โรงเรียนยากจนคือหัวใจโรคร้ายทางการเมืองในประเทศไทย


สงครามทางชนชั้นมีรากเหง้ามาจากห้องเรียน

ทุกๆคนรู้แล้วเป็นอย่างดีว่าการบำรุงสมองมีผลดีต่อเศรษฐกิจ ในประเทศไทย นักปฏิรูปการศึกษาจะมีแรงจูงใจที่เย้ายวนใจ ซึ่งก็คือการทำให้คนรวยในเมือง กับคนยากจนในชนบทมีความแคบลง ซึ่งความถ่างหากจะมีส่งผลต่อความคิดทางการเมือง และก่อให้เกิดความรุนแรงเป็นช่วงๆตลอดทศวรรษ หลายๆปีที่ผ่านมา การสอนที่สุดแสนจะเลวร้าย กระตุ้นให้เด็กๆในเมือง ที่พ่อแม่สามารถจ่ายเงินไปเรียนโรงเรียนกวดวิชา (cramming school) หรือไม่ก็ไปเรียนต่างประเทศไปเลย การสอนที่น่าเศร้านอกเมือง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้นักต้มตุ๋นในเมือง จากวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงจะวาดภาพคู่ตรงกันข้ามทางการเมือง เหมือนชาวบ้านเป็นพวกหัวอ่อน

การแบ่งแยกทางสังคมที่สุดแสนจะอันตราย คือเหตุผลที่จะต้องกังวลเกี่ยวกับดัชนีความยากจนในประเทศไทย ดูได้จากตารางระดับการศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม ประเทศไทยตกลงไปอยู่ในกลุ่มสุดท้ายจากผู้เข้าสอบ 70 ประเทศ ในการทดสอบ PISA คะแนน PISA เริ่มตกลงจากการทดสอบก่อนหน้านั้นในปี 2012 ซึ่งนักวิจัยค้นพบว่าครึ่งหนึ่งของ 1 ใน 3 ของเด็กอายุ 15 ปี ยังไม่รู้หนังสือ และครึ่งหนึ่งเด็กๆพวกนั้นยังเรียนอยู่ในชนบท การปฏิบัติที่ย่ำแย่ของไทยยังแย่กว่าประเทศที่ไม่รายได้เดียวกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คืองบประมาณที่ลงไปในการศึกษามากกว่า 1 ใน 4 ของงบประมาณทั้งหมด การเรียนรู้แบบท่องจำยังคงเป็นสิ่งปกติในไทย ยังคงขาดครูสอนวิชาเลข และวิทยาศาสตร์ แต่ครูสอนวิชาพละศึกษากลับล้นเกิน หัวหน้าหมวดไม่มีสิทธิ์ในการจ้างหรือไล่ออกครูของตน ห้องเรียนที่มีแด็กที่ดูดุดัน และครูก็เป็นอันธพาล ยกตัวอย่างในหนึ่งกรณี ที่เป็นที่อึกทึกครึกโครมในสื่อเมื่อปีที่ผ่านมา นั่นก็คือครูพละถูกกล่าวว่าตีนักเรียนหญิงที่หน้าด้วยเหยือก

Dilaka Lathapipat ที่อยู่ในธนาคารโลก พูดทำนองว่าปัญหาที่ใหญ่ก็คือประเทศไทยบำรุงรักษาโรงเรียนขนาดเล็กมากเกินไป แต่การสอนที่นั่นยังแสนอ่อนด้อยที่สุด เกือบครึ่งหนึ่งของโรงเรียนในไทยมีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน และโรงเรียนเหล่านั้นมีครูน้อยกว่า 1 คนในชั้น ครั้งหนึ่งการเปิดโรงเรียนในหมู่บ้านทำให้เกิดการเข้าถึงที่น่าประทับใจ แต่การสร้างถนน และพัฒนาการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทำให้โรงเรียนอยู่ไกลแค่ 20 นาที ในอีก 10 ปีข้างหน้า อัตราการเกิดจะลดลง ทำให้นักเรียนในหมู่บ้านลดน้อยถอยลง และการให้โรงเรียนยังคงอยู่อาจเป็นการลงทุนที่ไม่สมควรนัก

ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯของไทยกล่าวว่าการปฏิรูปโรงเรียนต้องมีอย่างเร่งด่วน แต่บางจุดหมายของเขาก็เพียงแต่โฆษณาตนเอง และเฉลิมพระเกียรติมากกว่าจะทำให้เด็กๆฉลาดขึ้น หลังจากที่ยึดอำนาจในปี 2014 ประยุทธ์บ่นว่าเด็กไทยจำนวนน้อยที่พูดถึงความสำเร็จของรัชกาลที่ 9 เขายังสั่งให้แต่ละโรงเรียนท่องค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ เช่น ต้องเคารพต่อผู้ใหญ่อย่างถูกต้องด้วย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเจ้าหน้าที่บางคนกำลังดำเนินการด้วยวิธีการที่ดีขึ้น ในเดือนมิถุนายน รัฐบาลได้เริ่มต้นนำแผนระยะยาว ในการยุบโรงเรียนเล็กๆขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ นักวิเคราะห์กล่าวว่าพวกเขามุ่งหวังให้โรงเรียนเล็กๆประมาณ 10,000 โรงยุบรวมกันภายใน 4 ปี แต่นักวิเคราะห์ยังกังวลว่าการที่คณะทหารต้องการที่ยึดอำนาจการบริหารอาจทำให้โรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดูแลตนเองได้ถูกยุบรวมไปด้วย อย่างไรก็ตามพวกเขายังคงหวังว่าการยุบรวมโรงเรียนในที่สุดคือการเปิดโอกาสให้นักปฏิรูปเข้าไปทำลายระบบการศึกษาที่ถูกแช่แข็งอยู่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นนาๆชาติอยู่ก็ได้ มีการพูดกันในหมู่นักปฏิรูปการศึกษาถึงแผนที่ดูคลุมเครือเป็นเวลา 20 ปี ที่รัฐบาลนี้ต้องการจะส่งต่อไปให้รัฐบาลหน้า

แปลและเรียบเรียงจาก

Poor schools are at the heart of Thailand’s political malaise

http://www.economist.com/news/asia/21715011-countrys-class-war-has-its-roots-classroom-poor-schools-are-heart-thailands

หมายเลขบันทึก: 624241เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท