ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก กรณีศึกษา การจัดการขยะ ชุมชนเมืองสวนตะไคร้ (ครี่งที่ 10)


การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการลงมาศึกษาเรื่องกระบวนการจัดการขยะ

ของชุมชนสวนตะไคร้


จากการที่ทางกลุ่มของพวกเราได้ลงมาศึกษาเรื่องกระบวนการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสวนตะไคร้ หมู่ที่ 7 ตำบลนครนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ทำให้ทราบว่า ชุมชนสวนตะไคร้ จ.นครปฐม ที่มีจำนวนปริมาณของขยะที่มากและในปีที่ผ่านมา ได้มีผู้นำและประชาชนในชุมชนได้ร่วมกัน ริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะล้นชุมชน โดยการจัดตั้งองค์กรชุมชนและจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นภายใต้โครงการเครือข่ายทำความดีเพื่อพ่อ เพื่อแสดงพลังในการทำความดี และแสดงความจงรักภักดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและก่อให้เกิดการสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์ชุมชนที่เราอยู่ และการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนควบคู่กันไป นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง จนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาผลาญและฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลดปริมาณขยะได้ และกิจกรรมธนาคารขยะจะมีเป็นประจำวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน โดยการเก็บขยะบริเวณบ้านเรือนริมคลอง ในเขตพื้นที่ชุมชนโดยประสานกับร้านรับซื้อขยะ มารับซื้อขยะโดยตรงจากประชาชนเอง ในการรับซื้อแต่ละเดือนจะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งให้ทราบ เป็นเสียงตามสายเพื่อให้ประชาชนในชุมชน ได้มีการเตรียมตัวที่จะรวบรวมขยะเพื่อที่จะนำมาจำหน่าย การจัดตั้งโครงการนี้สรุปได้ว่า เป็นรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการขยะมูลฝอยที่จะแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเป็นการมุ่งเน้นให้ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันนำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วมกัน ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว การจัดการขยะในชุมชนจะประกอบด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาระบบการจัดการขยะมูลฝอยครบวงจร ตั้งแต่ระบบการเก็บรวบรวม การคัดแยกขยะ การนำกลับไปใช้ประโยชน์ เพื่อดำเนินการจัดการในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ โดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะที่เกิดจากแหล่งกำเนิดต่างๆ และการคาดการณ์ในอนาคต ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยก การเก็บรวบรวม การขนส่ง การนำไปใช้ประโยชน์และการกำจัดโดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม รวมทั้งการคัดเลือกพื้นที่ รูปแบบของการบริหารจัดการ และการมาตรการลดปริมาณขยะมูลฝอย โดยจัดให้มีการรณรงค์การเดินเก็บขยะภายในชุมชนสวนตะไคร้ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กๆ และคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสวนตะไคร้มีความขาวสะอาดตาไร้ขยะมูลฝอย และการที่ได้มีธนาคารขยะก็ทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย และเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนได้มีความอยากที่จะเก็บขยะและไม่ทิ้งขยะตามที่ต่างๆ และเพื่อเป็นการให้เด็กๆ ในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการรักชุมชนของตัวเอง และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การจัดการขยะในชุมชนสวนตะไคร้ได้แสดงให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนให้มีการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะและได้รับผลกระทบจากการทิ้งขยะมูลฝอยทั้งสิ้น เช่น ร้านค้า ประชาชนทั่วไป ซึ่งมีผลให้สิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัยของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการทิ้งขยะรวมถึง การให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาเป็นหลักการสำนึกในอันที่จะต้องช่วยกันเสริมสร้างและช่วยให้ชุมชนมีความสะอาดไร้ขยะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนและคนในชุมชน เมื่อชาวบ้านไม่มีจิตสำนึกและความรู้ในเรื่องของการจัดการขยะอีกทั้งไม่ได้รับการเข้าถึงของเทศบาลที่จะมาเก็บขยะ จึงก่อให้เกิดปัญหาของขยะล้นชุมชน ส่งผลให้ชุมชนเกิดการหมักหมมของขยะ ส่งกลิ่นเหม็นและสร้างความสกปรกให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลไปยังแม่น้ำลำคลอง เพราะเกิดจากน้ำในขยะที่สะสมไหลลงไปสู่คลอง ส่งผลให้คลองน้ำเกิดการเน่าเสียและทำให้น้ำไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใดๆ ได้ ล้วนแต่เป็นมลพิษและสร้างความเสื่อมถอยให้กับทางด้านร่างกายและจิตใจของคนในชุมชนสวนตะไคร้เป็นอย่างมาก ชุมชนเมืองสวนตะไคร้เป็นอย่างมาก ชุมชนเมืองสวนตะไคร้จึงได้จัดตั้งโครงการทำความดีเพื่อพ่อ คือได้จัดตั้งธนาคารขยะขึ้นมา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการจัดการขยะ เพื่อสร้างความรักชุมชนของตนเอง และเพื่อให้ชาวบ้านและเยาวชนในพื้นที่ให้รู้จักการคัดแยกขยะและยังสามารถนำขยะนั้นมาแลกเป็นเงินได้อีกด้วยและยังช่วยลดการทิ้งขยะในชุมชน กิจกรรมการรับซื้อขยะจะมีการจดบันทึกกิโลของขยะว่าใครทำสถิติได้มากกว่า พอสิ้นปีก็จะนำจดบันทึก ใครขายขยะได้มากกว่าก็จะได้รับโบนัสของรางวัล เพื่อเป็นการให้กำลังใจในการคัดแยกขยะเพื่อให้ประชาชนได้มีแรงจูงใจในการเก็บและคัดแยกขยะต่อไป และเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะภายในชุมชนให้น้อยลง

จากการที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องกระบวนการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสวนตะไคร้ ตำบลนครนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ทางคณะผู้วิจัยได้คาดการณ์ประโยชน์ที่จะได้รับดังนี้

1.ได้ทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนสวนตะไคร้และธนาคารขยะในชุมชนสวนตะไคร้

2.ได้ทราบเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการจัดการขยะของชุมชนสวนตะไคร้

ปัญหาและอุปสรรค

จากการที่ได้ศึกษาองค์กรกระบวนการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมชุมชนสวนตะไคร้ ตำบลนครนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีปัญหาและอุปสรรคดังนี้

1.ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากเทศบาล น้อยครั้งที่เทศบาลจะเข้ามาให้ความสนใจและแก้ไขเรื่องปัญหาของขยะ

2.ชาวบ้านบางส่วนยังไม่ทราบถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ภายในโครงการได้จัดทำขึ้น

3.สมาชิกในโครงการขาดความสามัคคีในการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

4.คนในชุมชนมีการเก็บขยะมาจำหน่ายน้อย และชาวบ้านบางส่วนก็ไม่มีเวลาที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรม


ทั้งนี้หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ขาดตกบกพร่องไปหรือการกระทำใดที่อาจจะล่วงเกินไปบ้างในการลงไปในพื้นที่ของท่านทางกลุ่มของพวกเราต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย แต่หากสิ่งใดที่ได้ทำแล้วเกินประโยชน์ต่อสาธารณะทางกลุ่มของเราก็ขอให้ท่านปฏิบัติต่ออย่างต่อเนื่อง ทั้งทางกลุ่มของเราต้องขอขอบคุณที่ทุกท่านให้ความร่วมมือและดูแลทางกลุ่มของเราเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ทางกลุ่มของข้าพเจ้าจะไม่มีวันลืม


ขอบคุณครับ



(รักและเคารพ จากกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม สาขาการพัฒนาชุมชน)


หมายเลขบันทึก: 628502เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2017 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2017 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท