หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๔






หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน .. ๒๕๕๔

---------------

โดย ดร. ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๔

รอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ

หลักเกณฑ์นี้ เป็นหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ ปี ๒๕๕๔ และกำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน

ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดย นายดิเรก พรสีมา ประธานคณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การประกันคุณภาพ คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการ เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน

ให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาในสินค้าและบริการ เช่น นักเรียนที่เรียนจบไปแล้วจากโรงเรียน

สามารถ อ่านออกเขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ตามที่สังคมคาดหวังไว้ เป็นต้น

หน่วยงานต้นสังกัด คือ สพป. และสพม. และสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จะต้องร่วมมือกันในการดำ เนินการให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตาม

หลักการของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยยึดหลักการ ดังต่อไปนี้

หลักการสำคัญ

๑. การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานตามภารกิจที่แต่

ละคนได้รับมอบหมาย

๒. การประกันคุณภาพ มุ่งพัฒนาการดำเนินงานตามความรับผิดชอบของตนให้มี

คุณภาพดียิ่งขึ้น เพราะผลการพัฒนาของแต่ละคนก็คือผลรวมของการพัฒนาทั้งสถานศึกษา

๓. การประกันคุณภาพ เน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของ

กระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำเพื่อเตรียมรับการประเมิน

(ภายในหรือภายนอก) เป็นครั้งคราวเท่านั้น

๔. การประกันคุณภาพ ต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่

สามารถว่าจ้างหรือขอให้บุคคลอื่น ๆ ดำเนินการแทนได้

๕. การประกันคุณภาพ ต้องเกิดจากการยอมรับและนำ ผลการประเมินคุณภาพ

การศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

การดำเนินงานของสถานศึกษา

ให้สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการดังต่อไปนี้

. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ดำเนินการดังนี้

ให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องดำเนินการ และถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้

๑.๑ ศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของ

สถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ คือมาตรฐานปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน

๑.๒ พิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่สะท้อนอัตลักษณ์

และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา อัตลักษณ์คือสิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกถึงจุดเด่นของสถานศึกษา

๑.๓ กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้

๑.๔ ประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพ

ภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ

ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือ

จากที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ได้

. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน

การศึกษาของสถานศึกษา ดำเนินการดังนี้

๒.๑ ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดังนี้

๒.๑.๑ ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา

อย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลตามสภาพจริง เช่น ทำ SWOT

๒.๑.๒ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นที่คุณภาพ

ผู้เรียนที่สะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม หรือ

การทำแผนกลยุทธ์

๒.๑.๓ กำหนดวิธีการดำเนินงานกิจกรรม โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน

การศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลที่อ้างอิงได้
ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้

การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อ

ให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

๒.๑.๔ กำหนดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ

๒.๑.๕ กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนให้บุคลากรของสถานศึกษาและ

ผู้เรียน ร่วมรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๑.๖ กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา

ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชน และท้องถิ่น

๒.๑.๗ กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้

สอดคล้องกับกิจกรรม โครงการ

๒.๑.๘ เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน และหรือคณะกรรมการสถานศึกษา และหรือคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้

ความเห็นชอบ

๒.๒ ให้สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ดังนี้

๒.๒.๑ จัดทำ แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัด

การศึกษาของสถานศึกษา

๒.๒.๒ ให้กำหนดปฏิทินการนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน

๒.๒.๓ เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

และหรือคณะกรรมการสถานศึกษา และหรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ

๓. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ดำเนินการดังนี้

๓.๑ จัดโครงสร้างหรือระบบการบริหารงานของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบ

การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๓.๒ กำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุม
เป็นปัจจุบันสะดวกต่อการเข้าถึงและการให้บริการ หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต้นสังกัด

๓.๓ นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการบริหารและการพัฒนาการเรียนการสอน

๔. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดำเนินการดังนี้

๔.๑ นำแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีสู่การปฏิบัติ ตามกรอบระยะเวลา และกิจกรรมโครงการที่กำหนดไว้

๔.๒ ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้
กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

. การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ดำเนินการดังนี้

๕.๑ กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา

๕.๒ ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษา

อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง

๕.๓ รายงานและนำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ใน

การปรับปรุงพัฒนา

๕.๔ เตรียมการและให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจาก

หน่วยงานต้นสังกัด

. การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ดำเนินการดังนี้

๖.๑ ให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย ๓ คน ที่ประกอบด้วย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย ๑ คน เข้ามามีส่วนร่วมใน
กระบวนการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ ครั้ง

๖.๒ ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม

. การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ดำเนินการ ดังนี้

๗.๑ สรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของ

สถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบที่

หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด

๗.๒ นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และหรือคณะกรรมการสถานศึกษา
และหรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ

๗.๓ เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

. การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการดังนี้

๘.๑ ส่งเสริมแนวความคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาที่มุ่งการพัฒนา

คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และพัฒนา

สถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จนเป็นวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงานปกติของ

สถานศึกษา

๘.๒ นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา จากการประเมินตนเองหรือ

จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปใช้

ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริหารและการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

๘.๓ เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิด

การพัฒนา

การดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัด

ให้หน่วยงานต้นสังกัดที่มีสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในความรับผิดชอบ

ดำเนินการดังนี้

๑. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมที่เกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการ

ประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง

๒. ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เช่น ระบบข้อมูลสารสนเทศ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำรายงาน

ประจำปี เป็นต้น

๓. พัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของ

สถานศึกษาในสังกัดที่รับผิดชอบ จัดทำทะเบียนรายชื่อ และประกาศให้สถานศึกษาทราบ

๔. กำกับและดูแลคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับหรือรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษา

๕. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อปี

และแจ้งผลการติดตามตรวจสอบให้สถานศึกษาทราบ

๖. นำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพไปใช้วางแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

๗. เผยแพร่ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัดระดับเหนือขึ้นไป และสาธารณชน

๘. เชื่อมโยงผลการประเมินคุณภาพภายนอกกับผลการประเมินภายใน เพื่อการพัฒนา

คุณภาพการศึกษา

๙. สร้างเครือข่ายคุณภาพเพื่อร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

๑๐. ประกาศ เผยแพร่ผลการปฏิบัติดีของสถานศึกษาในสังกัดต่อสาธารณชนและหน่วยงานต่าง ๆ

สรุป

การประกันคุณภาพ เป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานตามภารกิจที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย มุ่งพัฒนาการดำเนินงานตามความรับผิดชอบของตนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เพราะผลการพัฒนาของแต่ละคนก็คือผลรวมของการพัฒนาทั้งสถานศึกษา เน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำเพื่อเตรียมรับการประเมิน(ภายในหรือภายนอก) เป็นครั้งคราวเท่านั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถว่าจ้างหรือขอให้บุคคลอื่น ๆ ดำเนินการแทนได้ ต้องเกิดจากการยอมรับและนำ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสถานศึกษาต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดระบบบริหารและสารสนเทศไว้ครบครัน ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดที่มีสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในความรับผิดชอบต้องศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมที่เกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบข้อมูลสารสนเทศ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำรายงานประจำปี เป็นต้น พัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดที่รับผิดชอบ จัดทำทะเบียนรายชื่อ และประกาศให้สถานศึกษาทราบ กำกับและดูแลคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับหรือรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษา จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อปีและแจ้งผลการติดตามตรวจสอบให้สถานศึกษาทราบ นำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพไปใช้ วางแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัดระดับเหนือขึ้นไป และสาธารณชน เชื่อมโยงผลการประเมินคุณภาพภายนอกกับผลการประเมินภายใน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สร้างเครือข่ายคุณภาพเพื่อร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและประกาศ เผยแพร่ผลการปฏิบัติดีของสถานศึกษาในสังกัดต่อสาธารณชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทราบต่อไป

--------------------



หมายเลขบันทึก: 625700เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2017 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2017 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท