สุดยอดของผู้บริหาร ?


สุดยอดของผู้บริหาร ?

ดร.ถวิล อรัญเวศ

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

นครราชสีมา เขต 4 วิทยฐานะรอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ


ความนำ

ผู้บริหาร คือผู้นำในองค์กร เป็นผู้ที่ทำงานของหน่วยงานหรือองค์กรให้สำเร็จโดยอาศัยเพื่อนร่วมงานได้ช่วยกันทำการที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้บริหารได้นั้น มีทั้งการแต่งตั้ง การเลือกตั้ง และการสรรหา การแต่งตั้ง หมายถึงการแต่งตั้งโดยอาศัยตัวบทกฎหมายที่กำหนดให้กระทำได้ เช่น การเป็นผู้บริหารในหน่วยงานทางราชการซึ่งถือว่าเป็นผู้บริหารโดยการแต่งตั้ง ผู้บริหารได้มาด้วยการเลือกตั้ง คือผู้นำประเทศที่ใช้ระบบการเลือกตั้ง อาทิ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ใช้ระบบการเลือกตั้ง หรือผู้นำท้องถิ่น ส่วนผู้บริหารที่ได้มาด้วยกระบวนการสรรหา จะเห็นได้ชัดเจนในหน่วยงานของเอกชน รัฐวิสาหกิจ และ บอร์ดของรัฐวิสาหกิจหรือประธานในองค์คณะบุคคลในส่วนราชการที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นต้น

ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้บริหารที่ได้มาโดยการแต่งตั้ง การเลือกตั้งหรือการสรรหาก็ตาม ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารทุกระดับ คือ “การครองตน ครองคน และครองงาน และประสานสัมพันธ์”


การครองตน เป็นไฉน ?

การครองตน คือ การรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และสามารถควบคุมตนเองได้คนเราต้องมีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน เรียกว่ามีเป้าหมายแห่งตน รู้จักควบคุมตนหรือมีวินัยแห่งตน คือการทำงานสำเร็จได้ด้วยตนเอง การครองตนที่ดีนั้น อาจใช้หลักการดังต่อไปนี้

๑. การรู้จักตนเองด้วยความมีสติ และสัมปชัญญะ มีความละอายและ

เกรงกลัวต่อบาปกรรม หรือสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง ไม่กระทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่เปิดเผย

. มีความอดทนและความสงบเสงี่ยม ให้เกียรติและมีความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์กับบุคคลทุกระดับชั้น

๓. บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนเอง

๔. รู้จักยึดมั่นในความพอเพียง ประหยัด และออม

๕, รู้จักการถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่อวดเก่ง อวดดี ไม่อาศัยบารมีคนอื่นทำร้ายข่มเหงใคร

๖. มีความสำนึกในคุณงามความดีของตนเองและผู้อื่น

ในหลักธรรมเรื่องสัปปุริสธรรม ๗ ก็มีหลักการครองตนไว้ เช่น รู้เหตุ รู้ผลรู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเทศละ รู้บุคคล และรู้ชุมชน นอกจากนี้ การยึดมั่นในศีล ๕ และเบญจธรรม ๕ ก็ถือว่ามีส่วนในการครองตนได้เป็นอย่างดี


การครองคน เป็นไฉน ?

การครองคน คือ สามารถครองใจคนได้ ผู้คนยอมรับ อาจจะเรียกว่ามีบารมีการรู้จักคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดี ในการทำงานร่วมกับคนอื่น การครองคนเป็นเรื่องที่ถือว่ายากที่สุด เพราะคนเรา มีหลายประเภท หรือดอกบัวสี่เหล่า จึงควรทราบหลักการครองใจคน ซึ่งพระพุทธศาสนาได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น หลัก สังคหวัตถุ ๔ คือ

. ทาน การให้ รู้จักเสียสละแบ่งปันด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีความ

เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นการครองใจคนที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะคนผู้ให้ ย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป และผู้ให้ย่อมทำให้ เกิดความรัก ความศรัทธา

. ปิยวาจา การพูดจาที่สุภาพ รู้จักเลือกใช้วาจาที่ไพเราะอ่อนหวานซึ่งคนอื่นได้ฟังแล้วสบายใจ อยากอยู่ใกล้ อยากคบค้าสมาคมด้วย ต้องมีความรับผิดชอบต่อคำพูดของ ตนเอง ตามภาษิตที่ว่า “คำพูดเป็นนาย กายเป็นบ่าว” หมายความว่า ให้คิดก่อนพูด พูดแล้วต้องทำ ปฏิบัติตามอย่างที่พูดแก่มวลมิตร แม้จะเพียงน้อยนิดก็ยังดีกว่าไม่มีไมตรีจิตเอาเสียเลยนอกจากนี้ แล้ว การมีสัจจะ การมีความยับยั้งและข่มใจ การมีความอดทน และการเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับที่ดี ก็จะสามารถครองคนได้ประการหนึ่ง

๓. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันและกัน รู้จักแบ่งปันน้ำใจให้กันและกัน ช่วยคิดช่วยทำเป็นกกำลังใจให้กันและกันได้

๔. สมานัตตตา เป็นคนวางตนเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง


การครองงาน เป็นไฉน ?

การครองงาน คือสามารถทำงานให้สำเร็จได้ และเป็นแบบอย่างที่ดีได้ เพราะมี

กลยุทธ์ในการทำงานให้สำเร็จคำว่างาน คือ กิจกรรมที่มนุษย์กระทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเอง หรือกิจกรรมที่ ร่วมกันกระทำขึ้นเพื่อสังคม จำแนกตามลักษณะของกลุ่มงานเป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้

๑. งานราชการ คือ งานที่เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย ที่ผู้มีอำนาจร

๒. งานกึ่งราชการ คือ งานที่รัฐบาลร่วมมือกับเอกชน เช่น

๓. งานธุรกิจส่วนตัว เช่น การประกอบอาชีพโดยสุจริตโดยตนเองเป็นกำหนดเป็นหน่วยงานทางราชการ ได้แก่งานในกระทรวง กรม ต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กิจการ ที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น การไฟฟ้า การขนส่งการไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น งานภาคเอกชน คือ งานที่เอกชนหรือนิติบุคคลจัดทำขึ้น เช่น บริษัท ห้างร้านสมาคม มูลนิธิ และงานอาชีพอิสระภายในครอบครัว เช่น

งานอุตสาหกรรม งานบริการ งานเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ลงทุนแต่เพียงผู้เดียว หรือโดยครอบครัว

๔.งานจิตสาธารณะ ไม่หวังผลตอบแทน ทำด้วยใจ และทำเพื่อมวลชนในการทำงานนั้น แต่ละคนย่อมจะมีเป้าหมายต่างกัน

ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม เมื่อสรุปแล้วก็ อยู่ในประเด็นต่อไปนี้

. ทำงานเพื่อให้ได้เงิน ถึงแม้เงินจะไม่ใช่เป้าหมายของทุกงานก็ตาม แต่หลักความ จริงอันหนึ่ง ก็คือ มนุษย์เรามีความต้องการด้านร่างกาย มนุษย์จึงพยายามทำงานเพื่อให้ได้ เงินมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ขวนขวายหาวัตถุหรือสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ตนเองได้ อยู่อย่างสุขสบาย การทำงานจึงต้องมุ่งหวังเงินเป็นสิ่งตอบแทน เป็นเบื้องต้นก่อน

.ทำงานเพื่อให้ได้อำนาจ นอกจากความต้องการด้านร่างกายแล้ว มนุษย์ยัง ต้องการให้คนอื่นเคารพยำเกรง ชอบการยกย่องชมเชย การทำงานส่วนมากจึงตั้งเป้าหมาย ที่จะเป็นหัวหน้างานหรือผู้นำที่มีอำนาจ เป็นผู้บริหารกิจการของรัฐ

.ทำงานเพื่อให้ได้ตำแหน่งทางสังคม การมีอำนาจและตำแหน่งจะมีความ เกี่ยวพันกัน เพราะเมื่อมีตำแหน่งก็จะมีอำนาจในการสั่งการหรือบริหารตามความมุ่งหวัง ของตน

.ทำงานเพื่อความรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ เพราะถ้าหากทำงานได้บรรลุ เป้าหมายหรือเกิดผลสำเร็จ ก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ และได้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งยังจะได้รับความชื่นชม จากคนอื่นอีกด้วย

. ทำงานโดยมีเป้าหมายเพื่อสังคมและส่วนรวม จะมีกลุ่มบุคคล อีกกลุ่มหนึ่งที่มีเป้าหมายในการช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนต่อ ประโยชน์ส่วน ตน เช่น มูลนิธิการกุศล สมาคมสงเคราะห์ หรือนักบวชที่อุทิศ ตนให้ศาสนา มุ่งหวังสอน บุคคลให้เป็นคนดี อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข จากเป้าหมายของการทำงานจึงพอ สรุปได้ว่า บุคคลทำงานอาชีพมีเป้าหมายของการทำงานเพื่อให้ตนเองและบุคคลอื่นที่อยู่ใน สังคม เกิดความสุขทุก ๆ ด้านตามความต้องการของมนุษย์

การครองงาน คือ การรู้จักงานที่ตนเองกำลังทำ และทำงานอย่างมีความสุข รักและชอบในงานที่ตนเองกำลังทำอยู่ ทำงานให้สนุกมีความสุขกับงานที่ทำ ทำงานให้สำเร็จ มีวิธีการครองงาน ดังนี้คือ

. รักและศรัทธาในงานที่ทำ งานอะไรก็ตาม ถ้าเรามีความรักและมีความศรัทธา ในงานที่ทำแล้ว งานนั้นย่อมจะประสบผลสำเร็จ เพราะถ้าเราชอบงานอะไรแล้ว ใจก็จะ มุ่งมั่นในการทำงานนั้น จนประสบผลสำเร็จ อย่างเป็นครูต้องรักและศรัทธาในอาชีพครู เป็นต้น

. มีความขยันหมั่นเพียนในการทำงาน ถ้าเรามีความขยันหมั่นเพียรใน

การทำงานแล้ว งานนั้น ๆ ย่อมจะประสบผลสำเร็จโดยง่าย

. เอาใจใส่ต่องานที่ทำ ใครก็ตาม ถ้าทำงานโดยมีเป้าหมายแล้ว ย่อมจะต้องเอาใจใส่ต่องานที่ทำเสมอ การทำงานที่เอาใจใส่ งานย่อมประสบผลสำเร็จ

. หมั่นตรวจสอบข้อบกพร่องของานและปรับปรุงให้ดีขึ้น ถ้าทำงานโดยมี การปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ จึงจะถือได้ว่า มีการปรับปรุงงาน เหมือนกับการประเมินผล งานนั้นเอง


สรุป

ผู้บริหารทุกระดับ จะต้องครองตน ครองคน และครองงานให้ได้ การครองตนนั้นควรยึดมั่นในเบญจศีล และเบญจธรรม นอกนี้แล้ว จะต้องมีติสัมปชัญญะกำกับอยู่เสมอ การครองคน สามารถครองใจคน สามารถโน้มน้าวให้ทำในสิ่งที่กำหนดไว้ได้ ควรนำสังคหวัตถุ ๔ มาเป็นหลักยึดเหนี่ยว การครองงาน ควรยึดหลักอิทธิบาท ๔ โดยเฉพาะการมีความรักในงานที่ทำ มีความเพียรในการทำงาน เอาใจใส่ในงานที่ทำ และหมั่นปรับปรุงงานที่ทำให้ดีขึ้นอยู่เสมอ นี้แหละจึงจะได้ชื่อว่าครองงานได้ นอกจากนี้ควรยึดหลักความเพียรเพราะคนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร เมื่อครองตน ครองคน และครองงานได้แล้ว ถือว่าท่านคือสุดยอดของผู้บริหารนั้นเอง







หมายเลขบันทึก: 627606เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2017 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2017 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท