::Lesson2:: KM in Thailand


ตัวอย่างการใช้ KM ในประเทศไทย ระดับชุมชน

การจัดการองค์ความรู้ของ Node -แม่ฮ่องสอน

              ตามแผนงานปี 2546 Node-แม่ฮ่องสอน จะจัดการองค์ความรู้ในระดับฐานงานโครงการ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัด และศักยภาพของพื้นที่ ใน 2 ประเด็นไ ด้แก่ เกษตรกรรมยั่งยืน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ นอกจากนี้ยังเป็นการจัดการองค์ความรู้ในระดับพื้นที่อำเภอ 1 อำเภอคือ อำเภอปางมะผ้า ซึ่งจะเชื่อมสู่การนำองค์ความรู้จากชุดโครงการที่อาจเกี่ยวข้องกับ สกว.กลาง เช่น ชุดโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ (BRT) มาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย

การจัดการองค์ความรู้เชิงประเด็น

               การกำหนดเป้าหมายการจัดการองค์ความรู้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น จะพิจารณาคัดเลือก "เชิงประเด็น" เป็นอันดับแรก โดยจะวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของจังหวัดเป็นหลัก และศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นองค์ประกอบด้วยว่า สอดคล้องหรือไม่ เนื่องจากหวังว่าจะเกิดการมีส่วนร่วมของภาครัฐด้วย ที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งคือมีฐานโครงการวิจัยของสกว.ในจังหวัดพอสมควร พบว่า ประเด็นที่จะจัดการความรู้ในช่วงแรกนี้มี 2 ประเด็นคือ "เกษตรกรรมยั่งยืน" และ "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ"
              ด้วยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีงานวิจัยของสกว.หลายโครงการ แต่ปัญหามีว่า เมื่อโครงการสิ้นสุดลงแล้ว ไม่มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยชุดความหลายหลายทางชีวภาพ ดังนั้นจึงเกิดเป้าหมายร่วม ในการ "จัดการองค์ความรู้เชิงพื้นที่ " ขึ้น โดยได้เลือกเอา อำเภอปางมะผ้า เป็นอำเภอนำร่อง



ประเด็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

              ที่ได้เลือกประเด็นนี้ในการจัดการองค์ความรู้มีเหตุผล ดังนี้
              - เป็นประเด็นที่เป็นนโยบายของจังหวัด ที่มีการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลัก และมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหา ผลกระทบในอนาคต หากมีการจัดการที่ไม่ดี ทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านวัฒนธรรม การด้านแบ่งปันผลประโยชน์ เป็นต้น
              - เป็นประเด็นที่มีฐานงานวิจัยของ สกว.อยู่หลายโครงการ ที่ได้ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นไปแล้ว เช่น โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จำนวน 3 โครงการ โครงการชุด BRT จำนวน 7 โครงการ

              กิจกรรมในการจัดการองค์ความรู้จะเริ่มจาก การรวบรวมสังเคราะห์ องค์ความรู้จากงานวิจัย สู่ส่วนเวทีนโยบายระดับต่าง ๆ โดยใช้ "เวที" เป็นกลไกในการสื่อสารข้อมูล หลังจากที่มีการรวบรวม/ สังเคราะห์ข้อมูลแล้ว โดยมีทั้งเวทีปกติ ที่จัดโดยส่วนต่าง ๆ และเวที ที่หน่วยจัดการองค์ความรู้ (Node- แม่ฮ่องสอน) จัดขึ้นเอง

              การดำเนินงานในช่วงเริ่มต้นมีการเคลื่อนงานใน 2 ฐาน ที่ค่อนข้างชัดเจน ได้แก่

              1) การเคลื่อนงานในฐานงานด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด โดยได้พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการในการทบทวนปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องและดึงการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนให้เข้าไปมีบทบาทในการแสดงข้อคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาจังหวัด ในประเด็นการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
              2) ฐานงานวิจัยจากสกว. ได้แก่การจัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับต่างๆ/ในวงที่กว้างขึ้น ซึ่งในกระบวนการนี้ได้มีทีม สกว.ภาค เข้ามาช่วยในการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น ไปเป็นฐานการเคลื่อนงานในเชิงนโยบายให้ชัดเจนขึ้น



การเชื่อมโยงกับเครือข่ายที่เป็นกลไกในการจัดการองค์ความรู้

               ในระยะที่ผ่านมายังไม่การเชื่อมโยงกับส่วนอื่นที่เป็นรูปธรรมชัดเจน แต่ได้มีการประสานงานร่วมกับส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. เครือข่ายด้านงานพัฒนา ได้แก่
              - ฝ่ายงาน CBT (Community Base Tourism) ของโครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
              - กลุ่มองค์กรชุมชนที่เคลื่อนงานภายใต้การสนับสนุนของ CBT และงานต่อเนื่องจากโครงการวิจัยของ BRT

2. เครือข่ายด้านงานวิจัย
              - ทีมงานสังเคราะห์งานวิจัยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สกว.ภาค

3. เครือข่ายงานด้านนโยบาย
              - กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน



แนวทางในการดำเนินงานช่วงต่อไป

              จากการดำเนินงานในช่วงแรกจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นการเคลื่อนงานที่เป็นประเด็นเหนือระดับชุมชน โดยเน้นงานในเชิงนโยบายเป็นหลัก แต่ว่าข้อมูลในระดับฐานชุมชนยังไม่ค่อยมี ดังนั้นในช่วงต่อไปจะเป็นการเน้นการเคลื่อนงานในระดับชุมชนเพื่อ รวบรวมความรู้ ที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งจากฐานงานวิจัย และงานพัฒนาต่างๆ โดยมีเป้าหมาย
              - เพื่อการแสวงหาและพัฒนาโครงการวิจัยในรูปแบบของการถอดองค์ความรู้ การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการจัดการทรัพยากรที่เป็นฐาน/ต้นทุนในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
              - การรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำ Social Mapping ในประเด็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ถึง
ปัจจุบันข้อมูลต่างๆที่มีอยู่เป็นข้อมูลที่ประมวลจากเวทีต่างๆที่ได้มีการจัดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สิ่งที่ยังขาดคือข้อมูลจากกลุ่มองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นแนวทางที่จะได้ดำเนินการประสานงานในช่วงต่อไปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้น



ประเด็นการเกษตรกรรมยั่งยืน

              ในประเด็นนี้ งานจัดการองค์ความรู้แทบจะเป็นเนื้องานเดียวกันกับงาน "โครงการสังเคราะห์งานวิจัยเกษตรกรรมยั่งยืนภาคเหนือ" เพราะในงานดังกล่าวได้เลือกเอาจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอขุนยวมเป็นพื้นที่นำร่องในระดับจังหวัดและอำเภอ

ที่มา: http://www.geocities.com/maehongson_node/knowledge_Node.html



หมายเลขบันทึก: 62816เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท