การประยุกต์ OBP จากรายงานรุ่นพี่ นาย รุจิกร วัฒนนิเวศ PTOT 5823015


OCCUPATIONAL BASE PRACTICE (OBP)

จากรายงานของรุ่นพี่ผู้ป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองแตก (ICH LEFT HEMIPARESIS) , DYSPHAGIA , APHASIA เดิมมีอาชีพเป็นหัวหน้าผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพเดิมได้ ดังนั้น นักกิจกรรมบำบัดอาจแนะนำอาชีพ หรือสร้างทักษะให้ผู้ป่วยมีทักษะในการประกอบอาชีพอื่นแทนด้วย แต่สิ่งที่ญาติผู้ป่วยอยากให้ผู้ป่วยทำได้ และสิ่งที่ผู้ป่วยอยากจะทำ คือ อยากอาบน้ำ แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้าเองได้ อยากนั่งทรงท่าได้ สามารถรับประทานอาหารเองได้ และสามารถเคลื่อนตัวเพื่อเข้าห้องน้ำเองได้โดยมีการพยุงจากญาติ จึงขอเลือกเฉพาะความต้องการหลักของผู้ป่วยมาเป็นแนวทางในการเลือกสื่อการรักษาก่อนดังนี้

- สื่อการรักษา : Sense of being = จากรายงานของรุ่นพี่พบว่า การรักษาเน้นการฝึก Activities มากกว่าการฝึกโดยใช้ Occupations เหมือนอย่างหลักการ OBP อาทิ ผู้ป่วยฝึก hand function โดยการใช้มือหยิบลูกเทนนิส จากตะกร้าหนึ่งไปยังอีกตะกร้าหนึ่ง และการใช้มือบีบตัวหนีบขนาดใหญ่หนีบราวไม้ การฝึก sitting balance ตามหลักของ OBP อาจปรับเปลี่ยนเป็นการฝึกติดกระดุมเสื้อตนเอง การฝึกใส่เสื้อตนเอง การฝึกนั่งทำกิจกรรมจัดชุดถวายสังฆทานโดยวางวัตถุ หรือสิ่งของถวายสังฆทานให้ห่างจากถุง หรือถังถวายสังฆทาน เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยได้ฝึกการเคลื่อนไหวของมือ และมี sitting balance ในการทำกิจกรรมได้ยาวนานยิ่งขึ้น การฝึกทำอาหารง่ายๆ เช่น การทำแซนวิซ ฝึกการอาบน้ำ แปรงฟันโดยใช้อุปกรณ์ช่วย รวมทั้งให้คำแนะนำขั้นตอนการอาบน้ำแก่ผู้ป่วยถูกต้องปลอดภัย เป็นต้น สาเหตุที่เลือกเป็นกิจกรรมนี้ เพราะผู้ป่วยจะใส่บาตร และสวดมนต์ทุกวัน ( ข้อมูลจาก Routines of performance patterns ) เป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยมีความรักที่จะทำ และเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยเอง หากผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมที่ให้เหล่านี้ได้ผู้ป่วยจะสามารถประกอบศาสนพิธี หรือเข้าวัดทำบุญได้ นอกจากนี้ยังฝึกการเคลื่อนย้ายตัวของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายตัว เพื่อเข้าห้องน้ำเองได้โดยมีการพยุงจากญาติ และการฝึกรับประทานอาหารโดยใช้อุปกรณ์ช่วยเสริม หลังจากฝึกการกระตุ้นกลืนของผู้ป่วยดีแล้ว เพื่อตอบสนองความสุขทั้งกาย และใจของผู้ป่วยจากการทำกิจกรรมนี้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การรักษาผู้ป่วยนักกิจกรรมบำบัดอาศัยหลัก Therapeutic Use of Self เช่น ใช้ความคิดสร้างสรรค์กิจกรรม และวัสดุที่จำเป็นต่อการพัฒนาทักษะของผู้ป่วย พร้อมกระตุ้นให้ผู้ป่วยฝึกฝน แก้ไขจุดบกพร่องขณะทำกิจกรรม เน้นขั้นตอนที่สำเร็จ เพิ่มความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวผู้ป่วย และจูงใจให้ผู้ป่วยอยากทำกิจกรรมการรักษาที่นักกิจกรรมบำบัดวางไว้ให้จนประสบความสำเร็จ

- Passion to success : อยากอาบน้ำ แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้าเองได้ อยากนั่งทรงท่าได้สามารถรับประทานอาหารเองได้ และสามารถเคลื่อนตัวเพื่อเข้าห้องน้ำเองได้โดยมีการพยุงจากญาติ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ญาติผู้ป่วยอยากให้ผู้ป่วยทำได้ และสิ่งที่ผู้ป่วยอยากจะทำ คือ อยากช่วยเหลือตัวเองทำกิจวัตรประจำวันได้

เนื่องจากผู้ป่วยชื่นชอบการใส่บาตร และการสวดมนต์ก่อนนอนทุกวัน เพราะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความสุขใจ ดังนั้นจึงขอเลือกออกแบบกิจกรรมเพื่อสอดคล้องกับ Passion ของผู้ป่วย ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

- Determination : ผู้ป่วยมีความตั้งใจทำกิจกรรมที่ให้ เนื่องจากอยากกลับไปเป็นเหมือนเดิม ซึ่งเกิดจากความต้องการอยากเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ป่วยเอง ( ข้อมูลจาก Spirituality of client factor )

กระบวนการ

-Achievement : บำบัดผู้ป่วยจนมีความสามารถทำกิจกรรมที่ตนเอง Passion ได้ รวมถึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยที่อยากช่วยเหลือทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ด้วยตนเองได้

  • Happiness : มาจากการที่ผู้ป่วยสามารถฝึกกิจกรรมในชีวิตประจำวันดังกล่าวข้างต้นได้ จนสามารถกลับไปทำกิจกรรมที่ตนรักได้ด้วยตนเอง อย่างการเข้าวัด หรือประกอบศาสนพิธีได้ บรรลุถึงความสุขของผู้ป่วย รวมถึงความต้องการของญาติของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยอยากที่จะเข้าวัด หรือประกอบศาสนพิธีต่างๆ ได้ในทุกๆ วัน อย่างมีความสุข และจิตใจสงบ
  • Creation : หากผู้ป่วยสามารถอาบน้ำ แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้าเองได้ รวมทั้งมี sitting balance และ hand function ที่ดี จนสามารถเข้าวัด หรือพร้อมประกอบศาสนพิธีได้ด้วยตนเอง จะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถสร้างบุญกุศล และความดีงามแก่พุทธศาสนาได้ นอกจากนี้หากผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ตนต้องการได้จะช่วยให้ญาติของผู้ป่วยลดภาระในการดูแลผู้ป่วยในกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ญาติของผู้ป่วยมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยเองก็มีความสุขจากการที่สามารถช่วยเหลือตนเองทำกิจกรรมกิจวัตรประจำวันดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น เห็นคุณค่าในชีวิตตนเองมากขึ้นว่าตนเองสามารถทำกิจกรรรมนั้นๆ ได้สำเร็จ
  • Successful aging ไปสู่ Through end of life (วาระสุดท้ายการตายอย่างมีความสุข) :

ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมช่วยเหลือตนเองได้เบื้องต้น ในที่นี้ยกตัวอย่างกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่สอดคล้องกับความต้องการ และความรักในการทำกิจกรรมนั้นๆ ของผู้ป่วย อย่างการใส่บาตร สวดมนต์ เข้าวัด หรือประกอบศาสนพิธีต่างๆ ทางพุทธศาสนา ถือเป็นการบรรลุเป้าหมายของผู้ป่วย หากผู้ป่วยสามารถแปรงฟัน อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าเองได้ สามารถนั่งทรงท่าได้ยาวนานมากขึ้น นั่งรับประทานอาหารเองได้ หรือสามารถสามารถเคลื่อนตัวเพื่อเข้าห้องน้ำเองได้โดยมีการพยุงจากญาติ จะทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อประกอบกิจกรรมที่ตนเองรัก และอยากที่จะทำในทุกๆ วัน ก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตลาจากโลกนี้ไป เช่นทำให้ผู้ป่วยได้เข้าวัด ประกอบศาสนพิธี ทำบุญกุศล สร้างความดีงามไว้แก่ตนเอง และพระพุทธศาสนา เป็นตัวอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชน เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และพุทธศาสนา รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าแก่โลก ทำให้ผู้ป่วยลาจากโลกนี้ไปด้วยความสุข ความสงบ

จัดทำโดย :
นาย รุจิกร วัฒนนิเวศ เลขที่ 15 5823015 PTOT

คำสำคัญ (Tags): #OBP
หมายเลขบันทึก: 624216เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท