"หลักเหตุและผล" ...บางครั้งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของชีวิต


คนเราห้ามไม่ได้ที่จะต้องเดินชนกับมนุษย์เห็นแก่ตัว แน่นอนใครบ้างที่ไม่หัวเสีย ไม่ต้องอะไรมาก แค่เราต้องใช้ความพยายามออกมาจากวังวนความเจ็บปวด วังวนความทุกข์นั้นให้ได้ก็ยากเต็มทน เพราะว่าความเห็นแก่ตัวของคนๆ หนึ่ง บางครั้งมันอยู่ภายใต้อารมณ์และสันชาติญาน ของคนๆ นั้นดังนั้นมันจึงไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการและเหตุผลใดๆ ของมนุษย์ปกติได้ ดังนั้นการที่เราต้องพยายามออกจากวังวนความเจ็บปวดนั้นด้วยเหตุผลและเหตุผล จึงไม่สามารถทำได้

แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะทำให้เราหลุดจากวังวนนั้นให้ได้ เพราะในสังคม แต่ละวัน เราต้องเจอกับความไม่เข้าท่าของคนมากมาย โดยที่เค้าไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเค้าไม่เข้าท่า ซึ่งหากเรามานั่งเครียด เสียสมอง กับความไม่เข้าท่าเหล่านั้น มันจะเปลืองพลังงานชีวิต เพราะชีวิตของเรา ยังมีสิ่งสวยงามให้เก็บเกี่ยวอีกมากมายและยาวไกล


การอยู่ร่วมกันในสังคม ให้มีความสุขจึงต้องใช้กลยุทธ์มากมาย บางครั้งการดื้อดึงที่จะเอาชนะกันอย่างเดียว ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะการแพ้หรือชนะ ไม่ได้วัดว่า เราจะมีความสุขเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เลย จริงๆ มันคือความรู้สึกชั่ววูบ ที่เกิดขึ้นกับเราขณะนั้นๆ แล้วมันก็หายไป ร่องรอยของมันหลังจากนั้นต่างหากที่สำคัญ

หรือแม้กระทั่งบางครั้ง ถ้าเรามานั่งคิดว่า เราถูกเอาเปรียบ ถูกละเมิดสิทธิ แล้วก็มานั่งอารมณ์เสีย เครียด มีความทุกข์ ลองมาคิดไตร่ตรองให้ดีๆ จะพบว่า คนที่ละเมิดสิทธิของเรา เค้าได้ไปจริงหรือ? แล้วเค้ามีความสุขจริงหรือ?

แล้วตัวเราเองล่ะ เสียเปรียบจริงหรือ? …..

ซึ่งในความเป็นจริงนั้น สิ่งที่เราคิดว่าเสีย มันไม่ได้เสียจริง มันได้อะไรเพิ่มมามากมาย แต่อาจจะเป็นมิติอื่นๆ เพราะชีวิตจริง มันคือสมการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงที่ซับซ้อน เลยทำให้สามารถเข้าใจได้ยาก มนุษย์จึงมักจะมองไม่เห็นสิ่งที่ตัวเองได้ จากความสูญเสีย เลยรู้สึกเป็นทุกข์ นี่คือตัวอย่างหนึ่งของวิธีคิดที่ไม่ใช้หลักเหตุและผล


ในความเป็นจริงมากกว่าครึ่งหนึ่งของความทุกข์ในชีวิตของมนุษย์ เกิดจากการใช้หลักเหตุและผลนำทางชีวิต และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาในชีวิต พยายามจะหาทางออกด้วยหลักเหตุและผล จึงมักจะมีคำถามวนเวียนอยู่ในสมองตลอดเวลาว่า ทำไมเป็นอย่างนั้น? ทำไมเป็นอย่างนี้? ทำอย่างนี้ได้อย่างไร? หรืออะไรก็แล้วแต่ คำถามเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่พยายามหาเหตุผลมาอธิบายทั้งสิ้น แต่คำตอบก็ยังอยู่ในวังวน จึงเหมือนกับพายเรือในอ่าง หาทางออกไม่ได้ จนต้องจมอยู่ในความทุกข์ จมอยู่ในความเจ็บปวด นานเข้าจนในที่สุดกลายเป็น pain body (เรือนร่างที่เจ็บปวด)

ปัญหาหลักของคนเราจึงมักจะติดกับดัก เหตุและผลหรือตรรกะนี่แหละ จริงๆ การคิดเช่นนั้นก็ไม่ได้ผิดหรอก เพราะในความเป็นจริง หลักเหตุและผลเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ที่สามารถอธิบายให้มนุษย์สามารถยอมรับและเข้าใจได้ แต่เราต้องยอมรับว่า เรื่องบางเรื่อง ปัญหาบางปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต บางครั้ง ยากที่จะหาคำตอบจากเหตุและผลได้ ซึ่งเมื่อใดก็ตาม ที่เราต้องการหลุดจากปัญหา หลุดจากความเจ็บปวด หรือหลุดจากความทุกข์เหล่านั้น เราต้องใช้สิ่งที่อยู่เหนือเหตุและผล นั่นก็คือ ปัญญาที่เหนือเหตุและผล มานำทางชีวิต เพราะเรื่องบางเรื่องเป็นการกำหนดของพระผู้สร้าง อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ หรือจะเรียกว่าเป็นกฏธรรมชาติก็แล้วแต่ ดังนั้นเราลองมาฝึกใช้ชีวิตอย่างที่ต้องมองข้ามเหตุและผลไปบ้างก็ดีนะ เพื่อความสุข สงบ ของชีวิตเราเอง

หมายเลขบันทึก: 628533เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you for the good read.

You are absolutely right that "logics" are man-made and some are not consistent with the laws of Nature. Not knowing or understanding these "laws of physics, chemistry, biology,..." we live and let live.

ขอบคุณมากๆ คะ สำหรับกำลังใจคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท