Heatstroke เรื่องสำคัญที่คนยังไม่ทราบอีกมาก


Heatstroke เรื่องสำคัญที่คนยังไม่ทราบอีกมาก

บทต้นเรื่อง(Knowledge Vision)

น้องอ้อมหรือคุณเสาวนิตย์ เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับคำแนะนำชักชวนจากอาจารย์แทนให้มาเจอกันที่ร้านนรสิงห์ น้องอ้อมทำงานที่กรมการแพทย์ทหารบก รับผิดชอบงานในเรื่อง Heatstroke หลังจากที่ได้ฟังเรื่องราวอันชื่นหัวใจของ อ.จูนไปแล้ว (https://www.gotoknow.org/posts/622964) บทสนทนาเรื่องเล่าของ Heatstroke จากน้องอ้อมก็เริ่มขึ้น "มักเป็นในทหารที่ฝึกภาคสนาม" คือ คำบอกเล่าที่สะดุดใจ

ภาพการเรียนรู้(Knowledge Sharing)

การพูดคุยเต็มไปด้วยความสนใจ อ.จูนเปลี่ยนที่นั่งมานั่งข้างๆ พี่กุ้งขยับเข้ามาใกล้ พี่แอปเปิ้ลคอยเก็บภาพให้เป็นระยะๆ ขณะที่ฟังลองเขียนเป็นภาพออกมาด้วย

การพูดคุยยังคงเน้นการฟัง เพราะเมื่อไหร่ที่เราได้ฟัง เมื่อนั้นเราจะมองเห็นเรื่องราวที่ปรากฏ แม้บางครั้งเรื่องที่เราฟังอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคย เมื่อตั้งใจฟัง คิด และพิจารณาตาม ภาพของความเข้าใจก็จะปรากฏ ยิ่งถ้าหลังจากการฟังได้มีการสรุป สะท้อน หรือถอดบทเรียนความเข้าใจในเรื่องที่ฟังก็จะมีมากขึ้น

สิ่งที่ปรากฏในใจ "Heatstroke เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรานี่เอง คงมีคนอีกมากมายที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ยิ่งถ้าเป็นชาวนาหรือคนที่ทำงานหนักกลางแจ้งแดดร้อน ก็มีแนวโน้มที่อาจจะเกิดอาการเหล่านี้ได้--ตั้งเป็นคำถามในใจตนเอง"

กรรมกรคนงาน หรือผู้ใช้แรงงานที่ทำงานกลางแดด และเลิกงานมายังมานอนในเพิงสังกะสี และตกกลางคืนมาไหลตาย สัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร

แต่ที่เราพบบ่อยมักเกิดในทหาร แล้วประชาชนคนทั่วไป พบภาวะการเจ็บป่วยในเรื่องนี้มากน้อยเพียงไร การประเมิน การสังเกตอาการ และการช่วยเหลือควรทำอย่างไร

ระหว่างที่ฟังก็เชื่อมโยงและนึกถึงความเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆ ชื่นชมน้องอ้อมที่คลุกคลีกับเรื่องนี้และช่วยเล่าความเกี่ยวพันและตอบสิ่งที่ค้างคาใจให้เป็นระยะๆ

เกิดปิ๊งแว้ป ขณะที่ฟังว่า "กรมการแพทย์ทหารบกที่เล่นเรื่องนี้อยู่ ต้องขยายผลเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง" แต่ก็อาจเป็นไปได้ การเกิดภาวะการเจ็บป่วยนี้มักเจอในการฝึกทหารที่อยู่ท่ามกลางแดดร้อน ดังนั้นในหน่วยงานนี้จึงให้ความสนใจในเรื่องนี้หรือเปล่า

การคุยกันดำเนินไปจนเกือบจะมืด ได้บทสรุปเห็นภาพความเข้าใจพอสมควร


สิ่งที่ได้เรียนรู้ในตนเอง(Knowledge Asset)

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนั่งฟังเรื่อง Heatstroke นี้มองเห็นโอกาสของการนำเครื่องมือ R2R เข้าไปเชื่อมโยงเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานในเรื่องนี้ บทบาทที่น้องอ้อมทำ คือ ในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดได้นำองค์ความรู้นั้นไปใช้ เช่น โรงพยาบาลค่ายทหารต่างๆ ที่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ หรือค่ายทหารที่มีการฝึกทหารเป็นประจำ การผลักดันให้เครือข่ายที่เกี่ยวข้องนี้ลองค้นหาคำถามและฝึกตั้งคำถามกับตนเองเกี่ยวกับเรื่อง Heatstroke นี้ และพัฒนางานด้วยการใช้วิจัยมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาคำตอบ

อาทิเช่น เรื่อง การคัดกรอง และการค้นหาความเสี่ยง เรื่อง Training ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเรื่อง Heatstroke ตลอดจนทักษะในการประเมินอาการได้ก่อนเกิดอาการ "สัญญาณเตือน" (Warning signs) เป็นต้น

สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นและเรียนรู้ไปกับน้องอ้อม คือ กระบวนการที่น้องอ้อมทำนั้น เป็นการนำเครื่องมือ KM มาใช้ได้อย่างชัดเจนเป็ "การจัดการความรู้เรื่อง Heatstroke"


คำสำคัญ (Tags): #Heatstroke#km#r2r
หมายเลขบันทึก: 623021เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่ รพ ศรีฯ ลองให้ทีมงานเข้าไปหาคนหน้างาน เป็นการกระตุ้นและให้มีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัยค่ะ

ปีนี้เราจะลอง pro active ดูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท