AAR : สะท้อนผลการเรียนรู้ กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม สืบสานภูมิปัญญา


ความสำคัญ

ท่ามกลางกระแสโลกที่เคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาสู่สังคม สู่ทุกช่วงวัยให้เกิดความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลทำให้ภูมิปัญญาเเละมรดกทางสังคมหลายอย่างถูกลบเลือนหายไป ซึ่งหลายภูมิปัญญามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ สืบสานไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้เเละสัมผัส

สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ ๒ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรม "เรียนรู้หัตถกรรม สืบสานภูมิปัญญา" ภายใต้โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ณ โรงเรียนบ้านท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีจุดประสงค์เพื่อหวังว่าเด็กๆจะเป็นต้นทุนทางสังคมในการร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมเดิมของชุมชนให้คงอยู่ โดยเน้นที่งานหัตกรรม (ทำมือ) ที่เด็กสามารถทำได้เเละนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

จุดประสงค์
ซึ่งเราประชุมก่อนทำ (ฺBefore Action review) กันเรื่องจุดประสงค์เเละความคาดหวัง ของกิจกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตเเละการทำงาน ด้านหัตถกรรม เหตุที่เลือกยกหัตกรรมเพราะเป็นภูมิปัญญาเเต่เดิมที่ชุมชนเคยมี ปัจจุบันเริ่มถูกทอดทิ้งเเละสูญหาย ทั้งยังเป็นมรดกทางสังคมที่ควรถูกถ่ายทอดจากรุ่นตายายสู่รุ่นหลาน ให้คงอยู่ต่อไป
  • เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญา มีเจตคติที่ดีต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปสู่การสืบสานในรูปแบบต่างๆ ในอนาคต
  • เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางภูมิปัญญาในชุมชน ให้เกิดการสืบสานในวัยเยาวชนของชุมชน มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จัดกิจกรรมออกเป็น ๔ ครั้ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
๑) กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม เรื่อง การทำบายศรี โดยคุณยายแล ทันขวา เป็นวิทยากรชุมชน ครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีความรู้จากประสบการณ์ตรง(Tacit Knowledge) เรื่อง การทำบายศรี โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนบ้านท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นกิจกรรมบทเรียนแรก คือ การเรียนรู้เรื่องงานใบตอง โดยมีครูชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานหัตถกรรมใบตอง มาช่วยสอนลูกหลาน ที่กล่าวมาในข้างต้น

กิจกรรมในช่วงเเรก เป็นสันทนาการ ซึ่งใช้เพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียนเเละสร้างบรรยากาศในการการเรียนรู้ กับนักเรียน ซึ่งเป็นเด็กชั้นประถมปีที่ ๔-๖ ความต่างของช่วงวัยเเละความเขินอายเด็กจะมีมาก โดยต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ใช้เกมที่สนุก เหมาะสำหรับเด็กๆ สิ่งที่พบ คือ เด็กสามารถละลายพฤติกรรมเข้ากันได้ไม่มากนัก เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมนั่ง ต้องปรับให้เป็นกิจกรรมเดินเเละวิ่งมากขึ้น เเละจัดเวทีแบบครึ่งวงกลม อาจช่วยได้มากขึ้น


ช่วงที่สอง เป็นกิจกรรมแก่น คือ การสอนเรื่องงานหัตถกรรมใบตอง โดยคุณยายแล เป็นวิทยากรหลัก ส่วนนิสิตเป็นวิทยากรเสริมช่วยให้เด็กทำได้เเละเข้าใจ เพราะความรู้แบบนี้ต้องปฏิบัติเท่านั้นจึงจะเข้าใจ (Tacit Knowledge) กระบวนการ คือ จัดเวทีแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม เเต่ละกลุ่มจะมีพี่คอยช่วยกลุ่มละ ๓ คน ให้คุณยายแล เป็นคนนำ ส่วนทั้ง ๔ กลุ่มตาม โดยทำไปทีละอย่าง แบบค่อยๆไป

สิ่งที่ยายสอน คือ การทำบายศรีปากชาม (ขันหมากเบ็ง) มีส่วนประกอบ ๓ ส่วนสำคัญ คือ ส่วนกรวย(โอ้) ส่วนนิ้วบายศรี เเละส่วนขัน ยายพาทำนิ้วทีละนิ้วก่อน จากนั้นนำเเต่ละนิ้วมาเย็บรวมกัน เป็น ๔ ชุด จากนั้นทำกรวย(โอ้) เเล้วนำทุกส่วนมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างง่ายๆ เเต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ทุกอย่างเลย

ผลคือ เด็กสามารถทำบายศรีปากชามได้ทุกกลุ่ม เเละทำสวยทุกกลุ่ม สามารถนำเสนองานของตนเองได้ เเละสะสามารถสะท้อนบทเรียนจากการปฏิบัติจริงได้ นั่น คือ อธิบายวิธีการ การนำไปใช้ เเละด้านความรู้เกี่ยวกับบายศรีที่ทำอยู่ได้

ช่วงสุดท้าย เป็นกิจกรรมการสรุปบทเรียน โดยใช้เครื่องมือวัดผลแบบง่ายๆ ถอดบทเรียนแบบจิตตปัญญา ใช้กระบวนการ Reflection การเรียนรู้ โดยให้เด็กวาดภาพตัวเองลงไปในกระดาษ เเล้วให้ตอบคำถาม ๓ โจทย์ แต่เชื่อมกับ KPA ได้แก่

  • ประทับใจอะไรบ้าง (A : Attitude) ทัศนคติ ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะประทับใจคุณยายที่สละเวลามาสอนพวกเขา ประทับใจพี่ๆน่ารัก มีเกมสนุกๆ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน
  • ได้เรียนรู้อะไรบ้าง (K : Knowledge) ความรู้ ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะมีความรู้เรื่องการทำบายศรีปากชาม วิธีการทำ องค์ประกอบการนำไปใช้ เเละความสำคัญต่อด้านประเพณี
  • ทำอะไรได้บ้างเเละจะนำไปใช้อย่างไร (P : Process/Skills) ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะสะท้อนว่าสามารถทำบายศรีปากชามได้ อยากทำขาย ฉีกใบตองเป็น ทำนิ้วบายศรีได้ เเละออกแบบบายศรีได้

๒) กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม เรื่อง การจักสาน วิทยากรชุมชนโดย นายเคน ทินด้วง เเละนางลำพูน ชัยประสิทธิ์ เป็นวิทยากรชุมชน ครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีความรู้จากประสบการณ์ตรง(Tacit Knowledge) เรื่อง การจักสาน อันประกอบด้วย การสานตอกเเละสานใบมะพร้าว โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนบ้านท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นกิจกรรมบทเรียนที่สอง คือ การเรียนรู้เรื่องงานจักสานเน้นฝีมือ โดยมีครูชุมชนทั้งสองท่านสละเวลามาสอนลูกหลานด้วยเจตนารมณ์ที่ว่า อยากให้สืบสานต่อ

กิจกรรมในช่วงเเรก เป็นสันทนาการเหมือนเดิม ซึ่งใช้เพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียนเเละสร้างบรรยากาศในการการเรียนรู้ กับนักเรียน ซึ่งเป็นเด็กชั้นประถมปีที่ ๔-๖ ครั้งนี้สามารถดำเนินไปได้คล่องมากยิ่งขึ้น เพราะเด็กรู้จักพี่ๆ ครั้งนี้พี่ๆก็พาเล่นเกมส์ใหม่ๆ เพื่อสร้างความสนุก ไม่น่าเบื่อ เเละเตรียมความพร้อมเข้าเรียนในเนื้อหา ผลสะท้อน คือ เด็กๆมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ เเละมีสภาวะอารมณ์เเละความคิดที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ ผู้คนกำลังนั่ง

ช่วงที่สอง เป็นกิจกรรมแก่น คือ การสอนเรื่องงานหัตถกรรมจักสาน โดยโดย คุณพ่อเคน ทินด้วง สอนเรื่องการจักสานตอก โดยสอนเรื่องการขัดลายสอง หรือ ขัดตาแหลวโดยเป็นลักษณะเฉพาะในการจักสานเป็น "ลายก่องข้าว" เเละเเม่ลำพูน ชัยประสิทธิ์ สอนเรื่องการสานใบมะพร้าวง่ายๆ ได้แก่ สานปลาตะเพียน แหวน ดาว นก เเละอื่นๆ โดยส่วนนิสิตเป็นวิทยากรเสริมช่วยให้เด็กทำได้เเละเข้าใจ เพราะความรู้แบบนี้เป็นเรื่อง ที่ยากมาก ในช่วงเเรกๆในกลุ่มสอนขัดตาแหลวพี่ๆก็ติดขัดเช่นเดียวกันเพราะทำไม่เป็นเเละต่อมาก็คล่องขึ้นตามลำดับ ครั้งนี้จัดกระบวนการ คือ จัดเวทีแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม เเต่ละกลุ่มจะมีพี่คอยช่วยกลุ่มละ ๕ คน โดยเมื่อเเต่ละกลุ่มเสร็จเเล้วก็ให้สลับเปลี่ยนกัน

สิ่งที่ยายเเละตาสอน คือ การสอนจักสานแบบลายสอง เเละสอนสานใบมะพร้าวแบบสร้างสรรค์ โดยเป็นความรู้เฉพาะทางที่ถือว่าอาจเรียนได้ยากระดับนึง ซึ่งจากการได้เรียนนี้ ผลคือ เด็กส่วนใหญ่สามารถสานลายสองได้ บางส่วนยังทำไม่ได้ ส่วนงานสานใบมะพร้าวเด็กชอบมากที่สุดเพราะทำง่ายเเละสามารถทำได้ทุกคน สามารถนำเสนองานของตนเองได้ เเละสะสามารถสะท้อนบทเรียนจากการปฏิบัติจริงได้ นั่น คือ อธิบายวิธีการ การนำไปใช้ เเละด้านความรู้เกี่ยวกับการจักสานที่ทำอยู่ได้

ช่วงสุดท้าย เป็นกิจกรรมการสรุปบทเรียน โดยใช้เครื่องมือวัดผลแบบง่ายๆ ถอดบทเรียนแบบจิตตปัญญา ใช้กระบวนการ Reflection การเรียนรู้ โดยให้เด็กวาดภาพตัวเองลงไปในกระดาษ เเล้วให้ตอบคำถาม ๓ โจทย์ แต่เชื่อมกับ KPA (เครื่องมือเดิม)ได้แก่

  • ประทับใจอะไรบ้าง (A : Attitude) ทัศนคติ ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะประทับใจกิจกรรมที่คุณตาเเละคุณยายมาสอน เพราะทำง่าย บางอันก็ทำยากแต่ก็ท้าทายต่อการเรียนรู้ ประทับใจพี่ๆที่สนุก ให้คำแนะนำ
  • ได้เรียนรู้อะไรบ้าง (K : Knowledge) ความรู้ ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะมีความรู้เรื่องการสานใบมะพร้าว สามารถออธิบายขั้นตอนการทำ เเละอธิบายลักษณะของการขัดลายสองได้
  • ทำอะไรได้บ้างเเละจะนำไปใช้อย่างไร (P : Process/Skills) ข้อนี้ส่วนใหญ่เด็กจะสะท้อนว่าสามารถสานใบมะพร้าวได้เกือบทุกแบบที่คุณยายสอน ส่วนนึงบอกว่าสามารถสานลายสองได้เเละภูมิใจที่สามารถทำได้เพราะมันยาก

ทั้งนี้คุณตาเเละคุณยายสะท้อนว่า นับเป็นโอกาสสำคัญ เพราะเป็นครั้งเเรกที่ได้มาสอน เเละดีใจมากที่ได้มาสอนลูกหลาน

๒) กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม เรื่อง ดอกไม้จากใบเตย วิทยากรโดยพี่ๆนิสิตสาขาวิชาสังคมศึกษา ศึกษาศาสตร์ มมส ครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีความรู้จากประสบการณ์ตรง(Tacit Knowledge) เรื่อง การประดิษฐิ์ดอกไม้จากใบเตย ซึ่งเป็นงานฝีมือที่พี่ๆอยากเสริมให้กับน้องๆเพราะเป็นวัสดุท้องถิ่น สามารถทำได้ง่าย เเละสามารถใช้ได้สารพัดประโยชน์อีกด้วย โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนบ้านท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นกิจกรรมบทเรียนที่สุดท้าย โดยมีครูนิสิตเป็นวิทยากรเอง


ครั้งนี้มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาที่เข้ามาร่าวมด้วย ทำให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างเร่งรีบ เเต่ถึงอยางไร ด้วยต้นทุนทางวิธีการที่เหมือนง่ายอยู่เเล้ว ทำให้สอนได้คล่องตัว โดยครั้งนี้จัดกระบวนการ โดยแบ่งเป็น ๔ กลุ่มใหญ่ๆ โดยพี่ๆทุกๆคนลงสอนช่วยกัน ใช้เวลาไม่นาน เเละในครั้งนี้ เเม้จะขาดการประเมิน เเต่จากการสังเกต พบว่าด้านความรู้(Knowledge) เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรื่อง การทำกุหลาบจากใบเตย ยิ่งทำซ้ำๆยิ่งเป็นความรู้ที่คงทน เเละทำคล่อง ด้านทัศนคติ(Attitude) เด็กมีความคิดที่ดีต่อการเรียนรู้ด้านนี้เเละชอบเพราะสามารถทำได้ง่ายไม่ยาก เเละด้านทักษะ กระบวนการ(Process) เด็กสามารถทำงานใบเตยโดยการประดิษฐิ์ดอกไม้ได้

๔) กิจกรรมตลาดนัดหัตถกรรม เป็นกิจกรรมสรุปบทเรียนเเละคืนข้อมูลสู่ชุมชน จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนบ้านท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน โดยกลุ่มที่รับผิดชอบงานตามโมเดล "บวร" ได้แก่ กลุ่มหมู่บ้านทำชาสมุนไพรทองพันชั่ง กลุ่มวัดทำบ้านดินให้เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน เเละกลุ่มโรงเรียนทำกระบวนการเรียนรู้แบบภูมิปัญญากับนักเรียนโรงเรียนท่าสองคอน ซึ่งเเต่ละสายงานก็จะมีซุ้มของตนเองมีเกมเเละอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีซุ้มของน้องๆที่มาโชว์เป็นร้านค้าทำให้มีเป็น "ห้องเรียนมีชีวิต" ขึ้นมาอีกด้วย

ในภาพอาจจะมี 4 คน

ช่วงแรกเป็นช่วงพิธีการเปิดงาน เเละการเสวนา เรื่อง คุณค่าเเท้ของภูมิปัญญา เเละบทบาทนิสิตกับชุมชนท่าสองคอน ซึ่งเชิญครูชุมชนทุกท่าน ได้แก่ นายเคน ทินด้วง นางลำพูน ชัยประสิทธิ์ เเละนางแล ทันขวามาเล่าเรื่องคุณค่าของงานหัตถกรรมให้ลุกหลานฟัง โดยคุณตาเเละคุณยายสะท้อนว่า เป็นเกียรติมากที่ได้รับเชิญมาสอนเยาวชนแบบนี้ ดีใจมาก เเละอยากฝากลูกหลานว่าสิ่งที่ได้สอนไปนั้นมีคุณค่าต่อการใช้ชีวิต สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง เเละเป็นมรดกที่เราควรสืบสานไว้ชั่วลูกหลาน เเม้เป็นวงเสวนาสั้นๆเพราะเด็กมีสมาธิน้อย เเต่ถึงกระนั้นเองก็ให้ความสนใจอยู่มากในช่วงแรก

ช่วงสองเป็นกิจกรรมตลาดนัดหัตถกรรม โดยเด็กเเละผู้เข้าร่วมงานทุกๆคนหลังจากลงทะเบียนเเล้วจะได้ "ชิพ" ไว้เเทนเงินเพื่อซื้อความรู้เเละประสบการณ์ตามร้านที่ตนเองพอใจมากที่สุด โดยประกอบด้วยซุ้ม บายศรีปากชาม ซุ้มขัดตาแหลว ซุ้มสานใบมะพร้าวม ซุ้มกุหลาบจากใบเตย เเละซุ้มดอกไม้ประดิษฐิ์จากถุงพลาสติก ใช้เวลาไม่นานนัก จากการสังเกตเด็กๆจะสนใจซุ้มของพี่ๆ เช่น การทำสบู่ บ้านดิน เเละชา มากเพราะเด็กไม่เคยเห็นจึงสนใจ ส่วนซุ้มที่ตนเองเคยทำมาเเล้วก็กลับไปทำอีกเเล้วสามารถทำได้ สะท้อนว่าเด็กมีเเรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้อย่างเเท้จริง

ช่วงสุดท้ายเป็นกิจกรรมปิดโครงการ มอบของที่ระลึกให้กับครูชุมชน โรงเรียน เเละมอบขนมให้กับเด็กๆเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้

บทวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานเกิดผลต่อตัวเยาวชน โรงเรียน-ชุมชน เเละมหาวิทยาลัย ดังนี้
๑) ผลที่เกิดขึ้นต่อตัวเยาวชน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย(ป.๔-ป.๖) โรงเรียนบ้านท่าสองคอน ดังนี้
๑.๑) มิติหัวใจการเรียนรู้

  • ด้านความรู้(Knowledge) เด็กเกิดความรู้จากประสบการณ์ตรง(Tacit Knowledge) ในหมวดใหญ่เด็กได้รับความรู้ใน ๓ เรื่อง ได้แก่ ครั้งแรกความรู้เรื่องการทำบายศรีปากชาม วิธีการทำ องค์ประกอบการนำไปใช้ เเละความสำคัญต่อด้านประเพณี ครั้งที่สองความรู้เรื่องการสานใบมะพร้าว สามารถออธิบายขั้นตอนการทำ เเละอธิบายลักษณะของการขัดลายสองได้ เเละครั้งที่สามเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรื่อง การทำกุหลาบจากใบเตย ยิ่งทำซ้ำๆยิ่งเป็นความรู้ที่คงทน
  • ด้านทักษะ/กระบวนการ(Process/Skills) เกิดเกิดทักษะขึ้นเพราะเกิดการลงงมือทำเเล้วเรียนรู้จากผู้นำสู่ตนเองที่เป็นผู้ตาม จึงเป็นทักษะทางการทำงานเเละทักษะชีวิต โดยแบ่งเป็น ๓ เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ ครั้งแรกเด็กสามารถทำบายศรีปากชามได้ อยากทำขาย ฉีกใบตองเป็น ทำนิ้วบายศรีได้ เเละออกแบบบายศรีได้ ครั้งที่สองเด็กสามารถสานใบมะพร้าวได้เกือบทุกแบบที่คุณยายสอน ส่วนนึงบอกว่าสามารถสานลายสองได้เเละภูมิใจที่สามารถทำได้เพราะมันยากและครั้งที่สาม เด็กสามารถทำงานใบเตยโดยการประดิษฐิ์ดอกไม้ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะด้านอาชีพ การทำงาน เเละทักษะชีวิต ซึ่งจะเป็นต้นทุนให้เกิดภูมิคุ้มกันในอนาคต
  • ด้านทัศนคติ(Attitude) มีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญา ได้แก่ ประทับใจคุณยาย คุณตา ที่สละเวลามาสอนพวกเขา ประทับใจพี่ๆน่ารัก มีเกมสนุกๆ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน และประทับใจการเรียนรู้ที่มีชีวิต ในลักษณะนี้ เป็นต้นทุนสำคัญให้เขามีใจที่จะสืบสานต่อไปไม่มากก็น้อยในอนาคต

๑.๒) มิติพลเมือง

  • ได้เยาวชนที่มีความสนใจทางด้านการสืบสานภูมิปัญญา เพื่อรักษาไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ โดยเขามีทักษะสามารถทำเป็น เเละอาจสอนผู้อื่นได้ในอนาคต
  • เด็กเป็นกลไสำคัญในการสื่อสานเรื่องภูมิปัญญาให้เกิดกระแสการสืบสานมากยิ่งขึ้นโดยเริ่มจากระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัว เเละระดับชุมชนต่อไป

๒) ผลที่เกิดขึ้นต่อโรงเรียนเเละชุมชนบ้านท่าสองคอน
๒.๑) มิติการศึกษา

  • โรงเรียนได้นักเรียนจำนวน ๔๐ คนที่มีความรู้เเละทักษะด้านงานหัตถกรรม เรื่อง การทำบายศรีปากชาม งานจักสาน เเละงานประดิษฐิ์ดอกไม้ โดยเป็นต้นทุนสำคัญต่อการพัฒนาเเละต่อยอดเพื่อเสริมทักษะอาชีพ ทักะการทำงานเเละทักษะชีวิตตามศักยภาพของตัวเด็ก
  • การบูรณาการร่วมกันระหว่างคาบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียน เเละรายวิชา ๑หลักสูตร ๑ชุมชน ออกแบบมาเป็นกิจกรรมสืบสานภูมิปัญญา ที่เป็นลักษณะ "บูรณาการ่วมเชิงนโยบาย" ให้สามารถทำได้จริงในระดับโรงเรียน
  • ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนเเละชุมชนจัดการศึกษาร่วมกันตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ มาตรา๘ ข้อ ๒) กล่าวว่า ให้สังคมมีส่วนร่วมกับการจัดการศึกษา ซึ่งผลดังกล่าวสอดรับกับนโยบายของรัฐด้านการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม
  • ได้สร้างเเละเสริมครูชุมชนขึ้นในพื้นที่ เพื่อเป็นต้นทุนในการบูรณาการ การทำงานอย่างมีส่วนร่วม เเละการจัดการศึกษาให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเรียนรู้บนฐานปัญญาได้โดยมีต้นทุนเดิมอยู่เเล้ว

๒.๒) มิติสังคม

  • เกิดการรวมกลุ่มทางสังคม มีกิจกรรมทางสังคมที่เกิดประโยชน์ต่อต่อการเรียนรู้เเละการส่งเสริมชุมชนในด้านภูมิปัญญาสู่ความเป็นมรดกทางสังคมที่ควรค่าเเก่การร่วมมือกันรักษาไว้
  • เกิดการมีส่วนร่วมของสถาบันทางสังคม คือ มีส่วนร่วมระหว่างหมู่บ้านเเละโรงเรียน ให้เกิดความสามัคคีแก่หมู่คณะ เเละเสริมความสามัคคีของเยาวชนในชุมชน

๒.๓) มิติวัฒนธรรม

  • เกิดการร่วมสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมแบบสารัตถนิยม ซึ่งมีส่วนร่วมระหว่างครูในชุมชนเเละเยาวชนในชุมชน
  • เกิดวัฒนธรรมใหม่ทางด้านการศึกษาขึ้นในชุมชนจากการที่เอายกเอาครูชุมชนมาสอนเด็กๆผานการลงมือทำ สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมด้านการสร้างวัฒนธรรมที่ดีงามเเละความเคารพครูผู้มีความรู้จากประสบการณ์ตรงจากภายนอก

๒.๔) มิติเศรษฐกิจ

  • เด็กได้เรียนรู้วิชานอกตำรา การใช้ประโยชน์จากวัสดุที่อยู่รอบตัว โดยสามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
  • สังคมเกิดการใช้ประโยชน์จากวัสดุอย่างคุ้มค่า เเละบางอย่างสามารถนำไปเป็นต้นทุนในการหารายได้

๒.๕) มิติสิ่งแวดล้อม

  • การใช้ประโยชน์จากวัสดุธรรมชาติ ที่ไม่ไปเบียดเบียนธรรมชาติมากเกินความจำเป็น แต่ใช้ให้พอดีเเละปลอดภัย
  • จากการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ นำมาสู่การมองเห็นคุณค่าที่ควรค่าเเก่การอนุรักษ์ไว้ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นให้เพิ่มขึ้นหรือคงอยู่

๓) ผลที่เกิดขึ้นต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • ได้แนวทางการบูรณาการหลักสูตรเข้าสู่โรงเรียน โดยการใช้คาบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ซึ่งสามารถทำได้จริง
  • ได้เผยแพร่ ประสาสัมพันธ์หลักสูตร โครงการ เเละมหาวิทยาลัยไปในตัวระหว่างลงพื้นที่
  • การจัดรูปแบบภาระงานด้วยโมเดล "บวร" ทำให้เกิดการกระจายงาน เเละทำให้กิจกรรมมีหลากหลาย พัฒนาได้กว้างมากยิ่งขึ้นในบทบาทวิชา ๑หลักสูตร ๑ชุมชน





ความเห็น (1)

เป็นกิจกรรมเรียนรู้ที่ดีมากค่ะ

มาเรียนรู้วิธีสะท้อนผลการเรียนรู้ด้วยค่ะ

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท