ภาพรบกวน ที่เกิดขึ้นจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เมื่อมีการสแกน เพื่อสร้างภาพการตรวจ นักรังสีการแพทย์ รังสีเทคนิค และ ผู้เกี่ยวข้อง ต้องให้ความสำคัญในการประเมินคุณภาพของภาพที่ปรากฏ ทุกครั้ง ทุกภาพ

สวัสดีครับ

วันนี้ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ ภาพรบกวน (artifact) จากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

หลักการของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือ

การฉายรังสีลำแคบจากหลอดเอกซเรย์ให้ทะลุผ่านผู้ป่วยหรืออวัยวะที่ทำการตรวจ

เมื่อรังสีที่ทะลุผ่านอวัยวะแล้ว จะมากระทบกับอุปกรณ์รับรังสี

อุปกรณ์รับรังสี จะทำหน้าที่แปลงปริมาณรังสีที่ทะลุผ่าน ในปริมาณที่มากหรือน้อยตามตำแหน่งต่างๆที่ได้รับ

ให้เป็นสัญญาณหรือข้อมูล แล้วส่งต่อเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์

เพื่อประมวลผล แปลงข้อมูล และสร้างออกมาเป็นรูปภาพที่มีลักษณะเป็นภาพตัดขวาง (cross section)





ในการตรวจแต่ละครั้ง

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะสแกน หรือ เก็บข้อมูลให้ครอบคลุมอวัยวะที่ทำการตรวจ

ซึ่งระยะทางที่ตรวจหรือฉายรังสี จะสั้นหรือยาว ขึ้นกับอวัยวะหรือบริเวณที่ตรวจ

การสแกน แต่ละครั้งจึงมีการสร้างภาพออกมา จำนวนมากหรือน้อย แตกต่างกัน


การสแกนอวัยวะ ก่อนฉีดสารทึบรังสี (contrast media) มักเรียกว่า Pre contrast

การสแกนอวัยวะ หลังฉีดสารทึบรังสี (contrast media) มักเรียกว่า Post contrast

ซึ่งจะมีการสแกนหลายช่วงเวลาหลังจากฉีดสารทึบรังสี ไปแล้ว




ระหว่างการสแกน

นักรังสีการแพทย์ หรือ รังสีเทคนิค

ต้องประเมินคุณภาพ ทุกๆภาพและทุกครั้ง

เพราะในระหว่างการสแกน อาจเกิดความผิดพลาดได้หลายอย่าง เช่น

ผู้ป่วย ขยับตัวระหว่างการตรวจ ก็ จะทำให้ภาพที่ปรากฏ ไม่ชัดเจน

ระบบประมวลผลภาพ ทำงานผิดพลาด ก็ จะทำให้เกิดภาพรบกวน


ตัวอย่าง ภาพรบกวนชนิดหนึ่ง

(บริเวณลูกศรชี้) ที่เป็นเส้นตรง รบกวนในภาพหลังฉีดสารทึบรังสี การตรวจช่องท้อง

สาเหตุ เกิดจากความผิดพลาดระบบประมวลของคอมพิวเตอร์ระหว่างการภาพ

เมื่อเครื่องทำการ Reset ตัวเอง

ก็ ไม่ปรากฏ เส้นดังกล่าวมารบกวนในภาพ การตรวจผู้ป่วยรายอื่นๆ




สรุป

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

เมื่อมีการสแกน เพื่อสร้างภาพการตรวจ นักรังสีการแพทย์ รังสีเทคนิค และ ผู้เกี่ยวข้อง

ต้องให้ความสำคัญในการประเมินคุณภาพของภาพที่ปรากฏ ทุกครั้ง ทุกภาพ


เพราะว่า....

อาจเกิดความผิดพลาดในระหว่างการตรวจได้

หรือ

เมื่อพบความผิดพลาด จะได้ทำการแก้ไข หรือ ทำการตรวจซ้ำ

เพื่อให้ได้ภาพที่ดี มีคุณภาพ นำไปใช้ประกอบการวินิจฉัยและรักษาโรค ได้ต่อไป


หากเกิดภาพรบกวนชนิดนี้

ควรบันทึกอาการและแจ้งในช่างประจำเครื่องรับทราบ

หากเกิดบ่อยๆครั้ง อาการแบบนี้ อาจนำไปสู่ระบบประมวลภาพเสื่อมสภาพหรือเสียหาย หรือ อุปกรณ์รังสีเสื่อมสภาพ ซึ่งต้องตรวจหาสาเหตุความบกพร่อง ต่อไป


หมายเลขบันทึก: 628006เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2017 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2017 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท