​การศึกษากับการเมืองไทย



บทความเรื่อง Poor schools are at the heart of Thailand’s political malaise ในนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ บอกว่า ในประเทศไทยการลดช่องว่างของคุณภาพการศึกษาระหว่างเมืองกับชนบท เป็นเรื่องสำคัญต่อการลดความขัดแย้ง ทางการเมืองระหว่างชนบทกับเมือง ที่คุกรุ่นอยู่ในปัจจุบัน


สภาพปัจจุบันคือ โรงเรียนในชนบทที่ลูกคนจนเข้าเรียนมีคุณภาพต่ำ คนรวยในเมืองมีเงินส่งลูกเข้าโรงเรียนดีๆ เข้าโรงเรียนกวดวิชา หรือส่งไปนอก ดังนั้นสภาพการศึกษาไทยในปัจจุบัน จึงเป็นตัวการสร้างความแตกแยก แบ่งชนชั้นทางสังคม


เขาอ้างผลสอบ PISA ที่ไทยอยู่ในกลุ่มต่ำสุด และผลของปี 2015 ต่ำกว่าของปี 2012 และผลของการวิจัยพบว่าเด็กไทยอายุ ๑๕ ปี หนึ่งในสามอยู่ในสภาพ “functionally illiterate” และตัวเลขนี้สำหรับเด็กที่เรียนในโรงเรียนในชนบทสูงถึงครึ่งหนึ่ง


บทความเอ่ยถึงงบประมาณด้านการศึกษาที่สูงลิ่ว หมดเปลืองไปกับโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่จำเป็นต้องคงไว้ และระบบโรงเรียนและการสอนที่ล้าหลัง


วิจารณ์ พานิช

๒๕ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 628528เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2017 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2017 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท