บันทึกการเดินทางศึกษาดูงานทางประวัติศาสตร์



บ้านลุงโฮที่จังหวัดนครพนม

บ้านหลังน้อยของลูงโฮในจังหวัดน</wbr></wbr>ครพนม ซุกตัวอยู่เงียบๆท่ามกลางแมกไม้</wbr></wbr>ร่มครึ้ม ดูดดึงให้เราจินตนาการไปต่างๆนาๆเมื่</wbr></wbr>อครั้งที่ลุงโฮเข้ามาเคลื่อนไหว</wbr></wbr>ทำการปฏิวัติสู้กับมหาอำนาจฝรั่</wbr></wbr>งเศษราวปี1928-1929 สิ่งของทุกอย่างแม้ไม่ใช่ของเดิ</wbr></wbr>มที่ลุงโฮเคยใช้(ส่งมอบคืนให้เว</wbr></wbr>ียดนาม) แต่สิ่งของที่จำลองไว้ก็ถูกจัดว</wbr></wbr>างไว้ที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ทุกครั้งที่ผมมาเยี่ยมบ้านลุงโฮ</wbr></wbr> สิ่งหนึ่งที่ผมทำทุกครั้งหากไม่</wbr></wbr>ถูกรบกวนจากนักท่องเที่ยว(ผู้ขา</wbr></wbr>ดจิตสำนึกในการเคารพสถานที่อันเ</wbr></wbr>ป็นประวิติศาสตร์ที่สำคัญ) คือ..ผมจะมายืนสงบนิ่ง สบตากับลุงโฮในภาพถ่ายที่ห้อยไว</wbr></wbr>้ข้างฝา แววตาอันแกร่งกล้ามุ่งมั่นและรอ</wbr></wbr>ยยิ้มน้อยๆหากแต่มองแล้วอบอุ่น เหมือนกับท่านกำลังจะบอกกับผมว่</wbr></wbr>า.."หากเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่</wbr></wbr>กำลังทำอยู่ว่าเป็นความถูกต้อง เราได้ประโยชน์ สังคมได้ประโยชน์ ก็จงลงมือทำอย่าย่อท้อ สักวันหนึ่งเราจะมีชัย"




บ้านพักคนสนิทลุงโฮ ที่เข้ามาเคลื่อนไหวจัดตั้ง ต่อมากลายเป็นที่พักลุงโฮเป็นจุ</wbr></wbr>ดแรกในจังหวัดนครพนม(บ้านนาจอก เขตอำเภอเมือง)




ต่อมาลุงโฮได้สร้างกระท่อมขึ้นมาอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านหลังของบ้านคนสนิทเพื่อต้อนรับสหายปฏิวัติซึ่งเดิน

ทางมาสมทบเป็นระยะๆ เนื้อที่ราวๆ80ตารางวา ถูกแบ่งออกเป็นสามห้อง คือสองห้องนอน หนึ่งห้องโถง

</wbr></wbr>เหตุผลที่สร้างห้องนอนขนาดเล็กส</wbr></wbr>องห้อง เพราะสหายปฏิวัติบางคนมีครอบครั</wbr></wbr>วติดตามมาด้วย การนอนรวมกันในห้องโถงเป็นเรื่อ</wbr></wbr>งไม่สมควร ส่วนตัวลุงโฮนอนรวมในห้องโถงกับ</wbr></wbr>สหายปฏิวัติคนอื่นๆ และห้องโถงนั้นยังใช้เป็นสถานที</wbr></wbr>่ทำงานด้วย



โต๊ะกลางห้องโถง จะมีป้านน้ำชาวางเคียงข้างกล้องสูบฝิ่นเสมอ



วัดโอกาส (วัดโอกาสศรีบัวบาน)



วัดโอกาส-พระพุทธรูปคู่แฝด

ตำนานบอกว่า พระติ้ว องค์พระพุทธรูปปางมารวิชัยสูงประมาณสองไม้บรรทัด เดิมประดิษฐานอยู่วัดธาตุ บ้านสำราญ มีอายุมากกว่า 1,300 ปี สร้างขึ้นในห้วงเวลาอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์จากท่อนไม้ติ้วศักดิ์สิทธิ์ นานมาแล้วเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าองค์พระติ้วถูกเพลิงไหม้จึงมีการสร้างพระติ้วองค์จำลองขึ้นมา ภายหลังกลับพบพระติ้วลอยขึ้นมาจากแม่น้ำโขงอย่างน่าอัศจรรย์จึงกลายเป็นมีพระพุทธรูปคู่แฝดคือ พระติ้ว และพระเทียม ที่ชาวนครพนมให้ความเคารพอย่างยิ่ง พระพุทธรูปสององค์นี้ย้ายจากวัดธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดโอกาส หรือ โอกาสวัดศรีบัวบาน ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก เมื่อกว่า 250 ปีมาแล้ว วัดโอกาสเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครพนม วัดแห่งนี้อยู่ริมแม่น้ำโขงกลางตัวเมือง มาเที่ยวนครพนมยังไงต้องผ่านไปผ่านมาที่นี่ ก็ไม่ควรพลาด ที่จะแวะเข้าไปสักการะ พระติ้วและ พระเทียม พระคู่แฝดทั้งสององค์ ณ วัดโอกาส (วัดโอกาสศรีบัวบาน) ภายในโบสถ์ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม ให้ชมอีกด้วย


การเดินทางไป วัดโอกาส (วัดโอกาสศรีบัวบาน)

วัดโอกาส หรือ วัดโอกาสศรีบัวบาน อยู่บนถนนสุนทรวิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 212) ติดกับตลาดอินโดจีน ตรงข้ามด่านตรวจคนเข้าเมืองนครพนม หากเดินทางมาจากถนนนิตโย (ทางหลวงหมายเลข 22) เมื่อสุดถนนถึงแยกไฟแดงให้เลี้ยวซ้ายไปราว 300 เมตร



องค์พญาศรีสัตตนาคราช


องค์พญานาคขนาดใหญ่ หรือองค์พญาศรีสัตตนาคราช ได้ถูกก่อสร้างขึ้น ด้วยโลหะทองเหลือง เป็นองค์พญานาคขดตัวชูเศียร จำนวน 7 เศียร มีความสูงตั้งแต่ฐานลำตัว ประมาณ 9 เมตร ขดลำตัวกว้าง ประมาณ 6 เมตร และตั้งบนแท่นประดิษฐานสูง ประมาณ 5 เมตร มีน้ำหนักรวมประมาณ 9 ตัน โดยจะประดิษฐานหันหน้าพ่นน้ำลงสู่แม่น้ำโขง ใช้งบประมาณก่อสร้างเฉพาะองค์พญานาค ประมาณ 9 ล้านบาท และมีการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ริมแม่น้ำโขงประมาณ 40 ล้านบาท มีการวางแผนก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2554 โดยมี นายอนุกูล ตังคณานุกูลชัย อดีต ผวจ.นครพนม ปัจจุบันเป็น ผวจ.ฉะเชิงเทรา จนกระทั่งมาสำเร็จในปี 2559 ถือเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ของ จ.นครพนม ที่มีความสวยงาม โดดเด่น เชื่อมกับเส้นทางแลนด์มาร์ค 3 ที่สุด ของ จ.นครพนม ประกอบด้วย จุดที่ 1 คือ สวยที่สุด สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 3 นครพนม – คำม่วน จุดที่ 2 คือ งามที่สุด จะเป็นตัวเมืองที่มีความสวยงามเรื่องวิวทิวทัศน์ 2 ฝั่งโขง รวมถึงองค์พญานาคแลนด์มาร์ค และ จุดที่ 3 คือ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด องค์พระธาตุพนม ถือเป็นการพัฒนายกระดับจังหวัดนครพนม ที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าการท่องเที่ยว ดึงดูดประชาชน นักท่องเที่ยว สนใจมาเที่ยวชม แสดงออกถึงความพร้อมสู่การเป็นเมืองการค้าชายแดน ดินแดนแห่งวามศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเมืองเศรษฐกิจการค้า ชายแดนที่สำคัญของอีสาน





ประวัติ

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ

พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว

เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ

ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา

จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน


คำสำคัญ (Tags): #ประวัติศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 625698เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2017 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2017 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท