วัฒนธรรมกระดาษเปื้อนหมึก: ขยะของระบบการพัฒนา???


ยังมีข้อมูลที่น่าขนหัวลุกไปกว่านั้นก็คือ ระบบการใช้เงินที่มีหลักฐานครบในระบบการทำงานของประเทศไทยนี้ ทางฝ่ายปฏิบัติเขาได้รับและมีเงินใช้จริง เพียง ๔๕% ของงบขุดต่างๆ ๕๕% ของงบถม และ ๖๐% ของงบก่อสร้าง ที่เหลือต้องทอนคืนให้ผู้อนุมัติโครงการ ถ้าไม่ทอนก็ไม่ได้โครงการ เรียกว่า ถ้าจะทำก็ต้องเคารพกติกามารยาทของระบบ
จากการสนทนากับนักพัฒนาตัวจริงหลายท่าน ได้พบว่า มีขยะในระบบการพัฒนาที่ทำให้เกิดผลในการทำลายคนที่มุ่งมั่นทำงานไห้ได้ผลงานที่เป็นจริง ต้องเสียพลังงานในการทำงานและเป็นอุปสรรคกับการพัฒนา ก็คือ ระบบการทำงานแบบที่ถือว่ากระดาษเปื้อนหมึกเป็นเป้าหมายสุดท้ายและตัวชี้วัดของการทำงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่ดูผลงานที่แท้จริง ที่เป็นแก่นแท้จากการทำงานด้านต่างๆ ผมก็เล่าแบบแลกเปลี่ยน ให้คนอื่นๆฟังว่า หลังจากผมเข้ามาทำงานในระบบราชการ เมื่อเกือบ ๓๐ ปีมาแล้ว ผมก็มีความอึดอัดกับการประเมินกระดาษเปื้อนหมึกโดยไม่มีใครสนใจดูว่าการใช้เงินที่ผ่านไปแล้วนั้นได้ประโยชน์อะไรบ้าง มีแต่การสะสมกระดาษเพื่อเป็นหลักฐานทางการเงิน แล้วก็จบกันเท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนี้เราจะไปหวังอะไรกับระบบที่ไม่มีการประเมินผลการทำงาน ก็มีแค่บอกว่าเงินใช้หมดแล้ว และมีหลักฐานประกอบจริงบ้างไม่จริงบ้าง ก็ว่ากันไป และยังมีข้อมูลที่น่าขนหัวลุกไปกว่านั้นก็คือ ระบบการใช้เงินที่มีหลักฐานครบในระบบการทำงานของประเทศไทยนี้ ทางฝ่ายปฏิบัติเขาได้รับและมีเงินใช้จริง เพียง ๔๕% ของงบขุดต่างๆ ๕๕% ของงบถม และ ๖๐% ของงบก่อสร้าง ที่เหลือต้องทอนคืนให้ผู้อนุมัติโครงการ ถ้าไม่ทอนก็ไม่ได้โครงการ เรียกว่า ถ้าจะทำก็ต้องเคารพกติกามารยาทของระบบ การประเมินแบบกระดาษเปื้อนหมึก ยังได้สร้างความเสียหายให้กับระบบการศึกษา เช่นการแจกใบปริญญาโดยผู้เรียนไม่ได้มีความรู้ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ที่สืบเนื่องมาจากการสอบประเมินแบบกระดาษเปื้อนหมึก ไม่ได้เป็นการวัดความรู้ และความสามารถที่แท้จริง ให้ผ่านไปแบบเกรงใจกัน ทั้งผู้เรียนละผู้ให้งบประมาณ ถ้าไม่ให้ผ่านก็อาจถูกเบื้องบนเพ่งเล็งว่าสอนไม่เป็น และเบื้องล่างก็ไม่มีใครอยากเข้ามาเรียนอีก เมื่อมีผู้เรียนน้อย ก็ถูกเบื้องบนประเมินว่าไม่คุ้มค่า โดยไม่พิจารณาว่าอะไรจำเป็นไม่จำเป็น มากน้อยต่างกันอย่างไร เพราะเราดูแค่กระดาษเปื้อนหมึกเป็นอย่างเดียว ดูมากกว่านั้นไม่เป็น ความเสียหายกับระบบการทำงานวิจัยและการสร้างองค์ความรู้ ก็อยู่ที่การประเมินผลการทำงานที่ตัวรายงานเพียงอย่างเดียว ยิ่งตีพิมพ์มากก็จะได้รับยกย่องมาก โดยไม่ดูว่าตีพิมพ์แล้วมีประโยชน์อะไร กับใคร หลับหูหลับตาประเมินไปตาม Impact factors ของใคร เพื่อใครก็ไม่รู้ นี่ก็เป็นการประเมินกระดาษเปื้อนหมึกแบบสุดขั้วทีเดียว พอทำแบบนี้ก็จะทำให้นักวิจัยที่ต้องการผ่านการประเมิน ต้องไปทุ่มเทความคิดและพลังงานมากมายเพื่อการตีพิมพ์ที่เป็นประโยชน์น้อยกว่าการทำงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งที่ผ่านมานั้นใช้พลังงานและทรัพยากรมหาศาล โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ถนัดงานด้านนี้ ที่ในหลายๆกรณีกลายเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถในการทำงานวิจัย การสร้างความรู้ และงานพัฒนา ดังเช่นในระบบการกำหนด Key performance indicator ของใครก็ไม่รู้ เพื่อใครก็ไม่รู้ ทั้งๆที่เขาสามารถทำงานวิจัยและพัฒนาได้ดี มีผลกระทบในวงกว้างอย่างมหาศาล ในหลายระดับของสังคม แต่อาจไม่มีเวลา หรือ ไม่สามารถทำงานสร้างกระดาษเปื้อนหมึกได้ตามกำหนด เราลองมาทบทวนกันสักนิดดีไหมครับ ก่อนที่ Key performance indicator จะหลุดโลก และใช้วัฒนธรรมกระดาษเปื้อนหมึกทำลายคนดีของสังคม ให้กลายเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
คำสำคัญ (Tags): #kpi
หมายเลขบันทึก: 62821เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
กรุณาอย่าต่อว่า ว่าผมไม่ย่อหน้านะครับให้อ่านง่าย ผมทำแล้ว แต่ได้ผลอย่างที่เห็น Web master ช่วยด้วยครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ดร.แสวง ที่เคารพครับ
  • อาจารย์ copy จาก word แล้วผ่าน Note pad หรือเปล่าครับ ถ้า copy มาวางในนี้แล้ว ตอนแรกมันจะดูเหมือนว่ามีการย่อหน้าและแยกบรรทัดกันอยู่ครับ แต่พอกดบันทึกเก็บแล้วมันจะมารวมกองกันอยู่หมดเลยครับ ตอนแรก ๆ ผมก็เป็นปัญหาเหมือนกับท่านอาจารย์ครับ ตอนหลังผมก็ Enter เพิ่มในแต่ละบรรทัดตอนที่ copy มาวางแล้วอีกครั้งหนึ่งครับ Enter ทุกบรรทัดที่ย่อหน้าเลยครับ ค่อนข้างจะเสียเวลาและยุ่งยากสักหน่อยครับ
  • แต่ถ้าอาจารย์มีสิ่งใดให้ผมรับใช้เรื่องของการจัด Format และย่อหน้าอาจารย์บอกผมได้เลยนะครับ อาจารย์จะได้มีเวลาเขียนบันทึกที่มีคุณค่าเช่นนี้มาก  ๆครับ

ทั้งกระดาษ หมึก และเงินทอน เป็นของผม ของอาจารย์ และของคนไทยทั้งประเทศครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท