วิกฤตการณ์เงินในอนาคตและการรับมือฟองสบู่อสังหาฯ


https://nobiaemon.files.wordpress.com/2008/11/1951-3212.gif


ในอดีตทั่วโลกล้วนแต่เคยได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินมากบ้างน้อยบ้างปะปนกันไป อย่างประเทศไทยเองก็เคยได้รับผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดจากการโจมตีค่าเงินบาทของจอส โซรอส รวมถึงภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากการเก็งกำไรในอสังหาฯ และตลาดหุ้นไทย จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศ ณ ตอนนั้นดิ่งตัวลงอย่างมาก หรือ วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ เกิดจากปัญหาการบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาฯ ที่ไม่ได้คุณภาพ และได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นบทเรียนที่แสนสาหัสให้กับทุกคน เป็นเสมือนฝันร้ายที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน สอนให้รู้ว่าเราไม่ควรคาดหวังกับเงินในอนาคตที่มาจากการเก็งกำไร เพราะเป็นธุรกิจที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ไม่ว่าในอนาคตเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ การเมืองจะมีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน ก็ไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่าวิกฤตทางการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เพราะอย่างในอดีตคนไทยไม่เคยมีใครคิดว่าจะเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะสถาบันการเงินไทยเองก็มีเสถียรภาพมากพอไม่น่าแพ้จอส โซรอส แต่ทุกอย่างก็ตรงกันข้ามเพราะฝั่งของจอส โซรอส มีเงินมากกว่า จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องลอยตัวค่าเงินบาท แต่เหตุการณ์ในอดีตที่มาทำให้เรารู้ถึงวิธีการรับมือ รัฐบาลเองก็รู้แนวทางแก้ปัญหามากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เองก็มีมาตรการในการควบคุมธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ภาคเอกชนก็มีการใช้เครื่องมือทางการเงินในการป้องกันความเสี่ยง เช่น Swap, Forward ฯลฯ เพราะฉะนั้นความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นน่าจะรุนแรงน้อยกว่าที่ผ่านมา


การรับมือฟองสบู่อสังหาฯ

1. ถ้าไม่มีเงินผ่อน ก็ไม่ควรรีบซื้อบ้าน ควรจะเก็บเงินให้ได้ก้อนนึงสำหรับการวางเงินดาวน์บ้านก่อน เพราะถ้าเราวางเงินดาวน์มาก เงินผ่อนต่อเดือนก็จะน้อยลง

2. อย่าซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ที่มีราคาสูงกว่ากำลังที่เราจะผ่อนไหว แม้จะเป็นการลงทุนที่น่าสนใจมากก็ตาม

3. ไม่จำเป็นอย่ากู้เงินเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดฯ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่เรากู้แบงค์จะมีการปรับตัวขึ้นลงตามตลาด หรือถ้ากู้ก็ควรกู้แบบอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ให้นานที่สุด

4. อย่าซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ที่มีราคาสูงเกินปกติ

5. อย่าหลงเชื่อกับข้อเสนอการ Refinance ของสถาบันการเงิน เพื่อแลกกับผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ

6. พยายามปรับเปลี่ยนนิสัยของตัวเอง ซื้อบ้านระดับคนชั้นกลาง อยู่แบบประหยัดแทนที่จะเลือกซื้อบ้านใหญ่ๆ ในย่านผู้ดีที่มีการใช้จ่ายอย่างไม่มีเหตุผล


ที่มา : นิตยสารบ้านพร้อมอยู่ ฉบับเดือนเมษายน 2556

คำสำคัญ (Tags): #Seminar FN
หมายเลขบันทึก: 628158เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2017 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2017 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท