ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน: อนุรักษนิยม กับ เสรีนิยม


ครูไทยมักจะมองความสัมพันธ์ครู-นักเรียนเป็นเรื่องสวยหรู นักเรียนต้องตอบแทนบุญคุณครู เมื่อเรียนจบไปแล้ว และหากศิษย์เก่าไม่สำนึกบุญคุณของครูก็จะถูกมองว่าอกตัญญู แต่จริงๆแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่นักเรียนจะต้องกตัญญูรู้คุณครูทุกคนที่สอนมา

ผมว่าแนวคิดนี้เกิดจากความเชื่อถึง 2 ประการในวัฒนธรรมของครู ก็คือ 1.นักเรียนจำเป็นต้องไปทักนอบน้อมครูเพราะสำนึกบุญคุณ หากไม่นอบน้อมจะถูกครูมองว่าอกตัญญู 2. คนเก่งไม่ใช่คนดี หรือเด็กเก่งไม่เอาสังคม แต่เด็กไม่เก่งจะเอาสังคม

มาดูกันทีละข้อ 1. นักเรียนจำเป็นต้องไปทักนอบน้อมครูเพราะสำนึกบุญคุณ หากไม่นอบน้อมจะถูกครูมองว่าอกตัญญู หากมองแบบโลกทัศน์เก่าแบบอนุรักษนิยม การที่ครูพร่ำสั่งสอนเด็ก บางครั้งก็ตีบ้าง ทำร้ายบ้าง ยึดอำนาจของตนเองบ้าง ก็เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นคนดี แต่หากนักเรียนไม่มาทักหรือนอบน้อมก็จะมองว่านักเรียนอกตัญญู แต่ผมมองในแง่เสรีนิยมมากกว่า ครูก็มีหน้าที่สอน เป็นอาชีพที่ตัวเองเลือกในการหาเลี้ยงชีพ นักเรียนก็มีหน้าที่เรียน เพราะมันเป็นหนทางที่จะทำให้เราต่อยอดความรู้ความสามารถและโอกาสไปในอนาคต ซึ่งมันไม่ได้ต่างจากความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการอื่นๆเลย ความสัมพันธ์ก็จะเป็นเหมือนเพื่อน หรือคนรู้จักกันมากกว่าครูผู้มีพระคุณ กับเด็กที่เป็นผู้อ่อนด้อยกว่า จึงไม่เห็นว่าทำไมจึงต้องทวงบุญคุณหรืออาลัยกัน ดังนั้น การที่ครูสอนดีและเด็กได้ดีแล้ว ก็ถือว่าบรรลุจุดประสงค์ของการเป็นครูแล้ว ไม่ใช่หรือ? หรือการที่ครูสอนดี หรือไม่ดี แล้วเด็กไม่ได้ดี หรือได้ดี ก็ไม่ใช่เป็นความผิดของครู ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆอีกมากในสร้างเด็กเมื่อนักเรียนจบไปแล้ว ก็ถือว่าเป็นคนรู้จัก หรือเคยรู้จัก ทั้งสองฝ่ายจะสานสัมพันธ์ต่อหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับทั้งคู่ เพราะหมดหน้าที่ต่อกันแล้ว

แต่ผมขอย้ำตรงนี้ว่าบางครั้งการสอนเด็ก ไม่ใช่มีวิธีการเดียวซะที่ไหน ยังมีการสอนอีกหลายๆวิธี เด็กบางคนอาจชอบการสอนแบบของเรา แต่เด็กบางคนอาจไม่ชอบเลยก็ได้ ผมเองก็มีครูที่เคารพนับถือ เช่นอาจารย์กัญญา พูสมจิตต์ อาจารย์รัตนาภรณ์ ชมงาม และอาจารย์วาสนา สุกใส อย่างไรก็ตาม การที่ครูสำนึกว่าเป็นผู้รู้และเด็กบางคนเป็นผู้อ่อนด้อยกว่า ในบางครั้งอาจเกิดสถานการณ์บางอย่างที่เป็นการขู่เด็ก ไม่ให้เกียรติเด็ก หรือบางครั้งอาจมีการล่วงละเมิดทางเพศด้วยก็ได้ (มีข่าวให้ผมได้ยินกันบ่อยประมาณว่าครูข่มขืนนักเรียนด้วยการให้เกรดดีๆกับเด็ก)
2. คนเก่งไม่ใช่คนดี หรือเด็กเก่งไม่เอาสังคม แต่เด็กไม่เก่งจะเอาสังคม ซึ่งอันนี้ไร้สาระโดยสิ้นเชิง คนเก่งบางครั้งเอาสังคมก็มี และเด็กไม่เก่ง บางครั้งก็ไม่เอาสังคมก็มีเช่นเดียวกัน ประเด็นนี้ครูมักจะหวานอมขมกลืนกับเก่ง ที่หวานก็เพราะเด็กเก่ง สร้างชื่อเสียงให้กับครู แต่ที่ขมกลืน ก็เพราะว่าเด็กเก่งมักจะเนรคุณ หากเจอเด็กไม่เก่ง ครูก็มักจะหวานอมขมกลืนเช่นเดียวกับเด็กเก่ง ที่หวานเพราะเด็กไม่เก่งจะไม่เนรคุณ แต่ที่ขมกลืน ก็เพราะเด็กไม่เก่ง ไม่สร้างชื่อเสียงให้กับครู

เอาเป็นว่าเด็กคือเด็ก มีปัจจัยอีกมากมายในการสร้างพวกเขาให้เป็นคนดี หรือไม่ดี ซึ่งเราผู้เป็นครูก็ไม่อาจรู้ได้ หากเป็นผม ผมจะยอมรับว่าเด็กที่สอนได้เป็นนายอำเภอ และยอมรับเช่นกันว่าพวกมหาโจรทั้งหลายก็เป็นศิษย์ของผมเหมือนกัน 555+

หมายเลขบันทึก: 627781เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2017 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2017 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ส่วนมากก็จะเป็นเด็กเกเร ที่ไม่เคยลืมเราจริงๆ ค่ะ แต่เด็กเก่งก็มีบ้างค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท