​โรคย้ำคิด ย้ำทำ (obsessive compulsive disorder)


คิดซ้ำ ทำซ้ำ ไม่ได้ตั้งใจ


ต้องล้างมือซ้ำๆ ตรวจสอบลูกบิดประตูหรือหัวแก๊สซ้ำๆ ลักษณะอาการเช่นนี้หลายคนอาจคิดว่าเป็นการระมัดระวัง หรือมีความคิดที่รอบคอบในการทำกิจวัตรประจำวัน แต่ในทางกลับกัน อาจเป็นสัญญาณว่า บุคคลเหล่านี้เป็นโรคโรคย้ำคิด ย้ำทำ ซึ่งมีลักษณะอาการคือ จะมีความคิดในเรื่องเดิม ๆ เกิดขึ้นในจิตใจ แบบซ้ำไป ซ้ำมา โดยไม่ทราบสาเหตุ เรียกว่า การย้ำคิด ส่วนพฤติกรรมที่แสดงออกมาเนื่องจากการย้ำคิดนี้เอง จะเกิดการกระทำ ซ้ำ ๆ เรียกว่า การย้ำทำ ซึ่งอาจมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หวาดกลัว และเหนื่อยล้าจากการกระทำซ้ำๆ ทำให้ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจ คุณภาพชีวิตลดลง เสียเวลาไปทั้งวันกับการย้ำคิด ย้ำทำที่เกิดขึ้น กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

โปรแกรมการรักษา

ดิฉันได้มีโอกาสศึกษางานวิจัยหนึ่ง เกี่ยวกับโปรแกรมการรักษา Internet-based cognitive behaviour therapy (ICBT) ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคย้ำคิด ย้ำทำ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมทางเลือกใหม่และน่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบัน อาจมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและจำนวนนักบำบัดที่ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลเหล่านี้ได้ทั่วถึง ซึ่งโปรแกรมการรักษานี้ ได้ทดลองกับผู้ที่มีอายุช่วงตั้งแต่ 18-67 ปี โดยมีรายละเอียดในโปรแกรมการรักษา ดังนี้

- เป็นการบำบัดด้วยหลักCBT เช่น การให้ความรู้ทางด้านจิต วิธีการปรับเปลี่ยนความคิด โปรแกรมป้องกันกลับมาเกิดอาการซ้ำ และการให้เผชิญกับภาวะที่กลัว ซึ่งในICBT ประกอบไปด้วยคู่มือศึกษาจำนวน100หน้า worksheets จะมีไฟล์เสียงประกอบ(mp3) ที่สามารถดาวน์โหลดได้ โดยแบ่งการฝึกออกเป็น 10 บท สรุปเนื้อหาในแต่ละบทได้ดังนี้

- บทที่1-4 : จะเกี่ยวกับการให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาการทางจิต วิธีการปรับเปลี่ยนความคิดที่ไม่ถูกต้อง และให้สำรวจตัวเองเกี่ยวกับความคิด สิ่งของ รูปภาพหรือเหตุการณ์ ที่ส่งผลให้รู้สึกกลัว กังวล เพื่อให้ทราบถึงเหตุและผลของความกังวลนั้นของตนเอง โดยใช้เวลาทำบทที่1-4 ไม่เกิน 1สัปดาห์

- บทที่ 5-10 : จะเน้นในการทำกิจวัตรประจำวันจริง การไปเจอสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาอาการในแต่ละบุคคลของนักบำบัด เช่นการให้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กังวลหรือกลัวโดยตรง จนอยู่กับสถานการณ์นั้นได้ มีอารมณ์กังวลที่ลดลง รับมือกับความรู้สึกนั้นได้

- โปรแกรมการรักษาICBT นี้จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 10 สัปดาห์ ซึ่งจะไม่มีการพบเจอกับนักบำบัดโดยตรงทั้งโปรแกรมการรักษา แต่นักบำบัด จะคอยให้ feedback on homework assignment การช่วยการฝึกเกี่ยวกับการเผชิญสิ่งที่ทำให้กล้ว กังวลในสถานการณ์นั้นๆ ผ่านทางe-mail และนักบำบัดยังต้องช่วยเป็นแรงเสริม จูงใจในระหว่างโปรแกรมการรักษาอีกด้วย อีกทั้งยังมีการแจ้งข้อความเตือน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรม ฝึกอย่างสม่ำเสมอ

ผลการรักษา

จากการศึกษา พบว่าผู้เข้าร่วมโปรแกรมการรักษามีอาการที่ดีขึ้น ระดับของการเกิดอาการวิตกกังวลลดลง หลังให้โปรแกรมการรักษา โดยจะดูเกี่ยวกับลักษณะอาการ ความรุนแรงและความถี่ในการย้ำคิดย้ำทำที่เกิดขึ้น

หลังจากที่ดิฉันได้ลองศึกษางานวิจัยนี้ทั้งหมดแล้วนั้น มีความคิดเห็นว่า เป็นโปรแกรมการรักษาที่น่าสนใจ เพราะสามารถทำเองที่บ้าน เวลาที่สะดวก ซึ่งเป็นผลดีสำหรับผู้รับบริการที่อาจจะไม่กล้าออกมาพบผู้บำบัดข้างนอก หรือขาดความมั่นใจในการออกสู่สังคมภายนอก หรืออาจให้นักบำบัด มาพูดคุยกับผู้ใช้โปรแกรมแบบ face to face ในบางส่วนของโปรแกรมการรักษา เพื่อได้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้คำแนะนำ หรือวิธีการฝึกที่ถูกต้อง เหมาะสม ตามสถานการณ์ขณะนั้นได้

แต่สิ่งสำคัญอื่นใด คือ การให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจถึงอาการของโรค แนวทางการรักษาและการดูแลผู้รับบริการอย่างเข้าใจ รวมทั้งแนะนำในการพูดคุย ช่วยเหลือผู้รับบริการ สร้างแรงจูงใจ และเสริมทักษะความสามารถ พร้อมกลับสู่บทบาทการทำหน้าที่ ตามบริบทของผู้รับบริการ อย่างมีสุขภาวะที่ดี


แหล่งอ้างอิง

Internet-based cognitive behaviour therapy for obsessive–compulsive disorder: a randomized controlled trial.psychological Medicine (2012)

หมายเลขบันทึก: 624813เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท