CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_19: ค่ายพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ปี ๒๕๖๐ "รับน้องสร้างสรรค์" (๒)


บันทึกที่ ๑)

หลังจากการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับความมุ่งหมายของโครงการเด็กดีมีที่เรียน มมส. และแนวทางการเรียนรู้ ปศพพ. และน้อมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต คุณภาณุพงศ์ (พี่อุ้ม) ยังได้เชิญ นางสาวสัจจาพร พิลึก นิสิตทุนเศรษฐกิจพอเพียง ของมูลนิธิยุวสถิรคุณ และประธานรุ่นของสาขาการบัญชีและการตลาด มาเล่าประสบการณ์การน้อมนำ ปศพพ. ไปใช้ในการดำเนินชีวิตนิสิต

พี่พิมบอกว่า พ่อแม่ของเรามักคาดหวังให้เราตั้งใจเรียน เรียนให้สูงที่สุด เรียนจบได้ใบปริญญาในสาขาที่มีหน้ามีตา มีเกียรติในสังคม ได้รับราชการเป็นเจ้าคนนายคน หรือสาขาที่ทำรายได้มาก ๆ หลายคนจึงอาจจะมาเรียนเพื่อพ่อแม่ แม้กระนั้นทุกคนต้องมีสิ่งที่คาดหวังของตนเอง ต้องมีเป้าหมายในชีวิตของตนเอง เพราะคนที่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนจะประสบความสำเร็จมากกว่า หากคนเราไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ว่ามาเรียนเพื่ออะไร ชีวิตก็มักจะเรื่อยเปื่อย เที่ยวบ้างเรียนบ้าง แต่ถ้าเราชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของตน จะทำให้รู้ว่าเราควรจะแบ่งเวลาอย่างไร อยากให้ดูคลิปด้านล่าง




มีเว็บไซต์ที่เขียนเรื่องราวในคลิปนี้ออกมาประกอบภาพวาดอย่างละเอียด อ่านได้ที่นี่ ชมรมต้นกล้าพันธุ์น่าจะเอาวิธีนี้ไปใช้เป็นกิจกรรมหนึ่งในการการสอนน้อง ๆ นะครับ

ผลการสืบค้น ผมพบอีกคลิปหนึ่งที่สะท้อนวิธีคิดในการวางแผนชีวิตได้ชัดขึ้น



สาระสำคัญคือ เราต้องวางแผนชีวิตและเรียงลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ที่จะผ่านมาในชีวิต โดยแย่งสิ่งต่าง ๆ เป็น ๓ ส่วน ได้แก่

  • เรื่องใหญ่ ๆ เช่น ครอบครัว แม่ พ่อ อาหาร อาชีพที่ใฝ่ฝัน หรือความรัก อาจจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าใครจะให้ความสำคัญกับเรื่องนั้น ๆ ว่าเป็นเรื่องใหญ่
  • เรื่องเล็ก ๆ ลงมา ที่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่ถ้าได้ก็ดี เช่น รถยนต์ บ้าน ที่ดิน เที่ยวต่างประเทศ เพื่อน ฯลฯ
  • เรื่องไม่สำคัญ ไม่ควรให้ความสำคัญมากเกินไป เช่น การสังสรรค์ เที่ยวกลางคืน ดูหนัง วีดีโอเกมส์ ฯลฯ

ถ้าลูกก๊อฟเปรียบเหมือนเรื่องใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ กอดกรวดเล็ก ๆ แทนเรื่องเล็ก ๆ ส่วนเรื่องใดที่พาใจหลงเพลิดเพลินไปวัน ๆ ที่เป็นเรื่องไม่สำคัญ แทนด้วยทราย และชีวิตของเราเทียบกับขวดโหลดเปล่า คำถามสำคัญคือ เราจะจัดการบริหารชีวิตของเราอย่างไร ให้เรื่องใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ บรรลุผลทุกเรื่อง หรือก็คือประสบผลสำเร็จในชีวิต

เฉลยคือ ต้องใส่ลูกก๊อฟก่อน ตามด้วยก้อนกรวด และสุดท้ายคือใส่ทราย เม็ดทรายจะกระจายไปอยู่ทั่วทั้งขวด นั่นคือการเที่ยวเล่น ผักผ่อน สังสรรค์ ไม่ใช่ห้ามไม่ไห้ทำเลย แต่ทำได้ในเวลาและปริมาณที่เหมาะสม

20121017-222125.jpg

ที่มาของภาพ https://balancedaction.me/2012/10/17/the-jar-of-li...


สำหรับการน้อมนำ ปศพพ. ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน พี่พิมแนะนำให้ตั้งคำถาม ๒ คำถาม สำคัญก่อนจะตัดสินใจทำอะไร ได้แก่

  • สิ่งที่จะทำนั้นดีต่อตนเองไหม?
  • สิ่งที่จะทำนั้นดีต่อคนอื่นไหม

หากผ่าน ๒ คำถามนี้ ก็ให้ตัดสินใจทำได้เลย นี่คือกระบวนการขับเคลื่อน ปศพพ. ของโรงเรียนสัตยาไส ที่พี่พิมเรียนมาตอนสมัยมัธยมนั่นเอง (ผมเคยเขียนสรุปไว้ที่นี่) หลักการแห่งความดีแสดงได้ด้วยภาพด้านล่าง


ผลงานของพี่พิมและทีมจากคณะบัญชีและการจัดการ เรื่อง "ธนาคารควาย" สามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้จริง เพียง ๑ ปี สามารถเพิ่มจำนวนควายจาก ๓๐ ตัว เป็น ๖๖ ตัว ชาวืบ้านหลายคนสามารถปลดหนี้ พ้นทุกข์ร้อน (อ่านรายละเอียดที่นี่) นี่คือตัวอย่างที่เป็นเลิศมาก สำหรับการคิดอ่านสร้างสรรค์งานเพื่อสังคมและชุมชนของนิสิตทุกคน

(บันทึกหน้ามาว่ากันต่อครับ จุดเด่นของค่ายฯ ข้อต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 627604เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2017 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2017 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท