"บัณฑูร ล่ำซำ" ผู้นำธนาคารกสิกรไทย


ที่มา : http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=236...

บัณฑูร ล่ำซำ

ทายาทรุ่นที่ 5 ของตระกูลล่ำซำ ที่สามารถนำพาธนาคารกสิกรไทย ยืดหยัดด้านมรสุมทางเศรษฐกิจ เป็นนักบริหารที่มีความเป็นเลิศด้านวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง บัณฑูรจึงถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญของเมืองไทยในการปรับรื้อระบบ หรือการ Re-engineering อันลือลั่น บทบาทของเขาจึงลบคำสบประมาทที่ว่า เขาก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของกสิกรไทยเพราะ ล่ำซำ อย่างเดียว

Re-engineering คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ แล้วนํากระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

บัณฑูรได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้บริหารของธนาคารกสิกรไทย เขาได้เปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของธนาคารกสิกรไทยแบบเดิมๆ และบวกกับความอยากให้องค์กรก้าวหน้าให้ทันโลก จึงได้ใช้แนวคิด Re-engineering ที่แพร่หลายให้สหรัฐอเมริกา จึงทำให้เขานำแนวคิดนี้มาใช้ในองค์กรธนาคารกสิกรไทยจากที่บริหารเป็นระบบครอบครัวมาเป็นระบบสากล และดึงบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาใช้กันพัฒนาให้องค์กรนั้นดียิ่งขึ้นไป และนอกจากนั่น บัณฑูรยังสร้างความฮือฮาให้กับธุรกิจการเงินอีกเรื่อง คือ การสร้างตลาดรองตราสารหนี้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดสําหรับการซื้อขายตราสารหนี้ และตลาดแห่งนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่สําคัญขององค์กร

คุณสมบัติที่ประทับใจ

1. บุกบั่น มุ่งมั่น ขยัน และอดทน

2. มีวิสัยทัศน์ คมลึก และกว้างไกล

3. กล้าคิด กล้าทำ

4. ยึดถือบุคลากรเป็นหลัก

5. บริหารด้วยคุณธรรม ด้วยความสุขุม มีสติสัมปะชัญญะ ไม่ใช้อารมณ์ และเสียสละเพื่อสังคม

ดังนั้นธนาคารกสิกรไทย จึงมุ่งมั่นในการเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่แข็งแกร่งสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ ด้วยการบริการด้านการเงินที่หลากหลายและครบถ้วนในคุณภาพมาตรฐานสากล โดยผสมผสานการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้บรรลุผลที่ดีและเป็นธรรมต่อ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และสังคม

ที่มา : http://www.dla.go.th/work/kpinow/7ebook/pdf/2554/B...

http://www.thaidisplay.com/content-25.html

ธนาวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์ (2554). บัณฑูร ล่ำซำ : กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ เคล็ดลับ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป

คำสำคัญ (Tags): #ธนาคารกสิกร
หมายเลขบันทึก: 623014เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท