​ถิ่นทอง 4




การใช้ชีวิตพเนจรนอนตามถ้ำริมป่าเขาริมน้ำของมนุษย์โบราณพอนานเข้าก็จับกลุ่มรวมตัวกันเป็นชุมชน แล้วอารยธรรมของโลกก็เกิดขึ้น โดยถิ่นนี้คืออารยธรรมอินเดียจากลุ่มน้ำสินธุกับอารยธรรมจีนจากลุ่มน้ำฮวงโหก็แผ่ขยายอิทธิพลมากับคราวานสินค้าทั้งทางบกทางสายน้ำการเดินเรือมาจอดริมฝั่งกลายเป็นตลาดท่าน้ำโบราณที่สำคัญหลายแห่งและมีสิ่งหนึ่งที่มาด้วยคือความเชื่อทางศาสนา ( น.126 )

เมื่อผู้นำชุมชนยอมรับเอาศาสนามาเป็นหลักการปกครองก็มีการสร้างเทวสถานพุทธสถานขึ้นในถิ่นทองนี้ เมื่อมีถิ่นที่แล้วก็มีคัมภีร์โบราณอันเป็นต้นแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์คือคัมภีร์พระเวทและคัมภีร์พระไตรปิฎก แล้วก่อเกิดอาจารย์ ตามหลักศิลาจารึกของสุโขทัยเรียกว่า ปู่ครู และสิ่งที่ปู่ครูสอนนอกคัมภีร์ดังกล่าวนั้นเรียกตามกันมาว่า ศิลปศาสตร์ มี 18 วิชาด้วยกันคือ

1.สูติ เป็นวิชาฟังเสียงสัตว์ อ่านใจสัตว์ได้

2.สัมมติ เป็นวิชาเข้าใจทางภูมิศาสตร์

3.สังขยา เป็นวิชาเข้าใจคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ เลขกล

4.โยโค เป็นวิชาเข้าใจสร้างหุ่นยนต์ นกบิน ม้าบิน

5.นีติ เป็นวิชาเข้าใจกฎหมาย

6.วิเสสิกา เป็นวิชาเข้าใจรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์

7.คณิกา เป็นวิชาเข้าใจดาราศาสตร์ รู้เรื่องดวงดาวกับความเชื่อโชคลาง

8. คันธัพเพท เป็นวิชาดุริยางค์และนาฏกรรม

9. ติกิจฉา เป็นวิชาการแพทย์เหมือนหมอชีวกโกมารภัจจ์ หมอประจำพระพุทธเจ้า

10.อนุรเวท เป็นวิชาฝึกอาวุธ ( ธนู ) เก่งทางสงคราม

11.ปุราณา เป็นวิชารู้เรื่องทางประวัติศาสตร์

12.โชติสา เป็นวิชาหมอดูดวงชะตาพยากรณ์แม่น ๆ

13.มายา เป็นวิชามายากล

14.เหตุ เป็นวิชาตรรกวิทยาใช้ตริตรองหาเหตุหลด้วยสติปัญญา

15.วันตา เป็นวิชาเกษตรกรรมและสหกร รู้เรื่องการปลูกพืช การบริหารจัดการ

16.ยุทธสา เป็นวิชาตำราพิชัยสงคราม

17. ปาสัณฑา เป็นวิชาความรู้จากผู้รู้ (ราชบัณฑิต )

18.ฉันทสา เป็นวิชาวรรณกรรม ศิลปะ เช่นการแต่งกลอน เป็นต้น. ( น. 140-142 )

เมื่อเส้นทางศิลปศาสตร์แผ่ขยายมาถึงถิ่นทองนี้มีหลักฐานว่า ใน สมัย พ.ศ. 1260-1284 มีพระวัชรโพธิและคณะสงฆ์เดินทางมาจากอินเดียใต้มาเผยแผ่พุทธธรรมในถิ่นทองนี้ถึง 24 ปี ( น.142 ) ต่อมาเมืองอู่ทองได้รับเอาอารยธรรมอินเดียเต็ม ๆ

ในยุคอยุธยาครั้งพระเจ้าปราสาททอง ( พ.ศ. 2173-2198 ) นั้น ได้เผาตำราต่าง ๆ เกือบหมด ด้วยกลัวบุตรหลานกษัตริย์องค์ก่อนที่ตนปฏิวัติยึดอำนาจจะมาอ่านตำราเรียนรู้มาแก้แค้นยึดอำนาจคืนและตำราถูกทำลายจนสูญสิ้นไปจริง ๆ ช่วงกรุงแตกคืออยุธยาถูกเผาใน พ.ศ. 2310

ภายหลังการสร้างบ้านเมืองขึ้นมาได้แล้วก็รื้อฟื้นการสร้างตำราใหม่และมีคัมภีร์ทางศาสนาเพิ่มเส้นทางชีวิตอีกสองศาสนาคือศาสนาอิสลามกับศาสนาคริสต์ แต่โดยนิสัยดั้งเดิมของมนุษย์ในถิ่นทองนี้ส่วนใหญ่ถูกจริตกับศาสนาพุทธเราจึงเห็นพุทธสถานกระจายอยู่ทั่วไป.

.................................

บรรณานุกรม

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ . ( 2547 ). ประวัติศาสตร์ไทย . กรุงเทพ ฯ : สุขภาพใจ.

หมายเลขบันทึก: 628162เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 06:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท