ชมดอกเข็ม เก็บถั่วคล้า พร้า ฝักดาบ ยักษ์ อีโต้......


คือความมั่นคงทางอาหาร ของที่นี่จริงๆ ครับ สำหรับบ้านตัวอย่างของ"พี่ดอกเข็ม"กับ"พี่ประนอม" เมื่อมีโอกาสได้ไปเยีียมชมพื้นที่การเกษตรที่แทรกอยู่บนพื้นที่ ที่มีข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ แต่ที่นี่สามารถแก้ไขปัญหาและพยายามอยู่ร่วมกับป่าให้ได้ ดังนั้นเมื่อมีเรื่องราวดี ดี เกิดขึ้น ผมจึงขอนำมาบันทึกเอาไว้บนสมุดออนไลน์เล่มนี้ เพื่ออนุรักษ์ผักพื้นบ้านและร่วมสืบสานภูมิปัญญาของอาหารการกินของคนพื้นถิ่น และขอขอบคุณ G2K ที่เป็นแหล่งส่งต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปยังกัลยาณมิตรทุกๆ ท่านบนโลกอันกว้างใหญ่ใบนี้ด้วยนะคร้าบ.....

-หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมตามบันทึกนี้ ความมั่นคงทางอาหาร ของฅนลานทอง.. เรียบร้อยแล้ว ผมก็เดินทางไปเยี่ยมชมกิจกรรมการเกษตรของ"พี่ดอกเข็ม"กันต่อครับ ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เข้าร่วมโครงการที่ถูกคัดเลือกให้เป็น"บ้านตัวอย่าง" ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเหมาะๆ เช่นนี้ ผมจึงต้องตามไปเยี่ยมชมกิจกรรมดี ดี ของ"พี่ดอกเข็ม"ว่าแต่วันนี้ผมจะได้ชมพืชผักอะไรแปลกๆ บ้างนั้น พร้อมแล้วตามผมไป "ชมดอกเข็ม เก็บถั่วคล้า พร้า ฝักดาบ ยักษ์ อีโต้"ไปพร้อมๆ กันได้แล้วคร้าบ.....


1.พอเดินทางไปถึงบ้านของ"พี่ดอกเข็ม"ที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนัก ผมก็พบกับบ้านที่น่าอยู่มาก ๆ ครับ และวันนี้ผมก็ได้ทำความรู้จักกับ"พี่ประนอม"แฟนของ"พี่ดอกเข็ม"ที่่ดูมีท่าที"ใจดี"ด้วยล่ะครับ 555 เท่าที่ได้พูดคุยกันผมได้ทราบว่าบ้านหลังนี้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาด้วยฝีมือของ"พี่ประนอม"ที่ออกแบบและจัดวางรูปแบบเอาไว้ด้วยตนเอง บรรยากาศเย็นสบายแบบนี้น่านอนพักผ่อนมาก ๆ เลยล่ะครับ....แต่เรายังพักไม่ได้...ต้องไปชมกิจกรรมการเกษตรของ"พี่ดอกเข็ม"กันก่อนคร้าบ 5555




2.ท่ามกลางพื้นที่ ที่มีลักษณะไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืชผักมากนัก แต่"พี่ดอกเข็ม"กับ"พี่ประนอม"ก็ได้พยายามปรับปรุงพื้นที่ให้เพาะปลูกพืชผักได้ โดยการจัดหาแหล่งน้ำมาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่การเกษตรของตนเอง ดังนั้น"ชะอม/มะเขือเจ้าพระยา/พริกสด"จึงแทงยอด ออกดอก ติดผล มาให้เราได้เก็บในวันนี้ครับ..นอกจากนี้"พี่ดอกเข็ม"ยังปลูก"สะเดา"เอาไว้ด้วย เท่าที่ได้ฟัง"พี่ดอกเข็ม"กับ"พี่ประนอม"เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการปลูก"สะเดา"นั้น ทำให้ผมรู้ว่า"พี่ประนอม"เป็นผู้ทำการ"เสียบยอดสะเดา"ด้วยตนเองครับ...โดยได้รับกิ่งพันธุ์มาจากคนรู้จักกัน ดังนั้น"สะเดา"ของที่นี่จึงมีให้เก็บก่อนคนอื่นๆ ทำให้ครอบครัวของ"พี่ดอกเข็ม"มีรายได้จากการขายสะเดาอย่างน่าพอใจเลยล่ะครับ..เห็นแบบนี้แล้วตัวผมเองก็อดที่จะสนใจวิธีการ"เสียบยอดสะเดาพันธุ์ดี"จากที่นี่มาก ๆ เลยล่ะครับ และงานนี้ก็ได้ทาบทามกิ่งพันธุ์เอาไว้เรียบร้อยแล้วล่ะครับ 5555


3.หลังจากเก็บผักกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว "พี่ดอกเข็ม"ก็พาผมเดินชมกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณบ้าน โดยสภาพพื้นที่ทั่วไปจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่คือ"มันสำปะหลัง"แต่"พี่ดอกเข็ม"ก็แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งครับ และแล้วสายตาของผมก็เจอเข้ากับ"ฝักสีเขียวๆ "ดูแปลกตา ท่ามกลางความเหี่ยวเฉาของต้นไม้ใบหญ้า แต่"ฝักสีเขียว"ที่ผมกำลังเห็นอยู่นี้ดู"เขียวสด"และน่าสนใจมาก ๆเลยล่ะครับ...ดังนั้นผมจึงสอบถาม"พี่ดอกเข็ม"ว่าฝักที่ผมกำลังเห็นอยู่นี้ชื่อว่าอะไรกันหนอ???


4.คำตอบที่ผมได้มาคือฝักนี้เขาเรียกว่า"ฝักคล้า"ครับ ที่สำคัญกินได้ด้วย 5555 เมื่อได้ทราบข้อมูลแบบนี้ผมจึงขอเก็บ"ฝักคล้า"มาเพื่อเก็บเป็นข้อมูลต่อไป ว่าแต่วันนี้ผมจะได้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับ"ฝักคล้า"บ้างนั้น ตามผมไปเก็บข้อมูลกันต่อดีกว่าครับ 5555


5."พี่ดอกเข็ม"เล่าให้ผมฟังว่า"ฝักคล้า"ที่ผมกำลังเห็นอยู่นี้ กินได้ แต่จะนิยมกิน"ฝักอ่อนๆ"ซึ่งจะมีมากในช่วงหน้าฝนครับ สำหรับวิธีการกินนั้น จะนำมา"ต้มจิ้มน้ำพริก"และ"แกงส้ม"ครับ ลักษณะคล้ายๆ กับ"ถั่วทั่วๆไป"ถือว่าเป็นผักพื้นบ้านที่น่าสนใจมาก ๆ เลยล่ะครับ...สำหรับตัวผมเองแล้วเพิ่งเคยเห็น"ฝักคล้า"เป็นครั้งแรก ดังนั้นจึงไม่พลาดที่จะเก็บภาพและข้อมูลมาให้มากที่สุดคร้าบ...ไป ๆ หาข้อมูลต่อกันดีกว่าครับ..


6.นั่งพูดคุยกันไปสักพักหนึ่ง "พี่ประนอม"ก็เดินเข้าไปในบ้าน พร้อมกับ"นำเมล็ดถั่วสีแดง"ออกมาให้ผมดู และเล่าให้ผมฟังว่ามันคือ"ถั่วคล้าเมล็ดแดง"ครับ โดยได้รับเมล็ดมาจาก"จังหวัดเพชรบูรณ์"ตั้งใจว่าจะนำเอามาปลูกเอาไว้เพราะว่าเมล็ดสีสวยดี เผื่อจะได้นำเอาไปใช้ประโบชน์ต่างๆ ได้ ทั้งนี้ก็บอกอีกว่ามันน่าจะเป็นถั่วชนิดเดียวกัน ผักยาว และใหญ่มาก ๆ ครับ มีอะไรที่น่าสนใจอีกแล้วล่ะครับ 5555


7.ต่อจากนี้ก็เป็นการ"ชิม"แล้วล่ะครับ 5555 เท่าที่"พี่เข็ม"ได้บอกกับผมนั้น ได้ข้อมูลว่านำมากินโดยการใช้"ฝักอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก"เพียงเท่านั้นครับ แต่ฝักแก่ๆ แบบนี้ยังไม่มีใครนำมากิน ดังนั้นผมจึงลองใช้มีดผ่า"ฝักถั่วคล้า"ออกมา จึงพบกับเมล็ดอ่อนสีขาว ๆ หากข้อมูลที่"พี่เข็ม"บอกเอาไว้ว่า"ฝักอ่อนกินได้"ดังนั้น"เมล็ดถั่วอ่อนๆ"ก็ต้องกินได้เช่นกัน อันนี้คือความคิดส่วนตัวนะครับ 5555 เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว ผมกับ"พี่ดอกเข็ม"จึงลองชิม"เมล็ดถั่วคล้าสดๆ "ดูครับ สำหรับรสชาตินั้น ก็ออกจืดๆ หวานนิด ๆ มีกลิ่นเหม็นเขียวนิดหน่อย ไม่มีรสขมใดๆ สำหรับตัวผมแล้วคิดว่าน่าจะนำมาจิ้มน้ำพริก หรือ ผัดได้ อารมณ์เหมือนเรากิน"สะตอ"นั่นเองครับ เพียงแต่กลิ่นอาจจะไม่แรงเท่ากับ"สะตอ"ก็เท่านั้นเองครับ น่าสน ๆ อ้อ..หลังจากชิม"เมล็ดถั่วคล้า"มาหลายวันแล้ว ถึงวันนี้"ผมกับพี่ดอกเข็ม"ก็ยังอยู่สบายดี ดังนัั้นก็พอจะสรุปได้ว่า"เมล็ดถั่วคล้า"กินได้ ไม่มีอันตรายใดๆ ครับ 5555


8.หลังจากเก็บภาพและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ"ถั่วคล้า"จากบ้านของ"พี่ดอกเข็ม"มาไว้หลายวัน เมื่อมีเวลาว่างๆ ผมก็เลยสืบค้นข้อมูลจาก Internet ดู ก็พบว่า"ถั่วคล้า"มีชื่อเรียกพื้นถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น ถั่วพล้า ถั่วฝักดาบ ถั่วยักษ์ ถั่วฝักอีโต้ ครับ และข้อมูลเกี่ยวกับ"ถั่วคล้า"สามรถติดตามได้จากที่นี่ครับ ข้อมูลถั่วคล้า จาก ฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพพืช ถั่วอีโต้ OK Nation Blog ซึ่งขอนำมาเก็บอ้างอิงเอาไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้เป็ฐานข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจต่อไปครับ..สำหรับวันนี้ ต้องขอขอบคุณ"พี่ดอกเข็ม+พี่ประนอม"มากๆ เลยนะครับ ที่ให้โอกาสผมมาเยี่ยมชมกิจกรรมการเกษตรและได้รู้จักกับผักพื้นบ้านแปลก ๆ เพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่ง ผมได้บอกกับ"พี่ดอกเข็ม"ว่ารอ"ฝักคล้าแก่"ผมจะมาเก็บเมล็ดพันธุ์เอาไปปลูกที่ไร่ด้วย และหากเข้าช่วงหน้าฝนที่"ฝักคล้ากำลังอ่อนๆ "ผมจะมาเก็บ"ฝักคล้า"ไปทำเมนูเด็ดๆ เพียงแค่ได้คิดถึงเมนูจาก"ถั่วคล้า"ผมก็น้ำลายสอแล้วล่ะคร้าบ 555555

สำรับวันนี้...ยินดี และดีใจ ที่ได้เก็บเรื่องราวของผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่ได้สัมผัสด้วยตนเองมาเขียนเอาไว้บนสมุดออนไลน์เล่มนี้ของผม กับสมุดเล่มนี้"อนุรักษ์ผักพื้นบ้าน"ครับ..

สวัสดีครับ

เพชรน้ำหนึ่ง

15/02/2560

ปล.ขอขอบคุณข้อมูลถั่วคล้าจากที่นี่ ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน และ ข้อมูลถั่วอีดโต้ จากที่นี่ OK Nation Blog

คำสำคัญ (Tags): #ถั่วคล้า#ถั่วฝักดาบ#ถั่วยักษ์#ถั่วอีโต้#พี่ดอกเข็ม#พี่ประนอม#วาสนา ศรีสำโรง#ประนอม ศรีสำโรง#อนรักษ์ผักพื้นบ้าน#บุญส่ง จอมดวง#เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร#ความมั่นคงทางอาหาร#ผักปลอดภัย#ผักพื้นบ้าน#การปลูกชะอม#การปลูกมะเขือ#การปลูกสะเดา#การเสียบยอดสะเดา#กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลานทองน้อย#บ้านลานทองน้อย#ตำบลวังควง#อำเภอพรานกระต่าย#องค์การบริหารส่วนตำบลวังควง#ระบบส่งเสริมการเกษตร#กรมส่งเสริมการเกษตร#กระทรวงเกษตรและสหกรณ์#ทีแอนด์วี#เกษตรตำบล#นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ#T&V#Change to the Best#MRCF#T&V System#เคหกิจเกษตร#ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน#ภูมิปัญญาท้องถิ่น#Biodiversity & Expert Database#OK Nation Blog#ความสุข#เมนูเพื่อสุขภาพ#ผักแปลก#ภัตตาคารบ้านทุ่ง#g2k#ศรีสำโรง#เพชรบูรณ์#thai pbs
หมายเลขบันทึก: 623357เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แบบนี้ใช่ถั่วพร้าไหมน้องเพชร





ว่าด้วย "สะเดา" สำหรับผมแล้วชอบมากๆ ครับ ชอบทานสดๆ ไม่ต้องลวก หรือนึ่ง

เคยมีความทรงจำวัยเด็กมีต้นสะเดาขนาดใหญ่อยู่ลานดินหน้าบ้าน เป็นต้นใหญ่เก็บกินได้ทั้งหมู่บ้าน เพื่อนบ้านมาร่วมเก็บกันบ่อย แต่ในวัยนั้นเราจะหงุดหงิดกับหมากผลเล็กที่สุกและหล่นร่วงเหลื่อนของมันเป็นอย่างมาก หรือกระทั่งบางทีถูกใช้ให้มาเก็บสะเดาใบอ่อนๆ ตอนมืดค่ำ เพื่อไปทานกับแจ่ว อารมณ์นั้นคือเหนื่อยและกลัวผี 55555


-สวัสดีครับพี่ครูมะเดื่อ

-คงไม่ใช่ครับ..

-แต่แบบนี้กินได้ พรานกระต่ายเรียกว่า"ตำแย"

-ผมเพิ่งได้เมล็ดพันธุ์มา น่าจะเป็นชนิดเดียวกันครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ


-สวัสดีครับอาจารย์แผ่นดิน

-ว่าด้วยเรื่อง"สะเดา"นี่ผมก็ชอบเหมือนกันนะครับ

-บ้านเกิดผมมักจะนำสะเดามายำ ซึ่งมันก็ขมอยู่แล้วแต่ก็อร่อยครับ 55

-ขอบคุณที่มาเล่าขานประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็กเพิ่มเติมในบันทึกนี้นะครับ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท