เรื่องเล่า ดร. ผึ้ง ตอน 11(1) ครูเพื่อศิษย์....มีจริงหรือ? ตอน ครูที่เชี่ยวชาญในศาสตร์และชำนาญในศิลป์



เคยได้ยินคำว่า “ครูเพื่อศิษย์” มานานแล้ว แต่ผู้เขียนก็ไม่เคยพบ ไม่เคยรู้จัก “ครูเพื่อศิษย์” สักคน จึงเกิดคำถามในใจว่า

  • “ครูเพื่อศิษย์” มีจริงหรือ
  • “ครูเพื่อศิษย์” ต้องมีคุณลักษณะเช่นไร
  • “ครูเพื่อศิษย์” แตกต่างจากครูทั่วไปอย่างไร
  • และอีกหลายคำถาม


เรื่องเล่าตอนนี้ ขอกล่าวถึง “ครูเพื่อศิษย์” ท่านหนึ่ง ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากท่าน


ครูเพื่อศิษย์ ท่านนี้ เป็นแพทย์ชาวอเมริกาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่เชี่ยวชาญด้านสถิติเพื่อการวิจัย โดยเป็น peer review ใน part statistics ให้วารสารนานาชาติชื่อดังหลายแห่ง


ซึ่งแรกเริ่มนั้นผู้เขียนได้ขอคำปรึกษาเรื่องการคำนวณหาจำนวนตัวอย่าง สำหรับงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งเขียนขึ้นมาสำหรับใช้สอบ qualifying examination โดยใช้ cluster random โดยได้ส่งรายละเอียดเบื้องต้นให้ท่านทราบทาง email ล่วงหน้า และคาดหวังว่าท่านจะอธิบายหรือให้คำตอบทันที


ท่านให้เข้าไปพบในวันหนึ่งของเดือนมีนาคม 2556 ผู้เขียนไปพบท่านแบบ PASSIVE STUDENT เหมือนนกแก้ว นกขุนทอง โดยคาดหวังว่าครูจะบอกคำตอบหรืออธิบายที่มาที่ไปของการคำนวณ (TEACHER AS AUTHOR) ดังนั้นการเข้าไปพบครั้งนี้ คงใช้เวลาไม่นาน


แต่ผิดคาด ท่านไม่ได้เป็น author แต่ท่านเป็น tutor



เมื่อไปถึง ท่านให้ผู้เขียนเล่าให้ฟังว่าจะทำอะไร ศึกษาอะไร outcome คืออะไร ซึ่งผู้เขียนต้องอธิบายเป็นภาษาอังกฤษด้วยความทุลักทุเล และต้องเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจ เพราะท่านพูดภาษาอังกฤษ วันนั้น ไม่ได้นั่งฟังอย่างเดียว ต้องโต้ตอบสื่อสารด้วย ท่านถามความรู้พื้นฐาน เช่น type I error, type II error, design effect, ทำไม alpha ต้องหารสอง, ทำไม beta ไม่หารด้วยสอง และอีกหลายคำถาม


นอกจากนี้ ท่านมักจะถามความเห็น ว่าคิดอย่างไร จากที่ตั้งใจเข้าไปพบสามสิบนาที กลายเป็นสามชั่วโมง


ไม่เพียงแต่จะได้คำตอบที่ต้องการในการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างสำหรับ cluster randomization ดังภาพประกอบด้านล่าง ผู้เขียนยังได้รับการชี้แนะ หลักการ จุดสำคัญในการพิจารณา เลือกใช้สูตรคำนวณ ให้พิจารณาจากอะไร ซึ่งส่วนสำคัญตรงนี้ ไม่เคยมีอาจารย์ท่านไหนชี้แนะ รวมถึงใน text book ที่ผู้เขียนหามาศึกษา ก็ไม่ปรากฎ key point หรือ hint ส่วนนี้ จะมีก็เพียงแต่ตารางสรุปการเลือกใช้สูตรเท่านั้น ลงท้ายคือท่องจำทั้งตาราง โดยขาดความเข้าใจ




ความรู้ที่ได้มาจากการท่องจำ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ก็ลืม (ได้หน้าลืมหลัง) แต่ความรู้ที่มาจากความเข้าใจ แม้เวลาผ่านไป ก็ไม่ลืม


ทั้งๆ ที่ ผู้เขียนเคยเรียนวิชาสถิติ มาหลายครั้ง เนื้อหาเหมือนเดิม สูตรเดิม ไม่มีอะไรแตกต่าง นอกจากวิธีการที่ครูสอน จุดสำคัญที่ชี้แนะ ซึ่งผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจมากว่า ทำไม ไม่มีใครสอนได้เข้าใจแบบครูท่านนี้สอน


ที่ผ่านมาในชั้นเรียนจะได้สูตรคำนวณ มานั่งกดเครื่องคิดเลขทันที ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเจอ two-tailed test (alpha divided by two) แต่เมื่อมาอ่านพบ upper-tailed, lower-tailed test ใน article บางชิ้น ก็จะไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความสับสนว่าควรใช้สูตรไหนกันแน่ ส่งผลเชิงลบต่อการศึกษาด้วยตนเองในระยะยาว


ครูท่านนี้เหมือนผู้มาชี้ทางสว่างให้เห็นว่าวิชาสถิตินั้น ไม่ใช่เรื่องยาก


อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจ กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งต่างจากการเรียนที่ผ่านมา ดังนั้นน่าจะมีความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงบางอย่างระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดย Fried, R.L. (2001). The Passionate Teacher: A Practical Guide. Boston: Beacon Pres. ได้อธิบายเหตุผลไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

  • If students know that teachers get immersed in their subjects and sets high standards for students, they take their studies more seriously. At this point, teaching ceases to be a job done by force, and turns into an inspiration for students.
  • There is little chance of building a relationship based on respect and trust between teacher and student unless a collaborative learning environment and willingness to take risks are not created.
  • Students will not have motivation to learn as long as they do not have a clear idea of how to apply things they have learnt to their own lives.



แม้ว่าสามชั่วโมงในวันนั้น ผู้เขียนยังไม่ได้พบ “ครูเพื่อศิษย์”

แต่อย่างน้อยผู้เขียนก็ได้พบ “ครูที่เชี่ยวชาญในศาสตร์และชำนาญในศิลป์ด้านสถิติการวิจัย”


  • “เชี่ยวชาญในศาสตร์” ในที่นี้หมายถึง มีความรู้ลึก รู้จริง แม่นยำในศาสตร์แขนงวิชานั้นๆ
  • “ชำนาญในศิลป์” ในที่นี้หมายถึง มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ศาสตร์ นั้นๆ โดยสามารถนำศาสตร์พื้นฐานมาปรับใช้ในการค้นหาคำตอบ



“ครูเพื่อศิษย์” มีจริงหรือไม่ ติดตามต่อในตอน 11(2) ค่ะ



ภัทรพร คงบุญ

17 พฤษภาคม 2560

หมายเลขบันทึก: 628588เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2017 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2017 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think the expectation of our 'teachers' from 'our background' (having been through repetitions of 'learning by roting'), makes our brain 'numb' instead of 'nimble'. I read and see that the 'tutor' is shining lights into details and 'principles' of statistics for true understanding. But most people expect 'forced feeding' (like when we are babies).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท