การจัดการความรู้ SAS India


การจัดการความรู้ SAS India
              เป็นที่รู้กันดีว่าประโยชน์ของ KM นั้นมีมากมาย แต่การสร้างท่าความรู้ (knowledge portal) เป็นเพียงการเริ่มต้นแห่งความท้าทายเท่านั้น การทำ KM ให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในองค์กรอาจเป็นสิ่งที่ยากที่สุด หลายคนถือการสะสมความรู้เป็นอำนาจ และไม่ง่ายเลยที่จะทำให้พวกเขายอมรับการแบ่งปันความรู้ (knowledge-sharing) นอกจากนี้ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่มีความภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเองหรือ Individualistic และไม่ต้องการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น KM ที่มีประสิทธิภาพคือการใช้ประโยชน์จากความรู้สะสมของบุคลากรที่มีความรู้เพื่อผลกำไรของธุรกิจ สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ ความสำเร็จของ KM หมายถึงการขายได้ไวขึ้น ส่วนประสิทธิภาพของแผนกต่างๆในองค์กร และแรงจูงใจของพนักงานก็เป็นปัจจัยสำคัญด้วยเช่นกัน
               KM เป็นคลังความรู้ ทั้งความรู้แบบ Tacit knowledge (ความรู้ที่อยู่ในตัวคน เช่น ทักษะ ประสบการณ์ ความคิด) และ Explicit knowledge (ความรู้ที่เห็นได้ เช่น หนังสือ สูตร เอกสาร ระเบียบปฎิบัติ แผนธุรกิจ ฯลฯ) เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธของบริษัท KMที่มีประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงคน ขั้นตอน และกลยุทธ ด้วยอัตราสูงสุดของส่วนผสมระหว่างคนและวัฒนธรรม โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย
               สำหรับบริษัทส่วนใหญ่ การจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการลดระยะเวลาในกระบวนการซื้อ-ขาย ขณะที่ใบเสนอขาย (sale proposal) ซึ่งปกติใช้เวลาในการเตรียมประมาณสองอาทิตย์ สามารถทำได้ภายในเวลาเพียงสองชั่วโมงโดยการศึกษาจากคลังข้อมูลบริษัท
               ความจริงที่ว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการปะติดปะต่อ (scratch) เป็นปัจจัยส่งเสริมสำคัญ George Varghese หัวหน้าแผนก Marketing and Alliances, Pharma/ITeS, SAS India กล่าวว่า ในองค์กรของเขา เริ่มตั้งแต่แนวคิดนโยบาย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหาความรู้จากคลังข้อมูลKM ไม่ว่าจะเป็นการ pre-sale หรือการตลาด ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ SAS9 เปิดตัว บุคลากรด้านงานขายและการตลาดต้องอาศัยคลังข้อมูลKM ในการอ้างอิงการใช้คำว่า Usability, Interopability ฯลฯ ที่ SAS จะมี “owner” ของระบบ KM ในแต่ละสำนักงานทั่วโลก ระบบถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ CDI (common document index) สำหรับบุคลากรด้านงานขายและการตลาด และส่วนที่สองคือ Tool Pool สำหรับบุคลากรด้านเทคนิค
               โดยการยอมรับวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปันข้อมูล (knowledge-sharing) ภายในองค์กรไม่ใช่สิ่งง่ายเลย อีกทั้งยังต้องการความช่วยเหลือร่วมกันจากผู้บริหารระดับสูง ทีมงานKM ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บุคลากรด้านการติดต่อสื่อสาร และผู้ที่เชื่อต่อหลักการนี้อย่างแท้จริงทั้งหมด ที่ SAS มีการให้รางวัลด้วยประกาศนียบัตร (และบางครั้งก็ให้เป็นคูปองที่พักโรงแรมดีๆ) Dhuru เห็นด้วยว่าหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการจูงใจหรือส่งเสริมพนักงานก็คือการให้รางวัล อย่างไรก็ตามเขาได้เตือนว่าการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมด้วยการให้รางวัลเพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดความเสื่อมด้านประสิทธิภาพของข้อมูล “ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องสร้างมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูล หากคุณวางตำแหน่งของคุณเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความรู้แบบ Tacit (ความรู้ที่อยู่ในตัวคน เช่น ทักษะ ประสบการณ์ ความคิด) พนักงานจะพบว่า KM เป็นการให้รางวัลมากกว่าการบีบบังคับ”
               และที่ SAS พนักงานทุกคนถูกคาดหวังให้เป็นแชมป์การจัดการความรู้ “ ‘owner’ คือแกนหลักของการทำให้เกิดความแตกต่างของข้อมูลและการเก็บรวบรวม ในทุกประเทศมี ‘owner’ ของตัวเอง ทุกสัปดาห์ SASจะได้รับรายงานจำนวนคนที่ใช้ข้อมูล รวมทั้งประโยชน์ของข้อมูลนั้น และทุก3เดือนจะมีการประชุมเกี่ยวกับ KM สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์"
ที่มา http://www.tentc.com/tentc/index.php?option=com_content&task=view&id=66&Itemid=11
คำสำคัญ (Tags): #psu#mit#km
หมายเลขบันทึก: 62794เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

iKnow ไอโนว์ => ตลาดความรู้ออนไลน์ 24 ชั่วโมง เป็นแหล่งรวบรวมข่าวสารออนไลน์จากกว่า 30 สำนักข่าวชั้นนำทั่วไทย อัพเดทข้อมูลล่าสุดทุกวันตลอด 24 ชม. ด้วยเทคโนโลยี RSS (Really Simple Syndicate) เพียงเปิดเว็บไอโนว์เว็บเดียวเท่านั้น ไม่ต้องเสียเวลาเปิดเว็บข่าวหลายๆเว็บ สะดวก รวดเร็ว รอบรู้ ทันข่าว ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา รีบคลิกไปที่ http://www.tarad.com/iknow/index.php?lang=th

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท