กลไกการกำกับดูแลสนามบินด้าน SMS ต้องจัดให้มีเมื่อผู้ประกอบการสนามบิน ยื่นขออนุญาตจัดตั้งสนามบิน(ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ)


กลไกการกำกับดูแล สนามบิน ด้าน SMS ผ่าน AD Manual

ต้องจัดให้มีเมื่อผู้ประกอบการสนามบิน ยื่นขออนุญาตจัดตั้งสนามบิน(ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ)

(๕) ส่วนที่ห้า การบริหารสนามบินและระบบการจัดการความปลอดภัย ประกอบด้วย

(ก) การบริหารสนามบิน (aerodrome administration) ได้แก่ รายละเอียดของ การบริหารสนามบิน ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้

๑) แผนผังการจัดองค์กรของสนามบินที่แสดงให้เห็นถึงชื่อ และตำแหน่งของบุคลากรสำคัญ รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรดังกล่าว

๒) ชื่อ ตำแหน่ง และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยรวมเกี่ยวกับความปลอดภัยของสนามบิน

๓) คณะกรรมการต่าง ๆ ของสนามบิน

(ข) ระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน (Safety Management System: SMS) ซึ่งกำหนดรายละเอียดของระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบินที่กำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทั้งปวงและเพื่อให้สามารถพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยต้องมีรายละเอียดของข้อมูลอย่างครบถ้วน ดังต่อไปนี้

๑) นโยบายนิรภัยและวัตถุประสงค์ในการจัดการด้านนิรภัย (safety policy and objectives) ได้แก่

ก) นโยบายนิรภัยซึ่งต้องได้รับการรับรองโดยผู้บริหารสูงสุดหรือ

เทียบเท่าขององค์กร สอดคล้องกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของสนามบิน ทั้งในระดับประเทศและระดับสนามบินเอง รวมทั้งแสดงความสำคัญของความปลอดภัยในการดำเนินงานสนามบิน โดยนโยบายนิรภัยต้องเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไป และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสนามบินให้การสนับสนุนทางด้านบุคลากรและเงินทุนในการดำเนินการเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบินให้มีความเหมาะสมกับองค์กรของสนามบินอยู่เสมอ

ข) วัตถุประสงค์ในการจัดการด้านนิรภัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

สนามบินได้จัดให้มีการปรับปรุงระดับความปลอดภัยให้ดีขึ้นอยู่เสมอ มีการประเมินและลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และส่งเสริมให้บุคลากรรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยอย่างอิสระและปราศจากการลงโทษรวมทั้งระบุหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับบริหารจัดการและปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการด้านนิรภัย

ค) โครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบ (organizational structure and responsibilities) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

๑. สนามบิน ต้อ งจัด ใ ห้มีผู้บริหารที่รับผิดชอบ (Accountable Executive) ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูงสุดต่อการปฏิบัติตามและการคงความต่อเนื่องของระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน ซึ่งรวมถึงการจัดสรรบุคลากร ตลอดจนทรัพยากรด้านเทคนิคและเงินทุนที่จำเป็นสำหรับการ

ปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านนิรภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒. นอกจากผู้บริหารที่รับผิดชอบตาม ๑. แล้ว สนามบินต้องแต่งตั้งผู้จัดการด้านนิรภัย (safety manager) เพื่อรับผิดชอบในการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบการจัดการด้านนิรภัยและมีหน้าที่ในการประสานงานและสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ง) การประสานงานในการวางแผนเพื่อตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน (coordination of emergency response planning) ซึ่งประกอบด้วยแผนตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน (emergency response plan- ERP) ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการบินพลเรือน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบขณะเกิดเหตุฉุกเฉินและการมอบอำนาจในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

จ) ระบบการจัดทำเอกสาร (SMS documentation) เพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน อันรวมถึงเรื่องนโยบายนิรภัยและวัตถุประสงค์ในการจัดการด้านนิรภัย ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านนิรภัย ขั้นตอนและกระบวนการของระบบ ตลอดจนอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละกระบวนการ โดยต้องมีการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันเสมอ

๒) การระบุภาวะอันตรายและการจัดการความเสี่ยงจากภาวะอันตราย

(safety hazard identification and risk management) อันประกอบด้วย

ก) การระบุภาวะอันตรายที่แสดงให้เห็นว่าสนามบินจัดให้มี

กระบวนการในการระบุภาวะอันตรายทั้งในเชิงติดตาม (reactive) เชิงป้องกัน (proactive) และเชิงคาดการณ์

(predictive) สำหรับการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ภาวะอันตราย

ข) การจัดการความเสี่ยงจากภาวะอันตรายที่แสดงให้เห็นว่าสนามบิน

จัดให้มีกระบวนการในการประเมิน (assessment) และลดความเสี่ยง (mitigation) โดยการประเมินความเสี่ยง

ด้านความปลอดภัยทั้งในแง่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นและความร้ายแรงของภาวะอันตราย เพื่อนำมาใช้

กำหนดระดับดัชนีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk Index) และแสวงหามาตรการที่จะลดความเสี่ยง

ให้เป็นไปตามระดับความปลอดภัยขององค์กร โดยต้องมีการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการระบุภาวะอันตราย

การประเมินและการลดความเสี่ยงไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย

(safety information management system) ไว้ด้วย

ค) การสอบสวนเกี่ยวกับความปลอดภัยภายในสนามบิน

(internal safety investigations) ที่แสดงให้เห็นว่าสนามบินจัดให้มีกระบวนการในการสอบสวนเกี่ยวกับ

ความปลอดภัยภายในสนามบิน

๓) การประกันความปลอดภัย (safety assurance) ที่แสดงให้เห็นว่า

สนามบินจัดให้มีกระบวนการในการพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามระบบการจัดการด้านนิรภัยโดยสอดคล้องกับ

มาตรฐานที่กำหนดไว้ อันประกอบด้วย

ก) การตรวจติดตามและประเมินความปลอดภัย (safety

performance monitoring and measurement) ที่แสดงให้เห็นว่าสนามบินจัดให้มีการตรวจติดตามการดำเนินการ

ด้านความปลอดภัยภายในสนามบินและประเมินประสิทธิภาพของมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ

อันประกอบด้วยระบบการรายงาน (reporting system) การศึกษาด้านความปลอดภัย (safety studies)

การทบทวนความปลอดภัย (safety reviews) การสำรวจด้านความปลอดภัย (safety surveys) การตรวจสอบ

การควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัย(audits) และการสอบสวนภายใน (internal investigations) โดย

จะใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดสมรรถนะความปลอดภัย (safety performance indicators) และเป้าหมายสมรรถนะ

ความปลอดภัย

ข) การจัดการความเปลี่ยนแปลง (management of change) ที่

แสดงให้เห็นว่าสนามบินจัดให้มีกระบวนการในการระบุการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์กรที่อาจมีผลกระทบต่อการให้บริการและการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมทั้งการกำหนดมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงนั้น

ค) การปรับปรุงพัฒนาระบบการจัดการด้านนิรภัยอย่างต่อเนื่อง

ผ่านการตรวจติดตามตัวชี้วัดสมรรถนะความปลอดภัย (safety performance indicators) และกระบวนการประกันความปลอดภัยด้วยการประเมินผลภายใน (internal evaluations) และการตรวจสอบอย่างอิสระ (independent audits) ในระบบการจัดการด้านนิรภัย

๔) การส่งเสริมความปลอดภัย (safety promotion) อันประกอบด้วย

ก) การฝึกอบรมและให้ความรู้ (training and education) ที่แสดงให้เห็นว่า สนามบินจัดให้มีแผนการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยเพื่อให้แน่ใจว่า บุคลากรทุกคนภายในองค์กรได้รับการฝึกอบรมและมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระบบการจัดการด้านนิรภัยซึ่งควรประกอบด้วยหลักสูตรที่มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

๑. นโยบาย เป้าหมายและวัตถุประสงค์เกี่ยวกับความปลอดภัยขององค์กร

๒. บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยในองค์กร

๓. หลักการพื้นฐานในการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

๔. ระบบการรายงานด้านความปลอดภัย

๕. การสนับสนุนการจัดการด้านความปลอดภัย ซึ่งรวมถึงแผนการประเมินและตรวจสอบ

๖. การสื่อสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัย

๗. กระบวนการตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม

๘. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อทบทวน

ข) การสื่อสารด้านความปลอดภัย (safety communication)

ในองค์กรที่แสดงให้เห็นว่า สนามบินจัดให้มีการสื่อสารเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนของระบบการจัดการด้านนิรภัยให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานทุกคนได้รับทราบ ตลอดจนสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยโดยมีเป้าหมายเพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงระบบการจัดการด้านนิรภัย สื่อสารข้อมูลข่าวสารสำคัญด้านความปลอดภัย ส่งเสริมสำนึกรู้ในมาตรการแก้ไขปัญหา และให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนด้านความปลอดภัยที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง

ข้อ ๘ ในการระบุวิธีดำเนินการในแต่ละเรื่องตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๗ ต้องมีรายละเอียด

ของข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

(๑) เมื่อไรหรือสถานการณ์ใดที่ต้องปฏิบัติตามวิธีดำเนินการดังกล่าว

(๒) วิธีดำเนินการมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร

(๓) มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ต้องปฏิบัติตาม

(๔) บุคคลที่ต้องปฏิบัติและรับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน

(๕) อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินการ และการเข้าถึงอุปกรณ์นั้น

ถ้าวิธีดำเนินการใดที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่อาจระบุตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ ต้องแสดงเหตุผลที่ไม่อาจระบุวิธีดำเนินการดังกล่าวไว้ด้วย

ข้อ ๙ ให้เจ้าของหรือผู้ดำเนินงานสนามบินและผู้จัดการสนามบินสาธารณะลงนามรับรอง

คู่มือการดำเนินงานสนามบินว่ามีความถูกต้องครบถ้วนสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ดำเนินงานสนามบินจะต้องยื่นคู่มือการดำเนินงานสนามบินที่มีข้อมูลรายละเอียดเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ไว้ในระเบียบนี้ให้อธิบดีจำนวนหนึ่งชุดเมื่ออธิบดีได้รับคู่มือการดำเนินงานสนามบินตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคู่มือการดำเนินงานสนามบินดังกล่าว หากอธิบดีเห็นว่าคู่มือที่ยื่นมานั้นมีข้อมูลรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้อธิบดีให้ความเห็นชอบคู่มือการดำเนินงานสนามบินที่ยื่นมาในกรณีที่อธิบดีเห็นว่าคู่มือที่ยื่นมาตามวรรคหนึ่งนั้นมีข้อมูลรายละเอียดไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้อธิบดีแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ดำเนินงานสนามบินแก้ไขคู่มือการดำเนินงานสนามบินที่ยื่นให้อธิบดีเห็นชอบภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/587864

คำสำคัญ (Tags): #sms port
หมายเลขบันทึก: 624225เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2017 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท