การเรียนรู้เรื่องคำยืมจากต่างประเทศโดยใช้ปริศนาสักวาค้นหาคำ


แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

 

                การเรียนรู้เรื่องหลักภาษาไทยนั้น  เป็นสิ่งที่ยากทั้งของครูและนักเรียน  เพียงแค่เอ่ยชื่อนักเรียนก็จะส่ายหน้า   ยิ่งเป็นเรื่องไกลตัวด้วยแล้วการเชื่อมโยงความรู้ยิ่งยากยิ่ง   บทบาทเบื้องต้นของครูคือการสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ก่อน      ในการเรียนรู้เรื่องคำยืมก็เช่นกัน    ครูต้องวางแผนล่อให้เด็กเรียนรู้เหมือนที่ ท่านกวีเอกสุนทรภู่เคยล่อใจเด็ก ๆ ในการสอนอ่าน ก ข  การประสมคำด้วยมาตราสะกด  โดยการใช้นิทานล่อใจเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา ดังความว่า                  

                                               ข้าเจ้าเอา ก ข                 เข้ามาต่อ ก  กา มี

                                 แก้ไขในเท่านี้                                ดีมิดีอย่าตรีชา

                                                จะร่ำคำต่อไป                       พอฬ่อใจกุมารา

                                ธรณีมีราชา                                           เจ้าพาราสาวะถี

 

                หลังจากที่ผู้สอนได้มีข้อมูลมาก่อนแล้วว่านักเรียนห้อง ม.๒/๒ ชอบเล่นเกมปริศนา  ชอบในการขบคิด วิเคราะห์ตีความ   ผู้สอนจึงออกแบบปริศนาสักวาโดยแบ่งคำยืมที่มาจากภาษาจีน  ญี่ปุ่น   และบาลีสันสกฤต  ออกเป็นหมวดหมู่   แล้วแต่งกลอนทายปริศนา   จำนวน ๘ สำนวน  รวมเป็นปริศนา ๖๓  ข้อ   ดังตัวอย่าง

   สำนวนที่ ๑  คำยืมจากภาษาจีน 

                    สักวาของทับหลีนั้นมีชื่อ       __  __  __  __    __  __

          เหยาะไข่ดาวอื้อฮืออร่อยหลาย           __  __  __                  
เครื่องในหมูใช้ต้มอิ่มสบาย                   
  __  __  __  __             
เมื่อร้อนกายน้ำสีดำเย็นฉ่ำทรวง            __  __  __  __  __                
อาหารเจนิยมใช้หลากหลายรส             
__  __  __              
กับข้าวต้มยกซดไม่ห้ามหวง                    __  __  __  __  __  __                
คราตรุษจีนผัดเส้นให้ตักตวง               
__  __                    
ขนมผักผลพวงจากจีนเอย                     
__  __  __  __      

วิธีเล่น ๑ แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔ -๕ คน  นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านทบทวนเรื่องปาร์ตี้บาร์บีคิว และ เย็นศิระเพราะพระบริบาล  จากหนังสือเรียนวิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒  ภายในเวลา  ๓๐  นาที  แล้วปิดหนังสือ

 

            ๒. อ่านคำปริศนาจากบทสักวา  แล้วเขียนคำยืมที่เป็นปริศนาด้านหลังของวรรคนั้น ๆ  ซึ่งในวรรคสุดท้ายได้บอกใบ้ที่มาของคำไว้ให้แล้ว    สระบนและล่างวางที่เดียวกับตัวอักษร   สระหน้าและหลังแยกช่อง

   

             ๓. ส่งเมื่อหมดคาบ  กรณีที่คะแนนสูงสุดเท่ากัน  ผู้ที่ส่งก่อนจะได้คะแนนเต็ม

 

เกณฑ์ประเมิน

 

รายการประเมิน คะแนนเต็ม ได้จริง หมายเหตุ สมาชิก ชื่อ - เลขที่
ความถูกต้อง ๖๓      
ความสามัคคี การทำงานร่วมกัน ๑๐    
มารยาทในการเล่น    
รวม  ๘๐    

 

แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมนี้

 

รายการ มากที่สุด มาก พอใช้ น้อย น้อยสุด
๑. กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนอ่านศึกษาค้นคว้า          
๒ กิจกรรมท้าทายให้นักเรียนค้นหาคำตอบ          
๓. กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง          
๔.กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกัน          
๕. นักเรียนมีความสุขในการทำกิจกรรมนี้          
๖.เวลามีความเหมาะสม          
๗. อยากให้มีกิจกรรมลักษณะนี้ในการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ อีก          

 

ผลของการนำไปใช้กับห้องเก่ง (ม.๒/๒)

๑.       เวลาไม่พอ  ควรให้เวลามากกว่านี้

๒.     ในเบื้องต้นปริศนาที่ใช้กับห้องนี้ไม่มีอักษรใบ้ให้เลย  นักเรียนจำคำไม่ได้  เมื่อเวลาผ่านไป ๑๕ นาที  นักเรียนทำได้เพียง ครึ่งหนึ่ง    อีกหลาย ๆ คำ ที่นักเรียนไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนนึกไม่ออก   สำหรับคำยืมในภาษาญี่ปุ่นนักเรียนทุกกลุ่มตอบถูกหมด   เมื่อเหลือเวลาอีก ๕ นาที  ครูจึงอนุญาตให้เปิดหนังสือได้    แต่บางกลุ่มก็เปิดหาไม่ทัน   หรือเปิดพบแล้วแต่ไม่ทราบความหมาย

๓.     นักเรียนทุกกลุ่มตั้งใจทำ มีเพียง ๑ คน ซึ่งเป็นคนเดิมที่แกล้งเดินทำประหนึ่งว่าไปแอบดูของกลุ่มอื่น   

๔.     นักเรียนบางคนมีอาการสั่นรัว   มีความมุ่งมั่นตั้งใจมากจนทำให้เกิดอาการหวั่นวิตก

 

การนำไปปรับใช้กับห้อง ม.๒/๘

 

๑. ผู้สอนได้แก้จุดบอดหลังจากเห็นปัญหาของห้อง ม.๒/๒ โดยการใบ้อักษรคำตอบในแต่ละข้อให้ข้อละ ๑ ตัว  เป็นตัวหน้าบ้าง  ตัวกลางบ้างและตัวหลังบ้าง   แต่นักเรียนยังทำไม่ทัน 

 

๒. นักเรียนทุกกลุ่มมีความมุ่งมั่นให้ความร่วมมือกันคิด หาคำตอบ    มีนักเรียน ๒ คน พยายามหันไปดูคำตอบของกลุ่มอื่น

 

๓. นักเรียนทุกกลุ่มไม่สามารถทำได้ตามเวลาที่กำหนดไว้

  

ข้อเสนอแนะในการนำไปปรับใช้

 

๑.       ครูต้องใช้เวลาในการอธิบายเรื่องคำยืมแก่นักเรียนอย่างน้อย ๓๐ นาที  และให้นักเรียนอ่านเองอีก ๒๐ นาที

 ๒.     ในคาบถัดมา ก่อนที่นักเรียนจะเล่น  ครูอธิบายทบทวนความรู้และให้นักเรียนอ่านทบทวนเองอีก ๑๕  นาที   ใช้เวลาในการเล่น ๓๕-๔๐ นาที

๓.     คาบที่ ๓  ครูแจ้งผลให้นักเรียนทราบ คืนผลงานกลับไปให้ตรวจสอบ  และครูอธิบายสรุปความรู้อีกครั้ง   และอาจจะให้นักเรียนทำปริศนาอีกครั้งในเวลาที่น้อยกว่าเดิม

 หมายเหตุ  ในวันนี้นักเรียนยังไม่ได้ทำแบบประเมิน   ซึ่งผู้สอนจะเก็บและสรุปผลในคาบต่อไป

แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

หมายเลขบันทึก: 62447เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • เยี่ยมมากครับ
  • ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ที่โรงเรียนด้วยนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

 

ขอบคุณค่ะ  เป็นเกียรติอย่างยิ่งค่ะ
ขออนุญาตนำไปใช้บ้างนะคะ ^^

ด้วยความยินดียิ่งค่ะ  ได้ผลอย่างไรบอกต่อบ้างนะคะ

ขออนุญาตนำไปปรับใช้กับนักเรียนที่โรงเรียนบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะ
ชอบมากเลยค่ะ ยังงี้เด็ก ๆ ก็สนุกกับการเรียนภาษาไทยกันน่าดูละนะคะ เพราะอาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีมาก ๆ ขอชมเชยค่ะ และจะขอนำไปใช้สอนบ้างได้ไหมคะ
สวัสดีค่ะ  ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น  ผลงาน ข้อค้นพบที่นำเสนอทั้งในblog และที่โฮมเพจ ห้องเรียนสีชมพู  http://www.st.ac.th/bhatips/  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และเผยแพร่ขยายผลสู่ผู้สนใจ  ไม่หวงความรู้ใด ๆ เลย
ดีมากๆเลยค่ะ ขออนุญาตนำไปใช้ที่โรงเรียนด้วยนะค่ะ
น่าสนใจมาก ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ
กกกกกกกกกกกกกกกกกกบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

ทำไมภาษาญี่ปุ่นน้อยจังเลยยยยยยยยยยยยย

ทำไมญี่ปุ่นน้อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆจ้งเลยอ่ะ

เพราะครูภาทิพเป็นคนรุ่นก่อน  เป็นคนบ้านนอก

ไม่เคยกินอาหารญี่ปุ่น  ก็เลยไม่มีความรู้เรื่องภาษาญี่ปุ่นเลย

 

กิจกรรมน่าสนใจมากค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ

ให้คำเฉลยในนี้ไม่ได้ค่ะเพราะมีคุณครูหลายท่านนำไปใช้ 

แต่สามารถหาคำตอบได้จากหนังสือแบบเรียนวิวิธภาษา ม.๒ ค่ะ

อาจารย์ให้คำเเนะนำดีมากเลยค่ะ อาจารย์สอนนักเรียนชั้นไหนค่ะ

ความคิดดีจัง  ขอเฉลยด้วยนะ

 สวัสดีค่ะคอง [IP: 118.173.191.9]

 ไม่ได้ ๆ  คิดเองดิ  ก็บอกแล้วว่าปริศนา?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท