โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)


ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบมากคือ โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองหลายๆ ด้านพร้อมกันแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบ ความจำ, เข้าใจ, พิจารณา, วิเคราะห์, การควบคุมตนเองเสื่อมถอยลง อันเนื่องมาจากสมองถูกทำลาย จนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันและความสามารถอยู่ร่วมในสังคม

ในประเทศไทย พบความชุกของโรคอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 3 - 5 โดยความชุกจะพบมากขึ้นตามอายุซึ่งอาจพบสูงถึงร้อยละ 30 ในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 85 ปี ในปี 2558 มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 600,000 คน และคาดว่า ในปี 2573 จำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,117,000 คน (สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย, 2558)

โปรแกรมการรักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)

โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงใน Geriatrics & Gerontology International, Vol.16, Issue.2, February 2016, Pages 191–199 ซึ่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการให้การรักษาแบบ multidomain cognitive program เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาเพียงอย่างเดียว ในป่วยที่เป็นโรค Alzheimer 53 คน

Multidomain cognitive program

ใช้เวลา 1 ชั่งโมงต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน

Exercise therapy เป็นการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เป็นเวลา 10 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน หลังจากการยืดกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายแบบใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน

Cognitive occupational therapy เป็นการจำชื่อของสิ่งของที่หลากหลายและฝึกการใช้สิ่งของเหล่านั้น เช่น เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์เย็บปักถักร้อย


Recollection therapy เป็นการใช้ภาพธรรมชาติ ภาพวัฒนธรรมที่คุ้นเคย ภาพสภาพแวดล้อมที่ผู้รับบริการอาศัยอยู่ และรวมถึงสิ่งของที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน

Art therapy เป็นการส่งเสริมการใช้ fine motor โดยการวาดภาพธรรมชาติ เช่น สัตว์ แมลง หรือทิวทัศน์

Horticultural therapy เป็นการพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายและสังคม โดยการปลูกต้นไม้และดอกไม้ประดับ


Music therapy เป็นการส่งเสริม Musical expression โดยการเล่นเพลงที่ได้รับความนิยม

ตารางเวลาการให้การรักษาแบบ multidomain cognitive program


ทำการวัดผลก่อนการให้โปรแกรมการรักษา และหลังให้โปรแกรมการรักษาทั้งในกลุ่มที่ให้ multidomain cognitive program และกลุ่มที่ใช้ยาเพียงอย่างเดียว ด้วยแบบประเมินดังนี้

  • The Consortium to Establish a Registry for Alzheimer's Disease (CERAD)
  • Clinical Dementia Rating (CDR)
  • Geriatric Depression Scale (GDS)
  • Quality of Life in Alzheimer's Disease (QoL-AD)

พบว่า การรักษาโดยการให้ multidomain cognitive program ช่วยให้

  • มี cognitive ดีขึ้น ในด้านของ word-list recognition และ word-list recall
  • มีทักษะในการเข้าสังคมเพิ่มมากขึ้น
  • มีภาวะซึมเศร้าลดลง

แหล่งอ้างอิง :

Hee-Jin Kim, YoungSoon Yang, Jeong-Gun Oh, Seongil Oh, Hojin Choi, Kyoung Hee Kim and Seung Hyun Kim. (2016). Effectiveness of a community-based multidomain cognitive intervention program in patients with Alzheimer’s disease. Geriatrics & Gerontology International, 16 (2), 191-199.

หมายเลขบันทึก: 624805เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท