New (practical) Knowledge ! (๒)


คุณครูผู้สังเกตการสอนสะท้อนว่า นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้มาก ตลอดทั้ง ๙๐ นาที มีการพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องสำนวนต่างๆ ตลอดเวลา

เนื่องจากช่วงบ่ายของวันที่ ๑๗ มกราคม ตรงกับวันที่ดิฉันมีตารางนัดคุยแผนการจัดการการเรียนรู้กับคณะครูหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษา ชั้น ๕ พอดี คุณครูปุ๊ก – จินตนา กฤตยากรนุพงศ์ คุณครูนัท – นันทกานต์ อัศวตั้งตระกูลดี คุณครูเกมส์ – สาธิตา รามแก้ว และคุณครูหมิว - รัตนวดี พังแสนสุข จึงถือโอกาสมาตั้งวงสะท้อนหลังสอน (post teaching) กันที่ห้องประชุม เพื่อให้อาจารย์ได้มีโอกาสเก็บข้อมูลวิจัยไปด้วยในตัว


แผนการเรียนรู้ครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง "สำนวนไทย" ให้กับผู้เรียน เป็นการเรียนรู้ครั้งที่ ๒ ของภาคเรียนฉันทะ ห้องที่สอนแผนนี้จบลงไปแล้วคือห้อง ๕/๔ ที่ คุณครูปุ๊ก-จินตนา เป็นผู้สอน ส่วนคุณครูท่านอื่นๆ เป็นผู้สังเกตการสอน


แผนการเรียนรู้เริ่มจากที่มาที่ไปของ "สำนวนไทย" ว่าเกิดขึ้นจากสภาพสังคมของคนไทยสมัยก่อน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสติปัญญาของคนในสังคม และความสามารถในการสังเกตธรรมชาติจนกระทั่งเกิดเป็นการสั่งสมความรู้ที่กลายมาเป็นภูมิปัญญาของสังคม ที่แสดงออกมาในรูปของภาษาที่มีความงดงามสละสลวย มีท่วงทำนองที่ฟังไพเราะคล้องจองกัน







ไก่ หมู หมา กา เป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วไป


เมื่อนำมาเรียงคำเป็น หมู หมา กา ไก่ ก็จะเกิดเป็นชุดคำที่มีเสียงไพเราะ ที่กลายมาเป็นสำนวนที่แสดงความหมายว่า เรื่องทั่วๆ ไป นักเรียนจะต้องช่วยกันให้เหตุผลว่า เหตุใดจึงต้องเรียงเสียงคำเช่นนี้



จากนั้นจึงเข้าสู่คำว่า "ไก่" ในสำนวนไทย



ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง




ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่



คุณครูผู้สังเกตการสอนสะท้อนว่า นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้มาก ตลอดทั้ง ๙๐ นาที มีการพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องสำนวนต่างๆ ตลอดเวลา



แผนจัดการการเรียนรู้ของวันนี้




แบบบันทึกการเรียนการสอน



คุณครูณัฐ - ณัฐรา อยู่สนิท (คุณครูหน่วยวิชา ESL) มาร่วมเรียนรู้วิธีการสร้างแผนการเรียนรู้ และช่วยเป็นล่ามแปล




คุณครูปราง - ปรางอุษา ตันติอนันทกุล (คุณครูหัวหน้าหน่วยวิชา ESL) มาช่วยอธิบายวิธีบันทึกแบบสังเกตการสอน




อาจารย์ ASADA และอาจารย์ KAWAMURA ให้ความสนใจในแบบบันทึกการสังเกตการสอนเป็นอย่างยิ่ง

อาจารย์อุทานคำว่า "สุโก้ย !!! " เมื่อได้เห็นแบบบันทึกการสังเกต ที่เป็นแนวทางในการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นแบบบันทึก LS ที่ทางโรงเรียนพัฒนาขึ้นมาเอง


อาจารย์ KAWAMURA กล่าวชื่นชมว่า คุณครูมีพลังชีวิต มีความกระตือรือร้น และเต็มไปด้วยความสนใจใฝ่รู้ ที่สำคัญที่สุดคือ ทุกคนมีความสุขและเป็นเจ้าของงานของตนเองอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งกล่าวว่าดิฉันทำหน้าที่ Knowledge Manager ได้ดีมาก





ความเห็น (2)

เป็นบันทึกที่ยอดเยี่ยม ขอเชิญชวนให้ครูเข้ามาอ่าน และสังเกตแบบบันทึก Lesson Study

วิจารณ์


เรียน อาจารย์วิจารณ์ ที่เคารพ


ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณามอบกำลังใจให้กับการทำงานของพวกเราค่ะ ความเห็นของอาจารย์ทำให้น้องๆ ยิ้มแก้มปริกันทุกคนเลยค่ะ


ด้วยความเคารพ

ครูใหม่


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท