จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๘๙ : อภิชาตศิษย์ (๑๔) เครียด... ขอเล่าหน่อย


จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๘๙ : อภิชาตศิษย์ (๑๔) เครียด... ขอเล่าหน่อย

นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๔ รายวิชาสร้างเสริมสุขภาพ ได้รับมอบหมายให้ค้นหาปัญหาสุขภาวะในชุมชนที่สนใจเพื่อทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพมานำเสนอ ระยะเวลาประมาณ ๒ สัปดาห์

ผลการสำรวจพบว่า "ความเครียด" เป็นปัญหาที่มีความชุกในกลุ่มนักศึกษาแพทย์ทั้งระดับพรีคลินิกและชั้นคลินิก และเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไปในทุกๆคณะ ทุกๆมหาวิทยาลัย ผลการสำรวจนำร่องในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็เช่นเดียวกัน และเมื่อสำรวจถึงการคลายเครียดหรือการหาคำปรึกษา ก็พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ชอบที่จะเล่าให้ใครฟัง บางส่วนอยากจะเล่าก็พบว่าตอนนั้นเพื่อนไม่ว่าง หรือจัดเวลาไม่ตรงกันเนื่องจากภาระงาน และจังหวะชีวิตที่ไม่ตรงกัน ความเครียดนั้นถ้าไม่จัดการให้ดี จะส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทั้งทางกายและทางจิตใจ อันเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ จึงสมควรได้รับการดูแลแก้ไข

โครงการ "เครียด... ขอเล่าหน่อย"

เพื่อเป็นการแก้ป้ญหาให้ตรงจุดกับบริบทที่ได้สำรวจมา ทางกลุ่มนักศึกษาจึงได้ทำโครงการ "เครียด... ขอเล่าหน่อย" เป็นโครงการที่จะเปิดช่องทางให้นักศึกษาได้ระบาย และได้รับการเยียวยา และสอดคล้องกับจังหวะชีวิตของการเป็นนักศึกษาแพทย์

ทางกลุ่มได้ตั้ง pigeon-hole board "บอร์ดคุณนกฮูก" ขึ้นที่หอพักนักศึกษา ที่ใครก็ได้สามารถจะเขียนระบายความเครียดของตนเองในแบบ anonymous (ไม่แสดงตัว) และเสียบไว้ตามช่องต่างๆในบอร์ดคุณนกฮูกนี้ ซึ่งก็จะเป็นทั้งเรื่องราว และคะแนนความรุนแรงของความเครียด นักศึกษาที่เดินผ่านไปมาในหอพัก สามารถหยิบโน็ตจากบอร์ดคุณนกฮูกมาอ่าน และเขียนตอบไปได้เลย อาจจะเป็นการแสดงความเห็นใจ เสนอทางออก หรือการเยียวยาใดๆ ในแบบ informal

เจ้าของบอร์ดจะมาสกรีน
@ โน็ตไหนที่ไม่มีคนตอบ/อ่าน
@ โน็ตไหนที่มีเกรียนมาตอบไม่ดี
@ update โน็ต status
@ สกรีนในกรณีที่มีการต้องการความช่วยเหลือที่มากกว่านี้

ผลตอบรับดีมาก ทั้งคนเขียนปัญหาระบาย และคนมาช่วยเติมเต็มแก้ไข บางคนที่อาจจะมีปัญหามาก่อน ปรากฎว่าตัวเองก็อาจจะกลายเป็นคนแก้ปัญหาให้คนอื่นๆ ไปๆมาๆความเครียดของตนเองก็ผ่อนคลายไปด้วย เท่าที่ตั้งบอร์ดมาสอวงสัปดาห์กว่าๆ ยังไม่เจอเกรียนมาทำวงเสียบรรยากาศ แต่ที่คิดไม่ถึงก็คือ มีรุ่นพี่ชั้นปีอื่นๆมาอ่านและมาเขียนด้วย

จุดแข็ง
@ anonymous gives safe-zone ในการเล่า คนเล่าก็จะยังคง censor บางส่วนตามวิจารณญาณ แต่เพิ่มพื้นที่ปลอดภัย
@ เป็นการฝึก counseling แบบ informal
@ เป็นการฝึกสกรีนของเจ้าของโครงการ ว่าต้องแก้ไขปัญหา จัดการอย่างไร
@ ความเป็น informal ทำให้เกิดความผ่อนคลายลงไปในระดับหนึ่ง

ข้อที่พิจารณา
@ ไม่เหมาะสำหรับระบบเปิดสาธารณะ ควรเป็นในวงปิดที่รู้จักกัน
@ early detect and intervene ในกรณีพิเศษ (ยังไม่เคยเจอ)

แต่ที่อาจารย์ได้ก็คือ พบว่านักศึกษาสามารถทำออกมาเป็นรูปธรรม ลงมือทำอะไรบางอย่างที่ในอนาคตจะต้องได้ใช้อย่างแน่นอน และอาจจะเป็นปัญหาที่หนักขึ้น จริงจังมากขึ้น แต่ด้วยหัวใจที่ต้องการบรรเทาทุกข์ของผู้อื่นเป็นสำคัญ

Love it, Love it, Love it
You Make Me Proud!

ปล. อาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.แพทย์หญิงเพ็นนี สิงหะ และอาจารย์นายแพทย์วีระชัย สมัย

ในภาพอาจจะมี 1 คน, หน้าจอ

หมายเลขบันทึก: 624209เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"บอร์ดคุณนกฮูก" น่าจะนำมาปรับใช้ใช้ลดความเรียดของพยาบาลในตึกได้นะคะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท