การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6


<p>สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน, </p>

ศูนย์อาเชียน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจัดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6 ในระหว่างวันที่ 28 – 30 เมษายน 2560 ณ ห้องประชุม 2-3 อาคารศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

<p>ผมจึงขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อให้ทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนกันครับ </p> <p>จีระ หงส์ลดารมภ์ </p>

สรุปการบรรยาย

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ

โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

ระหว่างวันที่ 28 – 30 เมษายน 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

วันที่ 28 เมษายน 2560

พิธีเปิด

กล่าวรายงาน

โดยผศ.ดร.สุพัตรา เดวิสัน

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นไปตามแนวทางของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มุ่งสร้างความเป็นนานาชาติให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง เพื่อตอบสนองทิศทางและนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล การเป็นศูนย์ข้อมูลและวิจัยเชิงลึก

โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะภาควิชาการที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคใต้ของประเทศ ในทุกมิติ ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ที่ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสำคัญ ของการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้และเชื่อมโยงไปสู่ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน+6 จึงมีแผนงานที่จะจัดให้มีโครงการ “การประชุมผู้นำด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศอาเซียน+6” ขึ้นในปี พ.ศ. 2561 และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนไทย ในปี พ.ศ. 2560 นี้ จึงจะจัดให้มี “โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6” เพื่อพัฒนากลุ่มผู้นำที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดให้มีภาวะผู้นำ มีความรู้ที่สำคัญ และมีความเข้าใจทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อเชื่อมต่อสู่กลุ่มประเทศอาเซียน+6 และสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

ผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 54 ท่านจากภาครัฐ ภาควิชาการ ธุรกิจ ชุมชน จาก 5 จังหวัดชายแดนใต้

วัตถุประสงค์

1) เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้นำที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดให้มีภาวะผู้นำ มีความรู้ที่สำคัญ และมีความเข้าใจทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้

2) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกันของผู้นำที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดภาคใต้ในอนาคต โดยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาชน/ชุมชน

3) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้จากกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และนำมาสู่การปรับใช้เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้แก่การท่องเที่ยวของ 5 จังหวัด

4) เพื่อสร้างแนวทางและพลังในการพัฒนาพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดภาคใต้เชื่อมต่อสู่อาเซียน+6

กล่าวต้อนรับ

โดยอาจารย์พิชิตเรืองแสงวัฒนา
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เรียน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญให้เป็นผู้กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯโครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทางภาควิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภาคใต้ของประเทศในทุกมิติ

ในนามของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยชั้นนำหนึ่งในภาคใต้ที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชีย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทำนุบำรุงวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน ภายใต้ พันธกิจสำคัญ 3 ประการ

พันธกิจ 1 พัฒนา มหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและหลักเศรษฐกิจ พอเพียงโดยให้ผู้ใฝ่รู้ได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ในหลากหลายรูปแบบ

พันธกิจ 2 สร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในสาขาที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของภาคใต้ และเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล

พันธกิจ 3 ผสมผสานและประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานประสบการณ์การปฏิบัติสู่การสอนเพื่อสร้างปัญญา คุณธรรม สมรรถนะและโลกทัศน์สากลให้แก่บัณฑิต

วัตถุประสงค์หลักคือการพัฒนาผู้นำของนักพัฒนาการท่องเที่ยวและของชุมชน จะเชื่อมโยงการพัฒนาไปสู่ของอาเซียน

ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเชื่อมโยงสู่ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน + 6 ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯโครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6 จัดโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ได้มีการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเมืองเก่าสงขลา ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของนวัตกรรมในเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วย

สุดท้ายนี้ ผมขอให้กิจกรรมนี้ดำเนินการไปจนประสบความสำเร็จและขอให้ทุกท่านมีความสุข และได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาที่ได้เรียนรู้ ผมหวังว่าจะได้มีโอกาสที่จะต้อนรับทุกท่าน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์งานบูรณาการร่วมกันในอนาคตต่อไป

กล่าวเปิดโครงการฯ

หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา นายอำพลพงศ์สุวรรณ

ท่านอาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนารองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศาสตราจารย์ดร. จีระหงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และผู้มีเกียรติทุกท่าน

ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้มาเป็นประธานเปิดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯโครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+ 6ในวันนี้

ในนามของจังหวัดสงขลาผมขอต้อนรับทุกท่านที่มาเยือนจังหวัดสงขลาเมือง " นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจเมืองใหญ่สองทะเลเสน่ห์สะพานป๋าศูนย์การค้าแดนใต้ " ด้วยความยินดียิ่งนับเป็นโอกาสดีที่ทุกท่านจะได้มาพักผ่อนและเพลิดเพลินกับบรรยากาศของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เนื่องในโอกาสที่ปี ๒๕๖๐ เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวสงขลา (ปีที่สอง) ภายใต้แคมเปญ “ สงขลามหาสนุก...สุขทั้งปีที่สงขลา”

ผมขอขอบคุณผู้จัดการประชุมฯ ที่ได้พิจารณาเลือกจังหวัดสงขลาที่ตั้งของสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุมจังหวัดภาคใตชายแดน เป็นสถานที่จัดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯโครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน +6 ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกลุมจังหวัด ฯ ที่ได้กำหนดว่าเป็น “ประตูการคาชายแดนการทองเที่ยวสูอาเซียน”

ผมขอเรียนว่าจังหวัดสงขลาได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด(ยุทธศาสตร์ที่ ๑)ในเรื่องการสงเสริมและพัฒนาการทองเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามแนวทางและจุดเน้นในการพัฒนาจังหวัด “๑๕ วาระสงขลา” ด้วย (วาระที่ ๑๐“สงขลาน่าเที่ยว”)โดยใช้แผนกลยุทธ์ด้านการตลาดในเชิงรุกที่เป็นระบบและดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อเนื่องควบคู่กันไปกับการดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพัฒนาระบบตลาดและประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ของฝาก ของที่ระลึกขนมดัง ผลไม้เด่น อาหารเด็ดเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้า และบริการให้เป็นภูมิอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดฯตลอดจนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนเชิงวัฒนธรรมด้วย

ถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจังหวัดสงขลา ซึ่งแบ่งเป็นภาค ๆ ได้รับงบประมาณสูงที่สุดในประเทศ และงบประมาณส่วนได้ได้กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและได้รับทราบจากอาจารย์สุพัตรา ได้เสนองบประมาณในปี 2561 แต่ได้ตกไป ก็ขอให้เสนอไปใหม่ ให้ขยายวงไปในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสงขลามีจุดเน้นด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชัดเจน ได้หยิบยกนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นจุดเน้นพัฒนาจังหวัด เป็นวาระเดินหน้าสงขลา กระจายรายได้สู่การท่องเที่ยวชุมชน ถ้าท่องเที่ยวชุมชนไม่แข็งแรงก็เป็นไปได้ยากที่กระจายรายได้สู่ชุมชนได้ อย่างไรก็ตามพวกเราในฐานะนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งใน 5 จังหวัดเช่นเดียวกันก็มีชุมชนท่องเที่ยวที่หลากหลายมีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งปี มีการจัดปฏิทินท่องเที่ยวมีบอลลูนนานาชาติ กิจกรรมอาหารทะเล ที่จัดกิจกรรมยาวนาน ที่ ม.อ.มีการแข่งขันหาดใหญ่มาราธอนนานาชาติ ในเดือนมิถุนายน มีกิจการท่องเที่ยวชุมชนเกาะยอมิถุนายน – กรกฎาคม มีการจัดกิจกรรมกีฬาแห่งชาติ นอกจากนั้นจะมีมหกรรมโอทอปของภาคใต้ชายแดนที่จัดที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ในช่วงเดือนมิถุนายน จะมีคนเข้ามาท่องเที่ยวหลายหมื่นคน ในการจัดโอทอปที่ศูนย์นานาชาติเราจัดก่อนมิถุนายน ซึ่งจะเป็ฯการประชาสัมพันธ์สินค้าที่ระลึกเพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวชุมชนด้วย ให้นักกีฬาได้เที่ยวชมช้อปสินค้าใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้แคมเปญ สงขลามหาสนุกการท่องเที่ยวที่สงขลา

นอกจากนั้นในการดำเนินงานตามวาระ “สงขลาน่าเที่ยว” หนึ่งใน 15 วาระสงขลาระหว่างปี2559 – 2560จังหวัดได้มุ่งเน้นการปฏิบัติโดยใช้ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชนตามหลักประชารัฐในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ได้กำหนดให้ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐เป็นปีท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาภายใต้แนวคิด “สงขลามหาสนุกสุขทั้งปีที่สงขลา” ด้วยการยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมแหล่งธรรมชาติประวัติศาสตร์ และสุขภาพ สู่ระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาจังหวัดสงขลาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวคุณภาพและเที่ยวได้ทั้งปีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กระจายลงไปสู่ทุกพื้นที่นอกจากนั้นจังหวัดสงขลาได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ของจังหวัดสงขลาในการพัฒนาภาคการเกษตรอุตสาหกรรม การค้าการลงทุน การท่องเที่ยวและบริการ โลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้กลยุทธ์ที่ 4พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม และเชิงธุรกิจ

สำหรับการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน +6 ในวันนี้นับเป็นโอกาสดีที่ทุกท่านจะได้รับทราบและเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนบนฐานความรู้และพหุวัฒนธรรมโดยเฉพาะกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการนำผลการวิจัยและองค์ความรู้ (Best Practice)มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนขอให้ทุกภาคส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสงขลาและจังหวัดอื่นๆ ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนได้นำความรู้ไปพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกันของผู้นำระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาชน/ชุมชนที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดภาคใต้ในอนาคตต่อไปด้วยสุดท้ายนี้ผมขอให้การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ได้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ และขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดระยะเวลาที่ได้มาเยือนจังหวัดสงขลาและจังหวัดสงขลาหวังว่าจะได้มีโอกาสต้อนรับทุกท่านอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป.....ผมขอเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯณ บัดนี้

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และชี้แจงการแบ่งกลุ่ม Workshop

การบรรยายเรื่อง

การพัฒนาทุนมนุษย์และสร้างผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน
5 จังหวัด ชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

โดยศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

อาเซียน + 6 มีหลายมิติ ที่เกี่ยวข้องส่วนหนึ่งคือเรื่องการท่องเที่ยว โครงการฯ นี้มีข้อดีคือ เคยมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว

การเรียนในวันนี้ ต้องสนุก ตรงประเด็น และตรงความจริงการเรียนในโครงการนี้ต้องเป็นระบบ Sequence

1. ได้มีการทำ Pre-Planning ที่ม.อ.ไปแล้ว เหมือนขึ้นบันไดคือบันไดขั้นที่ 1 มาขั้นที่ 2

2. ในการเรียนรู้ 3 วันนี้ประกอบด้วยเรื่องหลัก 3 เรื่อง

- จัดพัฒนาชุมชน 5 จังหวัดภาคใต้อย่างไรเพื่อเชื่อมโยงกับอาเซียน และรองรับการประชุมในอนาคต อยากให้มีการประชุมในอาเซียนว่าประเทศในมาเล อินโดฯ บรูไน สิงคโปร์ และอาเซียนมาร่วมจะเชิญลักษณะใด

- มีความพิเศษอย่างไร เพราะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาเรื่องความมั่นคงยังไม่ปกติ เป็นเรื่องความท้าทาย

- ทำอย่างไรถึงคิดร่วมกันว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นมิติทางด้านความมั่นคงด้วย

3. ในเช้าวันนี้จะมีการพัฒนาผู้นำ

- การปลูก พัฒนา เก็บเกี่ยว และทำให้เกิดการทำงานอย่างเต็มที่ เน้นการชนะอุปสรรค ร่วมมือกันเพื่อเดินไปข้างหน้าร่วมกัน

- ให้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้คือแม้เป็นตัวแทนก็ต้องเรียนรู้ด้วย ให้ใช้ทฤษฎี 2 R’s คือความจริง ทั้ง ม.อ. อาเซียน ชุมชนภาคใต้เป็นอย่างไร และ Relevance คือตรงประเด็น มีความแหลมคม หลัก ๆ คืออะไร เรียนกับอาจารย์จีระ ต้องเรียนในสิ่งที่สำคัญที่สุด และให้บี้ในประเด็นเหล่านั้นให้ได้ เป็นการเรียนหนังสือแบบ Chira Way คือการเรียนแล้วนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

4. การเชื่อมโยงไปอาเซียน

การบรรยายวันนี้มี 2 เรื่องคือ

1. พื้นที่ แต่ละคนในห้องนี้มีความเข้าใจ และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดี มากกว่าคนข้างนอก แต่สิ่งที่เราจะใส่เพิ่มคือกรอบแนวคิด

2. อาเซียน เมื่อรู้อาเซียนดีแล้ว เราจะไปผสมกับอาเซียนที่ดีคือ +6 อย่างไร ต้องมี Synergy หมายถึง 1+1 ไม่ใช่ 2

สิ่งที่อยากฝากวันนี้คืออย่าดาวกระจาย ไม่ใช่ ภูมิปัญญาของท่านจะได้กรอบแนวคิดที่ผสมกันพอดี การเข้ากลุ่มจะเกิดความหลากหลาย แต่ละกลุ่มจะเสนอความคิดนี้ออกมา

ชีวิตเราจะไม่หยุดการเรียนรู้ ให้ทุกท่านทำงายอย่างต่อเนื่อง อย่างในห้องนี้มีความหลากหลาย ความหลากหลายนี้ทำให้เกิดพลังขึ้นมา มีภาครัฐ ภาคเอกชน วิชาการ ชุมชน ซึ่งตัวละครทั้ง 4 ตัวละครต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

3 วันครั้งนี้ งานส่วนใหญ่อยู่ที่ทุกคน การนำเสนอมาจะมีการวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์ มีการ Comment ร่วมกัน ให้ 3 จังหวัดภาคใต้มีส่วนร่วมในครั้งนี้

การท่องเที่ยวต้องไปเสริมความมั่นคงให้ได้ จะได้มีโอกาสรับใช้ประเทศของเรา ทำให้ความมั่นคงเกิดขึ้น 3 V หมายถึงการมีโอกาสมากขึ้นการมาประชุม ต้องทำให้เกิดความมั่นคงเกิดขึ้น ในชีวิตต้อง Life Long Learning

การสร้างผู้นำทางการท่องเที่ยวจะเป็นอย่างไรต้องมีทุนด้วยต้องมีสมรรถนะที่ดีขึ้น ต้องมีศักยภาพที่ดี ต้องรู้ Basic ว่าต้องการอะไร ต้องพัฒนาด้วย ต้องสร้างแรงจูงใจด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ยินดีที่ศูนย์อาเซียนศึกษา เลือกการท่องเที่ยวชุมชนเป็นประเด็นหลัก ประเด็นที่เชื่อมโยงกับอาจารย์จีระ คือเรื่องคนเป็นสิ่งสำคัญ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีกระบวนการพัฒนาที่ถูกต้องแล้วจะกลายเป็นทุนที่สำคัญ ซึ่งแต่ละท่านเป็นทุนที่สำคัญในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว

การทำอะไรก็ตามต้องมีกระบวนการ แบบ Chira Way

1. ต้องสนุก และสิ่งที่ทำให้ทักษะเป็นความจริง และต่อยอด อยากให้ผลกระทบในวงกว้างต้องตรงความจริงนอกจากนั้นจะมีกระบวนการที่ใส่องค์ความรู้

2. ให้มีการคัดสรรวิทยากรจากภายนอกและภายในในการใส่องค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ

3. กระบวนการที่ได้แน่ ๆ คือการกระชับเครือข่าย และได้นำองค์ความรู้ในวันนี้บวกกับประสบการณ์ที่มีแล้วไปถ่ายทอดเพื่อได้รับประโยชน์ได้เลย

4. ได้รับการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าเพื่อตอบโจทย์ 3 V ได้เลย

คุณวราพร ชูภักดี

หลักการและเหตุผล

<p>1. โลกาภิวัตน์ /ประชาคมอาเซียน & AEC /ประเทศไทย 4.0
</p> <p>2.ความเสี่ยง / Multiple Crisis & Permanent Crisis </p>

3.การสร้างความสามารถทางการแข่งขัน

4.การท่องเที่ยวเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการพัฒนาประเทศไทย

5.โอกาสของการท่องเที่ยวและการพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

6.การพัฒนาทุนมนุษย์ ผู้นำ การพัฒนาเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้นำที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดให้มีภาวะผู้นำ มีความรู้ที่สำคัญ และมีความเข้าใจทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้
  • เพื่อพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกันของผู้นำที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดภาคใต้ในอนาคต โดยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาชน/ชุมชน
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้จากกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และนำมาสู่การปรับใช้เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้แก่การท่องเที่ยวของ 5 จังหวัด
  • เพื่อสร้างแนวทางและพลังในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดภาคใต้เชื่อมต่อสู่อาเซียน+6

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส )

เป็นการรวมกันของ 4 ตัวละคร ประกอบด้วย

1.ภาครัฐภาคประชาชน

2.ภาคเอกชน

3.ภาควิชาการ และ

<p>4.ภาคประชาชน/ชุมชน

</p>

รวม ประมาณ 50 คน

สิ่งที่คาดหวังคือ

1. ผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่มีความพร้อม มีแรงบันดาลใจ ความรู้ เครือข่ายที่มีความพร้อม

2. การเชื่อมโยงระหว่างไทยกับอาเซียน + 6 มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย มีเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์

ผู้เข้าประชุมมีความคิดเห็นเรื่อง.. จุดแข็งเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ /ชุมชนของตนเอง ดังนี้

  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมได้ เพราะมีความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม เป็นชุมชนวิถีพุทธ มุสลิม ที่สามัคคี เข้มแข็ง และภูมิปัญญา (14)
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติได้ เพราะมีธรรมชาติสวยงาม / มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและสมบูรณ์ (9)
  • มีที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่ดี การเดินทางสะดวก เส้นทางคมนาคมครอบคลุมทั้งทางบก ทางอากาศและทางน้ำ สามารถเชื่อมต่อกับจังหวัดใกล้เคียง และมีพื้นที่ที่ติดชายแดนมาเลเซียที่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะที่อ.สะเดา (9)
  • เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารทะเลและอาหารพื้นเมือง (5)
  • ความมีอัตลักษณ์ของพื้นที่/กิจกรรม มีผลิตภัณฑ์ชุมชนโดดเด่น หลากหลาย (4)
  • ผู้ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน กระตือรือร้นพร้อมที่จะเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้และการจัดการที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (3)
  • มีการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว (3)
  • ชุมชนมีความพร้อมและต้องการการพัฒนาในพื้นที่ (2)
  • ความมีอัตลักษณ์ของพื้นที่/กิจกรรม มีผลิตภัณฑ์ชุมชนโดดเด่น หลากหลาย (4)
  • พลเมืองในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนดี
  • สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและฮาลาล

ผู้เข้าประชุมมีความคิดเห็นเรื่อง.. จุดแข็งเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ /ชุมชนของตนเอง ดังนี้

  • ขาดการพัฒนาโครงสร้างมิติการท่องเที่ยว ระบบการจัดการ และการทำงานอย่างจริงจังของภาครัฐ (13)
  • ภัยน้ำท่วม (1)

2.เป็นพื้นที่เสี่ยงเพราะสถานการณ์ความไม่สงบ (7)

3.ขาดการประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการตลาด และการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว (5)

4.ขาดสาธารณูปโภคในการต้อนรับนักท่องเที่ยว (5)

5.ขาดความรู้และระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยว (4)

6.ชุมชนยังเข้ามามีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย และบางส่วนไม่สนใจ (4)

7.ชุมชนท้องถิ่นยังไม่สามารถจัดการและสร้างแบรนด์ท่องเที่ยวชุมชนได้ด้วยตนเอง (3)

8.ผู้นำ /ผู้บริหาร / บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการพัฒนาการท่องเที่ยว (3)

9.ระบบการเดินทางขนส่งและการจราจร (3)

10.มาตรฐานการให้บริการ /ความสะอาดของชุมชน / ปัญหาขยะ และสิ่งแวดล้อม (3)

11.ขาดการสร้างเครือข่าย-การทำงานอย่างบูรณาการ (2)

12.ขาดการลงทุนจากบุคคลภายนอก (1)

ผู้เข้าประชุมมีความคิดเห็นเรื่องโอกาสของการท่องเที่ยวในพื้นที่ /ชุมชนของตนเอง ดังนี้

  • พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจเชื่อมโยงในด้านการท่องเที่ยว ให้มีความพร้อมในทุกมิติ(10)

2.การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน วิชาการ และชุมชน (9)

3.พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความพร้อมและมีคุณภาพ รวมทั้งประชาชนและเยาวชน (10)

4.เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว /มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น / การส่งเสริมอาชีพ (7)

5.โอกาสในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและสร้างชุมชนท่องเที่ยว (7)

6.Halal Route สำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิม และความโดดเด่นของวิถีชีวิตมุสลิมพื้นบ้าน (4)

7.รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยว พัฒนาการค้าการลงทุน มากขึ้น (3)

8.มีผนึกกำลังกันของประเทศอาเซียน+3+6 และนานาชาติ (2)

9.พัฒนา HUB ของอ่าวไทย /สนามบิน/ท่าจอดเรือ (1)

10.สร้าง Application สำหรับพัฒนาการท่องเที่ยว (1)

ผู้เข้าประชุมม.. มองเห็นอุปสรรคหรือปัญหาในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ของตนเอง ดังนี้

  • ความไม่ชัดเจนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของภาครัฐ การสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจัง (8)

2.การมีพื้นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบ (8)

3.ขาดผู้นำชุมชน นักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่เข้าใจเรื่องการจัดการชุมชนเพื่อความยั่งยืน (6)

4.ความร่วมมือของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว (4)

5.งบประมาณขององค์กรที่จะสนับสนุนงานด้านนี้มีไม่เพียงพอ (4)

6.ประชาชนไม่ค่อยเข้าใจและยังไม่ค่อยมีส่วนร่วม (3)

7.การสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์และการเชื่อมโยงกับนานาชาติ การสร้างตลาดและกลไกการตลาดที่ชุมชนได้ประโยชน์ (2)

8.ความต่อเนื่องของการพัฒนา/ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่ขาดตอน (1)

9.การเดินทาง/ระบบขนส่งสาธารณะ/สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยว (1)

ผู้เข้าประชุม.. มีความสนใจร่วมมือหรือขยายเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวไปสู่อาเซียนและอาเซียน+6 ดังนี้

  • เป็นโอกาสในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีความพร้อม (2)

2.เป็นโอกาสในพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความพร้อม

3.เป็นโอกาสในการพัฒนาการขนส่ง ที่พัก ร้านอาหาร สินค้าที่ระลึกให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

4.เป็นโอกาสพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนหากราชการสนับสนุนให้ต่อเนื่อง (2)

5.มีความสนใจที่จะพัฒนาย่านชุมชนปริก อ.สะเดาเป็นเส้นทางฮาลาล (ฟู้ด,ศาสนสถาน) ที่มีอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมและสถานที่ประกอบศาสนกิจในขณะเดินทางท่องเที่ยว

6.เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวชุมชนตามแนวชายแดน เช่น ตำบลปาดัง-สะเดา-ปริก เป็นต้น (2)

7.มองว่าตลาดในประเทศมาเลเซีย/สิงคโปร์ คือ ตลาดสำคัญที่อยากจะขยายหรือพัฒนาเครือข่าย (2)

8.เป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีมุสลิม

9.เป็นช่องทางในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

10.สภาพวิถีชุมชน จ.สตูล มีความคล้ายคลึงกับประเทศสมาชิกอาเซียน

11.ควรให้ความสำคัญพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องภาษา

12.มีโอกาสเพิ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ๆ

13.เป็นโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัด

14.การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรก้าวกระโดด ควรให้ชุมชนนำหลักปรัชญาวิถีเศรษฐกิจพอเพียง การขยายพัฒนาไปสู่อาเซียนหรือนานาชาติ

15.การพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชนท่องเที่ยว คนในชุมชน และเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (17)

16.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานและตอบโจทย์การท่องเที่ยวได้ รวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยว และเส้นทางการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวจังหวัดต่าง ๆ ทั้งทางบกและทางน้ำ (11)

17.ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งท่องเที่ยวให้น่าสนใจ สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคพื้นฐาน การจราจร ความสะอาด ปลอดภัย และการจัดการสิ่งแวดล้อม (8)

18.ส่งเสริม Halal Tourism การจัดทำ Halal Route สำรวจเส้นทางฮาลาล และการจัดระเบียบวางระบบสร้างความเข้าใจ (5)

19.ทักษะด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร เช่น ภาษาอังกฤษ มลายู (2)

20.การพัฒนาทางวัฒนธรรม

21.บูรณะโบราณสถานที่สำคัญ / การสร้างความหมาย (Meaning) ของสถานที่ท่องเที่ยว (2)

22.Application ของการท่องเที่ยว

23.การได้ค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอาเซียน

ผู้เข้าประชุม.. ต้องการความรู้เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ของตนเอง ดังนี้

  • การจัดการด้านความรู้ การบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว(18)
  • การบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชน การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการและการพัฒนาผู้นำ / ผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยว / มัคคุเทศก์ชุมชน (15)
  • ระบบสาธารณูปโภคเพื่อบริการนักท่องเที่ยว (3)
  • พัฒนาด้านการสื่อสาร ภาษาด้านภาษาต่างประเทศ(3)

ผู้เข้าประชุม.. เสนอแนะวิธีการพัฒนา “คน” หรือ “ผู้นำ” นักพัฒนาการท่องเที่ยวที่ได้ผล ดังนี้

  • เรียนรู้พร้อมกับการปฏิบัติ เรียนรู้จากพื้นที่จริง ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชุมชน (9)

2.การสร้างผู้นำ / นักพัฒนาการท่องเที่ยว สร้างความรู้ ความเข้าใจทุกมิติทางสังคม วัฒนธรรม หลักการจัดการท่องเที่ยวให้กับนักพัฒนาการท่องเที่ยว (5)

3.สร้างกิจกรรมปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดหรือรักชุมชนให้กับผู้นำชุมชน สร้างจิตสำนึกและความร่วมมืออย่างต่อเนื่องและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืน (6)

4.เริ่มจากกลุ่มคนที่มีความต้องการจะทำและมีศักยภาพมาแลกเปลี่ยน สร้างความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพัฒนาตอบโจทย์ตามความต้องการ สร้างต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่นำร่องให้เป็นตัวอย่าง (ควรเริ่มความต้องการของชุมชน) (2)

5.การจัดการท่องเที่ยว / มีแผนการท่องเที่ยวชุมชน (2)

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

3 ประเด็นที่ฝากไว้

1. สังคม ไทยพุทธ- มุสลิม เป็นทั้งอุปสรรคและโอกาส

2. ความเสี่ยง ถ้าเปลี่ยนเป็นการสร้างให้เกิดความมั่นใจในพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ดี

3. หน่วยงานอื่นต้องมีส่วนร่วมในการรวมพลังกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อะไรเป็นกุญแจสำคัญที่สุด คำตอบดร.จีระ คือผู้นำ ต้องสร้างผู้นำนักพัฒนาชุมชนที่สามารถนำไปประยุกต์ และต้องมีโครงการนำร่องที่ต้องเกิดขึ้นกับตัวท่านเอง

ความตั้งใจของทุกท่านเป็นส่วนหนึ่งในการพลักดัน ทุกท่านต้องมีความเป็นทรัพยากรภาวะผู้นำต้องได้รับการเจียระไน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

<p “=””>โจทย์ที่สำคัญ คือ </p> <p>1. โอกาสของการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน และการสร้างคุณค่าใหม่ ๆ
</p>

2.การพัฒนาทุนมนุษย์

3.การสร้างผู้นำนักพัฒนา

การพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ ด้วยกระบวนการแบบ Chira Way

ปลูก = พัฒนา

เก็บเกี่ยว = บริหาร

ลงมือทำให้สำเร็จ(Execution)

+Macro – Micro

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capitalทุนมนุษย์

Intellectual Capitalทุนทางปัญญา

Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข

Social Capitalทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capitalทุนทาง IT

Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

<p>1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)
</p>

2.ชอบงานที่ทำ (Passion)

3.รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4.รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5.มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6.เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7.เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8.ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9.ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10.ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11.ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรม

ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารคนและการทำงานเป็นทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Happinessความสุขร่วมกัน

Respect การเคารพนับถือซึ่งกันและกัน

Dignityการยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

Sustainabilityความยั่งยืน

4 E’s Leadership ( Jack Welch )

<p>1.Energy มีพลัง
</p>

2.Energize สามารถกระตุ้นให้คนอื่นมีพลัง

3.Edgeเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ

4.Executionลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ

<p “=””>4 Roles of Leadership (Stephen Covey </p> <p>1.Path finding การค้นหาเส้นทางความก้าวหน้า/การพัฒนา
</p>

2.Aligning กำหนดทิศทางไปในแนวทางเดียวกัน

3.Empowering การมอบอำนาจ

4.Role Model การเป็นแบบอย่างที่ดี

Leadership Roles (Chira Hongladarom style)
Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

Anticipate change คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้

Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

Teamwork ทำงานเป็นทีม

Uncertainty Management การบริหารความไม่แน่นอน

เปรียบเทียบ ภาวะผู้นำของ PeterDrucker & Dr.Chira Hongladarom

ภาวะผู้นำของ PeterDrucker

1. Ask what needs to be doneถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ

2. Ask what’s right for enterprise ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องลงมือทำ

3. Develop action plans พัฒนาแผนปฏิบัติการ

4. Take responsibility for decision รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

5. Take responsibility for communicating รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

6. Focus on opportunities not problems มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

7. Run productive meetings จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต

8. Think and say We not I คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
พระมหากษัตริย์ผู้ครองหัวใจคนไทยและคนทั้งโลก

ตัวอย่างหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน

..สะท้อนบทเรียนเรื่อง “ภาวะผู้นำและการสื่อสาร” อย่างไร?

  • ภูมิสังคม
  • พออยู่ พอเพียง (เศรษฐกิจพอเพียง)

-รู้จริง (เป็นระบบ)

-เริ่มจากจุดเล็ก ๆ

-เรียบง่าย (ประโยชน์สูงสุด)

-ไม่ติดตำรา

-ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ

-อธรรมปราบอธรรม

-ขาดทุนคือกำไร

-ปลูกป่าในใจคน

-ยึดความถูกต้อง

-ประโยชน์ส่วนใหญ่

-องค์รวม

-บริการที่จุดเดียว

-มีส่วนร่วม

-รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

-เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

-รู้ รัก สามัคคี

-ระเบิดจากข้างใน

-พึ่งพาตนเอง

-ตั้งใจ (ความเพียร)

-ซี่อสัตย์

-อ่อนน้อมถ่อมตน

ทฤษฎี 5 E’s**

1. Example คือ เป็น/สร้างตัวอย่างที่ดี

2. Experience คือ สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์

3. Education คือ ให้การศึกษา ให้ความรู้

4. Environment คือ สร้างบรรยากาศที่ดี

5. Evaluation คือ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎี3 วงกลมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

1. Context องค์กรน่าอยู่

2. Competencies **การพัฒนาให้มีบุคลากรมีความรู้ ทักษะสมรรถนะในด้านต่าง ๆ เป็นคนเก่งและคนดีขององค์กร = คุณภาพของทุนมนุษย์

- ถ้ามาจากชุมชน ต้องมองทั้ง Local และ Global ให้ได้ ต้องทันเหตุการณ์ มี Macro Global Competencies ต้องเป็นชุมชนที่เข้าใจโลกให้ได้

- ต้องมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

- มีภาวะผู้นำที่ทำแล้วได้ประโยชน์ และต้องแก้เศรษฐกิจชุมชนได้ด้วย ต้องเพิ่มรายได้ อยู่ชุมชนต้องมีรายได้ ต้องสบายด้วย มีความสะอาด

3. Motivation มีแรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

และถ้า 3 วงกลมอยู่ด้วยกันจะเป็น Maximized Human Capital

WORKSHOP

<p>1.วิเคราะห์จุดแข็ง / จุดอ่อน เรื่อง “การพัฒนาทุนมนุษย์” เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนของท่าน ใช้แนวทฤษฎี 8 K’s+5K’s 2.วิเคราะห์เครือข่ายที่สำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนของ 5 จังหวัด+อาเซียน+6 มีใครบ้าง และควรจะมียุทธศาสตร์ในการทำงานร่วมกันอย่างไร (เสนอแนะที่เหมาะสม 5 ข้อที่สำคัญที่สุด)
3. วิเคราะห์จุดแข็ง / จุดอ่อน เรื่อง “การพัฒนาผู้นำหรือสร้างผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยว”ในท้องถิ่นหรือชุมชนของท่าน </p> </p> <p>4.วิเคราะห์โอกาสของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6 และเสนอแนะยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม 5 ข้อที่สำคัญที่สุด </p> <p>5.วิเคราะห์อุปสรรคหรือความเสี่ยงของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6 และเสนอแนะยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม 5 ข้อที่สำคัญที่สุด </p>

WORKSHOP

1.วิเคราะห์จุดแข็ง / จุดอ่อน เรื่อง “การพัฒนาทุนมนุษย์” เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนของท่าน ใช้แนวทฤษฎี 8 K’s+5K’s

สิ่งที่โลกทัศน์ของชาวใต้ จุดเด่นประมาณ 5 หัวข้อ

1. รักพวกพ้อง มีอะไรจะแห่กันไปด้วยกัน

2. ชาติพันธุ์ เป็นลูกผสม วัฒนธรรมปักษ์ใต้ การตั้งเมืองถิ่นฐาน เจ้าเมืองเป็นชาวเปอร์เซีย มีการผ่านการค้าขาย มีวัฒนธรรมแลกเปลี่ยน มีชาวจีน มุสลิม ทำให้มีการบูรณาการสูงมาก แต่ในปัจจุบันความเข้าใจชาติพันธุ์มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในคนรุ่นหลัง

3. ผู้สูงอายุ มีปราชญ์หลายท่านที่เหมาะเป็นผู้นำทางการท่องเที่ยว

4. รักถิ่นฐาน เวลาไปอยู่ที่ใดก็ตามจะกลับมาในถิ่นฐานตนเองทำในสิ่งที่รัก

จุดอ่อน

1. ไม่มี Generation รุ่นต่อไปเชื่อมประวัติศาสตร์

2. รักถิ่นฐานมากไปจะทำให้ไม่เปิดโลก เรียนรู้น้อยลง

ดร.จีระ เสริมว่า

1. รู้สึกนึกถึงเพื่อนคนหนึ่งที่เขียนเรื่อง Heritage คือรากเหง้าเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเสริมเข้ามา

2. Diversity ความหลากหลายคนในภาคใต้มีมาก

3. คนภาคใต้ต้องขยายบทบาทไปที่ภาคอื่นด้วย

4. ในอนาคตแหล่งท่องเที่ยวด้านชุมชนและวัฒนธรรมน่าจะเป็นตัวนำ แต่ควรเพิ่ม Sense of Business

2.วิเคราะห์จุดแข็ง / จุดอ่อน เรื่อง “การพัฒนาผู้นำหรือสร้างผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยว”ในท้องถิ่นหรือชุมชนของท่าน

ความเป็นผู้นำแต่ละท้องถิ่นหลากหลายมาก

ข้อดีของผู้นำคือ

1. ต้องกล้าตัดสินใจให้แก้ไขได้

2. ต้องมีแนวคิดพัฒนานำจุดอ่อนจุดแข็งมาพัฒนาต่อเนื่อง

3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต้องสามารถเข้ากับทุกกลุ่ม ทุกสังคมได้

4. มีปัญญาต้องนำไปสู่ความสำเร็จ

ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า ท่านจะได้ปริญญาเอกมาหลายสาขา ถ้าไม่มีปัญญาก็โง่

5. ผู้นำต้องมีจริยธรรม

6. องค์ความรู้ในชุมชนตนเอง

7. ต้องเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ปัญหาได้

8. ผู้นำถ้าอยากเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่กว้างมหาศาล ต้องอยู่ที่ต่ำเสมอ ถึงรับความคิดเห็นได้มากขึ้น

9. ผู้นำต้องเป็นผู้นำในทุกเรื่อง ถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด ผู้ตามจะมองเป็นจุดอ่อนที่มองว่าผู้นำขาดสิ่งนั้น

จุดอ่อน

1. ไม่เข้มแข็งทางความคิด คล้อยตามคนอื่นได้ง่าย

2. เล่นพรรค เล่นพวก

3. ไม่มียุทธศาสตร์ ขาดวิสัยทัศน์ พึ่งพาภาครัฐมากเกินไป

4. ใช้ความคิดเห็นตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ฟังคนอื่น

5. ทำงานเอาหน้า

6. ขาดการเตรียมพร้อม

7. คอรัปชั่น

ดร.จีระ เสริมว่า

ทฤษฎีทุน 8 ประการ ต้องมาก่อน ทฤษฎีทุน 5 ประการ ไม่เช่นนั้นจะมีความโกง

3.วิเคราะห์โอกาสของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6 และเสนอแนะยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม 5 ข้อที่สำคัญที่สุด

โอกาสที่สำคัญคือ

1. เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ผ่านการสนับสนุนของการท่องเที่ยวและกีฬา

2. การท่องเที่ยวฮาลาลเป็น Trend

3. ท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น

4. การเจริญเติบโตที่ดีด้านการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์

1.การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ

2. สร้างความเชื่อมั่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

3. พัฒนาการบริหารจัดการในทุกมิติ

4. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบบูรณาการ และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว

5. การส่งเสริมทางการศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว All for Tourism ทุกภาคส่วนควรเข้ามาส่งเสริมก้าวหน้าต่อไปได้

4.วิเคราะห์อุปสรรคหรือความเสี่ยงของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6 และเสนอแนะยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม 5 ข้อที่สำคัญที่สุด

เป็นพื้นที่ที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ วิถีชีวิต วิถีชุมชน

1. ผู้นำในระดับพื้นทีทุกระดับยังไม่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวระดับชุมชน

2. ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมทุกระดับ ยังขาดการมีส่วนร่วมต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ทำตามกระแส โปรโมท Event

3. การถักทอเครือข่ายยังไม่เห็นชัดเจน

4. นโยบายผู้บริหารในพื้นที่ในระดับผู้ว่าราชการยังไม่เห็นชุมชนเล็กๆ

5. การเอาข้อมูลในพื้นที่เชื่อมโยงไปภูมิภาคไม่เห็นเรื่องความชัดเจน ระดับจังหวัดยังไม่เกิด แล้วจะไปเกิดต่างประเทศได้อย่างไร

6. ความหวาดกลัว ความระแวงในชีวิตและทรัพย์สิน

7. ประชาสัมพันธ์

8. ความหลากหลาย ไม่ได้ดูให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่และวิถีชีวิตชุมชน

9. พื้นที่ขาดทักษะการบริการท่องเที่ยว บริหารจัดการท่องเที่ยว โดยเฉพาะหน่วยงาน จะไหลไปที่ทุนนิยม รายได้ และเศรษฐกิจ โดยไม่สอดคล้องกับ Way of Life ของชุมชน

10. ความเป็นอัตลักษณ์ไม่ได้ถูกหยิบยก

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว

12. ในแต่ละระดับไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งเรื่องสิทธิ โอกาส ทักษะต่าง ๆ

ยุทธศาสตร์

1. การจัดทำ Roadmap ที่ชัดเจน

2. พัฒนาความร่วมมือ ถักทอเครือข่ายจริงจังและยั่งยืน

3. สร้างการเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ให้โดดเด่นของพื้นที่

4. การจัดทำเส้นทางฮาลาล (Halal Root)

5. สอดรับกับบริบทพื้นที่ ไม่ทำลายวิถีชุมชน

6. พัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ให้เกิดความเข้มแข็งนำสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนให้มีประสิทธิภาพ สร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น

5.วิเคราะห์เครือข่ายที่สำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนของ 5 จังหวัด+อาเซียน+6 มีใครบ้าง และควรจะมียุทธศาสตร์ในการทำงานร่วมกันอย่างไร (เสนอแนะที่เหมาะสม 5 ข้อที่สำคัญที่สุด)

เครือข่ายของท่องเที่ยวชุมชน ควรมีตั้งแต่ชุมชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และเอกชน

ในภาคชุมชนเดิมมีชุมชนเดียวคือชุมชนปฏิรูป ต่อมาได้ทำการวิจัยว่าทำอย่างไร ได้พบว่าคล้ายสตูลมากคือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เพิ่มเป็น 10 ชุมชน เพิ่มเป็น 22 ชุมชน และเข้ามาช่วยใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เอกชน ในเรื่องสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว เริ่มเข้ามาเป็นเครือข่ายกับเรา 2 ปีแล้ว

ด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยต่าง ๆสกว. และข้าราชการที่ทำวิจัยกับต่างชาติ เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ได้มาทำวิจัยร่วมกับชุมชนเรื่องความสมบูรณ์ทรัพยากรธรรมชาติที่แท้จริง

ยุทธศาสตร์

1. ความมั่นคงทางด้านอาหาร คนที่เข้ามาในจังหวัดสตูลต้องได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษ ปลอดภัย มีประโยชน์ และมีส่วนร่วมกับชุมชน

2. ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม

3. รายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม

4. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ต้องถูกทำลาย เช่นการทำผ้ามัดย้อม

ดร.จีระ เสริมว่า

เราพัฒนาผู้นำในวันนี้โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น คนที่เป็นภาครัฐ วิชาการ ท้องถิ่นก็จะได้ด้วย สิ่งไหนเป็นประเด็นใหม่ไปสร้างประโยชน์ในประเทศได้ ก็จะทะลุทะลวงไปด้วยกัน


การอภิปราย

เรื่องทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้ สู่อาเซียน+6

โดยนางสาวนิตยา อ้นทอง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา

นายวุฒิชัยเพ็ชรสุวรรณ

หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

นายกวิศพงษ์สิริธนนนท์สกุล

ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา

นายเจตกร หวันสู

ประธานสภาการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล

นายสุริยา ยีขุน

กรรมการสมาพันธ์การท่องเที่ยวฮาลาล

นายปกรณ์ปรีชาวุฒิเดช

กรรมการผู้จัดการ บริษัทประชารัฐสามัคคีนราธิวาส (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด

อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่พบคือ ศักยภาพของคนในห้องนี้เมื่อได้หารือจากโจทย์ตอนเช้า พบว่ามีมาก

เป้าหมายคือการทำงานในอนาคตในอาเซียน แต่ละท่านมีความคิดเห็นอย่างไรที่จะนำสิ่งเรานี้มาทำให้เกิดความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และวันนี้เราน่าจะทำสิ่งต่อยอดอย่างไร ในมุมมองของแต่ละท่านจะพัฒนาการเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับอาเซียนได้อย่างไร

นางสาวนิตยา อ้นทอง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา

แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์

1. การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน

2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองับการขยายตัวของการท่องเที่ยว

3. การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่งเที่ยว

4. การสร้างความสมดุลให้กับการท่องเที่ยวไทยผ่านการตลาดเฉพาะกลุ่ม การส่งเสริมวิถีไทย และการสร้างความเชื่อมั่นของ นทท.

5. การส่งเสริมการบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศ

โดยทั้ง 5 ยุทธศาสตร์จะสอดรับกับแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน มีการจัดตั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำเขต ภาครัฐ เอกชน และส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน มีระดับภาคประชาชนและชุมชน มีการดำเนินการสู่การดำเนินการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ผ่านหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในส่วนต่าง ๆ โดยแต่ละจังหวัดจะมี Campaign ขึ้นมา เป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 5 ชายแดนใต้ ที่มีความหลากหลายและวัฒนธรรม

บทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน อาทิ โครงการเที่ยวสนุก สุขใจ มีการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีเงินอุดหนุนให้กับความสามารถและความพร้อม มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากภาคเอกชน ภาควิชาการ และส่วนอื่น ๆ

มีโครงการอาสาสมัครท่องเที่ยวชุมชนอำเภอบางกล่ำ ควนเนียง (ปี 2559)

โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองชายแดน (จังหวัดสงขลา) ปี2560
(ณ ชุมชนเกาะยอ)

ดำเนินการร่วมกับภาคส่วนต่างๆเพื่อหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน ในหลาย ๆ หน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนร่วมกัน

จังหวัดสตูล ถ้าเปรียบเทียบกับ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ถือว่าเป็นอันดับ 1 ด้านการท่องเที่ยว มีโครงการมหกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน จ.สตูล มีกิจกรรมภูมิวัฒนธรรมเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จชต.และประเทศเพื่อนบ้าน

มีการนำเสนอมุมมองท่องเที่ยวชุมชนของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไร มีอย่างไรบ้าง ต้องพัฒนาในหลายด้าน

แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ศักยภาพชุมชน

P - people(คน)

- พร้อมเป็นเจ้าบ้านที่ดี

- อัธยาศัยดียิ้มแย้มแจ่มใส

- มีทัศนคติที่ดี

- มีความปลอดภัย เป็นมิตร

- ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร
- ทักษะไกด์ชุมชน คนนำเที่ยว

- ทักษะการต้อนรับ

- ทักษะการบริหารจัดการสากล

P - places(สถานที่)

- ความมีระเบียบ ความสะอาดโดยชุมชน

- การภูมิทัศน์ บริเวณหน้าบ้านเป็นระเบียบ

- การตกแต่งบ้านรั้วผักสวนครัว

- ลานกิจกรรมในอาคารเป็นเอกเทศ

- ลานกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นตลาดชุมชนอาคาร สถานที่ใช้สอยมีความพร้อม

- ไฟฟ้าส่องสว่างเส้นทางเดิน
- ห้องน้ำสาธารณะ
- ลานจอดรถ บริเวณศูนย์เรียนรู้

- จุดแลนด์มาร์ค ปักหมุดท่องเที่ยว แลนมาร์คเชิงสัญลักษณ์ ที่ฐานเรียนรู้
- ป้ายบอกเส้นทาง
- ป้ายแผนผัง แผนที่หมู่บ้าน บอกจุดท่องเที่ยว

ที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

P-product ผลิตภัณฑ์/บริการ

- ผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าไหมผ้าฝ้ายเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

- โฮมสเตย์ มาตรฐาน

- อาหารพื้นบ้าน

- กิจกรรม ประเพณี

- ฐานการเรียนรู้ :

- จุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

- บรรจุภัณฑ์สินค้า
- พัฒนายกระดับโฮมสเตย์ให้ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น

- การสร้างการรับรู้และ STORY

- ทักษะการจัดการเชิงธุรกิจ

- การวิเคราะห์ต้นทุน

- ผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้าง เป็นสินค้าที่ระลึก (พรีเมี่ยม)

- การสร้างสินค้า/ของฝาก อัตลักษณ์พื้นที่

P- Plan และ Management

- คณะกรรมการบริหาร

- มีคณะทำงานรองรับบริการ
- กองทุนพึ่งพาตนเองหมู่บ้านท่องเที่ยว

- ทักษะการจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชน

- การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล

- การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว

- การจัดงานเทศกาลทางวัฒนธรรม

ประเพณี เป็นต้น

- การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกครัวเรือน

- ทักษะการบริหารเชิงธุรกิจ

- ความเป็นมืออาชีพ

- การบริหารความเสี่ยง

P-presentation

นำเสนอและประชาสัมพันธ์

- ประชาสัมพันธ์ผ่านส่วนราชการ

- พื้นที่จัดกิจกรรมของส่วนราชการ

- ป้ายคัทเอ้าท์

- สัญญาณอินเตอร์เน็ต

- การสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค
- social Media

- เว็บไซด์ยูทูป

P- Promotion และ Market

- การบอกต่อ

- การตั้งรับ

- การสนับสนุนส่วนราชการ

- การตลาดออนไลน์
- การสร้างแบรนด์

- AR Code

แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคตส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

  • แหล่งท่องเที่ยว
  • การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

-กิจกรรมท่องเที่ยว

-การบริการท่องเที่ยว

-การประชาสัมพันธ์และการตลาดการท่องเที่ยว

แนวทาง

  • จัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน

-บูรณาการความร่วมมือ

-บูรณาการงบประมาณสนับสนุน

-สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลานำเสนอมีประโยชน์มากคือการฉายภาพของหน่วยงานรัฐ สิ่งที่ฝากไว้คือ

1. อย่าให้งานซ้ำซ้อน

- ทุกคนเป็นเจ้าของโปรเจค และให้เขียนเป็น Case Study

- ถึงแม้เราอยู่ในหน่วยงานของมหาวิทยาลัย แต่เราทำเพื่อส่วนรวม คนในห้องนี้ต้องผนึกกำลังกัน มีบทให้เล่นเยอะๆ และมีการปะทะกันทางปัญญา อยากให้ตัวละครที่มาในห้องนี้ส่งคนที่รู้เรื่องมา

- ในการประชุมครั้งต่อใหม่ ถ้ามีหน้าใหม่เข้ามาให้ขอนำคนเดิมเข้ามาด้วย

2. ทำงานเป็นทีม และใช้นโยบาย 3 ต. ฝึกราชการนักธุรกิจทำงานร่วมกัน บนความหลากหลายที่ไม่เหมือนกัน

3. 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้การแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยจะทำอย่างไร การมี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้อย่างแท้จริง

จะมีการร่วมกันใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจังหวัดสตูลจะเป็นผู้ริเริ่มขึ้นมา

ปัตตานีมีชุมชนบ้านทรายขาว กับบางปู ที่เป็นตัวอย่างการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

การสร้างความปลอดภัย และความมั่นใจให้กับท่องเที่ยวถือว่าเป็นประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม

นายวุฒิชัยเพ็ชรสุวรรณ

หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

อบจ.ดูในเรื่องการเจาะลึกในศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำไปใช้สนับสนุนการท่องเที่ยวได้

บทบาทของ อบจ. ส่วนหนึ่งคือให้การสนับสนุนงบประมาณนั้นเป็นเรื่องจริง ที่สนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเพราะอบจ. มีรายได้จากการจัดเก็บค่าเข้าพักของผู้ที่เข้าพักของโรงแรม แสดงถึงเงินของ อบจ.ส่วนหนึ่งมาจากการท่องเที่ยว จึงต้องคืนส่วนหนึ่งกลับไปช่วยด้านการท่องเที่ยว เช่นกัน

อบจ. เป็นองค์กรที่ใหญ่ แต่ไม่มีพื้นที่ของตนเอง อบจ.มีโอกาสร่วมประสาน ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาร่วมกับเจ้าของพื้นที่ อย่า อบต.เกาะยอ เทศบาลหาดใหญ่ จะพบว่าแต่ละพื้นที่มีการปกครองในเขตพื้นที่อยู่แล้ว แต่ส่วนของ อบจ. ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง

อบจ.จะมีงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอยู่ในฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยว มีทั้งที่ อบจ.จัดเอง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ก็มีอีกหลายโครงการที่อบจ.ต้องสนับสนุนเมื่อกรอบภารกิจลงตรงนั้น

อบจ.อาจได้เปรียบว่าในองคาพยพของ อบจ.เอง ที่มาจากตัวตนของการปกครองในท้องถิ่นจะรู้เนื้อแท้ ถ้าอยากขับเคลื่อนอะไรในท้องถิ่นจะสามารถขับเคลื่อนได้ ชุมชนนี้มีอะไรที่จะส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ทำให้ อบจ. ได้เปรียบเนื้องานตรงส่วนนั้น

ที่ผ่านมาพบว่า เวลามีงานท่องเที่ยว จัดกิจกรรมท่องเที่ยว จะมีตรา อบจ.ไปแปะอยู่ที่ป้าย เพื่อสร้างสีสันให้เห็นการขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวเป็นต้น ดังนั้น ถ้าในพื้นที่ใดก็ตามต้องการพัฒนาการท่องเที่ยว แล้วไม่มีงบประมาณเพียงพอให้ประสานมาที่ อบจ. และถ้าอยู่ในพันธกิจของ อบจ. จะมีความยินดี เช่นที่สะบ้าย้อยมีการรวมตัวกันของ อบต. อบจ.จะมีอุปกรณ์เครื่องไม้ เครื่องมือที่มีความพร้อม และยินดีลงไปมีส่วนร่วม เช่นที่คลองแดน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้องห้ามพลาด และในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา กระแสท่องเที่ยวมาแรงมากจนสะพานพัง แล้วอบจ.ก็เข้าไปช่วยด้วยเครื่องมือที่ดี

มีเรื่องราวของท้องถิ่นที่น่าจะนำเสนอ นำมาขาย สร้างเรื่องราว และโปรโมท มีประเพณีดั้งเดิมที่สามารถขายได้ เช่น มีประเพณีการลอดซุ้มประตูป่า เป็นต้น สร้างความเชื่อ

อบจ.จะเป็นตัวสนับสนุน แต่ในช่วงหลังกรอบงานของอบจ.มีความเสี่ยงเนื่องจากมี สตง.เข้ามาดูมากขึ้น

อบจ.จะมีกรอบธุรกิจ และมีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาการท่องเที่ยว

การขับเคลื่อนไปนอกพื้นที่ อบจ. ต้องมีการตรวจสอบทบทวน จะมีระเบียบปฏิบัติชัดเจนในการเบิกจ่าย ต้องมีรายชื่อให้ครบ และต้องมีภาพตอนฟังบรรยายด้วย เจ้าหน้าที่ต้องระมัดระวังแล้วโอกาสที่ไปสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ นั้นกิจกรรมเชื่อมโยงกันได้หรือไม่ เป็นกรอบเดียวกันได้หรือไม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างของการทำงานในโลกยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น Donald Trump เข้ามาก็ได้ลดกฎระเบียบจำนวนมาก แต่ประเทศไทยในกรณีที่มีการจัดวอลเล่ย์บอลนานาชาติ ถ้ามีการตรวจสอบ กฎระเบียบมากเกินอาจเกินปัญหาได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ได้กล่าวถึงกรอบทิศทาง ถ้าเราจะเดินไปถือว่าสามารถเดินไปได้ในทิศทางที่ถูกต้อง

นายกวิศพงษ์สิริธนนนท์สกุล

ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา

หอการค้ามีพันธกิจทุกด้านทั้งรับใช้เอกชน รัฐบาล และภาคประชาชน บางบทบาทจะเห็น และบางบทบาทไม่เห็นในลักษณะปิดทองหลังพระ

การท่องเที่ยวเป็นตัวทำกำไรที่มีต้นทุนถูกที่สุด แต่ที่สำคัญคือการพัฒนาทรัพยากรและอนุรักษ์ทรัพยากรให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ตัวอย่าง สถานที่ท่องเที่ยวที่ตลาดบ้านพุ และตลาดคลองแห คุณกวิศพงษ์ ได้มีโอกาสไปที่เกาะใหญ่ พบว่า กุ้งที่บางแก้ว และดอนเต่า อร่อยที่สุด เนื่องจาก เป็นกุ้งอาศัยในแหล่งน้ำ 2 น้ำ ซึ่งกุ้งที่อาศัยในแหล่งน้ำ 2 น้ำจะอร่อยทั้งนั้น

จังหวัดสงขลาและพัทลุงที่มีทะเลสาบสงขลาเป็นของตนเองฟาร์มหมู ฟาร์มเป็ด ฟาร์มไก่ เราเลี้ยงเอง แต่ชาวประมงไม่ได้ซื้อปลา แต่สามารถจับปลามาขาย เช่นเดียวกัน จับปลามาก็ต้องปล่อยปาไปคืนแม่น้ำเช่นเดียวกัน

การท่องเที่ยว เมื่อใช้ทรัพยากร ก็ต้องสร้างทรัพยากรกลับคืนด้วย แต่การปลูกคนเดียวไม่ได้ ต้องช่วยกันปลูก แล้วจะทำให้มีความต่อเนื่องจนชุมชนสามารถเป็นชุมชนการท่องเที่ยวได้

ตลาดน้ำชุมชนต้องเข้มแข็งพอในการร่วมกัน ต้องมีศูนย์ร่วมและ Center

การเปิดตลาดให้ติดต้องให้ความทุ่มเทอย่างเต็มที่ถ้าไม่มีคนมาแล้วพ่อค้าจะขายอะไร

การดูงานที่ต่าง ๆ อยากให้คุยถึงกึ๋นว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ต้องหาให้ได้ว่าแม่เหล็กเราคืออะไร แล้วสถานที่จะเกิด

มีโครงการสนับสนุนท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้ไปศึกษาดู เพราะแต่ละแห่งต้องมีประวัติศาสตร์ ต้องสร้างให้ดี

ถ้ามีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แล้ว ชุมชนแล้วให้เอาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ด้วย การเริ่มต้นเชิงประวัติศาสตร์ต้องเอาการวิจัยรองรับ ประวัติศาสตร์บางอย่างยังขาดรายละเอียด เราเท่านั้นที่มาเติมรายละเอียด

สรุปคือประวัติศาสตร์ขายได้ถ้ามีความร่วมมือ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การมีตัวละครแบบนี้ เชิญมาแล้ว ถ้ามีความต่อเนื่อง ชุมชนกับหอการค้าเชิญมาแล้ว มีความต่อเนื่อง ให้ไปด้วยกัน สร้างความเสมอภาคกัน ฝากให้ท่านให้กำลังใจกับ ม.อ. ให้เข้าใจความต้องการของสังคม ให้เกียรติกับมหาวิทยาลัยมาก และโปรเจคในอนาคต

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ประวัติศาสตร์ต้องเติมเต็มโดยส่วนของชุมชน

นายเจตกร หวันสู

ประธานสภาการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล

ถ้าพูดถึงแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว จะมีส่วนร่วมตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 11 สิ่งที่ฝากไว้คือประเทศไทยไม่มีแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่ชัดเจนเลย สตูลเป็นเมืองที่ต้องสร้างแบรนด์ของตัวเองเพื่อให้คนไม่ลืม

สตูลผ่านร้อนหนาวมาพอสมควรด้านการท่องเที่ยว

รัฐไทยมีปัญหาเรื่องกรอบแนวคิด ทำให้ชุมชนสับสน

1. ไม่เห็นแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนที่สะท้อนอัตลักษณ์ของตนเอง อัตลักษณ์ชายแดนใต้คืออะไร วิถีชายแดนใต้คืออะไร การท่องเที่ยวชุมชนสะท้อนอะไร เป็นแผนเสือกระดาษที่ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ว่า ถ้ามีการวัดผลที่ดีพอจะเป็นอย่างไร

ถ้าพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนใต้เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงจะทำอย่างไร เช่น บ้านทรายขาว พนัสนิคม เบตง หลายพื้นที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง แต่ไม่มี Creative

ได้ยกตัวอย่างคำนิยามการท่องเที่ยวของ คุณโชค บูลกุล กล่าวว่า การท่องเที่ยวคือ การที่บุคคลอื่น หรือคนอื่นมาถ้ำมองอัตลักษณ์ของพื้นที่นั้น ๆ เป็นเหตุจูงใจที่ทำให้บินไปหา

Halal Tourism คืออัตลักษณ์พื้นที่หรือไม่ รัฐกำลังทำอะไรอยู่ อะไรคือ Branding ของชาวใต้ ต้องสร้างความศรัทธา แต่ความศรัทธาอย่าเปลี่ยนบ่อย

Branding ของชายแดนใต้คืออะไร

2. การท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถเอาชนะความคิดการแบ่งแยกดินแดนได้ เพราะคนในชุมชนพยายามบอกสิ่งที่ดีในชุมชน สร้างอัตลักษณ์ในชุมชน ปกป้องสิ่งไม่ดีแต่สิ่งที่ทำไม่ได้คือการ Create

การค้นหาอัตลักษณ์ในพื้นที่ พี่น้องในชุมชนสตูล สู้ไม่เคยถอย ทำให้เห็นว่าสิ่งนี้เป็นอีกทางรอดของชุมชน ที่จะใช้ยุทธศาสตร์นี้และแนวทางนี้ในการทำ และสู้จนชนะ และภาครัฐไปช่วยเหลือ และมองไม่เห็นว่าการท่องเที่ยวชุมชนจะแพ้ภัยตัวเอง ถ้าสามารถค้นหาอัตลักษณ์ของตนเองได้ เช่นการกินข้าวกับแกงตอแมะทีอร่อยต้องไปกินที่สตูล

Event กับ Creative ต่างกัน Creative Marketing มองเรื่องแบรนด์ที่จะสร้าง และ Outcome กับผลที่จะได้รับไม่ใช่มองแค่การจัดกิจกรรม

ต้นปลาไหลเผือก (ตงกัตอารี) สร้างสมุนไพร ทำไมตงกัตอารี ไม่เป็นหัวหอกของชายแดนใต้

ถ้าสังคมไทยหรือชายแดนใต้ไม่มีแผนการท่องเที่ยวเหมือนหน่วยงานอื่น อยากให้มีแผนยุทธศาสตร์ชุมชนว่าจะส่งเสริมอัตลักษณ์อย่างไรในการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้ทำในสิ่งที่เราคิดว่าเราจะทำ

ต้องเอาคณะที่เก่งทางด้าน Creative มาช่วยชายแดนใต้ ต้องผลิตบุคลากรที่เป็น Creative มากขึ้น

สิ่งที่เราขาด

1. ขาดบุคลากรที่เก่งเรื่อง Creative

2. ความศรัทธา ชุมชนตั้งการ์ด รัฐตั้งการ์ด ใครเป็นตัวประสานไม่ว่า ชุมชนต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน

สิ่งที่ฝากไว้คือ ชุมชนรู้ตัวเองหรือยังว่าเรามีดีอะไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รัฐมีอำนาจ มีเงิน และมีความลึกซึ้ง ให้เกียรติ รัฐบ้าอำนาจ บ้าเงิน และคิดตามนโยบายที่คิดโดยไม่ได้มาจากการสะท้อนปัญหาที่แท้จริงจากข้างล่าง อยากให้คุณเจตกรเป็นตัวประสาน แล้วขยายไปที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ถ้าเราคิด วิเคราะห์เป็น ก็คือปัญญา

หลักสูตรขอ 3 ต. คือต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ตัวละครอย่าเปลี่ยนบ่อย และทำไปเรื่อย ๆ จะเกิดความชำนาญ

3 จังหวัดภาคใต้ในสภาพปัจจุบัน มีความไม่มั่นคง มีความเสี่ยง จะทำอย่างไรในการแก้ปัญหาได้ ถ้าเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้จะช่วยแก้ปัญหาของเราได้มากทีเดียว

นายสุริยา ยีขุน

กรรมการสมาพันธ์การท่องเที่ยวฮาลาล

มีอยู่ที่เดียว แห่งเดียวคือในสงขลา สตูล ยะลา ปัตตานีบ้าง บทบาทหน้าที่ของสมาพันธ์ฯ เป็นการรวมตัวกลุ่มมัคคุเทศก์มุสลิมเป็นส่วนใหญ่ มองว่าเป็นการท่องเที่ยวมหาสนุกคือสนุกจนลืมความเป็นคนจริง ๆ เชิญชวนให้คนมาเที่ยวเพื่อขายสินค้าในการท่องเที่ยว

ประเทศไทยกลับถูกมองว่าเป็นจุดหนึ่งของโลกด้านการท่องเที่ยว

ประชากรมุสลิม 25-30% ของประชากร Trend ของนักท่องเที่ยวที่คิดว่าจะเข้ามาสู่ในประเทศไทยหรืออาเซียน ถ้าประเทศไทยไม่ปรับตัวเรื่องการท่องเที่ยวที่จะรองรับเรื่องการท่องเที่ยวเชิงฮาลาล อาจพบกับปัญหาได้ ปัจจุบันมีการใช้ Smart Phone แสกนข้อมูลบาร์โค้ดยกตัวอย่างถ้าต้องการร้านอาหารมุสลิมก็ให้เอาบาร์โคดแตะไป

ประเทศที่ให้ความสำคัญด้านฮาลาลอันดับหนึ่งได้แก่มาเลเซีย ตามมาด้วยตุรกี หรือ เกาหลี ญี่ปุ่น ที่ไม่มีชาวมุสลิมและสิงคโปร์เป็นอันดับ 9 ส่วนประเทศไทยอันดับที่ 20 ทำไม Halal Destination ไม่มาที่ประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่มีชาวมุสลิมจำนวนมาก

ชุมชนต้องสามารถจัดการตนเองได้ในที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ให้สามารถพลิกความไม่สงบให้เกิดความสงบโดยชุมชนจัดการชุมชน

เราสามารถอัดฉีดหรือเปลี่ยนชิปในชุมชน

ถ้าเรามองเรื่องศักยภาพของคนในพื้นที่ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องพัฒนา มีเรื่องการสร้างโอกาสของการพัฒนาและมนุษย์ที่จะอยู่ มีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อม การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การท่องเที่ยวเชิงฮาลาลจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนา ในมิติเรื่องฮาลาล ต้องดูเรื่องที่พัก ที่นอน ต้องมีการจัดที่พักที่มีทิศทางที่สามารถประกอบพิธีจัดศาสนกิจได้คือทิศที่หันหน้าเข้านครเมกกะ ความสะอาดของที่พักต้องไม่มีสิ่งที่สกปรก ต้องสะอาด ดังนั้นประเทศไทยควรให้ความสนใจจำนวนมาก

สถานที่ที่จะละหมาด ยุทธศาสตร์ในการสร้างฮาลาล รูทถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องดูว่าคนที่มามาแล้วสะอาด ที่จะประกอบศาสนกิจหรือไม่ ที่ท่องเที่ยวฮาลาล ต้องแยกระหว่างชายหญิง และไม่เป็นที่นุ่งน้อยห่มน้อย ต้องมีแม่บทในการเดินเรื่อง ไม่ใช่มีที่นอน ที่พัก ที่กินแล้วจบและถ้านักท่องเที่ยวที่มาไทย ถ้ามีสิ่งเหล่านี้จะทำให้ไปได้เยอะ

วิถีชุมชนในการตอบโจทย์ที่เชื่อมความสัมพันธ์ได้จะดีมาก การเชื่อมความสัมพันธ์พี่น้องกันจะทำให้เกิดการไหลเข้าออก การสร้างความสัมพันธ์ทางสายเลือด ทางเครือญาติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ท่องเที่ยวชุมชนใน 3 จังหวัดภาคใต้ก็ต้องรองรับ Halal Tourism และในอนาคตต้องมีการเดินทางมากขึ้น และความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง Trend ยังดีอยู่

ความคิดเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนใต้ และสงขลา ต้องเป็นลักษณะเริ่มจากวิชาการ แล้วถึงส่งต่อไปที่รัฐบาลทำ

นายปกรณ์ปรีชาวุฒิเดช

กรรมการผู้จัดการ บริษัทประชารัฐสามัคคีนราธิวาส (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด

อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

เดินทางตั้งแต่สมัยวัยรุ่น ได้ไปอยู่ที่สิงคโปร์และได้ไปเรียนรู้ในที่ต่าง ๆ มาก นึกถึงความสนุกในการเรียนรู้

พื้นฐานเป็นสถาปนิก และชอบในเรื่องวัฒนธรรมในการช่วยกันย้ายบ้าน การเรียนการสอน ส่วนใหญ่ไปมุ่งที่อื่นมากกว่าตนเอง ถ้าฝึกให้เด็กรักถิ่นได้จะดีมาก

อ่านวิธีคิดต่าง ๆ ที่หลอมรุ่นต่อรุ่น ที่น่าสนใจคือ ไม่ได้นำเรื่องจิตวิญญาณมาคิดในการสร้างสรรค์การท่องเที่ยว เราไม่ได้จับรากเหง้าของตัวเอง

ที่ไหนมีความหลากหลายวัฒนธรรมมาก แสดงว่าอดีตเคยติดต่อกับคนนอกถิ่นการแบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม มีการมองเห็นมุมที่พัฒนาต่างกันไป และเมื่อเดินทางบ่อย อย่างไปอยู่ที่อื่นนานเกิน 2-3 สัปดาห์จะเข้าใจคนสิงคโปร์ว่าคิดอย่างไรคนกินเงินเดือนเป็นแสนคือสิงคโปร์ คนกินเงินหมื่นคือคนไทย

การคนไทยไปสู้กับประเทศอื่น อาจไม่ได้ข้อดีคือ คนไทยเวลาทำถูกหรือผิดจะยิ้มไว้ก่อน ถ้าคิดว่าการต้อนรับของภาคบริการจะดี

ดูพื้นฐานของแต่ละพื้นที่ดี เห็นตั้งแต่คนระดับล่างถึงข้างบนคิดอย่างไร คิดเรื่องการขับเคลื่อนให้พร้อมในการต้อนรับคนต่างถิ่นมาเยือน

การศึกษาคลองแดน สิ่งที่โชคดีคือ 3 คลอง 2 แดน เปลี่ยนไปสู่อนาคตที่ดี ไปค้นดูจะพบว่ามี Blueprint และผังชัดเจน แม้พบว่ามีคนไม่เห็นด้วยมาก แต่ผู้นำสามารถดึงให้คนหันมาสนใจได้อย่างดี

เวลาลงมือทำ ต้องสร้างพลังขับเคลื่อนของกลุ่มได้ เราต้องเรียกจิตวิญญาณของชุมชนกลับมา

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ค่อยขึ้นข้างบนคนที่ออกไปข้างนอกจะกลับมาเห็นมุมต่างกันไป

การพูดถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแยกกันระหว่างวัฒนธรรมและศาสนาออกด้วยกัน อย่างบรูไนมีกษัตริย์ มีศัพท์ในการเรียกกษัตริย์แตกต่างจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้แบบเรา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความรุนแรงเป็นเรื่องของความไม่รู้เรื่องมากกว่า คนในพื้นที่ใกล้เคียงมาเลเซียจะมาเยี่ยมกลุ่มคนเหล่านี้ ประเทศหนึ่งที่ไม่เคยละเลยและควรเชื่อมโยงด้านประชากรกับเขาคือบรูไน เพราะเป็นประเทศที่น่ารัก ประชากรอาจไม่ถึงแสนคน แต่เป็นประชากรที่มีคุณภาพ

คุณปกรณ์มีการมองท่องเที่ยวชุมชนจากจิตวิญญาณ ดังนั้นคนในชุมชนต้องพูดถึงจิตวิญญาณของเขาด้วย

ยุทธศาสตร์ภาคใต้ที่มากที่สุดคือทุนมนุษย์ถ้าเขามีความสุข มีที่ทำมาหากินจะออกมารบทำไมอยากเห็นความสงบเกิดขึ้นใน 5 จังหวัดภาคใต้ และถ้ามีความเอาจริงจะแก้ปัญหาได้

เราต้องพึ่งตนเองให้ได้ และถ้ารัฐบาลเปลี่ยนไปมาคือความล้มเหลวของประเทศ คนที่สำเร็จคือต้องต่อสู้ สู้ทุกอย่างแล้วได้มา

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

การท่องเที่ยวชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีพหุวัฒนธรรม ต้องมีอัตลักษณ์ความเป็นพหุวัฒนธรรม ต้องมีศักดิ์ศรีความเป็นตัวตนของเรา

การบรรยาย

เรื่องแผนการตลาดของการท่องเที่ยวชุมชนในยุคดิจิตอล

โดยอาจารย์สมเกียรติ ลิลิตประพันธ์

เจ้าของแฟนเพจ "การตลาดออนไลน์โคตรง่าย สไตล์ ครูบอย"

เพจให้ความรู้ด้าน eCommerce eBusiness และ Digital Marketing

เจ้าของเพจ “ไปเที่ยวกัน” ที่ปัจจุบันมีกว่า 6 แสน ออกานิกไลก์

ที่ปรึกษาด้านการทำการตลาดออนไลน์และ E-Commerce

ให้กับบริษัทชั้นนำหลายแห่ง

การตลาดท่องเที่ยวชุมชนในยุคดิจิตอล

อดีตทำแอบโดมิไนเซอร์ ทำไอทีและทำอีคอมเมิร์ซกับสิงคโปร์ เพจท่องเที่ยวมีคนสนใจ 7 แสนไลค์ ที่มาไลค์เอง คือพาเที่ยวและโปรโมชั่นอยู่ในนั้น

ครูบอยDigital Expert หัวใจคือทำอย่างไรให้แบรนด์คุณไปเกิดที่ดิจิตอล

การตลาดหรือการค้าออนไลน์ คือ E- Business

ใครกลัวว่าจะใช้มือถือทำการตลาดไม่ได้ อย่าเอาทักษะที่คิดว่าไม่คุ้นเคยมาปิดกั้นความเจริญเติบโต

เราจะทำอย่างไรให้ Dealer ซื้อบนออนไลน์

สิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้

1. การสร้างจุดเด่นบนโลกออนไลน์

2. การหาลูกค้าบนโลกออนไลน์ หัวใจของการดึงลูกค้าจากออนไลน์

3. เครื่องมือออนไลน์สำหรับการท่องเที่ยว

4. Content Marketing

ข้อสังเกต คนส่วนใหญ่อยู่ที่ไหน (พฤติกรรม)

1. อยู่บนมือถือ

- Facebook , Google เจอโฆษณา

- ประเด็นคือทำอะไรให้ Website อยู่บนมือถือได้

- การตลาดผ่านประสบการณ์ จะทำข้อมูลประชาสัมพันธ์สั้น ๆ อะไรให้เข้าใจง่าย มุ่งเน้นการทำภาพ การทำวีดิโอ เรียกว่า Content Marketing คือการทำการตลาดผ่าน Content

- Booking.com

2.เชื่อเพื่อนหรือคนที่ไม่รู้จักบนออนไลน์

- ดูจาก Review

- เอาตัวเองไปปรากฏในนั้น เช่น พันธุ์ทิพย์ วงใน อโกด้า

3.ชอบอะไรที่เข้าใจเร็ว อยากได้หรือไม่ทันที

- วิธีการนำเสนอ

- Story Graph

4. ไม่ฟังแบรนด์ ขายของ

- เช่น ปัจจัยที่ทำให้คนจองโรงแรมอันดับ 1 และอันดับ 2 คือ มีที่ถ่ายรูปและ Wifi หรือไม่

- บางคนชอบความรู้ ก็คุยเรื่องความรู้ไป

- ฟังว่าคุณให้อะไรกับเขา แล้วเขาพูดอะไรเกี่ยวกับคุณสังเกต คนดูการทำอาหาร มี 2 ใน 10 ที่เอาไปทำ ส่วนที่เหลือจะถามว่าไปกินได้ที่ไหน

- เน้นการ Sharing และ Review เลยเกิด เน็ตไอดอล คือคนที่เป็นป๋าดันหรือแม่ยกในการดันธุรกิจ

5. หาข้อมูลด้วยตัวเอง

- ยกตัวอย่าง รายการ The Mask Singer คนดูทีวีปัจจุบันมี แค่ 20% ที่เหลือดูบนมือถือ FacebookYoutube

- แคมเปญที่ขาดไม่ได้คือ ถ้าถ่ายรูปแล้ว Check in หรือ ติด Tag จะได้อะไร

- การถ่ายทอดสดสถานที่ท่องเที่ยวจะทำให้คนไปท่องเที่ยวมากขึ้น

- คนไทย 67% เคยจองโรงแรมผ่านมือถือโดยปัจจัยที่คนจองโรงแรม อาทิ 1.วิธีการชำระเงินที่ตรงใจ 72% 2.รีวิวจากคนที่พัก 66% 3.ราคาคุ้มค่าหรือไม่ 60% 4. มีรายละเอียดข้อมูลโรงแรมที่เกี่ยวข้อง 59% 5.โรงแรมมีภาพถ่ายเยอะ 59%

หัวใจสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์

1. Online Branding & Communication

จุ่ดเด่น – จุดที่ทำให้คนจดจำ Remarkable Value

ทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าคิดในการซื้อบริการเรา

คำว่า Branding จะมาพร้อมคำถามที่ว่าทำไม

Branding คือสิ่งที่อยากให้ลูกค้าคิดหรือนึกถึงเมื่อพูดถึงเราในแบบที่ไม่เหมือนคนอื่น โดยพาะเมื่อมีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง

ยกตัวอย่าง Starbucks นึกถึงบรรยากาศการได้ดื่มกาแฟ ราคาแพง แต่ดูรสนิยม ทันสมัย ได้ถ่ายรูปโชว์ ได้แสดงสถานะทางสังคม

Starbucks สร้างเผ่า หรือ Tribe

Workshop 1 : Branding ของภาคใต้คืออะไร

ให้ลองคิดการสร้าง Branding หรือสิ่งที่ดึงดูดว่าเป็นที่นี่เท่านั้น

2. ลูกค้าที่ใช่ ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นลูกค้าเรา

ลูกค้าจะมีกลุ่มเดียว แล้วต้อง Focus ไปที่กลุ่ม ๆ เดียว ตัวอย่างเช่น เจคิวปูม้านึ่ง เค้กแซลมอลส่งถึงบ้าน

ลูกค้าเป็นใคร

  • กลุ่มอายุ
  • เพศชาย หญิง
  • ชอบเที่ยวสไตล์ไหน
  • ชอบทานอาหารแบบไหน
  • เดินทางอย่างไร
  • ชอบอยู่แพงหรือถูก

3. สื่อสารตรง /ถูกช่องทาง (Mobile & Social)

4. สร้างสิ่งที่ทำให้บอกต่อ

5. Service ที่ทำให้นักท่องเที่ยวจดจำ

ลูกค้าออนไลน์หาได้ที่ไหน

- หาที่พัก ที่กิน ที่เที่ยว หาตาม Google Facebook Booking Pantip Wongnai

- ตัดสินใจ ไปกิน ไปพัก

- ประสบการณ์ จะแชร์ หรือไม่แชร์มาซ้ำหรือไม่มา

ลูกค้ามีปัญหา แล้วต้องการเรา

- ที่พักที่ไหนดี

- ราคาที่ไหนเหมาะกับเรา

- ใกล้

- มี Wifi มั้ย

- อยากกิน... มีมั้ย

- ร้านนี้ อร่อยมั้ย

สร้างปัญหา (ลูกค้า)

- สวยจังอยากไป

- ดูน่าอร่อยมาก

- บรรยากาศเงียบสงบ

- ได้ฟิลล์ยุโรปเลยวุ๊ยย

- ภูมิใจ ต้องถ่ายไปโชว์

สร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ หรือไม่น่าจดจำ

- สิ่งที่คนมาจดจำคือเวลาที่เขามาใช้บริการ

- โปรโมทอย่างไรบนออนไลน์

Owned Media

  • Facebook Page
  • LINE@ (สามารถสร้างคูปองลดราคา เล่นเกมส์ กดปุ่มชิงโชค)

-Facebook Group ของเราเอง

-Websiteของเรา

สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีเป็นของตัวเอง

Facebook Page

LINE@

Website แบบ Responsive

Google Map Location Check-in

Instagram(Optional)

Youtube (Optional)

ปัจจัยในการทำ Facebook ให้สำเร็จ

1. ชื่อ - ถ้ายังไม่ดัง สิ่งที่ทำอันดับแรกคือทำอย่างไรให้คนค้นหาเจอบนเฟซบุ๊กส์

เช่น การตลาดออนไลน์ เครื่องเขียนค้าส่งค้าปลีก

2. Content

- คนบนเฟซบุ๊กส์ต้องการ 2 อย่างคือความบันเทิง และความรู้

เช่น ท่าวิธีใส่เสื้อกันฝนจากอายุ 50 ปี ให้เหลือ 30 ปี วีดิโอสอนทำอาหาร เล่าเรื่องในสิ่งที่เขาอยากรู้ ไม่ใช่เจ้าของเพจอยากเล่า

- อยากรู้ว่าเจ้าของธุรกิจอยากช่วยเขาอย่างไร

เช่น 45 ท่าโพสต์ถ่ายรูปสำหรับคนอยากสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์

- ท่องเที่ยวภาพสวยอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีเรื่องเล่า เช่น 5 เมนูเด็ด หรือ 5จุดชมวิวที่คุยต้องชักภาพถ่ายรูปเมื่อมาที่คานหลาววิว

3. เอาประสบการณ์ดี ๆ ที่ลูกค้าโพสต์ดี ๆ มาใส่ในเฟซบุ๊กส์แฟนเพจ

- มีบริการที่เห็นแล้ว แก้ปัญหาให้เราชอบได้

- ทำให้คนมั่นใจโดยนำคนที่เคยใช้บริการเราแล้วชอบมาโพสต์แสดงให้ดู เช่นของ Review ลูกค้า

4. ทำให้คนกดไลค์ เม้นท์ แชร์ โพสต์ก็จะยิ่งเกิดมากขึ้นเท่านั้น

- ยิ่งพูดถึงมากขึ้นคนก็ยิ่งใหญ่ขึ้น

วิธีการทำ Content โดยละเอียด

https://www.facebook.com/groups/554630677994867/?fref=ts

การทำการตลาดออนไลน์

- ต้องเตรียมงบโฆษณา ประมาณ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน

- บน Facebook Ad ทำอะไรได้บ้าง

- สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ เลือกให้ตรงกลุ่ม

- การโฆษณาไปต่างประเทศก็เลือกเฉพาะคนในประเทศนั้น ที่สนใจเรื่องการท่องเที่ยว ชอบอะไร...

สรุป ก่อนทำการโฆษณาต้องให้นึกถึงเราก่อนว่าเราอยากให้คนมองว่าเป็นภาพลักษณ์ไหน


สรุปการบรรยาย

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ

โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

ระหว่างวันที่ 28 – 30 เมษายน 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

วันที่ 29 เมษายน 2560

ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์กสิกรรมไทย บ้านภูลิตา

บรรยายโดย คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

กล่าวว่าในการเรียนรู้ทั้ง 3 วัน ขอให้เน้นการทำงานที่ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง การ เพิ่มสมรรถนะและทุนมนุษย์ให้มีคุณค่าสูงขึ้น

เป้าหมาย คือ

1. การเรียนรู้จากกรณีศึกษา แล้วเจาะไปที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนนั้นมีโอกาสต่อยอด

2. เน้นวิธีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ใช้ Social Media ในการเชื่อมโยง สร้างการติดต่อสื่อสาร และสร้างสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Networking)

3. การพัฒนาคนเป็นเสมือนสงครามที่ยืดเยื้อ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

4. สร้างมาตรฐานให้เกิดขึ้น ทำให้เป็น Foundation

คุณสนธิการณ์ วิโสจสงคราม

ความเป็นมา

สถานที่เดิมที่นี่เป็นที่จัดสรรเปิดให้คนภายนอกพื้นที่มาจับจองบ้าน ซึ่งมีกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนใต้ ย้ายมาอยู่ที่นี่จำนวนมาก เป็นสถานที่ที่ไม่มีวิถีชีวิตดั้งเดิม คนไม่ค่อยทักทายกัน มีเหตุการณ์ลักเล็กขโมยน้อย และยาเสพติดจึงได้คิดทำสถานที่เป็นที่พบปะชุมชน และสร้างเป็นแหล่งนันทนาการสาธารณะให้คนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และรู้จักกันมากขึ้น สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน จึงเป็นแหล่งที่มาของ ศูนย์เรียนรู้เกษตรคนเมืองบ้านภูลิตา โดยใช้บ้านภูลิตาเป็นส่วนกลาง และภายในระยะเวลา 3 เดือน คนที่อยู่ในพื้นที่นี้ก็ได้รู้จักกันทั้งหมด

ศูนย์เรียนรู้เกษตรคนเมืองบ้านภูลิตา

ได้เปิดหลักสูตรอบรมเพื่อส่งเสริมประชาชนทั่วไปที่สนใจนำไปเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักหรือการเตรียมตัวเกษียณตนเอง ซึ่งมีหลักสูตรดังนี้

1. เกษตรวิถีคนเมือง

2. การจัดการและนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

3. การจัดการและนวัตกรรมการเลี้ยงชันโรง

4. การนำพลังงานทดแทนมาใช้ลดต้นทุนการผลิตแปลงกสิกรรม

5. เติมเต็ม ต่อยอด เกษตรกรให้พึ่งพาตนเองได้ใน 5 ปัจจัยพึ่งพาตนเอง

6. บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่คืนสู่วิถีกสิกรรมไทย

โดยเน้นการสร้างเครือข่ายสมาชิกที่เข้าอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แชร์ประสบการณ์ ต่อยอดการรวมกลุ่ม เป็นชมรม สมาคม หรือสร้างวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ และสร้างอำนาจต่อรองทางการตลาด

แนวคิดของศูนย์เรียนรู้เกษตรคนเมืองบ้านภูลิตา “พื้นที่น้อยนิด ผลผลิตทั้งปี”

การดำเนินชีวิตภายใต้การบริโภคผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมให้เด็กเยาวชน และประชาชนทั่ว ๆ ไปใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการปลูกต้นไม้ ปลูกผักในบ้าน สอดแทรกแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1. ออกแบบพื้นที่ทุกตารางเมตรให้ใช้สอยและครบปัจจัยด้านอาหารในการดำรงชีวิตประจำวัน

2. การแก้ปัญหาดินของคนเมืองให้มีอินทรียวัตถุเหมาะแก่การปลูกต้นไม้

3. ใช้พื้นที่รอบ ๆ บ้านตนเอง ให้แหล่งอาหารและนันทนาการ

4. เทคนิคการปลูกพืชในลักษณะต่าง ๆเช่น แนวตั้ง พืชไร้ดิน การนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ การทำกระถางแก้มลิง คอนโดกุ้ง คอนโดชันโรง วงล้อแบ่งปัน เป็นต้น

5. นวัตกรรมการเกษตรวิถีคนเมือง ในด้านกสิกรรม ประมง ปศุสัตว์ พลังงานทดแทน ปัจจัยเอื้อต่อการผลิต การแปรรูป การตลาดแบบเครือข่ายและเบ็ดเสร็จ

เป้าหมายเพื่อให้คนสามารถทำการเกษตรเพื่อความยั่งยืน เน้นการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเอง ประกอบด้วย ด้านอาหาร พลังงาน และปัจจัยการผลิต โดยเพิ่มชุดความรู้และองค์ความรู้ทางการตลาด ที่เน้นการบอกต่อ การลงทางไลน์ กระตุ้นให้คนอยากมา ชม ชิม และซื้อกลับ

ส่งเสริมการคิดค้นทางด้านนวัตกรรม ใช้อินทรียวัตถุ ส่งเสริมการแปรรูป มีหน้าร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อมวลชน

ด้านการแบ่งปัน - เมื่อเหลือกิน เหลือใช้ให้แบ่งปันประกอบด้วยการให้เช่าพื้นที่การเลี้ยงชันโรง การทำ MOU ร่วมกัน มีการอบรมเกษตรกรทั่วไป มีพื้นที่ศึกษาดูงาน สร้างครอบครัวสัมพันธ์โดยใช้การเกษตรเป็นสื่อ มีการอบรมสร้างภาวะผู้นำ จากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เล่าถึงประวัติศาสตร์ให้เยาวชน และเด็กรุ่นใหม่เรียนรู้เพื่อเป็นยุวทูต มีการจัดการละเล่นเด็กโบราณ การส่งเสริมการเรียนรู้ และการสร้างลาน 3 มุมเมือง

โครงการคนกล้าคืนถิ่น

ความเป็นมา

จากปัญหาวิกฤตของเกษตรกรจนทำให้เกษตรกรรายย่อยอ่อนล้าพึ่งตนเองไม่ได้ ไม่คุ้มค่าคุ้มทุนต้องสูญเสียที่ดินละทิ้งถิ่นปล่อยให้คนชราและเด็กอยู่กันตามลำพังจนทำให้การพัฒนาในชนบทขาดพลัง

แม้ปัจจุบันจะมีรูปธรรมความสำเร็จของการพึ่งตนเองได้ในรูปแบบต่างๆอยู่มากมายแต่เมื่อเทียบกับเกษตรกรทั่วประเทศก็ถือเป็นส่วนน้อย การส่งเสริมแก้ไขยังคงตามขนาดขยายตัวของปัญหาไม่ทันยังไม่สามารถร่วมไม้ร่วมมือผนึกกำลังจนได้พลังมากพอถึงขั้นเกิดเป็นมวลเปลี่ยนวิกฤติ(critical mass) ขนาดพลิกฟื้นวิกฤติได้ภาคส่วนต่างๆจึงร่วมกันเพื่อขับเคลื่อน

โครงการ “คนกล้าคืนถิ่น” เพื่อสร้างต้นแบบการใช้ชีวิตแบบพึ่งตนเองได้อย่างมั่งคั่ง

พอเพียงสมดุลกับการใช้ทรัพยากรที่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิผลและสอดคล้องกับกระแสสังคมที่เบื่อหน่ายหมดหวังกับความสุดโต่งของความเจริญด้านวัตถุในปัจจุบันเพื่อกลับไปเป็นต้นแบบและผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง(change agent)ในท้องถิ่นโดยผู้ผ่านกระบวนการ บ่มเพาะ หนุนเสริม ร่วมคิดพาลงมือทำและติดตามเป็นพี่เลี้ยงจนสัมฤทธิ์ผลจะได้นำเอาสิ่งที่ได้ทดลองลงมือทำจริง

เป็นประสบการณ์ตรงไปต่อยอดสร้างการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในชุมชนท้องถิ่นต่อไป

เป้าหมายโครงการ

1. อบรมบ่มเพาะความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 2,000-3,600 คน

ให้เข้าใจศาสตร์การพึ่งตนเองและเกิดอุดมการณ์กลับคืนถิ่น

2. คัดเลือกผู้มีความพร้อมและมีพื้นที่ 2-3 ไร่ในการลงมือปฏิบัติในชีวิตจริงเพื่อสร้างบทพิสูจน์การพึ่งตนจำนวน 400-720 คน โดยมีการสนับสนุนทั้งเรื่องปัจจัยทุนและพี่เลี้ยงในการพาลงมือปฏิบัติจริง

3. จัดหาพื้นที่ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมและสนใจแต่ไม่มีความพร้อมในเรื่องที่ดินของตนเอง

ให้สามารถลงมือฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริงโดยใช้พื้นที่จากเอกชนและหน่วยราชการที่สนับสนุน

รวมถึงพื้นที่ของกองทัพบกซึ่งมีความพร้อม

4. คัดเลือกและนำเสนอผู้ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นผ่านสื่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องในลักษณะ reality show

5. ขยายผลทำโครงการอย่างต่อเนื่องทุกปี

6. สร้างและเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่พึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน เพื่อมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมให้มั่นคงต่อไป

ร่วมขับเคลื่อนโดย

1. กองทัพบก

2. สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

3. มูลนิธิปิดทองหลังพระ

4. โครงการหนึ่งไร่หนึ่งแสน (สภาหอการค้าไทย)

5. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

7. เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

8. มูลนิธิธนาคารต้นไม้

9. โครงการ 100 โครงการเปลี่ยนประเทศ (โครงการหนึ่งในโครงการปลุกพลังเปลี่ยนไทย)

10. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

11. โครงการผูกปิ่นโตข้าว

12.มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย

13.มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

14.มูลนิธิพิทักษ์ประชาชาติ

15.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

16.มูลนิธิข้าวขวัญ

17.เครือข่ายสันติอโศก

18.เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน

คุณม่วย ได้กล่าวถึงกิจกรรมการจัดคนกล้าคืนถิ่น ที่บ้านภูลิตา นำมาสานต่อให้เยาวชนสามารถเข้าร่วมเพื่อเป็นตัวแทนในการสืบสานและคืนฐานสู่ชุมชน โดยจัดโครงการรับสมัครเยาวชนคนกล้าคืนถิ่น เพื่อสืบสานต่อเรื่องราวสู่เยาวชนรุ่นต่อไป โดยทำมาแล้ว 1 รุ่น ได้รับผลตอบรับที่ดี และกำลังจะทำรุ่นที่ 2

นำหลักปรัชญาของในหลวงรัชการที่ 9 มาใช้ เพื่อสร้างภูมิความรู้ ภูมิปัญญา สร้างกัลยาณมิตร และส่งต่อกัลยาณมิตรที่ดี

ส่งเสริมการเรียนรู้การพึ่งตนเอง จากปัจจัย 5 ด้านโดยไม่ใช้เงิน ให้เห็นถึงความจำเป็นที่แท้จริงว่าไม่จำเป็นต้องเข้าเมืองหลวงไปหางานทำเพื่อหาเงิน แต่สามารถทำเองได้ที่บ้านแบบพึ่งตนเอง นอกจากนี้ได้มีการให้เข้าร่วมโครงการ Start Up เพื่อเป็นตัวเชื่อมของแต่ละชุมชนเพื่อส่งต่อและขายสินค้าออนไลน์ โดยจะร่วมกับ 3 จังหวัดภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ด้วย

ที่ผ่านมาในการจัดกิจรรมที่บ้านภูลิตา จะมีเด็กต่างชาติจากประเทศฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย มาร่วมเรียนด้วยประมาณ 1-2 เดือน เป็นผู้สมัครผ่านคอร์ส

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ขอให้เน้นเรื่องการเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยกัน ให้ตัวละครในแต่ละภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

โจทย์ของ 3 จังหวัดภาคใต้กศน.เป็นตัวละครหนึ่งของฝ่ายรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น กศน.ยุคใหม่ คือเน้น Life Long Learning เปลี่ยนคนเป็นทุน ให้เกียรติ และเห็นคุณค่า แล้วเติมเต็มสิ่งเหล่านั้น

ความสุข คือการกลับไปใช้ชีวิตในบ้านเกิดของเขา

การเกษตรแผนใหม่ ต้องเน้นการเข้าสู่อาเซียน จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น

การทำเพื่อส่วนร่วม เน้นการทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

เรื่องเกษตร ท่องเที่ยว สมุนไพร เป็นอนาคตของประเทศไทย ที่เราควรศึกษาและอนุรักษ์ สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดความยั่งยืน

ในลำดับต่อไปอาจเชิญชาวบ้านมาร่วมฟัง แล้ว ดร.จีระจะมาบรรยายเรื่องการบริหารจัดการยุคใหม่

ดร.ปาริชาติ วิสุทธ์สมาจาร

กล่าวถึงเรื่องการทำการเกษตรต้นน้ำ ต้องมองไปถึง กลางน้ำ และปลายน้ำด้วยว่าจะไปตรงไหน

การศึกษาเรียนรู้ ณ สถาบันการศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา

โดย นายอรัญ คงนวลใย ผู้อำนวยการสถาบัน กศน. ภาคใต้

อาจารย์สัญญา วัชรพันธุ์ พนักงานเทศบาลที่กำลังเกษียณ

นางออมทรัพย์ ชูสวัสดิ์ ครูชำนาญการ

นายอรัญ คงนวลใย

กล่าวว่าภาคส่วนการศึกษาเริ่มมีความฮึกเหิมที่จะเดินหน้าแล้ว มีกศน.อยู่ทุกตำบล แต่อยู่ที่ว่าจะปฏิบัติอย่างไร การไปถึงนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้นั้น เราต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ สิ่งที่ขาดคือการสนับสนุน การให้กำลังใจ ทุกคนมีพื้นที่ทำกิจ แต่จะมีศักยภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับการทำกันเอง คนที่มาที่นี่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Start Up ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความรู้สึกที่ดี และมีความมั่นคงทางอารมณ์แล้ว

กศน. มีความพร้อมเสมอสำหรับการให้โอกาสมีโรงเรียนผู้สูงอายุมีการเรียนรู้วิชาชีพ วิชาชีวิต วิชาชุมชนศาสตร์พระราชา

สถาบัน กศน.ภาคใต้ (ชื่อเดิม ศูนย์ กศน.ภาคใต้) ตั้งอยู่ที่บ้านสวนตูล หมู่ 5 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา บนเนื้อที่ 150 ไร่ มีพื้นที่เชื่อมต่อกับอ่างเก็บน้ำบ้านสวนตูล และเขาเทวดาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศของภูเขาและสายน้ำ มีน้ำตกไหลจากเขาเทวดา 3 สาย (โตนหินลาด โตนวังไทร และโตนไร่ลุงใหม่) ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของแต่ละปี

สถาบัน กศน.ภาคใต้ (พ.ศ. 2553 – 2559) ได้พยายามพัฒนาบริเวณพื้นที่ดังกล่าว (เชิงเขา อ่างเก็บน้ำ พื้นทีภายในสถาบัน กศน.ภาคใต้) ให้เป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ สายน้ำ เป็นพื้นที่สีเขียวเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์คืนสู่แผ่นดินอีกครั้ง การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ “วิถีเกษตร วิถีชาวใต้” การจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามอัธยาศัย “ขี่จักรยาน” เที่ยวน้ำตก ดูนก ตกปลา เก็บหาผักพื้นบ้าน” การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงภูมิทัศน์ และการเปิดพื้นที่ให้ชุมชนเข้ามาใช้บริการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

แนวคิด

ตามหลักคิดการปฏิรูปการศึกษาในรัฐบาลปัจจุบัน มุ่งเน้นใช้กระบวนการศึกษาแก้ปัญหาของบุคคลและสังคม ให้สถานศึกษาร่วมกับทุกภาคส่วน ศึกษาตามกิจกรรมของชุมชน รวมพลังช่วยกันสร้างความเข้มแข็งระดับบุคคล ชุมชน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชน

รูปแบบกิจกรรม “ตลาด กศน.เชิงเขาและชายน้ำ”

ตลาด กศน.เชิงเขาและชายน้ำ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สถาบัน กศน.ภาคใต้ ต้องการเปิดพื้นที่รวบรวมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของชุมชน ตำบลเขารูปช้าง ข้อมูลภูมิปัญญาแขนงต่าง ๆ เปิดพื้นที่พบปะ สานสัมพันธ์ของผู้คนทุกช่วงวัย ทั้งภายในและภายนอกชุมชน ทั้งนี้จะก่อให้เกิดการมองเห็นศักยภาพของชุมชนเอง การต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชนในทุก ๆ แขนงสู่การพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ก้าวย่างสู่สังคมไทยยุค 4.0 อย่างมั่นคง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป้าหมายที่รู้จัก กศน.ที่นี่ คือมีโครงการที่ กศน.ทำอยู่แล้ว และการฝึกให้คนมีความใฝ่รู้ เหมือนที่เราฝึกกันอยู่ใน 3 วันนี้

ผศ.ดร.สุพัตรา เดวิสัน

วันนี้ได้เรียนรู้ และหวังว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้อะไรไปสะกิดต่อม ที่สำคัญคือการทำเรื่อย ๆ และต่อเนื่อง ไม่หยุดการมีสมบัติมาก บางครั้งอาจไม่รู้ว่าจะขายอะไรดี เยอะไปหมด ดังนั้นสิ่งที่ต้องรู้คือต้องรู้ว่าเขาจะซื้ออะไร

สิ่งที่อยากฝากคือ ถ้าจะทำเรื่องยกระดับสู่อาเซียน ขอให้เน้นเรื่องการยกมาตรฐานในการทำให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

การมองถึงยุทธศาสตร์ชาติ และความสนใจในชุมชน อยากให้มองในเรื่องชุมชนที่จะไปร่วมกันด้วย

อาจารย์สัญญา วัชรพันธุ์

กล่าวถึงในนามชาวบ้านขอขอบคุณ และรู้สึกเห็นด้วยในการเชื่อมสู่อาเซียน

เป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาและเรียนเรื่องไทยคดี เนื่องจากตัดสินใจที่จะเข้าใจคนไทย และจะนำไปใช้ใน 3 จังหวัดภาคใต้ได้ทุนภูมิพล และได้รับเกียรติจาก ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นผู้ดูแลบ้านศรัทธา เป็นเจ้าบ้านตามกฎหมาย

การมองถึงชุมชนเป็นการรักษาไว้ซึ่งเชื้อชาติเผ่าไทย ประเทศไทยมีศักยภาพมาก แต่ไม่นำศักยภาพออกมา ไม่รู้การนำทรัพยากรธรรมชาติของโลกมาใช้อย่างถูกต้อง ไม่มีจุดยืน

ทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศไทยสามารถนำมาประกอบอาชีพได้ แต่ที่พบว่าคนว่างงานนั้นหมายถึงเขาไม่ทำมากกว่า

กล่าวถึงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของเมืองสงขลา สิ่งหนึ่งคือเขาเทียมดา มาจาก “เท่าเทียมเทวดา” หรือ “ที่เทวดา” ที่แสดงถึงสิ่งยืนยันความเชื่อในด้านบรรพบุรุษ มีการนำทั้งวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์มาใช้ใน 2 มิติที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดมาถึงปัจจุบัน

เขาเทียมดาเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มเทือกเขาของอำเภอเมืองสงขลา เป็นจุดเริ่มต้นของเมืองสงขลาประกอบด้วยเขารูปช้าง เขาน้ำกระจาย เขาแก้ว เขาเกาะโมง ควนตีน ในท้องที่ตำบลเขารูปช้าง พะวง เกาะแต้วและทุ่งหวัง ยอดเขาเทียมดาอยู่ห่างจากตัวเมืองสงขลาราว 8 กิโลเมตร สภาพเป็นป่า และมีการทำเกษตรกรรม ทำสวนยาง สวนผลไม้บริเวณเชิงเขา เนื่องจากมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์เป็นต้นน้ำของคลองธรรมชาติหลายคลอง ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา คือ คลองบางดาน คลองน้ำกระจาย คลองสวนตูล คลองเขาแก้ว คลองตะเคียน นำความชุ่มชื้นมาสู่พื้นที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลาที่อยู่เชิงเขา

ที่เขาเทียมดา ยังคงพบโบสถ์ที่สร้างด้วยหินทรายพบถ้ำที่เป็นร่อยรอยของมนุษย์โบราณ ค้นพบขวานหิน และค้นพบการแกะสลักที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เป็นศิลปะร่วมกันของฝรั่งเศส อิตาลี และไทย

เขาเทียมดา ยังคงมีการสืบสานประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน คือ “ประเพณีรับเทียมดา” หรือประเพณีรับเทวดา ของชาวบ้านตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อเทวดาองค์เก่า ที่ได้ปกปักรักษาผู้คนในหมู่บ้านมาตลอดระยะเวลาหนึ่งปี และต้อนรับเทวดาองค์ใหม่เพื่อ ให้มาคุ้มครองปักปักรักษาผู้คนในหมู่บ้านต่อไป เกิดจากการที่ ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ทุกหมู่บ้านจะมีเทวดามาปกปักษ์รักษา ผู้คนในหมู่บ้านนั้น ๆ ให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินได้คล่อง โดยเฉพาะการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชนนี้ โดยเทวดาจะหมุนเวียนกันมาทำหน้าที่ปีละ 1 องค์ เพราะฉะนั้นหลังจากวันขึ้นปีใหม่ไทย (หลังวันที่ 13 เมษายน) หลังจากตะวันตกดิน จะมีพิธีส่งเทวดาองค์เก่า และต้อนรับเทวดาองค์ใหม่โดยทุกคนในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นคนเฒ่าคนแก่ คนหนุ่ม คนสาว หรือเด็ก ๆ ก็จะมีส่วนร่วมในการประกอบพิธีด้วยกันทุกคน ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และความสนุกสนานเพลิดเพลิน

มีการใช้ข้าวเปลือก และมีพิธีบูชายัญ มีโนราห์โรงครู เป็นพิธีทางไสยศาสตร์ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน มีศิลปะโนราห์โรงครู เป็นต้น

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1. คิดอย่างไรเรื่อง 3 จังหวัดภาคใต้ที่ปัญหาไม่จบสักที

ตอบ 1. ผู้รู้เป็นผู้มีอำนาจ ที่อาศัยอยู่ไม่รักษาความเป็นมิตรที่มีมาแต่เดิม

2. แต่ก่อนเคยมีการปลูกฝังเรื่องถิ่นฐานเดียวกันการปลูกฝังประวัติศาสตร์ที่ดีในการอยู่ร่วมกันระหว่างไทย-พุทธ ไทย-มุสลิมตั้งแต่เด็ก แต่ขาดการปลูกฝังมาอย่างต่อเนื่อง

3. การเกรงใจคนทำผิด นำเรื่องภาษี มาสร้างบารมีตนเอง ยกย่องคนทำผิด ทำลายศักดิ์ศรี เกิดปัญหายาเสพติด ทุจริต แต่ไม่มีใครกล้าพูดถึงตัวการที่แท้จริง

4. ถ้าปล่อยไปเช่นนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือประเทศที่ 3 หรือองค์กรพื้นที่โลกจะเข้ามาแทรกแซงได้

กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บทเรียนจากการพัฒนาการท่องเที่ยวของตัวแทน 5 จังหวัดชายแดนใต้ที่เข้าร่วมโครงการ

ดำเนินรายการโดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

คุณสุชาดา ทองภูมิ ทำท่องเที่ยวชุมชนเกาะยอ

สิ่งที่ได้รับคือความรู้ในการต่อยอดพื้นฐานทั้งในปัจจุบันและอนาคต เห็นความสำคัญที่เรื่องรากเหง้าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อยากส่งต่อเมล็ดพันธุ์ที่ดีไปสู่เด็ก ให้มีการเล่านิทานและเล่นกับลูก

ในอนาคตอาจไปสมัครเป็นวิทยากรกระบวนการเรือนไทยพุทธศาสตร์ เพื่อกำกับนิทานที่มีคุณธรรมผ่านเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ การทำบุญกับผู้บริสุทธิ์จะได้กุศลสูงสุด เป็นคุณค่าทางความรู้ที่ติดตัวเรา

ดร.นัยนา จาก ม.ราชภัฏสงขลา

สิ่งที่ได้มากคือความรู้ ข้อคิด และโลกทัศน์ จากมุมมองการทำงานของมหาวิทยาลัยที่อยู่บนหอคอย ไม่ได้มองเห็นภาพที่แท้จริงของประชาชน ความรู้ในครั้งนี้จึงเป็นความรู้ใหม่

เป็นประธานหลักสูตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดูแลด้านการผลิตนักศึกษาด้านการท่องเที่ยว มีแนวคิดว่า

1. ผลิตบัณฑิตเพื่อเสริมสร้างประเทศไทยจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อเตรียมพร้อมสู่การท่องเที่ยวระดับโลก

2. ด้านการวิจัย ได้รับมุมมอง และแนวคิดการพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อการสานต่อการท่องเที่ยวชุมชน

3. การสัมผัสการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย สนใจเรื่องการท่องเที่ยวฮาลาล

4. การสร้างความเชื่อมั่นว่าจะเพิ่มเงินจากการท่องเที่ยวได้อย่างไรบ้างการมาศึกษาดูงาน ได้เห็นมุมมองในภาคปฏิบัติมากมาย

นายกอบต.ขันพูล ต.กวนลู

ได้วิชาจาก ผอ.อรัญคงนวลใยมาก ได้พัฒนาศักยภาพผู้นำ

คิดว่าโครงการทำยากเนื่องจากไม่มีทุน ได้มีการพัฒนาจากทรัพยากรธรรมชาติ และเรื่องต่าง ๆ มากว่า 10 ปี ได้มีการต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ได้ประโยชน์จากทั้ง 2 ฝ่ายคือ ทั้งเจ้าบ้าน และผู้เยือน โดยจะนำไปเติมเต็มในสิ่งที่บกพร่อง และจะนำไปพูดคุยกับพี่น้องที่ ต.กวนลู สิ่งที่จะนำกลับไปทำคือการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกเรื่องทั้งโครงการพัฒนาพื้นที่สิ่งแวดล้อม ที่เป็นคุณค่าอย่างสูง และการสร้างประโยชน์เพิ่มเติมจากสิ่งที่ ต.กวนลูมีอยู่ สร้างวิถีชุมชนที่มีชีวิต มีวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่ดี สู่การสร้างรายได้ที่ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

คุณชนินทร์ เคียงอินทร์ ประธานท่องเที่ยวบ้านทรายขาว ปัตตานี

ททท.ได้เคยไปประเมินที่ชุมชน ซึ่งก็ได้ความรู้มาก ชุมชนบ้านทรายขาวเป็นชุมชนท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมพุทธ-มุสลิมมีทุเรียนพรีเมี่ยม ที่ได้รับการยอมรับ มีจุดชมวิวที่สวยงามมากเห็นถึงแหลมตารี ทั้งในแสงแรกตอนพระอาทิตย์ขึ้น และแสงสุดท้ายตอนพระอาทิตย์ตก

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด เคยไปนั่งวิปัสสนาที่หาดทรายขาวเช่นกัน

บ้านทรายขาวมีชุมชน 10 ชุมชนชาวมุสลิมที่บ้านทรายขาว พูดภาษายาวีไม่เป็น มีวัดไทยที่มีเจ้าอาวาสเคยเป็นมุสลิมมาก่อน ที่เคยมีลูกเมียมาก่อน แล้วมาบวชที่บ้านทรายขาว

มีวัฒนธรรมว่า ถ้ามีข้าวใหม่ ทุเรียนใหม่ให้คนไทยนำมาถวายวัด ส่วนลูกมุสลิมที่มีพ่อหรือแม่เป็นไทย-พุทธ จะต้องบวชเณรก่อน 1 วันแล้วสึกก่อนเป็นมุสลิม เพื่อแก้เคล็ดที่เคยเป็นไทย-พุทธ

ตำนานบ้านทรายขาวมีมากมายทั้งเรื่องคนธรรพ์ ผีหลังกลวง ซึ่งปัจจุบัน ม.ราชภัฏสงขลากำลังทำวิจัยอยู่

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เสริมว่า โจทย์คือ 5 จังหวัดภาคใต้ สิ่งที่สนใจคือการท่องเที่ยวชุมชนใน 5 จังหวัดภาคใต้ อาจนำสู่การทำแผนยุทธศาสตร์ 5 จังหวัดภาคใต้ ให้ดูว่าจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน 3 วันนี้จะนำไปแก้ปัญหา และมองอนาคตอย่างไรบ้าง

1. สำรวจตัวเองว่าอยู่ที่ไหน

2. เพิ่มมูลค่าอย่างไร

3. จัดอันดับชุมชนเป็นเกรด A,B,C ให้นำความรู้ไปทำ

4. ทำให้ลูกศิษย์กล้าแหวกวงล้อมและกระโดดออกมาทำแล้วทำอีก

ที่ผ่านมานโยบายไม่ต่อเนื่อง จึงต้องแบ่งปันความรู้ให้ทุกคนรับทราบ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี

อาจารย์พวงพิศ สนง.พาณิชย์ จ.สงขลา

ได้รับมอบหมายว่า กระทรวงพาณิชย์ต้องมีตลาด หรือส่งเสริมให้ได้มาซึ่งการคลุกคลีกับผู้นำชุมชน

มูฮัมหมัดอารี

ในชุมชนไม่เห็นด้วยกับโครงการหมู่บ้านเสื้อแดงการสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ได้งบประมาณมา ได้นำคนมารวมกัน มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน เลี้ยงข้าวทุกสัปดาห์ มีการซื้อวัตถุดิบ แล้วเชิญแม่บ้านต่าง ๆ มาร่วมทำอาหาร สร้างพื้นที่กลางเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจว่าพี่น้องมาจากฐานเดียวกัน

ในเรื่องความขัดแย้ง มีตลอดเวลา ได้มีการจับมิติทางประวัติศาสตร์ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนเริ่มทำเรื่องการพัฒนาบ้านของตัวเองก่อน

อาจารย์ขนิษฐา แสงวิเชียร

มาในฐานะคณะทำงาน รู้สึกเป็นเกียรติมาก มีแนวคิดที่จะนำไปต่อยอดในฐานอาจารย์ จะไปบ่มเพาะนักศึกษาในหลักสูตร MICE คือหลักสูตรการจัดการธุรกิจประชุม นิทรรศการ และการจัดแสดงสินค้าต่าง ๆ จะบ่มเพาะนักศึกษาในเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนจะเชื่อมโยงกับ MICE ได้อย่างไรการทำธุรกิจจะแตกต่างจากทั่วไป จะดูว่าจุดแข็งที่มีในชุมชนเรามีอะไรบ้าง ด้านทรัพยากรจะสามารถนำไปจัดสรรและตอบโจทย์ได้อย่างไรจะสร้างความคิดสร้างสรรค์สู่ชุมชนได้อย่างไร และนำการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ให้เยาวชนซึมซัมในรากเหง้าของชุมชนที่แท้จริง

คุณกฤตธนา รองประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.สงขลา

ทำงานใน 2 ระบบคือ ทางการศึกษา และการจัด Organize การพัฒนางานและชุมชน สิ่งที่พบคือ ชุมชนมีความตั้งใจสูง แต่ถ้าชุมชนเคลียร์ตัวเองไม่ชัด อาจหลงทาง คนในอาจมองไม่ออก แต่คนนอกมองออก ชุมชนต้องมองเรื่องการเปลี่ยนแปลง ต้องมองว่าจะทำอะไร และจะขายใคร ให้มองว่านักท่องเที่ยวต้องการอะไร การทำท่องเที่ยวไม่ใช่ทุกตำบลหรืออำเภอสามารถทำท่องเที่ยวได้ ต้องดูว่าเรามีศักยภาพพร้อมหรือไม่ ให้ทำในสิ่งที่เรามี ไม่ใช่ทำตามคนอื่น เพราะผู้ประกอบการที่จะพานักท่องเที่ยวเข้ามาจะมองแหล่งที่พร้อม


สรุปการบรรยาย

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ

โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

ระหว่างวันที่ 28 – 30 เมษายน 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

วันที่ 30 เมษายน 2560

การแบ่งกลุ่มระดมความคิดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน

5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา และบทเรียนที่สำคัญของการศึกษาดูงานกรณีศึกษาในพื้นที่สะท้อนเป็น บทเรียนเพื่อการพัฒนา

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

และอาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

Workshop

หากท่านเป็นผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน +6

  • เสนอนโยบายยุทธศาสตร์ 5 เรื่องที่อยากทำเพื่อการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม
  • นำเสนอ 3 เรื่องที่ท่านคิดว่าอยากจะเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียน+6 พร้อมเหตุผล

2.วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของท่าน มีใครบ้าง และเสนอแนะวิธีการทำงานร่วมกันที่เหมาะสม

3.ท่านจะมีวิธีการพัฒนาและบริหาร “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่เกี่ยวข้องกับท่านกี่กลุ่ม อย่างไรบ้าง (เสนอเป็นยุทธวิธีที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ)

4.เสนอโครงการที่อยากทำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม / มูลค่าใหม่ หรือ มูลค่าที่เกิดจากความหลากหลาย 1 โครงการในพื้นที่ของท่าน และ 1 โครงการที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น เช่น การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ ๆ หรือการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดในเชิงการตลาด หรือการพัฒนาเรื่องอื่น ๆ พร้อมอธิบายเหตุผลความจำเป็นของโครงการ และผลที่คาดว่าจะได้รับ (ใครได้ประโยชน์บ้าง อย่างไร?)

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

1. เสนอแนว Chira Way ให้ตรงประเด็น และตรงความจริง

2. เน้นความร่วมมือกัน มองลูกค้าเรา

3. ให้เกิดความมั่นคง กินดีอยู่ดี มีรายได้

4. การรู้จักอย่างไม่เป็นทางการเรียกว่า Informal Networking ต้องร่วมมือกันในบรรยากาศต่าง ๆ

5. ระดมสมองให้ดี ไม่จำเป็นต้องคิดใหม่ทุกครั้ง เอาของเดิมมาพัฒนา ให้ปะทะกับความจริง

6. ทำแล้วให้เกิดปัญญาขึ้นมา มีการปะทะกันปัญญา

7.โจทย์อันสุดท้ายจะไปเชื่อมอาเซียนอย่างไร

8. การทำงานองค์กรต้องมีชีวิต และต้องต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การนำเสนอถ้าตรงประเด็นและเป็นประโยชน์จริง อาจเข้ามาสู่ในแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวได้

ถ้านำเสนออยู่แล้วอาจไม่ต้องนำเสนอ ถ้ามีอะไรใหม่ ๆ และอยากเติมให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย

กลุ่มที่ 4

เริ่มต้นจากการลงพื้นที่คือจากข้างล่างเป็นอย่างไร เป็นการเอาข้อมูลจากชุมชน

1.เสนอนโยบายยุทธศาสตร์ 5 เรื่องที่อยากทำเพื่อการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม

- รัฐบาลสนับสนุนมาตรการด้านภาษี ส่งเสริมผู้ประกอบการท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชนเนื่องจากผู้ประกอบการเป็นกำลังสำคัญ

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป้าหมายการพัฒนาเหมือนกัน การใช้บุคลากรในพื้นที่ มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน อย่างเช่นเมืองเก่าสงขลาทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันให้สงขลาเป็นมรดกโลก

- ทรัพยากรทางสังคม ทุกคนเป็นเจ้าของในการดำเนินการ

- ด้านสุขภาวะต่าง ๆ ความปลอดภัยความมั่นคงทางด้านอาหาร มีความปลอดภัยจากสารพิษ ชุมชนมีวิถีชีวิตเป็นอยู่ดีขึ้นจากสุขภาวะ

- ข้อมูลสารสนเทศ มีการประชาสัมพันธ์ทางการท่องเที่ยว การทำการตลาดออนไลน์ สื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลทางการตลาดต้องรองรับอาเซียนและอาเซียน + 6 ได้

2.วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของท่าน มีใครบ้าง และเสนอแนะวิธีการทำงานร่วมกันที่เหมาะสม

วงในให้ความสำคัญกับเครือข่ายชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำทางการและไม่เป็นทางการ

วงนอก หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรภายนอก NGOs

3.ท่านจะมีวิธีการพัฒนาและบริหาร “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่เกี่ยวข้องกับท่านกี่กลุ่ม อย่างไรบ้าง (เสนอเป็นยุทธวิธีที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ)

ชุมชน ต้องให้การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รับฟังแนวคิดความคิดเห็นความมีส่วนร่วม

ท้องถิ่น ให้งบประมาณสนับสนุนอย่างเต็มที่ มองว่าชุมชนต้องการอะไรจะได้ให้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ลูกค้า สื่อสารความเข้าใจบริบทต่อชุมชน มีความรับผิดชอบต่อการท่องเที่ยวและประเทศ

การท่องเที่ยวโดยชุมชนCBT ต้องมีการประสานความเข้าใจตรงกันและประสานความต่อเนื่องในโครงการ

4.เสนอโครงการที่อยากทำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม / มูลค่าใหม่ หรือ มูลค่าที่เกิดจากความหลากหลาย 1 โครงการในพื้นที่ของท่าน และ 1 โครงการที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น เช่น การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ ๆ หรือการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดในเชิงการตลาด หรือการพัฒนาเรื่องอื่น ๆ พร้อมอธิบายเหตุผลความจำเป็นของโครงการ และผลที่คาดว่าจะได้รับ (ใครได้ประโยชน์บ้าง อย่างไร?)

ท่องเที่ยววิถีไทย ท่องไปในชุมชน ขี่หลังมังกร ย้อนรอย.....

เริ่มต้นจากให้รัฐภูมิเป็นประตูเปิดทางรับจากสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ แล้วไปบ้านภูสิตา เรียนรู้การเกษตร วิถีเศรษฐกิจพอเพียง การหาปัจจัยลดต้นทุนการผลิตที่อยู่ได้ เดินทางไปที่เกาะคราม นราธิวาส มีศูนย์เกษตร แหล่งเรียนรู้เกษตร เช่น การทำข้าว ผักปลอดสารพิษ การทำขนมโบราณ เชื่อมต่อไปตะลุเตา เกาะหลีเป๊ะ และลังกาวี แล้วเดินไปต่อที่มาเลเซีย สิงคโปร์ได้มีประเพณีวัฒนธรรมโบราณ การชนโค เป็นต้น

5.นำเสนอ 3 เรื่องที่ท่านคิดว่าอยากจะเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียน+6 พร้อมเหตุผล

ด้านอาหารมีความหลากหลายมากเนื่องจากมีพหุวัฒนธรรมเกิดขึ้น ต้องจัดอาหารอาเซียนอย่างน้องปีละ 1 ครั้ง แล้วโชว์ความเป็นวิถีเอกลักษณ์ ดั้งเดิม เรียนรู้วิถีรากเหง้าของคนไทยได้ ยุคหินเก่าและหินใหม่ต่างกันอย่างไร ดูประเพณีในการเข้าสู่อาเซียน ต้องมีประวัติเล่าที่สื่อสารได้ เช่น ว่าวแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่ละที่เป็นอย่างไร มีการแกะสลักลาย การขึ้นโครง จนเข้าสู่การแข่งขันว่าว

ประเพณีการลอยเรือชาวเลเป็นเรื่องความเชื่อด้านการไหว้เจ้าที่

การสร้างสิ่งก่อสร้างที่เชื่อมกับทรัพยากรธรรมชาติ การจัดกิจกรรมให้เชื่อมต่อกับพื้นที่เช่น การจัดแรลลี่ กิจกรรมขี่จักรยาน

ในช่วงแรกจะท้าทายการจัดกิจกรรมในช่วง low Season มีการประชุมเครือข่าย ทำตามแบบแผนที่วางไว้ ช่วยผลักดันและสร้างจิ๊กซอว์ขึ้นมา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โจทย์ต้องไปตอบโจทย์อาจารย์สุพัตรา มากหน่อย อยากให้เสริมเรื่อง 3 จังหวัดภาคใต้ กลุ่มจะโยงกันอย่างไร

สมรรถนะของคน ในการขึ้นสู่อาเซียน ต้องคำนึงถึงมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ภาวะผู้นำ ทุนมนุษย์ ปัญญา นวัตกรรม การช่วยให้เห็นช่องทางที่ไปอาเซียนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

คุณแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี

การนำเสนอได้ดี เห็นการเชื่อมโยงว่ากลุ่มนี้มีความท่องเที่ยวว่าการท่องเที่ยวชุมชนจะอยู่โดด ๆ ไม่ได้ต้องมีการต่อ Root ทางการท่องเที่ยว

กลุ่มที่ 5

หากท่านเป็นผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน +6

  • เสนอนโยบายยุทธศาสตร์ 5 เรื่องที่อยากทำเพื่อการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม

เริ่มจากการวิเคราะห์จุดของเราก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วมองไปที่ศักยภาพและปัญหา

1. การพัฒนาการท่องเที่ยว ฮาลาล ทั้งระบบ

2. พหุวัฒนธรรม พื้นที่นี้มีความหลากหลายสูง

3. การบริหารจัดการท่องเที่ยวทุกมิติ เช่นองค์ความรู้

4. ส่งเสริมการบูรณาการ เนื่องจากสิ่งท่พบคือยังไม่ชัด

5. ส่งเสริมความเชื่อมั่น 5 ยุทธศาสตร์ชายแดนภาคใต้

2.วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของท่าน มีใครบ้าง และเสนอแนะวิธีการทำงานร่วมกันที่เหมาะสม

ในระดับชุมชน ภาคส่วนต่าง ๆ มีชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลา ราชภัฏศึกษา

ในระดับประเทศ ก.ท่องเที่ยวและกีฬา ททท. ศูนย์อาเซียนศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม สถานกงสุลของอาเซียนและอาเซียน + 6 ด้วย

3.ท่านจะมีวิธีการพัฒนาและบริหาร “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่เกี่ยวข้องกับท่านกี่กลุ่ม อย่างไรบ้าง (เสนอเป็นยุทธวิธีที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ)

พัฒนาบุคลากรมีความรู้และองค์ความรู้ก่อน มีการแลกเปลี่ยนในการให้ต่างประเทศมาทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และเกิดการยอมรับร่วมกัน เน้นการเชื่อมโยงกัน

4.เสนอโครงการที่อยากทำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม / มูลค่าใหม่ หรือ มูลค่าที่เกิดจากความหลากหลาย 1 โครงการในพื้นที่ของท่าน และ 1 โครงการที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น เช่น การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ ๆ หรือการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดในเชิงการตลาด หรือการพัฒนาเรื่องอื่น ๆ พร้อมอธิบายเหตุผลความจำเป็นของโครงการ และผลที่คาดว่าจะได้รับ (ใครได้ประโยชน์บ้าง อย่างไร?)

1. โครงการ Smart Center

- การทำ Data bank เป็นการนำเสนอผ่านสื่อ

- Halal Project Health Care ต้องมีศูนย์บริการช่วยเหลือได้ คุณภาพเป็นอย่างไร

- Mini Theatre กับ Museum ได้ยกตัวอย่างที่สิงคโปร์ มีการทำร่วมกันและสามัคคี ทำให้พื้นที่นี้คือของทุกคนไม่มีใครแสดงความเป็นเจ้าของได้ ต้องสร้างแนวคิดนี้ถึงสร้างความสมานฉันท์ได้

- สร้างความมีส่วนร่วมโดยการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นลักษณะ All for Tourism

- การปรับแผนและทัศนคติ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

5.นำเสนอ 3 เรื่องที่ท่านคิดว่าอยากจะเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียน+6 พร้อมเหตุผล

1. Smart Center – Link กับอาเซียนและอาเซียน + 6

2. Homestay Asean หลายประเทศทำได้ดี ไทยน่าจะทำให้มีมาตรฐานมากขึ้น

3. Cross Center คือการยอมรับข้ามวัฒนธรรม ใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยกัน

สรุปคือการยกระดับในพื้นที่และสร้างสันติสุขในพื้นที่นี้ได้จริง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชอบตรงที่กล้านำเสนอในสิ่งที่เป็นตัวตนได้อย่างชัดเจน และเป็นโครงการที่สามารถเชื่อมกับอาจารย์สุพัตราได้ดีการอ่านโจทย์ต้องตีโจทย์ให้แตก แต่อย่างทำแบบกว้าง ๆ ให้มุ่งไปที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โยนไปที่ความมั่นคง มีอาเซียนเป็นตัวประสานจะช่วยประเทศเราได้มาก

กลุ่มที่ 2

1.เสนอนโยบายยุทธศาสตร์ 5 เรื่องที่อยากทำเพื่อการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม

1. ต้องพัฒนาและบริหารจัดการที่ดี เป็นยุทธศาสตร์ด้านคน มีคนนำทางส่วนพื้นที่ที่จะพัฒนาไปได้ เมื่อเตรียมคนจะเตรียมคนอย่างไรให้สำนึกรักบ้านเกิด และพัฒนาในทุกด้านให้เราอยู่ได้

เน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม ใช้สิ่งแวดล้อมในการทำมาหากิน

3. อัตลักษณ์ ต้องพัฒนาจัดการบริหารอย่างเป็นระบบ

4. การพัฒนาบริหารจัดการมาตรฐานการท่องเที่ยว

5. การบริหารจัดการด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ โปรโมท ต้องเลือกเวลา จังหวะในการบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านได้เตรียมความพร้อมไปสู่กลุ่มอาเซียน + 6เช่นกลุ่มประมง ทอผ้า หอการค้า สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาคเอกชน และชุมชนของเราเองต้องยืนอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง เช่นกลุ่มทอผ้า ประมง เกษตร ผู้นำชุมชนของเรา เช่นกลุ่มศาสนา พระ ประชาสัมพันธ์ ต้องช่วยกันทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามทั้งหลายกลุ่มที่ยึดโยงได้ต้องมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร

2.วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของท่าน มีใครบ้าง และเสนอแนะวิธีการทำงานร่วมกันที่เหมาะสม

ชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องดูว่าแต่ละที่มีดีอย่างไร

สถาบันฮาลาลถือเป็นส่วนของภาควิชาการที่เข้ามาในส่วนของที่เกี่ยวข้อง มีเรื่องสถาบันศาสนา ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

สถาบันที่เกี่ยวข้องต้องมอง Stakeholders ให้ครอบคลุม การให้อยู่ในพหุวัฒนธรรมได้จะเป็นอย่างไร ต้องมองให้ชัดในเรื่องการส่งเสริมวิถีชุมชนต้องอยู่บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมให้ทั่วถึง ต้องไม่ลืมสิ่งที่เป็นประเด็นเล็ก ๆ ต้องเก็บเกี่ยวและถักทอให้เห็นโอกาส

การบริหารจัดการต้องสร้างการยกระดับรายได้ ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำซึ่งกันและกัน

3.ท่านจะมีวิธีการพัฒนาและบริหาร “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่เกี่ยวข้องกับท่านกี่กลุ่ม อย่างไรบ้าง (เสนอเป็นยุทธวิธีที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ)

คนคือทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุด องค์กรจะสำคัญอย่างไรอยู่ที่บทบาทของผู้นำ ผู้นำสำคัญที่สุด เราต้องสร้างผู้นำสร้างผู้นำต่อไป และถ้าผู้นำมีความรอบรู้เชี่ยวชาญความคิด จะสามารถถ่ายทอดต่อระดับล่างได้

ทำกรณีศึกษาของชุมชนเกาะยอ การแบ่งกลุ่มการสร้างผู้นำ เป็น 7 กลุ่มคือ ชุมชน ผู้ประกอบการ เยาวชน ผู้สูงอายุ (เป็นปัญญาชุมชนที่ถ่ายทอดความดีงามบอกต่อ ถ่ายทอดต่อสู่รุ่นหลังสานต่อสิ่งดีงามสู่ความยั่งยืน)

คุณสมบัติผู้นำต้องเป็น

1. ผู้ที่ใฝ่รู้เรียนรู้ Learn-Share-Care สร้างให้กับชุมชนของเกาะยอ มีสติปัญญา มีความรู้ กล้าที่จะคิด กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

2. มีคุณธรรม ความเป็นธรรมในการสร้างให้ชุมชนมีความสุข

3. ทำงานร่วมกัน

4. มีความคิดใหม่ มีนวัตกรรม ต้องสร้างนวัตกรรมที่มีชีวิต

การเข้าสู่ยุคอาเซียน อะไรเป็นผู้นำที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวผ่านโซเชียลมีเดียส์ได้เร็วที่สุด การมาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน สร้างความเป็นพี่น้องเกิดขึ้น สร้างเครือข่ายให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

สรุปถ้าได้ผู้นำแข็งแกร่ง คิดว่าจะได้ชุมชนที่เติบโตได้อย่างยั่งยืน เราจะสร้างสรรค์คนอย่างไรให้มีศักยภาพสูงยิ่งขึ้นไป

4.เสนอโครงการที่อยากทำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม / มูลค่าใหม่ หรือ มูลค่าที่เกิดจากความหลากหลาย 1 โครงการในพื้นที่ของท่าน และ 1 โครงการที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น เช่น การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ ๆ หรือการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดในเชิงการตลาด หรือการพัฒนาเรื่องอื่น ๆ พร้อมอธิบายเหตุผลความจำเป็นของโครงการ และผลที่คาดว่าจะได้รับ (ใครได้ประโยชน์บ้าง อย่างไร?)

ในเรื่องการท่องเที่ยววิถีชุมชน โครงการสำนึกรักบ้านเกิดเอาอยู่ ผลิตภัณฑ์ต้องตอบโจทย์ เป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างสรรค์ได้จริง ต้องสร้างรายได้ให้กับชุมชน Product ท้องถิ่นมีอะไร ต้องกล้าคิดเป็น Local Product ให้ได้ ต้องมีแบรนด์ตนเองให้ได้ ต้องยืนบนพื้นฐานตัวเองให้ได้ ต้องไม่อยู่กับที่ ต้องทำงานที่เหมาะสมบนพื้นฐานเปลี่ยนสนามการรบเป็นสนามการค้า ต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนสร้างพันธมิตรซึ่งกันและกัน สร้างพลังให้เกิดขึ้นโดยสร้างการแลกเปลี่ยน เปลี่ยนผ่าน สร้างให้เป็น Professional Learning ให้ได้ ต้องเปิดพื้นที่ในการสร้างสัมพันธมิตรกับทุกฝ่ายให้ได้

สร้าง Standard มาตรฐานในอาเซียน + 6 เรื่องภาษาสามารถสื่อสารได้ อาหาร สถานที่ ผลิตภัณฑ์ในชุมชน การประชาสัมพันธ์ การตลาด ระบบฐานข้อมูล ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนในการขาย

5.นำเสนอ 3 เรื่องที่ท่านคิดว่าอยากจะเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียน+6 พร้อมเหตุผล

สร้าง Brand ในระดับพื้นที่ ให้นำช่องทางการเข้าถึงการท่องเที่ยววิถีชุมชนในอาเซียน + 6 ทำได้โดย

  • สร้าง Network ในระดับท้องถิ่น แต่เรื่องนานาชาติเป็นสิ่งสำคัญ ต้องสร้าง Network เหล่านี้ให้เกิดขึ้น มีการจัดเวทีในระดับนานาชาติว่าสามารถมาใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างปลอดภัย มั่นคง
  • การวางระบบตอบโจทย์การทำงานท่องเที่ยววิถีชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ บนความร่วมมือ 5-6 ภาคีในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • 5 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องเดินทางได้อย่างเหมาะสม เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า แล้วคิดการไกลให้ได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การร่วมมือกับอาเซียนต้องให้ชุมชนเข้าใจด้วย ต้องให้ลึกซึ้งอย่างแท้จริง

กลุ่มที่ 1

1.เสนอนโยบายยุทธศาสตร์ 5 เรื่องที่อยากทำเพื่อการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม

1.ผู้นำนักพัฒนาท่องเที่ยว 5 ชายแดนใต้สู่อาเซียน เช่น งบประมาณ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวจะมีอะไรดี

3. การบูรณาการ

4 .ความร่วมมือทางการท่องเที่ยว

5. การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ฮาลาลอย่างเป็นระบบ

5. การสร้างความเชื่อมั่นภาครัฐที่ดี

2.วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของท่าน มีใครบ้าง และเสนอแนะวิธีการทำงานร่วมกันที่เหมาะสม

ภาคชุมชน ด้านบริหารจัดการท่องเที่ยว

ภาครัฐ ด้านการสนับสนุนงบประมาณ พัฒนาบุคลากร และบริหารจัดการ

ภาคเอกชน ด้านการสนับสนุนงบประมาณ ตลาด นำนักท่องเที่ยวมาในชุมชน

ภาควิชาการ มีบทบาทหน้าที่การบริหารบุคลากร การฝึกภาษา งานวิจัยด้านการท่องเที่ยว

3.ท่านจะมีวิธีการพัฒนาและบริหาร “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่เกี่ยวข้องกับท่านกี่กลุ่ม อย่างไรบ้าง (เสนอเป็นยุทธวิธีที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ)

มีการอบรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน ในหลักการการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องนักพัฒนาการท่องเที่ยว ภาษาและการบริหารจัดการ

ชุมชน พัฒนาให้ความรู้ด้านบริหารงานให้มีมาตรฐานทางการท่องเที่ยว และสถานที่ท่องเที่ยว

4.เสนอโครงการที่อยากทำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม / มูลค่าใหม่ หรือ มูลค่าที่เกิดจากความหลากหลาย 1 โครงการในพื้นที่ของท่าน และ 1 โครงการที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น เช่น การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ ๆ หรือการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดในเชิงการตลาด หรือการพัฒนาเรื่องอื่น ๆ พร้อมอธิบายเหตุผลความจำเป็นของโครงการ และผลที่คาดว่าจะได้รับ (ใครได้ประโยชน์บ้าง อย่างไร?)

การสร้างเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวฮาลาลใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ยังไม่มีรูปแบบรูปธรรมเนื่องจากยังไม่เข้าใจว่าจะทำอย่างไร ส่วนใหญ่รู้จักในเรื่องอาหารอย่างเดียว แต่ไม่รู้เรื่องที่พัก สระว่ายน้ำ

- เพื่อเกิดเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนฮาลาล

- เพื่อเกดการท่องเที่ยว

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้มีแนวทางพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนฮาลาลร่วมกัน และสร้างแบรนด์การท่องเที่ยวชุมชนร่วมกันเพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยว

5.นำเสนอ 3 เรื่องที่ท่านคิดว่าอยากจะเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียน+6 พร้อมเหตุผล

1. สร้างการชุมชนท่องเที่ยวร่วมกัน

2. เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนฮาลาล ที่พักแหล่งท่องเที่ยว มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ขายงานร่วมกันได้

3. สร้างแบรนด์การท่องเที่ยวชุมชน ใช้ในอาเซียน+6 เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีและใช้ความเชื่อมั่นในแบรนด์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณภาพในวันนี้สูงมาก แต่ต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงได้จริง ข้อดีคือมีทีมงานที่คัดกรองและคุยกันอีกครั้ง อยากให้เส้นทางที่เดินเป็นเส้นทางความจริงไม่ใช่การออกกำลังกายทางวิชาการแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น

คุณแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี

คิดว่าทีมที่เข้าอบรมนี้เหมาะเป็นพี่เลี้ยงที่จะไปพัฒนาชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

สิ่งที่นำเสนอในวันนี้ ทุกกลุ่มที่พูดมาจะเห็นว่า พูดเรื่องเดียวกันมีมิติของตนเองขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม ไม่ได้แค่แผนอาเซียน แต่ได้แผนทุกระดับ

กลุ่มที่ 5 สามารถพัฒนาได้ครบทุกบริบท มุมมอง

กลุ่มที่ 4 การทำเส้นทางการท่องเที่ยวก็สามารถเป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้เลย

กลุ่มที่ 2 ลงรายละเอียดจะทำให้เห็นส่วนที่สำคัญมากน้อยต่างกันสามารถเป็นแผนพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนได้เลย

กลุ่มที่ 1 พูดสรุปเรื่องการบริหารจัดการ การทำแผนใหญ่อย่างเดียวไม่พอ มีการรองรับแผนท่องเที่ยวชุมชนได้เลย

การท่องเที่ยวจุดสำคัญคือ เราต้องรู้ตัวก่อนว่าจะขายอะไรการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ต้องทำให้เกิดความยั่งยืน อาจทำในกลุ่มอาชีพ การศึกษา นักพัฒนาอบจ. อบต.ต่าง ๆ มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน ให้ทุกสิ่งเป็นเรื่องเดียวกัน

การพัฒนาการท่องเที่ยว ภาคใต้มีการท่องเที่ยวที่ธรรมชาติ มีศิลปวัฒนธรรม

ดูโอกาสของภาคใต้ที่รับนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เช่นมาประชุม หรือมาท่องเที่ยวในการสัมมนาต่าง ๆ นำการท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับกีฬาได้ มีเรื่องท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็สามารถเป็นจุดดึงดูดท่องเที่ยวได้

ท่องเที่ยวชุมชนไม่สามารถอยู่โดด ๆ ได้ ดังนั้นจะเตรียมชุมชนให้มีความพร้อม และเชื่อมโยงกลุ่มนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ ๆ ได้อย่างไร

สงขลาเป็นประตูการค้า เศรษฐกิจและสิ่งต่าง ๆ มากมาย มีการจัดการรองรับให้เป็นศูนย์ท่องเที่ยวที่เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน มีโครงการเชื่อมโยงเมืองท่องเที่ยว เชื่อมโยงเมืองเก่าของปีนัง เมดาล เราจะเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้อย่างไร

สิ่งที่ท่องเที่ยวชุมชนต้องเตรียมคือความเข้าใจ จะไม่หยิบเรื่องประวัติศาสตร์ ศาสนา การเมือง มาพูดแต่จะทำอย่างไรให้คนต่างชาติมาเรียนรู้วัฒนธรรมเข้าใจซึ่งกันและกัน เราพอใจกับการท่องเที่ยวแบบไหน ต้องทำให้ชุมชนมีความสุขก่อนทำการท่องเที่ยว ต้องจัดเป็นเครือข่าย และมาคุยกันว่านักท่องเที่ยวจะเป็นกลุ่มไหน ชุมชนไหน พื้นที่ไหน ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วให้ชุมชนมีความสุขกับนักท่องเที่ยวได้ เราสามารถรับคนทุกชาติ ทุกภาษามาคุยกับเรา ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีมาตรฐาน

โอกาสในการท่องเที่ยวชุมชนจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาที่อื่น ๆ ด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สรุปจากที่คนเวียดนามเสนอ

1. เวียดนาม ภาษี 22 % เป็นประเทศสังคมนิยม ด้าน Tourism ห่างกับเราไม่น้อย

2. อยากให้รัฐบาลช่วยประชาสัมพันธ์และพัฒนา

3. ดูแลเรื่องความปลอดภัยต่าง ๆ

4. อยากให้ดูแลในเรื่องผู้ประกอบการของเขา

จุดแข็งคือเรื่องคน เขาจะพัฒนาคนตลอดเวลา

- สร้างบรรยากาศให้คนท่องเที่ยวแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

- เน้น Innovation

- ลงทุนด้านการพัฒนาคน

ผศ.ดร.สุพัตรา เดวิสัน

ที่ 4 กลุ่มตรงประเด็นและแน่น หลายกลุ่มที่มองไปถึงอาเซียน ถ้าเราไปถึงอาเซียนได้แล้ว เราจะต้องทำอย่างไรและเตรียมตัวอย่างไร

ความรู้และข้อมูลสำคัญ การพัฒนาต้องอยู่บนฐานของความรู้และข้อมูล ถ้าขาดก็ไปไม่ได้อีก

เรื่อง Networking ในกลุ่ม Line มี 50 คนแล้วขอให้อยู่ต่อ มีอะไรให้ปรึกษากับทาง ม.อ. จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องพหุวัฒนธรรม ในการมองภาพรวม

การเป็นประตูของ ม.อ.ที่จะ Connect กับข้างนอก แล้วข้างนอกมีอะไรจะ Connect กับ ม.อ.เช่นกัน

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

โชคดีที่ไม่ยึดติดกับอะไรสักอย่าง แต่โชคดีที่ชอบอ่านหนังสือ พบว่าโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากเดิมพูดเรื่องนาโน ปัจจุบันพบเส้นใยที่เล็กกว่านาโนแล้ว

วัฒนธรรมของชีวิต ไปวัฒนธรรมระบบนิเวศ เข้าถึงภูมิที่ดิน ด้านพหุวัฒนธรรมเป็นรูปแบบในความกว้าง เรื่องความหลากหลายคือสิ่งเดียวกันที่สร้างความเชื่อ และศรัทธาที่แตกต่างกันแต่ละคน เราต้องทำให้บ้านเมืองเราเห็นว่าบ้านเมืองเป็นแบบนี้

หน้าที่ของศูนย์อาเซียนในเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ทำการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดให้ปลอดภัยแล้วคนจะมาเที่ยวได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

พันธกิจแรกคือการสร้างผู้นำ ซึ่งจะเป็นผู้นำสร้างผู้นำเพื่อไปพัฒนาชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นผู้นำใน 3 แบบใหญ่

1. ผู้นำที่ได้รับการมอบหมาย คือได้รับมอบอำนาจในการให้ทำ เป็นการใส่หมวกอยู่หลายใบ

2. ผู้นำตามธรรมชาติ ไม่มีหมวก แต่มีภาวะผู้นำอยู่

3. ผู้นำรุ่นใหม่ที่กำลังบ่มเพาะความเป็นผู้นำอยู่

การคัดเลือกคนที่นำเสนอ เป็นการบ่งบอกถึงภาวะผู้นำในกลุ่มด้วย


สรุปผลและหารือแนวทางการดำเนินงาน

ด้านการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

โครงการพัฒนาผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

วันที่ 31 พฤษภาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

รศ.ดร.สุพัตรา เดวิสัน

เป้าหมายคือการพัฒนามาตรฐานท่องเที่ยวสู่อาเซียน + 6 และจะพัฒนาการท่องเที่ยวที่อื่นด้วย

เป้าหมายในวันนี้ คือการหารือร่วมกันว่าจะเดินไปแนวทางไหนโดยความมีส่วนร่วมของตัวละครคือภาครัฐ เอกชน ชุมชน นักวิชาการ

กล่าวถึงโครงการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยว ได้ยกตัวอย่างตัวเลขนักท่องเที่ยวที่อินโดนีเซีย ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ได้ตกลงมา แต่ก่อนมี Lion Air บินมาหาดใหญ่โดยตรง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การประชุมในวันนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 3 เป็นโปรเจคที่ Low Budget แต่มีความมุ่งมั่นสูง ได้ทำรายการทีวีออกให้ไป 3 ครั้ง

การพูดเรื่องเศรษฐกิจไปเชื่อมโยงความมั่นคงนั้นมี Impact มหาศาล หลังจากที่โครงการภาคใต้สำเร็จแล้วจะไปชุมชนอื่น และภาคอื่นด้วย

การหา Resource ต้องปรึกษาคนที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว

1. เรื่องเงินถ้ามีก็ได้จัด Asean +6 แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ได้หยุดแค่นี้แต่ถ้ามีคนที่สนใจมาจะสามารถเดินต่อไปข้างหน้า

2. ที่น่าสนใจคืองบประมาณของทหาร เรื่อง ม.อ.กับความมั่นคงต้องไปด้วยกัน ในเรื่องวิชาการเป็นเรื่องที่สำคัญ

3. อยากให้เปิดอภิปรายทั่วไปว่าอยากเห็นอะไร

- อยากเห็นตัวละคร 4 กลุ่ม วิชาการ ผู้นำท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ให้ทั้งสี่กลุ่มไว้เนื้อเชื่อใจ สานสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

- สร้างกลุ่มให้มีคุณค่าลงไปที่ชุมชนบวกกับความสามารถของมนุษย์ การเงิน การตลาด เลือกจากความสามารถชุมชน ไม่ว่าจะเป็น เกษตร ท่องเที่ยว สมุนไพร ฯลฯ ถ้าเรามี Resource อันนี้ขึ้นมา หรือเลือกชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีฐานเศรษฐกิจที่ดี โปรเจคนี้จะวิ่งไปในนาม ม.อ.วิ่งไปสู่ 5 จังหวัด + 6 ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีมาตรฐาน เกณฑ์คือมี Quality และต้องมีการลงทุน ต้องมีชุมชนที่มีโอกาสเติบโตทางธุรกิจ

ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารย์

ม.อ.กำลังทำโครงการกับมหาวิทยาลัยมาเลเซีย พบว่าประเทศไทยเดินช้ากว่ามาเลเซียจริง ๆ ใช้เวลาเดินบนเส้นทางเกือบ 2 ปี ในขณะที่มาเลเซียคิดแล้วเดินเลยกล่าวว่าถ้าพร้อมให้เอาปาราร่วมกับมาเลเซีย

ดร.ปาริชาติได้ไปขอทุนเรื่องวิถีวิจัยที่ สกว. ได้โครงการย่อยโครงการละ 500,000 บาท ทำเรื่องวิถีชุมชนมาลายูเป็นตัวขับเคลื่อน

เรื่องเศรษฐกิจ ถ้าจะพัฒนาอาชีพว่าด้วยเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน มี สอบต. ที่คุยเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย ท่านอาจารย์ครองชัยทำเรื่องลังกาสุกะ ทำอย่างไรให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ ทำอย่างไรให้เป็นยุทธศาสตร์ทางการท่องเที่ยว ทำอย่างไร ให้ สอบต.เป็นช่องทางทางการท่องเที่ยว

ดร.จีระ เสริม คือ สิ่งที่เราจะทำต้องสนับสนุนอ.สุพัตราในการทำศูนย์อาเซียนขึ้นมา ซึ่งถ้าสำเร็จให้ขยายไปที่ภาคอีสานและภาคเหนือด้วย ถ้าเราเริ่มจากการท่องเที่ยวชุมชน เราควรมีความทะเยอทะยานเล็กน้อย

ม.อ.ไม่ได้เก่งเฉพาะภาคใต้ ม.อ.ต้องเป็นสมบัติของประเทศไทยในอนาคต เน้นการผนึกกำลังในการของบ อบต.มาเสริม ใช้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการเป็นหมู่บ้านผลิตฟาร์ม อยู่ในมือผู้ประกอบการจนชิน รัฐทำแค่เสริม ไม่ได้มีวิชาชีพทางการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอาชีพจัดการท่องเที่ยวชุมชน ต้องมีการร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย

นายสนธิกาญจน์วิโสจสงคราม

วิถีวัฒนธรรมเป็นเรื่องความมั่นคง จะสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดขึ้นได้ การไปหางบประมาณ ในวิถีวัฒนธรรมลังกาสุกะ สามารถนำไปเชื่อมโยงได้ อย่างที่ถ้ำคูหา ยะรัง ปัตตานี หรือจะทำเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเป็นแบบ 2 วัน 1 คืน ก็ทำได้

อยาให้เน้น Pilot Project เชื่อมต่อ 11 เครือข่ายภาคใต้ หรืออาจเชื่อมต่อ 9 เครือข่ายที่มีอยู่แล้วและให้ลองเขียนโครงการดู

นายอาหมัด หลีขาหรี

ประเด็นหลักที่ได้ร่วมเวทีคือการท่องเที่ยวกับความมั่นคง ได้มีการร่วมกับเครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้ มีการเชื่อมเครือข่ายสาธารณะ โดยมีมาเลเซียเป็นผู้ประสาน มีเรื่องความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยว 3 จังหวัดชายแดนใต้ พอมีเหตุการณ์เรื่องปัตตานีเกิดขึ้น ประเด็นนี้พูดกันเยอะมาก มีความพยายามเสนอให้พื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนเป็น Safety Zone ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และให้นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงมากว่าการยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้นไปวิเคราะห์ อ้างความต้องการของภาคประชาชน เป็นโอกาสที่นำเสนอเนื่องจากประเด็นที่แหลมคมมาก มีการนำเสนอพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนในการลดความหวาดระแวงและเปิดพื้นที่ท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น

ดร.ครองชัย หัตถา

สิ่งที่เป็นห่วงคือข้อมูลทางวิชาการในชุมชน และประวัติศาสตร์สงขลาที่มีความซับซ้อนในหลายสมัย การพัฒนาทุนมนุษย์น่าจะมีทีมงานที่พัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการให้ถูกต้อง

1. ลำดับประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย เช่นลังกาสุกะ ก็ถูกต่อต้าน และมีคนไม่เข้าใจอยู่ลังกาสุกะขึ้นมาได้จากกรมทางหลวง เป็นพื้นที่เก่าแก่สมัยศรีวิชัย แต่มีการเล่าประวัติศาสตร์ไม่ตรงกัน มีการพาดพิงถึงเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว ดังนั้นนักวิจัยต้องทำงานล่วงหน้า หานักวิจัยมาพูดกันใช้ประโยชน์ความรู้ และทำข้อมูลประวัติศาสตร์ให้ถูกต้อง

2. ใช้แบรนด์อิมเมจเรื่องภาพลักษณ์

3. รักษาความเป็น 2 ศาสนาให้อยู่ด้วยกันให้ได้ ให้คุยกันตกลงกันให้ดี สิ่งที่พบคือการวาดภาพมาจากรัฐบาลดีมาก แต่พอไปถึงจังหวัดจะเกิดการเบี่ยงเบน ไม่พูดทั้งหมด จะพูดเฉพาะบางเรื่องที่อยากให้เป็นเท่านั้น

4. การรักษาชื่อหมู่บ้านตำบล ถ้าตั้งชื่อผิดเพี้ยนจากเดิมให้แก้ไข แต่ถ้าชื่อถูกอยู่แล้วมีความหมายก็ไม่ต้องแก้

นางสาวสุชาดา ทองพูน

จะทำในส่วนที่ไปปฏิบัติงานจริงได้ อย่างที่เกาะยอมีพื้นที่ชุมชน ต้องพูดเรื่องประวัติศาสตร์ และชำระประวัติศาสตร์ดี ๆ ให้พูดกันดี ๆ ให้อยู่กันได้แบบพหุวัฒนธรรม และพอทุกอย่างมีการขัดเกลาประวัติศาสตร์ไม่ให้สับสนจะเริ่มมีแนวทางเดียวกัน เกาะยอเป็นพื้นที่ที่อยู่ในกลุ่มพหุวัฒนธรรม ขอให้จับใกล้ตัวก่อนแล้วขยายต่อไป

ดร.ครองชัย เสริมว่า ทางม.ทักษิณที่ทำอยู่ยินดีไปจับเรื่องประวัติศาสตร์ที่เกาะยอ

นายชนินทร์เศียรอินทร์

การเสนอโครงการฯ น่าจะเอาชุมชนมาร่วมด้วยเพราะชุมชนมีบทบาทมากในเรื่องการท่องเที่ยว ชุมชนมีเครือข่ายทั้งหมด 11 ชุมชนที่เข้าสู่โครงการ CBT กับ 5 จังหวัดภาคใต้ ผู้นำศาสนาทั้งพุทธและมุสลิมอย่าให้มีการระแวงกัน

จังหวัดยังมองเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนไม่ออก เนื่องจากไม่เคยรู้เรื่องการท่องเที่ยว มีงบประมาณแต่ดูตัวเลขไม่ออก

โดยส่วนตัวได้มีการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตลอดเสนอไปที่จังหวัด แต่ไม่ได้ส่วนที่ได้ไปอยู่ที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด จึงคิดว่าการเสนอโครงการฯนั้นอยู่ที่คนชงที่อยู่ที่จังหวัดด้วย

สิ่งที่อยากฝากคือ อยากให้จังหวัดจัดอบรมนายอำเภอเรื่องการท่องเที่ยว เพราะที่ผ่านมานายอำเภอไปพูดคุยกับกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านไม่รู้เรื่องการท่องเที่ยวเลย

ดร.จีระ เสริมเรื่อง แม้ว่ายังไม่มีงบประมาณ แต่เส้นทางที่จะเดินสามารถเดินไปด้วยกันได้ จึงอยากขอให้มีการจัดประชุมพบกันบ่อย ๆ จะทำให้มีปัญญาและมีแนวทางแก้ไข และคราวหน้าควรจัดให้เป็นทางการด้วย

นายวุฒิชัยเพ็ชรสุวรรณ

อบจ.เคยทำร่วมกับสงขลาเปิดเส้นทาง Flyer Flied มีสนามแข่งขันนกเขาในระดับอาเซียนอยู่ที่ อ.จะนะ ที่เป็นมาตรฐานในการแข่งขัน

พื้นที่ด่านสะเดาได้รับงบปรับปรุงของ อบจ. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ร่วมสนับสนุนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ได้รู้ว่าในกลุ่มพื้นที่จังหวัดภาคใต้ มีพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวไปศึกษา เพราะพบว่ามีหลายเรื่องที่เป็นพหุวัฒนธรรม ดังนั้นควรหาโอกาสในการจัดงานลักษณะมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท่องเที่ยวชุมชนที่ใดที่หนึ่ง จะทำให้ประสบความสำเร็จและจะทำให้เกิดประโยชน์

ภาคีคนรักเมืองสงขลาเคยคิดจัดเป็น Rally แต่ไม่มีใครสมัครไม่มีใครไป

ดร.จีระ เสริมว่า ที่ทำโครงการทำร่วมกับ ม.อ. ดังนั้นอยากให้สิ่งที่ทำเกิดจากเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อสร้างให้เกิดแบรนด์ขึ้นมา

นายอับดุลรอชัก เหมหวัง จ.สตูล

อยากแลกเปลี่ยนเรื่องชุมชนท่องเที่ยว เพราะคนที่มาเที่ยว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการกินและดื่ม โดยเฉพาะการตั้งธงการท่องเที่ยวชุมชนสู่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สิ่งที่สร้างคุณูปการได้หมดคืออาหารฮาลาล อาหารปลอดภัย เพราะ 3 จังหวัดชายแดนใต้คือพื้นที่ที่มีคนมุสลิม 80% ดังนั้น การผลิตต้องยกระดับชุมชนการผลิตอาหารไปสู่มาตรฐานตามความต้องการ เพราะถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่นำไปสู่ความปลอดภัยในการบริโภคจะปิดกั้นการท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเวียดนาม มีการเตรียมการท่องเที่ยวเรื่องอาหารแยกชัดเจน สามารถดึงนักท่องเที่ยวมุสลิมจากทั่วโลกเข้าสู่เวียดนาม ซึ่งแต่ก่อนเป็นกลุ่มลูกค้าประเทศไทยทั้งหมด ดังนั้นงานวิชาการที่นำไปสู่กระบวนการอาหารฮาลาล หรืออาหารปลอดภัย ทั้งการผลิตและการบริโภค ถ้าทำสำเร็จได้ จะนำไปสู่นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่และเกิดนิคมอุตสาหกรรมไทยทั่วประเทศ

ดร.จีระ เสริมว่า เรื่องฮาลาล เราอยู่ตรงพหุวัฒนธรรม ต้องทำเรื่องนี้เพราะเป็นประโยชน์มาก ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนที่โดดเด่นด้านพหุวัฒนธรรมเท่า ม.อ.และที่น่าสนใจคือชาวมุสลิมในโลกมีเกือบ 2,000 ล้านคน

นางสาววรรณษิดา หมัดคงคลองแห

ที่คลองแห เป็นตัวอย่างหนึ่งที่กำลังทำเรื่องฮาลาลด้วยเช่นกัน จึงอยากขอให้เข้าไปศึกษาและทำร่วมกัน

ดร.จีระ เสริมว่าเราต้องสร้าง Platform ให้คนเล่น การพูดแล้วต้องตะล่อมให้อยู่เป้าหมายเดียวกันคือ Purpose ต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วม

คุณรดา มีบุญ

การประชุมในครั้งนี้น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะ ดร.จีระ บอกว่ามีโปรเจคของ กสทช.มาร่วมด้วย ในฐานะชุมชนถ้าได้มีโปรเจคดิจิตอลร่วมด้วยช่วยกันจะเป็นประโยชน์อย่างมาก จึงควรกำหนดเป้าหมายเพื่อให้กำหนดทิศทางได้ชัดเจนขึ้น และทำเป็น Pilot Project จะทำให้ง่ายขึ้น

ดร.จีระ เสริมว่า เรื่องการเกษตร ต้องกระเด้งไปที่สมุนไพร และทำเรื่องอื่น ๆ ด้วย เวลาคิดให้คิดจากความเป็นจริง และตรงประเด็น

สรุปคือ ทุกคนเป็นส่วนผสมของแนวร่วมอันนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องชุมชนเท่านั้น แต่อาจเป็นเรื่องที่กระเด้งไปการเมืองด้วย ชุมชนหรือนักวิชาการที่หวังดีต่อประเทศ จริงใจต่อกันจะชนะ เล็ก ๆ จะมีผลมากกว่าใหญ่ ๆ

ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าคนมีความหลากหลายเครือข่ายต้องยกกำลัง 5 ทรัพย์สินต้องทำแบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเพิ่ม 4.0 คือการเพิ่มมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม และให้หวังดีต่อข้างล่างอย่างแท้จริง

นายถั่น จุลนวล อบต.ควนรู

เรื่องนี้เป็นงานใหม่ที่คิดและฝันว่าจะทำการท่องเที่ยวชุมชนโดยไม่มีแหล่งท่องเที่ยว การท่องเที่ยวชุมชนนำสู่การพัฒนาในทุกด้านทุกเรื่อง ทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ นำสู่การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ และย้อนกลับมาชุมชนอีกครั้ง

เรื่องที่กำลังเดินใหม่ที่ทาง ม.อ.ทำร่วมกับชุมชน คือ ทางม.อ.วิทยาลัยนานาชาติ กำลังไปช่วยทำเรื่องสมุดภาพ เรื่องสื่อ มีการทำแพ็คเกจ ผลิตภัณฑ์ชุมชน แผ่นพับ สติกเกอร์ไลน์ต่าง ๆ

ถ้ามาจากสงขลาจะเข้าสู่ประเด็นที่ผ่านท่องเที่ยวชุมชน

ดร.จีระ เสริมว่า การมีหลายคณะเข้าไปร่วมด้วยเป็นเรื่องดี แต่ขอให้มีจุดศูนย์กลางอันหนึ่ง เรื่อง Wordclass ในชุมชนทำได้เพราะเป็นเรื่องภูมิปัญญา ยกตัวอย่างการท่องเที่ยวชุมชนที่ฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างการท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจ ชุมชนสามารถสร้างรายได้จำนวนมาก น่าจะศึกษาเป็นแบบอย่าง ว่าเราจะพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างไร อย่างเช่นเรื่องความสะอาด อย่างห้องน้ำ ห้องนอน เป็นต้น

อ.สุพัตรา กล่าวถึงที่ ต.ควนรูมีโครงการมูลนิธิ รากแก้ว ปิดทองหลังพระ และมูลนิธิชัยพัฒนา และม.อ.ทำร่วมกันอยู่ตัวอย่างนี้เป็นอีกตัวอย่างที่แสดงถึงการได้ขึ้นบันได และได้มีการเพิ่มศักยภาพมาแล้ว

คุณกิตธนา สุบรรพวงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสงขลา

ได้ตั้งข้อสังเกตคือจะเดินทางไปสู่หรือในอาเซียนได้อย่างไรถามว่าตอนนี้เราอยู่ตรงส่วนไหนของอาเซียน ความหมายตรงนี้ต้องชัด ถ้าสู่หมายถึงกำลังเดินทางไปถ้าในหมายถึงเรามีส่วนร่วมอยู่ในส่วนนั้นแล้ว

การขับเคลื่อนของชุมชนเป็นอย่างไร

1. ชุมชนเราขาดการทำงานของชุมขน

2. การทำงานของภาครัฐสนับสนุนการทำงานของชุมชนมากน้อยแค่ไหน

3. แนวทางการพัฒนาให้ขับเคลื่อนจากองค์กรที่ตั้งอยู่

ทุกชุมชนอยากพัฒนาแต่ขาดการหาอัตลักษณ์ของตนเอง ต้องรู้ว่าชุมชนจะขายอะไร อัตลักษณ์คืออะไร ชุมชนบางครั้งยังตอบไม่ได้ แต่อยากจะทำ อัตลักษณ์แปลงความหมายอีกนิดคือยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นที่จะไปถึงตรงนั้น ถ้าหาอัตลักษณ์ไม่เจอก็ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ สิ่งนี้คือพลังในการขับเคลื่อน เรามีความอยาก มีความทึ่งและศรัทธาในตัวเขา แต่ที่ผ่านมายังไม่มี ใน 5 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนมากที่สุดด้านการท่องเที่ยวชุมชนคือ สตูล เพราะชุมชนมีความอยากอยู่ตลอดเวลา แต่การจะนำความอยากเข้าสู่จังหวัดเพื่อของบประมาณในการพัฒนา จังหวัดไม่ได้มอง ความอยากจะทำให้เกิดแนวคิดจะทำสิ่งต่าง ๆ แล้วนำโครงการไปผลักดันสู่ภาครัฐ แต่การนำโครงการที่จะทำไปสู่จังหวัด จังหวัดไม่มองสิ่งนี้จังหวัดกับชุมชนเดินคนละทางกัน ดังนั้นถ้าไม่มีอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ อย่าหวังว่าได้รับการตอบสนองของจังหวัด หน่วยงานราชการเรียกหาแผนอย่างเดียวเพื่อไปสู่จังหวัด

การเดินทางไปคนละทางกัน แต่บอกว่าให้มาเจอกันเป็นสิ่งที่ยาก จะเจอกันได้ต้องเดินเป็นวงกลม คือต้องมีพี่เลี้ยงที่ต้องให้ 2 องค์กรนี้ทำงานร่วมกันได้

การเสนองบประมาณของกลุ่มจังหวัดโครงการฯ เราสามารถเข้าไปแทรกได้ และสามารถปรับแผนเพื่อตอบโจทย์ของโหมดจังหวัด ดังนั้นการเขียนให้ได้เงินต้องเขียนว่าเขาอยากได้อะไร เขียนตามความต้องการของเขาแล้วค่อยของบประมาณ

อยากให้มีแผนชุมชนก่อน ให้แต่ละที่ส่งโครงการฯมาทั้งหมด ท้องถิ่นบางที่ไม่รู้ว่าทำโครงการอย่างไร เพราะถ้าจังหวัดกำหนดเองจะไม่ตอบโจทย์ท้องถิ่น ท้องถิ่นจะไม่ถูกพัฒนาไปตามความจริง แล้วจะทำให้เงินที่พัฒนาท้องถิ่นหายไป อย่าให้นโยบายการทำงานเปลี่ยนเมื่อหัวเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นเม็ดเงินที่ตกมาท้องถิ่นจะไม่มีเลยถ้าไม่มีแผนไปรองรับ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวขอขอบคุณมาก สิ่งนี้คือยุทธศาสตร์ของเรา ดร.สุพัตรา และดร.หญิง ต้องพยายามปั้นตัวแทนที่จะไปเสนอกับจังหวัดปัญหาคือความต่อเนื่อง จำเป็นที่จะต้องค้นหามา

เรื่องท่องเที่ยวมีกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในห้องนี้ถ้าทุกคนมาทุกครั้งและไปเชื่อมด้วยกันจะเป็นประโยชน์มาก

ในฐานะที่ปรึกษาต้องเชื่อมโยงกัน สร้างให้เกิด Impact แล้วจะทำให้เกิดการพัฒนาอยากทำต่อ คนที่มีบทบาทสำคัญคือคนที่เข้าใจความต้องการของลูกค้า

ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารย์

ทำอย่างไรให้มีในส่วนของจังหวัดเข้ามาต่อเนื่อง แต่โดยภารกิจวันนี้มีคนน้อย จึงควรขึ้นรูปจังหวัดสงขลาก่อนเพื่อให้ไปปรากฏในแผนฯ เปิดโอกาสให้กับทางผู้ว่าฯ ได้ทำงานโดยตรง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ประโยคที่ได้ยินคือมิติการอยู่ดีกินดีของประชาชน มีความเกรงอกเกรงใจ ความหลากหลาย และควรใช้มิติเหล่านี้ไปสู่ชุมชน ยังไม่มีผู้นำที่ชัดเจนในการประสานผลประโยชน์สุขที่จะเกิด

เสนอให้ใช้กรณีศึกษาในอาเซียนศึกษา อยู่ดีกินดีมีสุขตามพหุวัฒนธรรม การดึงไปที่อาเซียนศึกษาเรื่องพหุวัฒนธรรมในไทยจะมี Impact มาก ประเทศไทยดีกว่าอีกหลายประเทศ ถ้านำกรณีศึกษาหลายอย่างที่มีอยู่มาใช้ จะโดดเด่นมาก อย่างเช่นจังหวัดสตูลอะไรคือความโดดเด่น คนเข้าไปเที่ยวสตูลมีความมั่นใจว่าวันนี้ยังมีอยู่ การเป็นอาเซียนศึกษาถือว่าเป็นส่วนที่ดี เพราะอยู่ในฝั่งที่ต้องการความสงบสุข อยู่ดีกินดีตามหลักพหุวัฒนธรรม ไม่ใช่อยู่ดีกินดีแบบไม่เกรงใจใคร ชุมชนเป็นผู้กำหนดตามลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม ประเด็นท่องเที่ยวชุมชนดีมากและสร้างให้เกิดความมั่นคง เป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความจริงใจ อยู่กันแบบพี่น้อง สิ่งต่าง ๆ ที่พูดถึงกรณีศึกษาว่าในพื้นที่หนึ่งทำได้อย่างไร ให้ดึงจุดเด่นมาให้ได้ ให้พี่น้องกินดีอยู่ดีมีสุขตามแบบพหุวัฒนธรรม ให้มีความเกรงใจและแลกเปลี่ยนกัน การฟังจากประเทศเพื่อนบ้านจะมีประโยชน์มากขึ้น

การท่องเที่ยวกินดีจะสร้างความอยู่ดีมีสุขให้ชุมชน สร้างมิติสังคมพหุวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ดังนั้นอาเซียนศึกษาถ้าเอากรณีศึกษาท่องเที่ยวชุมชนในแต่ละประเทศไปตอบโจทย์ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียง อะไรที่โดดเด่นแลกเปลี่ยนกับของอาเซียน จะได้คำตอบ ถ้าท่องเที่ยวชุมชนเดินไปได้และตอบโจทย์การอยู่ดีกินดีมีสุขตามหลักพหุวัฒนธรรมตามที่ศรัทธา ประเทศไทยยังมีสิ่งที่เชื่อถือศรัทธาอยู่มากที่ยังทำได้อยู่

สรุปคือได้แนวคิดหลายอย่าง แล้วได้กรณีศึกษาจริง ใครมีปัญหาอะไรมาพูดเลย ถ้าสรุปจากวันนี้เห็นความโดดเด่น มีเพื่อนมาจากหลายประเทศจะทำให้เราลดความขัดแย้งลงไปได้ ถ้าให้สรุปจากตรงนี้คือใช้กรณีศึกษาที่โดดเด่น การไปท่องเที่ยวชุมชนจะทำให้เรื่องความขัดแย้งด้านความมั่นคงเบาบางลงเนื่องจากมีความเป็นธรรมชาติ ดังนั้นถ้าสามารถเอา Keyword มาตอบโจทย์ความมั่นคงจะดีมาก

รศ.ดร.สุพัตราเดวิสัน

ทำไมต้องสู่อาเซียน ประเด็นคือเราพยายามยกระดับไปสู่อาเซียนหรือระดับสากล หมายถึงในทุกด้านเราต้องยกระดับขึ้นมา และโดยความบังเอิญคืออาเซียน 3 เสา สังคมพหุวัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความมั่นคง

โดยสรุปคือ เราจะทำ Roadmap การท่องเที่ยวชุมชน เป็นโครงการของพวกเราทุกคน ส่วน ม.อ.ขอเป็นฝ่ายประสาน

ความอยากมีหลายอย่าง ไม่สามารถทำได้ไม่หมดทุกอย่าง ให้เลือกที่เด่น ๆ ชัด ๆ ก่อน ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง ต้องมีแผนที่ชัดเจน และต่อเนื่อง มีการเริ่มทำล่วงหน้ามาแล้ว 2 ครั้ง ความอยากที่เราจะรู้ต่อมาคือจะขายอะไร และขายใคร

อีกกิจกรรมใหญ่ ๆ ที่มีคือโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียน มีกิจกรรมบรรยายและเสวนา กลุ่มเป้าหมายคือพวกเรา แล้วอยากได้วิทยากรเป็นใคร จะปรึกษากับดร.จีระ และอาจารย์พิชญ์ภูรีเพื่อคุยในรายละเอียดต่อไป

ในเรื่องการทำแผนชุมชนขอให้เน้นที่ชุมชนก่อน แล้วจะทำให้สิ่งอื่น ๆ เติบโตตาม

ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารย์

คิดโจทย์ว่าทำไมการท่องเที่ยวชุมชนต้องไปเริ่มที่อินโดนีเซีย กล่าวถึงการทำงานร่วมกับ คุณพจนา สวนศรี เจ้าแม่วิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT และร่วมกับงบประมาณของ สกว. ได้รู้จักปะอาลี ซึ่งทำการท่องเที่ยวชุมชนอินโดนีเซีย และทำให้ทราบว่าเพราะเหตุใดประเทศไทยในภาคใต้ถึงไม่ทำการท่องเที่ยวชุมชนแข่งกับอินโดนีเซีย

อยากให้ขอเริ่มต้นด้วยความปลอดภัยในการเข้าถึงภาคใต้

การเริ่มต้นควรเริ่มต้นที่อาเซียนจริง ๆ จะติดต่อเชิญ ปะอาลีมาพูดเรื่องกรณีศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนที่อินโดนีเซีย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สังคมไทยถ้าทุกคนเป็นคนใฝ่รู้ทุกอย่างก็สำเร็จได้ อย่างคนในห้องนี้มีความคิดที่ดีมาก สิ่งที่ได้เกิดจากการรู้จักซึ่งกันและกัน ผสมกับการมีเป้าหมายที่ชัดเจน เราได้เดินทางร่วมกันแล้ว งบประมาณถ้าไม่ได้จากแผนจังหวัดก็ยังมีอีกหลายส่วนที่ให้งบประมาณ จึงขอให้กลุ่มกันไว้ ขอให้เรารักกัน แบ่งปันกัน ดร..สุพัตราและดร.ปาริชาติจะเป็นกำลังสำคัญที่ดีที่ทำให้ภาพต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น

การทำงานเป็นทีมสำคัญ เพราะทุกคนทำเพื่อประเทศ สมาชิกในห้องนี้มีเกียรติและศักดิศรีถ้าได้ปะทะกันบ่อย ๆ ความรู้ต่าง ๆจะเกิดขึ้น


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/219/842/original_human_talk_30042017_tourism.mp4?1493700046

https://www.facebook.com/fihrd/videos/1342768602481523/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/fihrd/videos/1347862075305509/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.naewna.com/politic/columnist/29591

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2560 หน้า 5

https://youtu.be/wrphric5UpE

ที่มา:รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: สร้างผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6

ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น.

สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

https://youtu.be/yV98jVZByTk

ที่มา:รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: สร้างผู้นำนักพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้สู่อาเซียน+6 (ตอนที่ 2)

ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น.

สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

https://youtu.be/ah6d80QL4sU

ที่มา: รายการ : คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน : Creative Tourism กรณีศึกษาการท่องเที่ยว “ชุมชนเก่าเมืองสงขลา” สู่การพัฒนาการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

#thaisouthtourismtoaseanplus6

หมายเลขบันทึก: 628005เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2017 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2017 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท