณ์โรงพยาบาลกรุงเทพ

1. จำนวนคนไข้ต่างชาติมีมหาศาล ขึ้นอยู่กับว่าหาข้อมูลจากไหนได้บ้าง ตั้งแต่ 2009-2014 จำนวนคนไข้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเพิ่มสูงสุดในปี 2013 แต่ลดลงมานิดหน่อยในปี 2014

- คนไข้ที่เข้ารับการรักษาในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

- สัดส่วนคนไข้ AEC กับทั่วโลกต่างกันพอสมควร ในส่วนของ AEC ประเทศไทยเป็นที่รู้จัก ได้มาตรฐาน และเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วโลก เป็น Medical Hub

- คนไข้ต่างชาติไปรักษาที่เยอรมันมากที่สุด ของไทยมีคนไข้ต่างชาติมารักษาประมาณ 10%

- คนไข้ต่างชาติที่มารักษาในไทยได้แก่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น เมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว

- ความเป็น Medical Hub ในไทย โรงพยาบาลในเครือกรุงเทพประมาณ 10 โรงพยาบาล

2. จำนวนแพทย์ลดลง

บทบาทของการพัฒนาบุคลากรด้านการพยาบาลในบริบทของโรงพยาบาลกรุงเทพและเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ

  • Bangkok Dusit Medical Services PCL (“BDMS”) is the largest* operator of private hospitals in Thailand.
  • BDMS was established on February 26, 1972.Its shares started trading on the Stock Exchange of Thailand on October 2, 1991.
  • Currently BDMS owns 43 hospitals with total beds of 7,519; and owns 5 renowned local hospital brands and 1 international brand:

- ปัจจุบัน รพ.กรุงเทพเป็นโรงพยาบาลที่มีเครือใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

- ร.พ.กรุงเทพ สุราษฎร์ จะเปิดวันที่ 1 มิ.ย. อีก 2 วัน

- ร.พ.กรุงเทพมีมูลค่าทรัพย์สินใหญ่เป็นอันดับสองของโลกในกลุ่มโรงพยาบาล

BDMs Medical Hub Road Map

- เริ่มมาตั้งแต่ AEC เปิด

- มีแผนตั้งแต่ 2011- 2018

- Referral Hospitalof Thailand in 2012

- Referral Hospitalof Asean in 2015

- Referral Hospitalof Asia Pacific in 2018

การวางแผน – มาด้วยความก้าวหน้าทางวิชาการ

ความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นตัวแปรการให้บริการ รพ.กรุงเทพ มีศูนย์วิจัย ศูนย์วิชาการ และมีการสร้างJournal มี Excellent center ทำให้รู้สาเหตุของการตาย และการเกิดโรคต่าง ๆ

BDMS Nursing Network and Training

มีหลักสูตรต่าง ๆ Supervisor , Infection Control. Utilization Management, Operating room, Orthopedic and Trauma Care Network

Simulation Center for Clinic Skill Training

- Control room

- Debriefing room

- OR

- Ward

- Ambulance

- ER

- OPD

- ICU

หน่วยงานคุณภาพของ ร.พ.กรุงเทพ

เจ้าของหน่วยงานควรเป็นคนเก็บ

- รูปแบบการบริการในการทำงานเป็นอย่างไรถึงมีประสิทธิภาพ ในรพ.เอกชน หน้าที่ของเอกชนจะมีหลากหลายมากกว่ารัฐบาล

- รพ.รัฐบาลเริ่มรับคนไข้ต่างชาติ ซึ่งเอกชนหลายที่ก็ได้รับคนต่างชาติเช่นกัน

Alarm Center

มี Network Transport System 24 ชั่วโมง รับคนไข้จากทั่วโลก แบ่งเป็น Air Ambulance และ Ground and Sea Ambulance ได้แก่ SKY ICU (เฮลิคอปเตอร์) 2 ลำ , Aeromedical Transport (เครื่องบิน) 1 ลำ, Mobile ICU , Motorlance Service, Hydrolance (Speed Boat)

สรุป พยาบาลไทยเป็นที่ต้อนรับในทุกสถานที่ และอีกนิดนึงจะเป็นที่ต้อนรับจากทั่วโลก

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

หัวใจคือถ้ามองไปถึงอาเซียน ได้บทเรียนอะไร

1. ถ้าบริหารจัดการดี มีความเข้มแข็ง ร.9 เตือนเราให้เตรียมพร้อมเสมอ แล้ว Asean จะกลายเป็นการสร้างให้เกิด Trust

2. ต้องมองเรื่องการ Rest fund ด้วย

3. การมีบุคลิกที่ดึงความเป็นเลิศคนอื่นเข้ามาได้ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศคนที่เข้ามาเรียนจำนวนจะน้อยลง การ Link กับอาเซียนจะมีนักเรียนจากอาเซียนมากขึ้น ได้มีการตกลงว่าจะแลกเปลี่ยนมี Mutual Recognition หรือ Skill labor อย่างไร ที่คณะพยาบาลควรทำคือควรสอนภาษาอังกฤษให้มากขึ้น

4. ทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนใกล้ชิดมากขึ้น

5. ก่อนจบน่าจะมีโครงการฯที่ร่วมมือกัน ระหว่าง รพ.ศิริราช และ รพ.กรุงเทพ กับ ม.อ. อาจเป็นโปรเจคเล็ก แต่เป็นแบรนด์ที่ทำให้เห็นความเข้าใจระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

1. ความร่วมมือเครือข่าย ทั้ง Career Path หน้าที่ที่แตกต่างไปจากปกติ กำลังการผลิตเหลือพอหรือไม่ มีข้อจำกัดหรือไม่ ถึงเวลาหรือยังที่ช่วยขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจในการสร้างคน คือการรุกไปในสังคมโลก เอาวิชาเราไปเผยแพร่ เหมือนนำคุณธรรม จริยธรรมไปเผยแพร่Good Leadership หรือ Good Succession Plan ไม้ต่อไม่ใช่เรื่องง่าย กำลังสำคัญเป็นเครือข่ายพี่น้องครูบาอาจารย์อยู่แล้ว

2. ต้องเน้นเรื่องภาษาให้มากขึ้น

ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันท์

การวางแผนการจัดระเบียบเป็นที่สำคัญอย่างยิ่ง

ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ แม้ผู้บริหารได้รับเงินสนับสนุนจากส่วนต่าง ๆ ต้องมีความพร้อม 100 % 24ชั่วโมง และทุกคนต้องบริหารให้เป็น บริหารให้ชัดเจนแล้วทำอย่างมีความสุข

การดำเนินการ ง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก แต่ต้องทำ การสร้างงานใหม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหาร คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ให้เหนือกว่าสิ่งเดิมหรือปัจจุบัน ต้องทำให้เราเจริญก้าวหน้ามากที่สุดเท่าที่มากได้ และต้องมีความสุดในการทำงาน

คณบดี

เรื่องความเหลื่อมล้ำ รพ.กรุงเทพ-หาดใหญ่ ยกตัวอย่าง มีนศ.ปริญญาโท ที่มาจาก รพ.กรุงเทพ พบว่ามีแบรนด์อย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนที่อื่น มีความแตกต่าง สิ่งที่อยากศึกษาคือเรื่อง Recruit คน และบ่มเพาะคนของ รพ.กรุงเทพ ทำอย่างไร และพัฒนาคนอย่างไรให้มีลักษณะที่เฉพาะ ได้พบว่ามีการมองอย่างเป็นระบบ มี Success Plan และการเติบโต

การมีโครงการแลกเปลี่ยน ฯ มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ แต่ไม่ทิ้งภูมิปัญญาตะวันออกเป็นวิสัยทัศน์ที่ดี เมื่อเปิดหลักสูตรต่างชาติ พบว่ามีแต่คนต่างชาติสนใจเรียนแต่คนไทยไม่กล้าเรียน

จุดอ่อน นักศึกษาไทยไม่ได้ไปที่อื่นไม่สามารถเปิดปริญญาตรีนานาชาติได้ เนื่องจากเป็นภาระที่มีต้นทุนสูงมาก มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาพูดคุย ให้ทุนนักศึกษา

อยากผลิตให้ภาครัฐเป็น First Priority แต่ไม่ปิดโอกาสภาคเอกชน พยายามทำหน้าที่สร้างโรงพยาบาลที่เก่งและดี โดยมองว่าต้องการพยาบาลแบบไหน

การบรรยายที่ไหนเป็นเรื่องปริญญา และเรื่องในหลวงหมดเลย เรา Start ด้วยเรื่อง Ethics แล้วพยาบาลได้ดำเนินตามรอยพระบาทอย่างไร

สรุป มองว่าคนเป็นส่วนสำคัญ ร.พ.รัฐบาล เป็นความภูมิใจของพยาบาลเช่นกัน เราทำงานด้วยกันเหมือนเป็นพี่น้อง

ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณนายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันท์

ผู้นำที่ดีต้องสามารถสร้างแรงจูงใจ คล้อยตามและร่วมเป็นหนึ่งเดียวได้ การสร้างแรงจูงใจที่ดี ในหลวงตรัสว่าให้พยาบาลพูดเก่งแต่อย่าพูดมาก และทรงพระเมตตาต่อพยาบาลมาก

พยาบาลในประเทศไทยดีมากอยู่แล้ว ต้องชี้แจงทำความเข้าใจ อธิบายให้ฟัง พยาบาลต้องทำใจให้ได้ การมาเป็นอาชีพอะไรต้องทำใจ

การยอมรับเรื่องวิชาชีพแต่ละคนมีความสำคัญอย่างยิ่ง

หมอยังมีจุดน้อยเนื้อต่ำใจในตนเอง ถ้าสร้างขวัญกำลังใจได้จะทำให้มีความสุขในพื้นที่ของเขา ทำตามหน้าที่อย่างเดียวไม่พอ ต้องสร้างคุณงามความดีด้วย เราต้องมั่นใจว่าสร้างคุณงามความดี เราต้องมีความกล้าหาญที่เปลี่ยนแปลงสังคมให้ได้ เราต้องกล้าหาญในการยึดมั่นปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง การใส่ร้าย ใส่ความสำหรับผู้บริหารเป็นสิ่งที่เราต้องทน หน้าที่มีมาแล้วหมดไป แต่ความดีเป็นสิ่งที่คงทน จึงขอย้ำเสมอว่าความดีเป็นสิ่งติดตัวตลอด

เราเกิดมาในชาติหนึ่ง สิ่งที่ทำคือการสร้างความดี อยากให้อยู่กันอย่างมีความสุข ไม่ว่าอยู่ในฐานะหน้าที่ไหนก็ตาม มีความเมตตาเห็นใจกัน อย่าเผลอ ต้องทำบ่อย ๆ คนรับจะชื่นใจ คนรอบข้างจะรู้สึกดีไปเรื่อย ๆ เราจะได้สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม

แพทย์หญิงเมธินีไหมแพง

ภาษาเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการเคลื่อนย้าย Skill Labor ในเอเชีย พยาบาลในต่างประเทศมาตรฐานยังสู้ไทยไม่ได้ แต่จะเตรียมอย่างไรให้พยาบาลเก่งภาษาอังกฤษ

เมื่อไหร่มีการพูดภาษาคล่อง รวมถึงนโยบายที่ชัดเจนมาก จะเป็นไปได้แต่ถ้าทำในสิ่งแวดล้อมเดียว มหาวิทยาลัยเดียวเป็นสิ่งที่ยาก อย่างไรก็ตามเราต้องเตรียมพร้อมด้านอื่นให้มีการเตรียมการณ์ที่เหมาะสมด้วย

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. พยาบาลไทยมีหลาย Level มีพยาบาลผู้ปฏิบัติการชั้นสูง มีกรอบให้ รพ.เอกชนอย่างไร มีที่จบหลายระดับ ตรี โท เอก ขอถามเรื่องเอกชนการขึ้นระดับใช้มาตรฐานอย่างไร

พญ.เมธินี ตอบใช้ทุกด้าน ทั้งการศึกษา ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ในอาเซียนคนอื่นพูดภาษาไทยได้ แต่เราพูดภาษาอื่นไม่ได้ ต่อไปอาจรับพยาบาลที่พูดได้ 3 ภาษา บางอย่างต้องทำเป็นนโยบายระดับชาติ

การสร้างชาติด้วยการเอาคนเก่งเข้ามา ให้ดูว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสียมากกว่า

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ ตอบ เรื่องภาษาเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งถ้าในระดับ Inter ต้องมีภาษากลางของโลก ดังนั้นการผลิตพยาบาลออกมา ได้มีการกำหนดการใช้ทุน ดังนั้นสิ่งที่ควรส่งเสริมคือเรื่องภาษาอังกฤษ แต่ต้องเป็นข้อกำหนดให้ทำงานในประเทศของเราด้วย

2. แนวโน้มของลูกค้าและบริการใน 5-10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร จะได้ช่วยเตรียมตัวเรื่องการบริหารสุขภาพ

พญ. เมธินี ตอบ มีผลกระทบแน่นอนยกตัวอย่างผลกระทบเรื่องน้ำมันราคาสูง ต่างประเทศจึงพยายามสร้าง รพ.ในประเทศตนเอง การดูแลอาเซียนกันเองยังไปได้อยู่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นกำลังช่วยเหลือตัวเอง

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ ตอบ การดูแลประชาชนของประเทศไทยต้องจัดระบบให้ดี แนวโน้ม AEC เปิดน่าจะทำให้เข้าออกง่าย ประเทศไทยมีหลากหลายความคิด แต่ต้องทำให้ทั่วถึงทำให้เป็นระบบ ต้องแยกแยะให้ออกว่าอย่าให้มีช่องว่างมากนักระหว่างคนรวยกับคนจน การมอบกลับคืนภาคสังคมยังน้อยเกินไป

3. แนวทาง รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ ตอบ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละที่ อย่าง รพ.ภาครัฐต้องกำไรให้ได้ 10-12% เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ แต่ถ้ากำไรมากกว่านั้นจะเสมือนหน้าเลือด ถ้ากำไรน้อยกว่านั้นคือบริหารไม่เป็น การร่วมมือกับ รพ.เอกชนสามารถช่วยสนับสนุนได้หรือไม่

พญ. เมธินี ตอบ ชายแดนประเทศไทยประสบปัญหาจริง ชายแดนที่ติดกับประเทศเศรษกิจดีกว่าอาจจะไม่มีปัญหาแต่ถ้าติดกับประเทศที่เศรษฐกิจไม่ดีอาจจะมีปัญหา การแก้ปัญหาต้องเน้นเรื่องความยั่งยืน ทำอะไรให้ช่วยรับสิ่งที่ยั่งยืน อย่างรพ.เอกชน จะไม่ทำอะไรโฉ่งฉ่าง ยกตัวอย่าง Training ต้องใช้เวลา การทำงานที่ต้องใช้ Resource พอสมควร

4. ทิศทางการให้บริการในอนาคต คนไข้จะเป็นโรคซับซ้อน และ Cosmetics ใช่หรือไม่ และทราบว่ามีทิศทางเรื่องผู้สูงอายุ พอมีภาพที่ทำให้เห็นแนวทางนี้หรือไม่ เพราะคิดว่าตลาดผู้สูงอายุจะเป็นตลาดใหญ่ของต่างชาติที่มาใช้บริการ ปัจจุบันรูปแบบเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในอนาคตการบริการเรื่องผู้สูงอายุจะเป็นอย่างไร พยาบาลมีบทบาทในทุกส่วน เก่ง มีคุณธรรม มีความสามารถที่ทำในส่วนของ Nursing

พญ. เมธินี ตอบ การบริการที่รักษามีหมด เรื่องผู้สูงอายุจะเตรียมตัวหรือไม่เตรียมตัวก็มาถึงแน่นอน เป็นโอกาสดีสำหรับพยาบาลที่ออกอาชีพแล้วสามารถเข้ามาประกอบอาชีพได้มากขึ้นเนื่องจากต้องการมาก เน้นการป้องกันทำให้สุขภาพผู้สูงอายุดีขึ้น ยกตัวอย่างผู้สูงอายุต่างชาติในเชียงใหม่ เชียงราย หรือในหัวหิน มีผู้สูงอายุมาอยู่สูงมาก ผู้สูงอายุต่างชาติที่ต้องเตรียมพร้อมคือเขยอีสาน เพราะบางรายไม่ได้เตรียมเงินมา พอป่วยหนักก็ไปที่ รพ.รัฐบาล หรือบัตรทอง หรือประกันสังคม ดังนั้นต้องศึกษาในภาพใหญ่คือภาคข้าราชการ ศึกษาเรื่องภาษาเรื่อง Culture Sensitive

สิ่งที่อยากเพิ่มคือ ส่วนใหญ่ต้องใช้ความรู้เรื่องพยาบาล ไม่เช่นนั้นทำไม่ได้ คุณสมบัติที่อยากให้คนทุกคนเป็นคือ 1. คิดเป็น ถ้าคิดเป็นทำงานอะไรได้หมด 2. Attitude ดี คือถ้าเป็นพยาบาลต้องเป็นพยาบาลที่ดี เป็นแม่ต้องเป็นแม่ที่ดี

ศ.นพ.ธีรวัฒน์ ตอบ คนป่วยสูงอายุจะมากขึ้น แพทย์ดูแลผู้สูงอายุก็เตรียมพร้อมมากขึ้น มีการวิจัยที่รองรับผู้สูงอายุอยู่แล้ว ภาครัฐมีการเตรียมพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ อย่าง รพ.ศิริราชหรือ รพ.จุฬาฯ ภาคเอกชนได้รับคำปรึกษามากมายที่จะดูเรื่องบ้านผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เช่น โรงแรมผู้สูงอายุ

คนที่จบพยาบาลแล้วไม่เป็นพยาบาลก็ไม่ใช่พยาบาลแต่ถ้าจะเป็นพยาบาลก็มาสอบใหม่ ถ้าไม่ทำสาขาวิชาชีพไหนก็ไม่ใช่เป็นวิชาชีพนั้น

การปรับเรื่องค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาค่านิยมของพยาบาลไทยต้องมีศิลปะที่โดดเด่น


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1


กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560


วันที่ 30 พฤษภาคม 2560

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

นำเสนอโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของคณะพยาบาลศาสตร์ม.อ. ต่อผู้บริหาร


โดยตัวแทนของทั้ง 4กลุ่ม (กลุ่มละ 15 - 20 นาที)


ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นแนวทางสู่การปฏิบัติเพื่อความสำเร็จ


โดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รศ.ดร.อรัญญา เชาวลิต


คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หัวข้อโครงการเชิงนวัตกรรม

กลุ่มที่ 1 โครงการพัฒนา “ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาตะวันออกทางการพยาบาล”

กลุ่มที่ 2 โครงการพัฒนาต้นแบบระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก

กลุ่มที่ 3 โครงการชุมชนต้นแบบ : Universe Design สูงวัย สุขภาพ

กลุ่มที่ 4 Learning and Teaching Online of Graduation

Courses : A Case Study of an Independent Study Subject


กลุ่มที่ 1 โครงการพัฒนา “ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาตะวันออกทางการพยาบาล”

หลักการและเหตุผล

1. วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์

2. นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541)

สร้างองค์ความรู้ทางการพยาบาลโดยผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน และนำองค์ความรู้มาใช้ในการเรียนการสอน บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน

ภูมิปัญญาตะวันออก หมายรวมถึง ปรัชญา แนวคิด วิธีปฏิบัติหรือวิถีชีวิต ที่สอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวตะวันออก

พบปัญหา/ความต้องการการพัฒนา

  • ไม่ได้มีการรวบรวมผลงานวิจัยที่ผ่านมาอย่างเป็นระบบ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาจัดการและสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • การนำองค์ความรู้มาใช้ในการเรียนการสอนยังเห็นไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
  • ยังไม่พบความเป็นอัตลักษณ์ของนักศึกษาพยาบาลหรือบัณฑิตของคณะที่ให้การพยาบาลโดยผสมผสานองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาตะวันออก
  • การพยาบาลในรูปแบบนี้มีแนวโน้มความต้องการของผู้รับบริการมากขึ้น

นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

  • สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
  • การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบดิจิตัล
  • ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปัจจุบัน คณะพยาบาลศาสตร์

  • ศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล (NLRC)

2.ศูนย์บริการวิชาการ

3.Research units, research centers

-Research Unit in Enhancing Harmony in Life of Southern Thai people

-Psychological Crisis and Healing Research Unit

-Research Center for Caring System of Thai Elderly

  • Research Center for Caring and Healing System for People with Trauma, Emergency, and Disaster

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาตะวันออกทางการพยาบาล”

1. วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์

2. นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

3. ศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล ศูนย์บริการวิชาการ Research units, research centers

วัตถุประสงค์

  • รวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้ทางการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้พหุวัฒนธรรม
  • เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้พหุวัฒนธรรม ในระดับเอเชีย

2.สร้างมูลค่าเพิ่มขององค์ความรู้ทางการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้พหุวัฒนธรรม โดยการใช้นวัตกรรม

จากการสัมภาษณ์คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์

มีแนวคิดในการสร้างศูนย์บริการทางด้านการพยาบาลโดยผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก และเปิดเป็นคลินิกให้บริการประชาชน โดยมีการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย

จากการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการ

ผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งหมด 49 คน

  • นักศึกษา 58%
  • อาจารย์15%
  • พยาบาล11%
  • ผู้บริหารทางการพยาบาล 9%
  • นักวิชาการ อดีตผู้บริหาร รพ 7%

ความเป็นไปได้

มีองค์ความรู้อยู่แล้ว ทำการศึกษาวิจัยเยอะ แต่ขาดการรวบรวมและเผยแพร่ หรือนำไปใช้ประโยชน์

เห็นด้วยกับการผลิต Smart Media เนื่องจาก

  • เข้าถึงง่าย
  • สร้างชื่อเสียง/image/brand ของคณะพยาบาลศาสตร์

-ทันสมัย

-สะดวก

-นำไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งการเรียนการสอน และการบริการพยาบาล ที่บูรณาการศาสตร์ภูมิปัญญาเข้าไปสู่การดูแลสุขภาพ

-ให้ความรู้ ความมั่นใจ ในการใช้สอน

-เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้าง

-เห็นบทบาทของพยาบาล และความสำคัญของวิชาชีพมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ

  • ควรมีเครือข่าย
  • หน่วยงาน/ศูนย์การดูแลสุขภาพทางเลือก

-ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้ในชุมชน

ยุทธศาสตร์ และวิธีดำเนินการ

1. การรวบรวม สังเคราะห์องค์ความรู้ทางการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก

- การวิจัย หน่วยวิจัย ศูนย์วิจัย

- ระดับบัณฑิตศึกษา

2. การสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์ความรู้

- ผลิตสื่อ Smart Media การดูแลตามวิถีพุทธ มุสลิม

- จัดทำฐานข้อมูล

- พิพิธภัณฑ์

Stakeholders

สหสาขาวิชาชีพ

วิศวะ

เภสัช

แพทย์แผนไทย

แพทย์

วิทยาศาสตร์

อุตสาหกรรมเกษตร

เครือข่ายภาคประชาชน ปราชญ์ชาวบ้าน

Input

งานวิจัย/องค์ความรู้ทางการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก

Process

  • รวบรวมสังเคราะห์องค์ความรู้
  • การเผยแพร่ นำไปใช้ประโยชน์

-สร้างมูลค่าเพิ่มขององค์ความรู้

Output

  • ความรู้
  • Smart Media
  • ฐานข้อมูล
  • พิพิธภัณฑ์

Outcomes

  • การเรียนการสอน
  • บริการวิชาการ/เชิงพาณิชย์
  • วิจัย
  • Brand

Customers

นศ

อาจารย์

พยาบาล

ประชาชน

Smart Media

  • Applications
  • สิ่งประดิษฐ์
  • ใช้ประโยชน์ผลงานนวัตกรรม
  • ฐานข้อมูลเผยแพร่

-VDO CD

-Website

-YouTube

-Facebook

-หนังสือ คู่มือ E-book

ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา

ปีที่ 1

- จัดตั้งศูนย์

- รวบรวมสังเคราะห์ความรู้

ปี่ที่ 2

- ผลิตงานนวัตกรรม Smart Media

ปีที่ 3

ปีที่ 4 ปี

- พิพิธภัณฑ์

แหล่งเงินทุนและงบประมาณ

  • ทุนวิจัย และนวัตกรรม
  • เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่

-งบประมาณเงินรายได้คณะพยาบาลศาสตร์

การประเมินผล ตาม KPI

  • จำนวนนวัตกรรม
  • ร้อยละของจำนวนรายได้ที่เพิ่มขึ้น

-ร้อยละของการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการสร้างคุณค่าแบบ 3V

  • บูรณาการการวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ
  • ประชาชนมีสุขภาพดีมีสุข

-การเชื่อมโยงการวิจัยและบัณฑิตศึกษา

-การสร้างแรงบันดาลใจแก่อาจารย์ นักศึกษาในการสร้างนวัตกรรม

-เพิ่มความชัดเจนในอัตลักษณ์ของบัณฑิตที่ให้การพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก

-สร้าง Brand ของคณะพยาบาลศาสตร์

-สร้างรายได้ให้กับคณะพยาบาล

การเรียนรู้ที่ได้จากการทำโครงการร่วมกันของกลุ่ม

  • การทำงานเป็นทีม ช่วยกันตามความถนัด
  • สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม รู้จักกันมากขึ้น

-แลกเปลี่ยนความรู้กัน แบ่งปัน ให้กำลังใจกัน

<code>ได้พัฒนาศักยภาพตามความชำนาญของแต่ละบุคคล</code>


การร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ

คณบดี

ชื่นชมและเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงของ Branding เรื่องภูมิปัญญาตะวันออกเป็นวิสัยทัศน์ อยู่ในเนื้อ แต่ไม่เห็นอัตลักษณ์ของนักศึกษา งานวิจัยมีเยอะ นักศึกษาต่างชาติที่มาเรียนต้องการทำเรื่องภูมิปัญญาตะวันออก

สิ่งที่กลุ่มนี้อยากทำคือมีศูนย์นวัตกรรมแบบองค์รวมฯ คือ เพิ่มที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก เวลาเปลี่ยนแปลงไป มหาวิทยาลัยอยากให้เป็น Research Center อย่างไรก็ตามเราได้ตั้งศูนย์ภูมิปัญญาตะวันออก มีการรื้อฟื้นหลายสิ่งมารื้อฟื้นใหม่ เราน่าจะมีองค์ความรู้ของเราเอง มีการให้อาจารย์บางท่านเขียนเรื่องภูมิปัญญาตะวันออก มีการทำวิจัย และให้รางวัลในการขับเคลื่อน ส่วนที่เป็นนวัตกรรมนั้นคือมีเวลาทำมาสมควร แต่ที่เพิ่มคือวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีที่ทำอยู่แล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ได้ต่อยอดเป็นศูนย์วิจัยและนวัตกรรม ในกลุ่มนี้ได้ต่อยอดเพิ่มขึ้นจากเดิมคือ เพิ่มเรื่องพิพิธภัณฑ์ และการให้บริการประชาชน เป็นลักษณะของวิธีคิดหรือเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องภูมิปัญญาตะวันออก เปลี่ยนปรัชญาความคิด ที่ออกมาเป็นนวัตกรรมด้วยเหมือนกันซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นสิ่งประดิษฐ์อย่างเดียว

คิดว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำให้กับประชาชน คล้าย OPD เช่นโยคะสำหรับผู้หญิง ฯลฯ แต่การรักษาแบบนี้แก้ได้มากน้อยแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตาม Wisdom ต้องมีการพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าทำแล้วไม่เกิดอันตรายต่อผู้รับบริการหรือคนไข้ สามารถใช้ประโยชน์ได้กับใครได้บ้าง

สรุปโดยภาพรวม สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่จะตอบโจทย์นวัตกรรม ประเทศไทย 4.0 และสามารถนำไปใช้จริงได้ อาจให้ Assignment ให้นักศึกษาคิดต่อยอดจากสิ่งที่คิดไว้ก็ได้ อาจมีการให้นักศึกษานำเสนอนวัตกรรม และคัดเลือกสู่เวทีระดับชาติ ได้มีการคุยเป็นประจำทุกปีให้เสนอนวัตกรรมเพื่อเป็นการนำเสนอในระดับนานาชาติด้วย

กลุ่มที่ 2

เท่าที่เห็นโครงการฯ จะดูมากไปหมด ถ้า Scope เป็นบางเรื่องในระยะเวลาแต่ละปีจะเกิดอะไรขึ้นจะทำให้ภาพชัดขึ้นได้ว่าจะทำอะไร

กลุ่มที่ 3

เห็นด้วยในเรื่องภูมิปัญญาตะวันออก พบว่ามี 2—3 ที่ทำเรื่องนี้อยู่ ที่คณะแพทย์แผนไทย และที่ศูนย์มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการทำสำรวจเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว แต่เป็นลักษณะการบริการความรู้ ไม่ใช่การทำวิจัย สามารถจะทำเป็นลูกทีม หรือสามารถทำร่วมกัน เป็นการประสานงานที่กลับไปสู่มหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องภูมิปัญญาตะวันออก

กลุ่มที่ 4

เห็นด้วยที่คณะพยาบาลจะมีศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาตะวันออก สำหรับการประยุกต์ใช้เรื่องโยคะ และนวด และสมาธิ ใช้ในการดูแลสุขภาพ และการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน งานวิจัยและการบูรณาการของคณะ อาจารย์ทุกคนสามารถช่วยให้เห็นการบูรณาการมากขึ้น

เรื่องนวัตกรรมอยากเสริมเรื่องภูมิปัญญาที่เป็นองค์กรภาครัฐ หรือปราชญ์ชาวบ้านที่ตอบโจทย์ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ รวมถึงการเผยแพร่ทำอย่างไรที่จะตอบโจทย์ให้กับสังคมได้

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

นอกจากการนำเสนอแล้วจะนำประเด็นหลักที่ทุกคนมีส่วนร่วมมาสังเคราะห์อีกที การมี Paper วันสุดท้ายทำเป็นและทำมานานแล้ว ยกตัวอย่างที่ กฟผ. มีโครงการพัฒนาผู้นำฯ ต่อเนื่องมารุ่นที่ 13 อย่างคณะแพทยศาสตร์ รวมกับ ม.อ. และคณะพยาบาลศาสตร์ น่าจะทำมา 6-7 รุ่นแล้ว

หน้าที่ของ ดร.จีระ คือ หลังจากนี้ไปคือต้องทำการวิเคราะห์มากขึ้น ช่วยให้เกิดความจริงมากขึ้น เรามีประสบการณ์มาก เรามีวิธีการนำเสนอเป็นแล้ว แต่สิ่งที่อยากฝากไว้คือหลังจากวันนี้แล้วจะทำอะไรต่อ

การนำเสนออย่างนี้หรือวิจารณ์หนังสือทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น เพราะคือการเปลี่ยน Idea ไปสู่ Action และไปสู่ Success หลักการอย่างนี้ดี และอย่างที่คณบดีกล่าวคือเป็น Trend ของมหาวิทยาลัย มีคนเก่งมาก ทำงานด้านการสอน วิจัยได้ระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ให้เกิดมูลค่าได้เท่าที่ควร ยกตัวอย่าง กฟผ.รุ่นที่ 13 คือ เมื่อมี idea แล้วต้องนำ idea นี้ Turn into Action และต้องสำเร็จระยะยาว คำถามคือตัวละครที่ขับเคลื่อนคือใคร สิ่งนี้สำคัญมาก ต่อไปนี้ต้องคิดดูว่า Step ต่อไปในคณะพยาบาลศาสตร์ หรือที่อื่นเป็นสิ่งที่ต้องทำ ถ้าเราไม่ทำเรื่องนี้ คนต่างชาติจะเข้ามา ยกตัวอย่างเรื่องที่ต่างชาติพูดเรื่อง Mindfulness พยายามยกเป็นแนวคิดของเขา แต่ความจริงแล้วเป็นแนวคิดของพุทธศาสนาอยากให้กลุ่มนี้สร้างสิ่งที่นำเสนอนี้ขี้นมาแล้วทำเป็น Social Media ข้อดีของภาคใต้คือเป็นพหุวัฒนธรรม คือมีพุทธ มุสลิม และจีน ด้วย อย่างการวิเคราะห์ของชาวตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเรื่องของตะวันออกเช่นทุนทางอารมณ์ สิ่งสำคัญคือไปตอบโจทย์อนาคตของ Healthcare ว่ามีตัวแปรอะไร เป็นเรื่องของประชานิยม และ Finance ต้องทำให้ต่างชาติเห็นว่าเราสามารถ Take care Healthcare โดยไม่ใช้เงิน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการป้องกัน อย่างไรก็ตาม เราต้องมีพันธมิตรจากคณะต่าง ๆ ต้องเป็นแกนนำในการทำสิ่งนี้ขึ้นมา อยากให้กลับไปคุยกับทีมนี้ว่าในขั้นต่อไป ถ้าเราจะทำอันนี้ให้เป็นความจริงคือ Turn Idea into Action ต้องมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง แต่สิ่งที่อยากฝากไว้คือขอให้ต่อเนื่อง

Health Care ในเมืองไทยในอีก 5 ปีจะมีปัญหาเรื่อง Finance เพราะเป็นการดูแลเรื่องสุขภาพของภายใน และคนในอาเซียน อยากให้สิ่งที่นำเสนอในวันนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วใส่ใน Website ของอาเซียน คิดว่าโปรเจคนี้มีมูลค่ามหาศาล เพราะเป็นเรื่องของปรัชญา แนวคิด การอ่านหนังสือมากขึ้น เรื่อง Eastern Culture ไม่ใช่ Pure Eastern Culture เราอาจดึง Culture อื่น ๆ ร่วมด้วย ต้องเป็นแบบ East meet West และให้ Thailand เป็นแกนนำ โดยเฉพาะเรื่องการผ่านขั้นตอนการทำ Paper มาแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้สำเร็จคือหลังจาก Paper แล้วต้อง Turn idea into action และเมื่อมีความเป็นจริงเกิดขึ้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้าต้องมี Step ในการนำไปสู่ความจริง คือใครจะทำ จะมอบอำนาจให้ใคร การบริหารโครงการฯ อาจยากกว่าการเขียน Paper ทุนทางปัญญาสูงมาก แต่ปัญญาอย่างเดียวไม่พอ เพราะต้องมีอุปสรรค อย่างทุนมนุษย์มีปลูก เก็บเกี่ยวและ Overcome Difficulty

หลักสูตรนี้โชคดีมากที่คนหลัก ๆ สามารถเรียนเกือบทุกครั้งได้ และทำอย่างต่อเนื่อง ในหลักสูตรของพยาบาลอยากจะเคลื่อนไปอีกขั้นว่าทุกคนเป็นเจ้าของโครงการนี้ และให้เขียนว่าใน Step ต่อไปจะทำอย่างไร ขอฝากไว้ให้เป็น Realism คือทำความจริงให้ปรากฏ ใช้ประโยชน์และเวลาที่ต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่อาจารย์จีระวิเคราะห์ยาว ในความเห็นตัวเองมองว่าการนำเสนอโครงการนี้ยังไม่ชัด แต่ในแนวคิดเชิงระบบดีมาก ซึ่งเป็นวิสัยที่ดีมากของคณะพยาบาล แต่มาดูในข้อมูลแล้วยังขาด เพราะหัวข้อคือ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาตะวันออกทางการพยาบาล แต่ยังไม่ทราบว่าอะไรนำไปสู่นวัตกรรม

การนำไปใช้เรื่องการสร้างแบรนด์เป็นเรื่องยากมากเพราะนำเป็นก้อน ๆ เป็นกอง ๆ อยากให้เลือกมาสักชิ้นหนึ่งว่าอะไรเด่น เช่น พหุวัฒนธรรม หรือมุสลิม อยากให้ยกตัวอย่างมา 1 ตัวอย่าง แล้วจะทำให้เรารู้สึกว่าแน่นในเนื้อ ถ้าเราทำหนังสือสักเล่มเราจะทำแบบไหน ทำไมเราต้องเรียนการตลาดด้วย เพราะเป็นการดึงจุดเด่นได้ เช่น ถ้ามีรูปภูมิปัญญาตะวันออกที่เห็นมุสลิม อาจทำให้การนำเสนอเด่นชัดมากขึ้นเห็นว่าการทำงานทุกอย่างต้องการผู้ช่วย ที่ช่วยให้การนำเสนอน่าสนใจมากขึ้น สิ่งที่อาจารย์จีระพูดมีตัว Reality มาก แต่อยากให้ในกลุ่มยกตัวอย่างมา 1 อย่างด้วย

ในยุทธศาสตร์มีเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ยังไม่เห็นว่าอยู่ตรงไหน มีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมดี แต่ยังไม่รู้ว่าจะเดินไปอย่างไร ขั้นตอนการนำเสนอช้ามาก 4 ปี ทำไม่ทันในการสร้างแบรนด์ สิ่งที่ทำให้ง่ายมากขึ้น อาจแยกกอง จัดระบบ ถ้าเราเข้าไปเลือกจริง ๆ จะรู้ว่าอะไรเด่น และดึงออกมาได้ แล้วลำดับต่อไปอาจมาดูว่าใครจะมาร่วมกันและจะเดินต่อ สรุปคือการเดินไปได้ต้องแสวงหาเครือข่าย เชื่อว่าการนำเสนอในกลุ่มต่อไปจะเติมเต็มทุกโครงการฯ


กลุ่มที่ 2 โครงการพัฒนาต้นแบบระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก

ได้มีการพูดคุยกับสถาบันที่ร่วมมือ มีศูนย์หาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อดูแลประชากรในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ พยายามขยายและรองรับการเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน โดยบทบาทคณะพยาบาลเป็นการวิจัย และพัฒนารูปแบบการบริการและพัฒนาโปรแกรม มุ่งตอบสนองต่อผู้สูงอายุในระยะแรก และมุ่งพัฒนาหลักสูตร ซึ่งยังไม่มีหลักสูตรที่เตรียมคนดูแลผู้สูงอายุที่มาดูแลตะวันออกและคิดว่ามีความ Relevance กับประชากรกลุ่มนี้มาก มีการเตรียมบุคลากรที่ดูแลผู้สูงอายุในโครงการฯต่าง ๆ รวมกับพยาบาลด้วย มีการทำวิจัย พัฒนาโปรแกรม พัฒนาหลักสูตร ศูนย์นี้มีอยู่เดิมแล้วและมีการดำเนินงานพอสมควร มีการฝึกโยะเพื่อสุขภาพ และให้บริการต่อเนื่องเป็นช่วง ๆ หมดระยะก็รองเป็นโปรแกรมต่อไป มีหลักสูตรโยคะเพื่อสุขภาพ สำหรับครู พยาบาลทั่วไป และมีสตูดิโอที่ให้บริการทำร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก ศูนย์นี้ยังมีสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวก ที่ยังไม่เคยมีเช่น ถ่ายภาพออร่าเพื่อดูสุขภาพเป็นครั้งคราว ถ้านำมาใช้อาจเข้ามาสนับสนุนเรื่องรายได้ในการทำโครงการ

ช่วงหลังมีการนำเลือดมาตรวจ Life Blood เพื่อดูเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว สุขภาพองค์กรวม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการดูแลกิจกรรมตรงจุดนี้ อย่างทุกเช้ามีการนั่งสมาธิทุกสัปดาห์

หน่วยงานรับผิดชอบและเครือข่าย ได้แก่

- คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.

- ฯลฯ

งบประมาณที่ได้มาเน้นเรื่องนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องร่วมกับพันธมิตรอย่างเข้มแข็ง

หลักการและเหตุผล

ทุกวันนี้เรื่องภูมิปัญญาตะวันออกมีการใช้อย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อในโลกโลกาภิวัตน์ ประชาชนจะค้นหาสิ่งต่าง ๆ ที่อยากใช้ อยากลอง เรื่องความเรื้อรังจากผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพ ภูมิปัญญาตะวันออกจะเยียวยาความเจ็บป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยในระยะสุดท้าย อย่างที่ ดร.จีระพูดเรื่อง Mindfulness ก็เป็นสิ่งที่จะนำมาใช้ด้วย

สถานการณ์ที่ช่วยสนับสนุนโครงการฯ

การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 ราย ซึ่ง 1 ในนั้นคือคณบดีที่ช่วยให้ข้อคิดในเชิงนโยบาย สิ่งที่คาดหวังรวมถึงกำลังใจในการขับเคลื่อนงานต่อไป

สิ่งที่อยากเห็น เป็นสิ่งที่เราอยากได้ทั้งรูปแบบการบริการ รูปแบบการทำงาน รูปแบบการมีส่วนร่วม

ยกตัวอย่าง คณบดีพูดในตอนต้นที่อยากเห็นเรื่องการครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม อยากเห็นการจัดการที่เป็นมืออาชีพ สร้างรายได วิถีชาวบ้าน อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม การ Integrate

รูปแบบ

- เป็นเรื่องของวิชาชีพ

- อยากให้มีนักศึกษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับบริการด้วย มีการเซ็นกับหาดใหญ่ชีวาสุขให้นักศึกษาเข้าไปฝึกงานด้วยส่วนหนึ่ง

- มีเรื่องนวัตกรรม โปรแกรม และการบริการในศูนย์ มีเป็นลักษณะโปรแกรมสุขภาพ และ Training ซึ่งได้รับการขอมาจากต่างประเทศเนื่องจากเขาอยากศึกษาเรื่องภูมิปัญญาตะวันออก เพื่อนำความรู้นี้ไปขยายบริการ แต่ยังไม่มีที่ไหนทำเป็นรูปธรรม อย่างจีนมีแพทย์แผนจีนเข้มแข็งมีการทำ Treatment Taraphy ที่ทำให้เหมือนกับตะวันตก

บุคลากรเป็นกลุ่มอาสาสมัคร ผู้สนใจและพยาบาล

สิ่งที่ควรทำคือ Multidiscipline Team มีการทำงานร่วมกัน พัฒนาหลักสูตร พัฒนานวัตกรรม พัฒนาโปรแกรม พัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพ และการติดตามผล วัตถุประสงค์มีการพัฒนาต้นแบบระบบบริการ พัฒนาต้นแบบหลักสูตร มีการเตรียมคนเพื่อออกไปให้บริการในศูนย์บริการของเราด้วย

เป้าหมายเป็น 2 ระยะ คือให้ทุนและให้สอดคล้องกับ Thailand 4.0 มีการดูแลเรื่องภูมิปัญญาตะวันออก เรื่องโปรแกรมสุขภาพที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมทั้งกลุ่มติดเรียน ติดบ้าน ติดสังคม มีการให้คำแนะนำจากกลุ่มผู้สูงอายุว่าควรเริ่มที่กลุ่มติดสังคมก่อน เพราะกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษคืออยากช่วยเหลือคนอื่นด้วย และอยากให้ดูแลด้วย กลุ่มสังคมติดเตียงจะมีลักษณะเฉพาะคือเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาสูง มีเงินพอสมควรที่ซื้อบริการได้ มีสื่อ มีทักษะ มีเทคโนโลยี ต้องมีความจำเพาะเจาะจงว่ากลุ่มไหนก่อน ลักษณะทำแตกต่างกัน ต้องทำให้สอดคล้อง

นวัตกรรมที่สร้างเน้นการดูแลสุขภาพองค์รวม อาจแบ่งเป็นชุด ๆ เช่น ดูแลสุขภาพกายจิตสุขภาพพลัง เช่นไทเก๊ก จี้กง พลังจักรวาล โยะ สุขภาวะปัญญาเช่น Mindfulness การนำแนวคิดหลักศาสนา อย่างที่อาจารย์พิชญ์ภูรีเสนอว่าอยากเห็นชุดมุสลิมด้วย

ในชุดที่ 2 มุ่งเน้นไปที่กลุ่มอื่นด้วย มีเรื่องการพัฒนาหลักสูตร มีการ Training คนและหลักสูตร นวัตกรรม มีการนำไปใช้ในศูนย์ชีวาสุขด้วย มีการนำ 3 V ในเรื่องภูมิปัญญาตะวันออกมาสร้างมูลค่าเพิ่ม นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์พื่อไปสร้างให้เกิดรายได้

ผลลัพธ์ ได้ต้นแบบสุขภาพ ได้นวัตกรรม ได้โปรแกรม ได้เครือข่าย ในปีแรกอาจได้โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพก่อน เช่นโหมดการออกกำลังกายมีการใช้ Smart Media มีหลักสูตรการอบรมแกนนำ และหลักสูตรพยาบาล มีการตั้งหลักสูตรอบรมแกนนำปีละ 20 คน นาน 5 ปี และดูเรื่องการประเมินผล ดูจากหลักสูตรนวัตกรรมโปรแกรม ดูจากคนที่มาใช้หลักสูตร และการบริการในสูง งบประมาณใช้การสนับสนุนเงิน สนับสนุนจากพันธมิตร และการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

การร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ

คณบดี

โครงการนี้เหมือนกลุ่ม 1 + 2 ขอบคุณที่ใช้วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์เป็นตัวตั้ง มีโครงการฯ มีงบประมาณ แต่โครงการฯไม่ค่อยออกก็ยังไม่มั่นใจว่าเพราะอะไร

โครงการนี้เป็นเรื่องการพัฒนาระบบ การนำเสนอถ้าเห็นภาพเป็น Diagram ที่เคยทำจะทำให้เห็นภาพว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ผู้สูงอายุมีที่ไหนบ้าง เราจะ Start ตรงจุดนี้ ประเภทการให้บริการเป็นอย่างไร มีตั้งแต่ Training การพัฒนา Program มีเรื่อง Service ที่จะให้เห็น Prototype ที่เชื่อมโยงทั้งระบบ จะเป็นภาพที่ประทับใจ นวัตกรรมจะเป็นตัวสนับสนุนไปใช้ตรง Service ได้อย่างไร เรามีศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและผู้สูงอายุอยู่แล้ว การเป็นเจ้าแม่ของศูนย์ภูมิปัญญาตะวันออก ศูนย์องค์รวม ต้องดูทุกวัยการพูดเรื่องติดสังคม ให้มีการรับรู้เรื่องสุขภาพดีใช้ชีวิตที่ปกติได้ มีการดูตั้งแต่ Healthy ไปถึงระยะสุดท้าย จะเห็นภาพที่ค่อนข้างชัดเจน และสิ่งที่ทำได้ทำแบบครอบคลุมมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะฯ จะซื้ออยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากเห็นคือจะทำให้สำเร็จให้จริงจังและยั่งยืนได้อย่างไร อย่าง Research Center ยังมีปัญหาอยู่

กลุ่มที่ 1

ขอชื่นชม และได้งบประมาณแล้ว อยากให้เชื่อมโยงกับการเรียนการสอน การเชื่อมโยงกับชุมชน การทำวิจัยกับบัณฑิต อยากให้เห็นแหล่งทุน อยากให้เห็นการเชื่อมโยงเพราะจะเป็น Brandingที่ชัดเจนขึ้น เห็นด้วยว่า มีเครือข่ายอยู่แล้ว ที่สำคัญทีสุดคือเห็นการสร้างมูลค่าที่ชัดเจนขึ้น เห็นกิจกรรมชัดเจนขึ้นในการทำและจะร่วมมือกับใครในคณะจะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

กลุ่มที่ 3

สืบเนื่องจากภูมิปัญญาตะวันออกและจะรวบรวมผู้สูงอายุก่อน และจะขยายไปสู่กลุ่มอื่น คำว่ามุสลิมที่คงหลาเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และสามารถเป็น Keyword ด้วยเช่นกัน สิ่งหนึ่งที่อยากให้คงไว้และไม่ให้สูญไปคือ หมอตำแย สามารถเรียกนมของคุณแม่ที่เลี้ยงบุตร แต่คนเป็นหมออายุ 80-90ปี สามารถร่วมมือกันได้ถ้าสนใจ

กลุ่มที่ 4

ทำอย่างไรให้เด็กรุ่นนี้เรียนรู้จากผู้สูงอายุด้วย ทำอย่างไรให้เป็น Lab ในการเรียนรู้กับผู้สูงอายุด้วยอยากให้เติมให้กับนักศึกษาปริญญาตรี

เข้าใจว่าผู้สูงอายุจะกลายเป็นประชากร 1 ใน 3 การปรับตัวเป็นสิ่งที่ดีมาก อยากมีส่วนในการเข้าไปร่วมด้วย อย่างในเรื่องทันตกรรม โรคช่องปากไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับผู้สูงอายุได้ ถ้าทำงานร่วมกันจะน่าสนใจมาก

การทำเรื่องเกี่ยวกับศูนย์องค์รวมภูมิปัญญาและผู้สูงอายุ อยากให้มีการ Combination ที่ผู้สูงอายุถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้กับเด็กด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การนำ กลุ่ม 1+2 รวมกันทำให้เกิดความสำเร็จมากขึ้น มีการมองกว้างและมองผู้สูงอายุ ขอยืนยันด้วยว่าในการทำที่คณะแพทยศาสตร์มีการใช้แนวคิดนี้มาก แต่จะทำให้เกิดเป็นจริงมากขึ้นได้อย่างไร กลุ่ม 2 ทำให้กลุ่ม 1 มีพลังขึ้นเพราะกลุ่ม 2 มีงบประมาณ

ผู้สูงอายุไม่ได้มีปัญหาอย่างเดียวแต่มีโอกาสด้วย เพราะผู้สูงอายุที่มี Wisdom มีประสบการณ์จะได้มีการแบ่งปันความรู้ เกิด Value Diversity ได้ ยิ่งคนอยู่ในวงการสุขภาพ รู้เรื่องการเงิน การตลาดด้วยจะเป็นการผสมผสานที่ดี ปัญหาเมืองไทยเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในบางครอบครัวอาจล้มเหลว

บางคนมีประสบการณ์ในการทำงานที่แข็งแรงอยู่ อยากให้มองผู้สูงอายุเป็น Solution และคิดว่า Value Diversity เกิดขึ้น ที่เป็นห่วงและเกิดเป็นความจริงคือกลุ่ม 2 ไปช่วยกลุ่ม 1 ด้วย

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

ผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญของคณะพยาบาลมาก และทั้งประเทศยอมรับว่าเป็นปัญหา และรัฐบาลเตรียมงบประมาณรองรับเรื่องนี้ ในอดีตเรื่องเด็กปฐมวัย คณะพยาบาลฯ มีบทบาททำให้ประสบความสำเร็จ อย่างหอกุมารก็มาเล่นเรื่องเด็กปฐมวัย

ผู้สูงอายุเป็นจุดสำคัญมาก เพราะเป็นโจทย์ความจำเป็น ลูกหลานไม่ค่อยได้ดูแลเท่าไหร่ มีกลไกภาครัฐและภาคสังคมในการไปโอบอุ้ม มีการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องใช้หลายสาขาร่วมกัน มีวิชาชีพไหนที่บอกได้ว่าจะดูแลได้ดี ใช้ความสามารถในการรวมสาขาวิชาชีพเข้าไปช่วยจัดการผู้สูงอายุ โอกาสเปิดอย่าช้า ทำไปก่อน แล้วระหว่างทางจะมีการปรับรูปแบบเอง และเมื่อมี Story of Success ไปรวมกับใครก็จะรุ่งเรืองได้

การใช้ตะวันออกไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียวยังมี Diversity อยู่ในตะวันออกจะไปโยงกับสิ่งใดให้สำเร็จ ต้องมีการโยงกับความมั่นคง คือได้งบประมาณเยอะทำงานง่าย มีคนเฝ้าดู เฝ้าช่วย การเชื่อมอย่าเอาแค่ภูมิปัญญาอย่างเดียวให้เอาคนเข้ามาช่วยเพื่อเกิดพันธมิตร มีการพูดคุยกับผู้สูงอายุ มีการคุยกับ 2 ศาสนา การโยงเรื่องความมั่นคงจะได้ประโยชน์มาก

การทำให้สงบศึกได้จริง ต้องมีกลไกที่ช่วยให้พูดคุยกันได้ อย่างวิชาชีพด้านสุขภาพน่าจะสามารถคุยกันได้ หรือถ้าไปโยงกับความมั่นคงของประเทศจะได้รับการสนับสนุนมากขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โครงการฯ ของกลุ่มที่ 2 ตอบโจทย์การนำเสนอ การนำเสนอที่ชัดเจนจะยิ่งสมบูรณ์แบบมากขึ้น มีนวัตกรรมที่ซ่อนอยู่ อย่างโครงงานเป็นนวัตกรรมส่วนหนึ่ง เป็นความฉลาดที่ทำให้สำเร็จมากกว่า เพราะไปโยงกับชีวาสุขที่เป็นของท้องถิ่นอยู่แล้ว

ชุดอาหารสุขภาพ และอาหารสมุนไพร เสริมสร้างอาหารเป็นยา ยังไม่ค่อยมีคนพูดถึง แต่เป็นชุดที่ ม.อ. และภาคใต้โดดเด่น การมีสหวิทยากรจะช่วยตรงนี้ได้ ช่วยในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปสู่ท้องถิ่นได้

หลักสูตรที่เด่นมากคือหลักสูตรพัฒนาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครจากภายนอกที่จะช่วยเสริมแรงได้ สามารถช่วยให้ผ่อนภาระไป แต่หลักสูตรพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ มีการวิจัย มีองค์ความรู้ มีการรวมกันช่วยกันทำ ให้กลุ่ม 1 ช่วยเดินไปด้วยกันเนื่องจากเป็นโครงการที่เหมือนกัน เป็นกลุ่มที่ Classify ชัดมาก และมีสถานที่พร้อมอยู่แล้วเห็นปัญหาว่าจะเดินไปตรงจุดไหน

สรุปคือในกลุ่มนี้วิทยากร Comment น้อยมากเนื่องจากชัด

กลุ่มที่ 3 โครงการชุมชนต้นแบบ : Universe Design สูงวัย สุขภาพ

โครงการสร้างสถานที่พักผู้สูงอายุ บ้านหรรษา...บั้นปลายชีวิต

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ มีลักษณะพิเศษของคนในมหาวิทยาลัย พักในมหาวิทยาลัย เป็นกลุ่มมีความรู้ความสามารถ พึ่งพาตนเอง เนื่องจากดูแลตัวเองตลอด อยู่แฟลตโสด อยู่ที่ปลอดภัย สังคมร่มรื่น สวยงาม มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ซึ่งถ้าคนกลุ่มนี้เกษียณไปแล้วจะไปอยู่ไหน มหาวิทยาลัยจะทำอะไรที่เป็นสวัสดิการสำหรับกลุ่มนี้ ที่เป็นชุมชนหนึ่งสำหรับคนที่เกษียณไป

คณะพยาบาลศาสตร์ มีศักยภาพสูง มีการดูแลผู้สูงอายุ มีระบบวิจัยผู้สูงอายุไทย จึงคิดสร้างชุมชนต้นแบบที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุของไทย มีรูปแบบ คือเป็นอาคารชุด บ้านแฝด บ้านเดี่ยว มีพื้นที่การคมนาคมสะดวก ผู้สูงวัยอาจพึ่งพาระบบสุขภาพ ระบบสาธารณูปโภคต้องครบครัน สิ่งก่อสร้างต้องตอบโจทย์ พื้นต้องเป็นพื้นแบบพิเศษรองรับการกระแทกลดการบาดเจ็บที่รุนแรง

มีการพัฒนาระบบการดูแลรักษาดูแลผู้สูงวัยที่เจ็บป่วย การดำเนินการจะประเมินความต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด วิเคราะห์โครงการ และนำเสนอโครงการผ่านมหาวิทยาลัย ต้องมีการหาผู้ร่วมทุนกับเรา ลักษณะจะเป็นเช่าซื้อคือเมื่อเสียชีวิตจะคืนกลับมา หมายถึงชุมชนนี้จะเป็นสำหรับผู้สูงวัยตลอด

สร้างสำหรับผู้เกษียณจากผู้สูงวัยเท่านั้น เราต้องออกแบบดูแลระบบตลอด 24 ชั่วโมงด้วยความทันสมัย มีร้านอาหารภัตตาคารอยู่ในชุมชนเรา และมีอาหารเพื่อสุขภาพ มีวิชาชีพที่มาช่วยดูแล มีการร่วมมือในวิชาชีพ มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แหล่งทุนอื่น ๆ จะให้ใครเป็นผู้ร่วมทุนกับเราบ้าง งบประมาณในการก่อสร้างได้งบประมาณจากการขาย มีเรื่องการขายห้องจากบ้านเดี่ยว บ้านแฝด มีค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ประโยชน์มีชุมชนต้นแบบสำหรับผู้สูงวัยรายได้ปานกลาง ที่อยู่คนเดียว มีคู่แต่ไม่มีบุตร

สัมภาษณ์รองอธิการบดีฯ

การผลักดันโครงการฯ มีอยู่ในแนวทางของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว สถานที่จะเป็นที่สะเดา อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัย จะเป็นอย่างไรได้บ้าง การสร้างบ้านที่พักจะมีกลุ่มธุรกิจอื่นมาร่วมกันเราให้คนที่อยู่บ้านพักสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย ต้องหา Partner แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่าเราคิดอย่างไร

สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง

เห็นด้วย และจะจองเลย โดยเฉพาะเป็นสวัสดิการสำหรับคนเกษียณจากคน ม.อ. ก็ดี ส่วนเรื่องราคาประมาณ 2 ล้านบาทเป็นเรื่องที่รับได้ มีหลักประกันว่าเงินมาแน่นอน การมอง 2 มุมคือใน ม.อ.กับส่วนตัว

สัมภาษณ์คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

ชุมชนต้นแบบที่จะไปทำที่ไหนก็ได้ ที่ไม่ได้สร้างบ้านแต่ไปทำสำหรับผู้สูงอายุ สิ่งนี้จะเกิดประโยชน์กับมหาวิทยาลัย มีการมองเป็นขั้นตอน สำหรับคนที่สุขภาพดี และสุขภาพไม่ดี และมีการดูแลคนสุขภาพไม่ดีในลำดับถัดไปได้

การร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ

คณบดี

เราเคยเสนอโครงการนี้ประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านแล้ว มีการนำเสนอไปที่แผนแม่บทของมหาวิทยาลัย ได้มีการเปลี่ยนมาหลายยุคสมัยแต่ก็ไม่ได้เกิดโครงการฯนี้ขึ้น ที่ทำในสมัยนั้น ได้ไปดูงานด้านผู้สูงอายุ ได้มีศูนย์สุขภาพและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุที่ดูแลอยู่มีอายุยืนมาก ยังได้มีการรดน้ำขอพรผู้สูงอายุอยู่ แต่ละท่านมีความสุขมาก อยากให้เปิด 5 วันแต่ไม่สามารถเปิดได้เปิดได้แค่ 3 วัน เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาด้วย บรรยากาศในวันนั้นเป็นบรรยากาศสบาย ๆ มีการช่วยกันทำงาน นัดไปดูสถานที่กัน มีการทำ Concept Paper มีผู้สูงวัยที่สุขภาพดี มีการให้เป็นแหล่งนักศึกษาฝึกงาน คณะพยาบาลศาสตร์อาจไม่สามารถรับได้ ณ ตรงนี้แต่จะให้เป็นโครงการของมหาวิทยาลัย และจะขยายไปไม่ใช่แค่คนใน ม.อ. แต่เป็นการขยายไปถึงส่วนอื่นที่อยู่ข้างนอกด้วย กลุ่มเป้าหมายแรกคือ Healthy Aging มีอุปกรณ์ในการดูแลผู้สูงวัยมีทีมที่ดูแลด้าน Marketing ดูแลด้านทุนโดยเฉพาะ ซึ่งคณะวิทยาการจัดการจะทำให้ ส่วนคณะพยาบาลศาสตร์จะทำอะไรให้เรา เราจะจัดดูแลผู้สูงวัยที่ใกล้บ้านเขา มีการดูแลผู้สูงอายุในศูนย์ได้ มีการตั้ง PSU Wellness Community ได้ไม่ต้องใช้คำว่าบั้นปลายชีวิต มีการทำเมนูสุขภาพ มีการปลูกพืชผักผลไม้ ให้ทำเองแล้วนำอาหารมาทำเองได้ มีกิจกรรมการทำอาสาสมัคร มีกิจกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุบริเวณนั้นแบบไม่ค้างคืน เป็นลักษณะ Health Promotion ได้ มีการคืนสู่สังคมด้วย ทุกอย่างที่เข้ามาจะเป็นเชิงสุขภาพ และถ้าผลิตอะไรมาก็สามารถนำมาขายได้ สรุปคือต้องดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงได้

การมีแบรนด์ PSU เป็นการการันตีให้ชุมชนมั่นใจการจะ Focus แต่ PSU อาจไม่เกิด อาจต้องมองที่ข้างนอกและต่างประเทศ ซึ่งต่างประเทศอาจอีกราคาหนึ่ง

สรุป คณะพยาบาลศาสตร์ ไม่ซื้อแต่จะส่งต่อให้มหาวิทยาลัย เพราะมีหลายคนถามเรื่องนี้เช่นเดียวกัน

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

โจทย์ของผู้สูงวัยเป็นโจทย์ที่ไม่นิ่งควรมีการทำ R&D และให้นำทุกสาขาของมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงได้ เราผลิตคนซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาด มหาวิทยาลัยจะมีปัญหา ยกตัวอย่าง พ่อแม่ของ นพ.สุธรรม ป่วยติดเตียง ต้องได้รับการดูแลเป็นปี คนที่สำคัญที่สุดคือคนที่ดูแลผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ และคนที่ช่วยดูแลนี้มีคนจองตัวมากเลย

อยากให้ผลิตอีกสาขาที่ผลิตคนดูแลผู้สูงอายุ ถ้าคนดีจริง 50,000 บาทกลุ่มเศรษฐีก็ยินดีจ่าย

มุมมองของ PSU ของสังคมมีส่วนร่วมน้อย การนำโครงการไปขายอาจติดขัดนิดนึง อยากให้ดูโครการของมหาวิทยาลัยที่ทำเป็น Generic เช่นหมู่บ้านสหกรณ์ ตอนช่วงแรกคนสนใจมาก แต่เมื่อถึงเวลาจริง ๆ ที่จะควักเงินจากกระเป๋าจะควักออกยากมาก พฤติกรรมคือมีความต้องการสูงแต่จ่ายน้อย ประเด็นคือที่ดินมี แต่เงินในกระเป๋ามีหรือไม่ไม่รู้ ดังนั้น Willingness to Pay and Continue Pay ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล 6 เดือนสุดท้าย จะเป็นอย่างไร ตอนที่เขาติดเตียงจะเป็นโจทย์ยาก คือต้องทำให้เป็นฐานบริการ ซึ่งแม้ภาครัฐให้เงิน Support อาจไม่พอ

โยงกับงานวิจัย และการ Training บุคลากร เรื่อง Segment ต้องมีการแบ่งให้ดีว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อไรคนใน ม.อ.ไม่มั่นใจ จะไม่เกิดการจอง ดังนั้นต้องมีการตลาดมาเกี่ยวข้องด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การทำอะไรก็ตามต้องดู Rhythm & Speed สิ่งนี้เป็นแบรนด์ของ PSU ที่สำคัญ ต้องตกลงกันให้เรียบร้อย แม้เป็นของมหาวิทยาลัยแต่ก็ต้องให้แต่ละคณะมีบทบาท ข้อเสียของมหาวิทยาลัยคือช้า ต้องดูเรื่อง Agility เวลาของคนในมหาวิทยาลัยจำกัดดร.จีระชอบ Get things done การตัดสินใจที่รวดเร็ว องค์กรที่คล่องตัวจะเป็น Decisiveness ที่ควรพิจารณา Project นี้อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่ทำ และจะตกม้าตายเรื่องความช้าและการตัดสินใจที่รวดเร็วด้วย

โปรเจคนี้จะเป็นแบรนด์ของ ม.อ.ที่ชัดเจนมากเนื่องจาก ม.อ.เด่นอยู่แล้ว และมีผู้สูงอายุมากมาย และอาจเป็น Prototype ของที่อื่น ๆ ซึ่งถ้าไม่ทำ อาจเป็นรัฐบาลทำ แต่ก็อาจไม่รู้มอบใคร

ผู้สูงอายุเป็นได้ทั้งบวกและลบ ขึ้นอยู่กับว่าใช้อย่างไร โปรเจคที่รวดเร็วเมื่อมอบให้มหาวิทยาลัยอาจช้า ถ้าเราแก้ตรงนี้ได้จะเป็นประโยชน์

กลุ่มที่ 1

ถ้ามีบ้านจะซื้อเลย และจะซื้อด้วยเงินสด ที่คณบดีไม่ซื้อแต่เราอยากซื้อเป็นส่วนหนึ่ง คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ น่าจะเป็นคนดำเนินการในด้านนี้ น่าจะฝึกคนได้ อยากให้คณะมีส่วนร่วมในจุดนี้ด้วย เรื่องทุนอาจติดต่อให้ได้ มีคุณน้าเป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชน เขาน่าจะยินดีให้เขามามีส่วนร่วมในหลายส่วนน่าจะเพิ่มได้ดี

เคยทำงานกับเทศบาลคอหงส์ ถ้าจะทำในเจ้าของพื้นที่เขาน่าจะร่วมด้วย คิดว่าโครงการนี้น่าจะเป็นแนวคิดที่ดีแต่ต้องทำให้ชัดเพราะมี Rhythm & Speed เช่นมีเงินบำนาญเท่าไหร่ ต้องแบ่งเงินออกมาว่าจะจ่ายแต่ละส่วนเท่าไหร่ อยากให้มีระบบที่ชัดเจน และแบ่งกลุ่มที่เป็นรูปธรรม

กลุ่มที่ 2

อยากซื้อ ในเรื่อง Community ไม่อยากให้เป็นของคนสูงอายุอยู่ด้วยกันหมดจะรู้สึกหดหู่ อยากให้มีความสดใส และให้มีส่วน Support ด้วยได้ เช่น นักศึกษาเข้าไปดูแล หรือคนที่ไม่มีที่พักวัยหนุ่มสาว ให้เป็นอาสาสมัครช่วยดูแลพูดคุย จะเป็นการเติมช่องว่างซึ่งกันและกัน และเด็กก็จะได้รับการดูแลจากผู้ใหญ่ด้วย อยากให้มีการผสมผสานกันส่วนหนึ่งที่สำคัญคือโครงสร้างต้องมีรูปแบบที่น่าสนใจให้สร้างเป็นแบบ Complex ให้สามารถ Socialize ได้ ให้มีการเชื่อมโยงกับเรื่อง Design เพราะเป็นส่วนสำคัญ

สร้างความตระหนักสังคมผู้สูงอายุให้กับวัยรุ่นด้วย

คณบดีเสริมว่าปัจจุบันน่าจะไปไม่ได้ในหลาย ๆ ที่ อาจต้อง Focus ที่หนึ่งก่อน แล้วในอนาคตอาจมีการสร้างหอพักสำหรับนักศึกษาและ คนทำงานเพิ่มขึ้น

นพ.สุธรรมเสริมว่าน่าจะมีการให้คนมาเรียนและฝึกเพื่อจบไปแล้วจะไปสามารถประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุได้ ถ้ามีผู้สูงอายุติดเตียงจะทำให้ต้นทุนบริหารจัดการต่ำลงโดยอัตโนมัติ และสามารถสร้างคนได้ในระยะยาว

กลุ่มที่ 4

การสร้างที่พักเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ถ้าคิดเรื่องระบบดูแลจะเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว เป็นอีกส่วนหนึ่งที่คณะจะเข้าไปดูแลอาจารย์ที่เกษียณที่อยู่ในหมู่บ้านสหกรณ์

อยากซื้อด้วย แต่ต้องมีจุดเด่นต่างกับที่อื่น เช่นจ่ายเงินก่อนและให้สร้าง มีการแบ่งการดูแลผู้ป่วยในแต่ละแบบเพื่อไม่ให้ประสบปัญหาในกาดูแล คนบางส่วนที่สนใจจะไปอยู่เมื่ออายุมากระดับหนึ่งจะไม่อยากได้บ้านใหญ่ เพราะการดูแลจะน้อยลง ถ้าทำหมู่บ้านคนชราต้องสามารถตอบโจทย์ผู้ที่จะไปอยู่ด้วย มี Facility มีสวนดอกไม้ มีคนดูแล และต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในสถานที่ที่ไปสร้างต้องปลอดภัย และคนที่สูงวัยอาจมีปัญหาเรื่องจำไม่ได้ แต่ถ้าแบรนด์ PSU อาจมีการดูแลเรื่องเงินที่มีความปลอดภัย และเชื่อใจได้

อยากให้เพิ่มเรื่องรถเข็นรับส่งที่สามารถช่วยตัวเองได้

คณบดีเสริมว่าตรงส่วนนี้จะเป็นเรื่องที่ตามแบบสถาปนิกต้องคำนึงอยู่แล้วและเห็นด้วยกับความปลอดภัย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

พูดเรื่อง Universal Design แต่เป็นเรื่องกาย สิ่งที่จะช่วยเติมโครงการฯคือเรื่องชีวิตชีวาที่ใส่ไป ถ้า Community รอบข้างดี ไม่ต้องมีรั้ว เพราะจะมี Community อื่นช่วยปกป้อง มีการพูดเรื่องสมุนไพร จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีชีวิตมากขึ้น

การทำคนเดียวยาก การออกแบบต้องมีสถาปนิก เรื่องการบริหารจัดการอาจให้ขอเชิญเอกชนพูดให้ฟัง อย่างที่นพ.สุธรรมพูดว่า คอนโดมีเนียมที่หรูหราอาจมีการแบ่งเฟสแล้ว ความสนชื่นจะเห็นได้อย่างการมี Use Tell ของนักศึกษาใส่ไปด้วย

กลุ่มที่ 4 Learning and Teaching Online of Graduation

Courses : A Case Study of an Independent Study Subject

เดิมคิดจาก Macro ที่จะเปิดคอร์สออนไลน์ แต่การทำจะทำแบบ Micro เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ที่จะทำเป็นกรณีศึกษาด้วยตนเอง

หลักการและเหตุผล

Thailand 4.0 จะก้าวผ่านกับดักการทำแบบเดิมได้อย่างไร ในวงการศึกษาจะหนีไม่พ้นจากทักษะของ 3R 4C มีการสกัดนโยบายผลิตบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพ มีการทำรายวิชาเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิต

มีมหาบัณฑิตที่คัดเลือก เปิดรับสมัคร 8 คน มา 6 คน พร้อมกับหน่วยงานต่าง ๆ และโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเครือที่ต้องการพัฒนาองค์กร

บริบทพื้นที่ภาคใต้เรื่องการเดินทางและปลอดภัยอย่างนักศึกษาอยู่ภูเก็ตมา ม.อ.ใช้เวลานานหรือ นศ. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เลยกลับมาคิดเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นน่าจะออกแบบได้ ได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาที่สามารถตอบโจทย์ได้ ได้มีการทดลองก่อน 1 รายวิชาเพื่อเปิดโอกาสให้เรียนมากขึ้น มีนักศึกษาพยาบาลหลายคนที่จบไปแล้วอย่างมาเพิ่ม Add Credit ได้

วัตถุประสงค์หลักและตัวชี้วัด

ได้มีการสร้างโครงร่างงานวิจัยออกมา มีบทความตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เรื่อง และเปิดโอกาสให้ต่างประเทศสนับสนุน

มีเรื่องการวิจัย Nurcing Leader จากทั้งอินโดฯ และไทย

ยุทธศาสตร์และวิธีการดำเนินการ

- การทำ SOAR โดยให้มุ่งมั่นตั้งใจและต่อเนื่อง

- การพัฒนา Publicationต่อ มีการทำที่เป็นตัวเสริม ในด้านภูมิปัญญาที่จะส่งต่อ

- เน้นระบบการเรียนการสอนออนไลน์ได้มีการพบอุปสรรคอะไรบ้างที่ต้องเข้าไปดูเรื่องกระบวนการจัดการเรียนการสอน

- มีโรงพยาบาลในเครือสุขภาพจิตในประเทศที่เป็น Excellence

- มีการทำ มคอ. และประสานสถาบันต่าง ๆ ถึงผลประโยชน์ที่ได้และให้ Negotiate

- แผนการสร้างระบบ LMS และ LMS2 เป็นทุนสร้างสื่อนวัตกรรมต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยสนใจมาก การมีแหล่งทุนต่าง ๆ ของความร่วมมือ มีการประเมินผลรายวิชาการประเมินแบบสัมภาษณ์ มีการประเมินโครงการฯ เกิดโครงการฯวิจัยใหม่ ๆ

ปัญหาและอุปสรรค

- เครือข่ายความร่วมมือเป็นอย่างไร ยังไม่ได้ลงใน Detail

- ภาษาอังกฤษใช้ในการสื่อสารต้อง Advance

- ปัจจัยที่สำเร็จได้ต้องมี MOU ร่วมกัน

บทสัมภาษณ์

- การเรียนแบบ Sandwich Course หรือ Cource เป็นดูโอ้หรือไม่ พอเป็น on line Course จะเป็นแบรนด์ของ มศอ.

- ในปริญญาตรีทำกับอังกฤษอยู่

…………………………………………………………….

- มีความเป็นไปได้ เพราะตอนจบมาใหม่ ๆ อยากทำ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการร่วมคิด

- พยายามคิดนอกกรอบ คร่อมกรอบ คือใช้เรื่องเดิมที่ทำอยู่แต่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและ Sharing

การร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ

คณบดี

เป็นสิ่งที่พยายามทำอยู่ ต้องเป็น Interactive ที่แท้จริงให้ได้ และการประเมินผลจะเป็นอย่างไร คงทำได้เป็นบางวิชาก่อนและอาจมีการCombine ในการประเมินผล

มีการใช้โปรแกรมในการทำ ให้มีการเก็บสะสมต้องมีการเก็บและมีวิธีกำหนดในการเรียนว่าต้องเรียนได้เท่าไหร่ ในช่วงหนึ่งต้องมีการเรียนกับเรา มีบางช่วงที่ต้องเรียนทางไกลและออนไลน์ที่ต้องมีการทำ Face to Face

มีวิชาสุขภาพกายและจิตที่คนสนใจมาเรียนจำนวนมากและเรื่องภาษายังเป็นอุปสรรคอยู่ต้องทำให้ดี

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

การทำออนไลน์คอร์ส เป็นสิ่งที่ต้องเคลื่อนและต้องเริ่มทำ คนที่มาเรียนจะได้อะไร จะถูกพัฒนาอะไร เราสร้างอะไรให้กับเขาแพทย์ พยาบาลต้องมี Head ความรู้ Hand การดูแลผู้ป่วย และ Heart คือจิตใจที่พร้อมดูแลผู้ป่วย ซึ่งทั้ง 3 ข้อเป็นสิ่งที่พยาบาลต้องการมากที่สุด คำถามคือ Online ทำให้คนมี Skill ได้หรือไม่นึกถึงทางการแพทย์ที่มี Robot ที่ช่วยในการผ่าตัดสามารถทำได้ทางไกลหรือไม่ แต่ในเรื่องใจมั่นใจว่าการเรียนออนไลน์ทำได้หรือไม่ เรื่อง Transform ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างเรื่องการดูแลผู้ป่วยเป็น Skill และ Attitude ทั้งนั้น สัดส่วน Higher Education จุดหนึ่งคือจะนำพยาบาลที่ไหนมาดูแลคนป่วย ICU ดูแลคนไข้ ประเด็นคือ Skill ต่าง ๆ มากับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต การออนไลน์ได้ตอบสนองการ transform สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

อย่างไรเราก็หลีกเลี่ยง Online ไม่ได้ แต่อย่างที่ นพ.สุธรรมพูดคือ Online ไม่ได้ทดแทนได้ 100 % เราต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของ Online ที่คณะพยาบาลเมื่อเลือกแล้วและตัดสินใจรอบคอบแล้วให้ทดลองดู ที่ทดแทนได้คือ Interaction เช่น เมื่อพูดแล้ว ถามคำถามมา ต้องตอบไปในทันทีจะสามารถตอบคำถามสด ๆ จากการที่เขาทำเลยเคยทำแบบนี้ในเมืองไทยหลายครั้ง แต่ปรากฎว่าคนไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เนื่องจากไม่มี Human Touch ปัญหาคือ ต้นทุน HR ในอนาคตแพง จึงได้มีการทำเทคโนโลยีมาแทนเราอาจทำเป็น Center แล้วอาจารย์คนนั้นสามารถโต้ตอบได้ สิ่งนี้จะช่วยได้เยอะ อย่างไรก็ตามเทรนด์ออนไลน์กำลังมา เราอาจเริ่มทดแลองและพัฒนาไปเรื่อย ๆถ้าจะทำเรื่องออนไลน์ต้องมีกลุ่มคนที่มีความชำนาญ และช่วยกันทำงานด้วยกันมากขึ้น

กลุ่มที่ 1

บุคลากรที่ทำตรงนี้ไม่ใช่คนเดียว หลายอย่างต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก

กลุ่มที่ 2

ต้องมีการ Guide ส่วนตัว อาจต้องมีการ Face to Face มากกว่าเรียนการไกล อาจให้เริ่มต้นจากการสร้างหลักสูตรว่าหลักสูตรไหนอย่างให้เรียนการไกล เรียนทั้งหลักสูตรไม่ได้ ความร่วมมือถ้าจะดึงเอาต่างประเทศมาด้วยคงเป็นระยะหลังที่ขยายไปในส่วนต่างประเทศ และยังคงเป็นปัญหาเรื่องภาษาต่างประเทศด้วย

การจัดเป็น CNEU ที่จะเรียนแล้วได้ CNEUที่สามารถนำไปต่อใบกำกับโรคศิลป์ที่ต้องเชื่อมกับสภาการพยาบาล

กลุ่มที่ 3

ข้อดีการออนไลน์ช่วยทำให้อยู่กับครอบครัว ลดระยะเวลา และเงิน และมีการ Concentrate การศึกษาและจบได้เร็วขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ถ้าเอาคอร์สออนไลน์ อาจเรื่องบางวิชาที่สามารถเรียนเพื่อต่อยอดได้ หรือเป็นในบางวิชาที่สามารถ Refresh ได้

การ Expand วิชาออกไปอาจเริ่มจากตรงนี้ก่อน

อย่างไรก็ตามการที่ทุกกลุ่มมาร่วมแสดงความคิดเห็นอาจมีสิ่งที่ไปเติมเต็ม

การแสดงความคิดเห็นรวม 4 กลุ่ม

คณบดี

ทุกโครงการสามารถทำได้ อย่างในกลุ่ม 3 อยากให้เริ่มเป็นโครงการของมหาวิทยาลัยและมีส่วนอื่นร่วมด้วย ทุกโครงการฯ ไม่ได้เริ่มจากศูนย์แต่เริ่มจากส่วนที่มหาวิทยาลัยคิดอยู่แล้ว แต่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้อย่างไร

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

เรื่อง Health Communication อยู่ที่การสร้างคนไปในระบบสาธารณสุข สิ่งที่ต้องสร้างต้องใช้ได้จริง

อาจมีการมองเรื่อง Outside-In ว่าลูกค้าต้องการอะไรกับเรา การตามทันได้ต้องอยู่ในองค์กรวิชาชีพ สิ่งที่จะนำไป Implement จะอยู่ในหน้างานจริง ๆ แต่เราพร้อมที่จะปรับตัวและตอบสนองหรือไม่ มั่นใจว่าภาคเอกชนยังคงต้องการตอบสนองจากภาครัฐมาก ในส่วนของพยาบาลมีส่วนที่เราทำได้

ดร.จีระ หงส์ดารมภ์

การนำทั้ง 4 กลุ่ม และโยงไปถึงวันแรกที่เรียน และทบทวนความรู้ กลับไปทบทวนอีกครั้งว่า Relate กับสิ่งที่เราคิดอย่างไร จบแล้วมี 4 โปรเจคคือผู้สูงอายุ เทคโนโลยี แต่โครงสร้างมีกิจกรรมมากมายที่ใส่ Input ในตัวเรา มีโอกาสที่ต้องพบกันบ่อย ๆ อย่าหยุดการเรียนรู้ บรรยากาศแบบนี้อยากให้เป็นความรู้สึกที่อยู่กับเราเป็นการแชร์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนงาน Routine เป็นงานยุทธศาสตร์มากขึ้น ให้ถามว่าWhat’s important to me today? ดร.จีระ เป็นเพียงจุดประกายให้เกิดอารมณ์ที่เอาชนะอุปสรรค (Mojo)

บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯ สู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.และคณะพันธมิตรโดยตัวแทนของ 4 กลุ่ม

กลุ่ม 1

ดีใจที่ได้รับการอบรมในครั้งนี้ มาแล้วรู้สึกประทับใจมากคือ มีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ความรู้ในห้อง8K’s 5K’s 3 V’s ติดตัวมาก

สิ่งที่ชอบมากสุดจากการไปข้างนอกคือบัลวี ได้มีความประทับใจมากขึ้น ไม่เฉพาะความรู้ข้างใน ต้องรักษาสุขภาพกายและจิตด้วย

กิฟฟารีน เห็นความเป็นผู้นำของนายแพทย์ 2 ท่าน ที่นำความเป็นคุณธรรมมาบริหาร มีการต่อยอดมาก มีการทำวิจัยเราสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดงาน

ประทับใจเรื่องหนังสือ คือการบ้านจากการอ่านหนังสือที่ต้องอ่านให้แตกและวิเคราห์ มีการ Lear – Share –Care

ประทับใจวิทยากรจากข้างนอก สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานได้ค่อนข้างดี

สุขที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน อยากให้มีการ Re-union และอยากให้มีสระว่ายน้ำในโครงการฯ

กลุ่ม 2

ประทับใจในหลักสูตร เนื้อหา ความรู้ วิชาการ ฝึกความเป็นผู้นำ การมีทีมเวอร์ก มีการปะทะกันทางปัญญาเป็นระยะ ๆ มีการเรียน Art & Science เป็นแรงบันดาลใจต่อผู้นำในอนาคตได้ ทำให้เป็นผู้นำก้าวสู่อีกระดับหนึ่งของการเป็นผู้นำในอนาคตได้ การเปิดโอกาสให้พันธมิตรมาร่วมด้วย ขอบคุณคณะพยาบาลศาสตร์ที่ให้การสนับสนุน ขอบคุณทีมงานคณะพยาบาลศาสตร์ทุกท่านที่ช่วยให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ขอบคุณดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงานที่ช่วยให้ประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น ขอบคุณวิทยากรที่หลากหลาย

ขอบคุณพันธมิตรทุกท่านที่ช่วยแชร์ความหลากหลาย การมองต่างมุมต่าง ๆ คาดว่าจะได้เครือข่ายพันธมิตรร่วมในการดำเนินการในอนาคต

การปลูกผ่านไปเรียบร้อยแล้ว รอการเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวจาก 4 โครงการ และศักยภาพในอนาคต

กลุ่ม 3

ขอบคุณที่ได้เจอบรรยากาศการเรียนแบบนี้ และได้เจอพันธมิตร น่ารักมาก ๆ วันแรกตั้งแต่ทำงานมาอยู่แต่สวนไม่คิดว่าจะมาในวันนี้ ขอบคุณที่ทำให้โตขึ้น

กลุ่ม 4

ตัวอย่างของการเป็นผู้นำ สิ่งที่อาจารย์ปฏิบัติเห็นการปฏิบัติจริงต่ออาจารย์ที่ได้รับความกรุณามาก ๆ นำความรู้ที่ได้ไปทำจริงให้เกิดผลขึ้นจริง ๆ ขอบคุณคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ที่ให้มาเรียนในครั้งนี้ ขอบคุณดร.จีระ และทีมงานที่ทำทุกอย่างร่วมกันเป็นทีม ที่จะนำไปใช้ในการทำงานของคณะพยาบาลและคณะพันธมิตร

ผศ.ดร.ลัพณา กิจรุ่งโรจน์ ประธานรุ่นฯ

ในช่วงชีวิตมี 2 Phase ได้เรียนรู้ ครั้งแรกได้ไปในฐานะพันธมิตร ได้ไปเรียนรู้ และรู้จักพันธิตรเยอะมาก เหมือนกบนอกกะลา และการเรียนในครั้งที่ 2 เป็นการตอบโจทย์ว่าทุกครั้งที่เรียนจะเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง มีการพูดซ้ำให้เห็นและทำให้เชิงประจักษ์ให้เห็นว่า Chira Way สามารถทำได้จริง เป็นลักษณะ Universal Love จะรู้จริตของคณะพยาบาลและพันธมิตร ที่ถูกจริตมากคือหนังสือ ที่สำคัญคือแบ่งอ่านหนังสือกันคนละบทแต่มีความรับผิดชอบในหน้าที่แต่สามารถเป็นจิ๊กซอว์ที่ต่อได้งดงามมาก สิ่งหนึ่งที่มีคือ Passion มีPurpose of life ต้องมี People และ Partnership ทุนแต่ละคนมีดีแต่ไม่มีโอกาสให้ Opportunities กับเขา ซึ่งสิ่งที่ทำดีมาก สามารถสร้างอนาคตผู้นำ อีกเรื่องคือการไปดูแบบอย่างองค์กรชั้นนำ และการมีธรรมาภิบาลที่ต้องก้าวสู่สากล อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือมาตรฐานธรรมาภิบาลเป็นทุนสำคัญที่จำนำพาองค์กรไปได้อย่างยั่งยืน

Productivity จะมี Speed & Rhythm ทุกคนพยายามทำ Productivity เป็น Step แรกในการนำความรุ่งเรืองสู่คณะ เป็นคุณค่าที่ปรารถนาจะให้เกิด มีการปลูก เก็บเกี่ยวอย่างมีคุณค่า ทุกครั้งที่พูดจะเห็นความเชื่อมโยงตรงนี้เสมอ และเป็นการมองให้ไกล ทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และดำเนินการไปด้วยกัน สืบสานความดี ให้มองว่ากิจเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ขอบคุณที่ช่วยทำให้สิ่งนี้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และหวังว่าจะเป็นการต่อเนื่องที่ยั่งยืน

คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

ขอขอบคุณคณะพยาบาลเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาส รวมถึงคณะอื่น ๆ ที่ได้มาร่วม หลังจากนี้ ที่ผ่านมามีแต่คนพูดว่ามีแต่คนประทับใจ Chira Way ทุกคนชื่นชมและประทับใจ ขอให้ความรู้นี้อยู่กับตัวทุกคน และพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ สร้างประโยชน์ให้กับอาชีพ สังคม และประเทศชาติต่อไป

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณท่านคณบดีอรัญญา เมื่อประมาณปีกว่าที่แล้ว ท่านคณบดีมีความมุ่งมั่นที่จะทำเรื่องคน และคณบดีเภสัช ซึ่งปีที่แล้วได้ไปพูดให้นักศึกษากว่า 200 คน ซึ่งคณบดีเภสัช นั่งอยู่ด้วย มีตัวแทนกลุ่ม และประธานรุ่น แต่ละท่านพูดด้วยความรู้สึกที่ทำให้แต่ละท่านเห็นคุณค่า ในวันนี้ไม่ได้ทำงานคนเดียว งานของ ดร.จีระ ได้ยกมาตรฐานการทำงาน อย่างคุณพิชญ์ภูรีได้ช่วยหลายเรื่อง ได้พัฒนาตัวเองเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่า ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง และบางทีอาจถึงเวลาที่จากไป

อย่างคุณธัญนพ ก็จะใฝ่รู้ อยู่กับดร.จีระ มาหลายปี

ในหลักสูตรนี้ ไม่เคยสอนคนที่จบ ดร.และมีตำแหน่งทางวิชาการมากเท่าวันนี้ และก่อนหน้านี้ อาจรู้สึกว่ามีปัญหาเพราะคนมีความรู้มากแล้วจะมีความคิดหลากหลาย แต่ที่คณะพยาบาลและพันธมิตรเป็นสิ่งที่น่าประทับใจมากเลย อย่างการวิจารณ์โครงการฯ ที่จะติดตามดูแล ที่เสนอโครงการฯ ต่าง ๆ บางเรื่องต้องใส่ Input เข้าไป

หลังจากวันนี้จะได้พบกันอย่างไม่เป็นทางการ และจะส่งหนังสือมาให้คิดอยู่เสมอ

ถ้าไม่มี ท่านคณบดีอรัญญา ก็จะไม่เกิดโครงการฯในครั้งนี้ และคงไม่มีความรู้สูงขึ้นเท่านี้ ถือโอกาสขอบคุณท่านคณบดีอรัญญาด้วยความเคารพ คือมีทั้ง Heart และ Head และมีความกรุณา

ผู้นำที่ดี ตำแหน่งไม่สำคัญคือ ผู้นำที่มีตำแหน่ง และผู้นำที่มี Trust หลายคนที่ไม่มีตำแหน่งก็สามารถสร้าง Trust และความไว้ใจได้

รศ.ดร.อรัญญา เชาวลิต

ผู้นำทุกท่าน ต้องขอขอบคุณศ.ดร.จีระที่ดึงศักยภาพผู้นำในแต่ละท่าน สิ่งหนึ่งที่เชื่อว่ายังขาดและได้รับการเติมเต็มคือศักยภาพผู้นำ เชื่อว่าประเทศนี้จะเจริญได้ต้องมีความเป็นผู้นำของทุกคน อย่างทุกท่านที่อบรมจะเป็นผู้นำที่ดึงศักยภาพของคนในคณะของแต่ละคณะ สร้างให้เกิดศักยภาพในการทำหน้าที่เพื่อ ม.อ.

เป็นแสงสว่างที่ชัดเจนจากวันแรกที่อาจยังดูเบลอ ๆ แต่ในวันนี้เริ่มเห็นความชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงสมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย ซึ่งสิ่งที่มีอยู่จะนำมาใช้ได้ยากถ้าไม่มีการใช้เครื่องมือดึงสมองมาใช้ สิ่งที่อยากเห็นคือการดึงศักยภาพผู้นำให้ชัดเจน และมีเครื่องมือในการนำพาคณะสามารถอยู่กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงได้

และตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกทำโครงการฯนี้ ซึ่งการเป็นผู้นำฯ ต้องมีคนที่เป็นมืออาชีพจริง ๆ และมีวิทยากรที่น่าสนใจ การเป็นผู้นำจะทำให้เกิด Beyond Expectation ได้ ขอให้ทุกคนทำงานได้อย่างดีที่สุด และให้ทำงานอย่างไม่รู้สึกว่าเหน็ดเหนื่อย ทีมนี้เป็นทีมที่ The Best ของคณะพยาบาลศาสตร์ และเป็น Vision ที่ต้องดึงศักยภาพออกมาให้ได้ มั่นใจว่าอาจารย์จะใช้เครื่องมือนี้ไปพัฒนาแต่ละคณะได้ด้วยเช่นกัน

มีการสรุปติดตามและประเมินผลอย่างเข้มข้นและเป็นระยะ ๆ สำเร็จหรือไม่สำเร็จเกิดจากอะไร สิ่งใดที่ไม่สำเร็จดูว่าไม่สำเร็จเพราะอะไร มีอะไรที่ Facilitate ก็ทำ



#โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่1

#PSUNurse1

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5

http://www.naewna.com/politic/columnist/29979

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 หน้า 5


http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/628017

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 27 เมษายน – 11 พฤษภาคม 2560

https://youtu.be/g0dkhclgGpE

ที่มา: รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: กิจกรรมเพื่อสังคมสร้างสรรค์..จากห้องเรียนผู้นำที่คณะพยาบาลศาสตร์

ม.อ. ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

https://youtu.be/UOZrPyH4DXk

ที่มา:รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: ห้องเรียนผู้นำสัญจร.. เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจกับการสาธารณสุขที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น.สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

https://youtu.be/-UW03BzTHOk

ที่มา:รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: ห้องเรียนผู้นำสัญจร.. เรียนรู้ศาสตร์พระราชาที่มูลนิธิชัยพัฒนา ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

https://youtu.be/LOPzIo83Wuk

ที่มา: รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน : Chira Way ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ออกอากาศ : วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

หมายเลขบันทึก: 628860เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2017 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2017 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท