"ความยั่งยืน" กับ "การอดอาหาร"


นักฟิสิกส์พบความจริงของสรรพสิ่งในธรรมชาติว่า สิ่งใดๆ จะตั้งอยู่ได้นานก็ต่อเมื่ออยู่ในภาวะ "สมดุล" พื้นฐานของทุกสมดุลคือ "สมดุลพลังงาน" และพบด้วยว่าธรรมชาติของระบบจะตั้งอยู่ในระบบสมดุลที่มีพลังงานต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้้


ระบบสมดุลพลังานต่ำที่สุด จะมีอุณหภูมิที่ศูนย์องสาสัมบูรณ์ (-273 องศาเคลวิล) สิ่งนั้นจะไม่เคลื่อนไหว ในรูปด้านบน ระบบอุดมคตินั้นแทนด้วยสัญลักษณ์ "จุดดำ"

ควอนตัมฟิสิกส์ บอกว่า ระบบจะ "ตั้งอยู่" เป็นชั้น ๆ ไม่ต่อเนื่อง (วิทยาศาสตร์ใช้คำว่า ระดับพลังานที่เสถียร) เปรียบเหมือนวงกลมขนาดต่าง ๆ หากระะบบมีพลังงานมากขึ้น ระบบก็จะอยู่ในสมดุลพลังงานที่มากขึ้น แทนด้วยสัญลักษณะวงกลมขนาดใหญ่ขึ้น ดังรูป

ระบบที่มีสมดุลพลังงาน มักจะมีการเวียนวนกลับมาที่เดิมเสมอ ไม่หายไป สิ่งที่ใช้ไปเอากลับมาใช้ใหม่ได้หรือรีไซเคิล (Recycle) สิ่งที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (Reused) สิ่งที่หายไปมีอันใหม่มาทดแทน พลังงานคงที่ (Reproduce) และการกระทำที่มุ่งทำให้ระบบอยู่ในสมดุลเราเรียกว่า "การอนุรักษ์" (Conservation) ทั้งหมดนี้แทนด้วยสัญลักษณ์ "วงกลมวน" ดังรูป ระบบที่มีลักษณะดังนี้ เรียกได้ว่ามี "ความยั่งยืน" (sustain)

ปี 2016 ศาสตราจารย์ โยชิโนริ โอสุมิ (Yoshinori Ohsumi) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ จากผลงานการค้นพบกระบวนการการกลืนกินตนเอง หรือ ออโทพากี้ (Autophagy)ในปี 1990 (อ่านข่าวที่นี่หรือต้นฉบับที่นี่) เขาสามารถอธิบายได้ว่าเซลล์ในร่างกายของเราสามารถกลืนกินเซล์ที่เสียหายของตนเองได้อย่างไร กระบวนการนั้นทำให้เกิดการซ่อมแซมเซล์ที่เสียหายในร่างกาย เป็นเหมือนกันการรีไซเคิลเซล์ โดยเซล์จะสร้างเนื้อเยื้อเข้าไปหุ่มบางส่วนของเซล์ก่อนนำส่งไปยังส่วนรีไซเคิลที่เรียกว่า "ไลโซโซม"(lysosome) วิธีการแยกเซล์กลืนกินตนเองที่ชาญฉลาดของเขา ทำให้การวิจัยที่เกี่ยวกับซึ่งค้นพบออโทพากี้ตั้งแต่ปี 1960 ขยายอย่างก้าวกระโดด เป็นจุดเริ่มต้นขององค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น พาคิงสัน มะเร็ง ฯลฯ และโดยเฉพาะเป็นองค์ความรู้สำคัญเกี่ยวกับการชะลอความแก่ได้

ที่มา manager.co.th

มีการค้นคว้าต่อเนื่องจำนวนมากเพื่อต่อยอดผลงานของศาสตราจารย์โยชิโนริ ที่เป็นที่น่าสนใจมากที่สุดคือ การเพิ่มจำนวนเซล์กลืนกินตนเองหรือการเร่งกระบวนการออโทพากี้ในร่างกายให้เกิดขึ้นมาก ๆ (จะได้ไม่แก่) บทความที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ fitness.mercola.com (อ่านที่นี่) รายงานว่า มีวิธีเพิ่มจำนวนออโทพากี้ ๓ วิธี ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการอดอาหาร

วิธีการที่ผมสนใจคือการอดมื้ออาหาร (intermittent fasting) วิธีการที่แนะนำในรายงานคือ ให้อดอาหารทุกวัน ไม่จำเป็นว่าจะอดอาหารเช้าหรือเย็น แต่ให้รับประทานอาหารอยู่ในช่วงเวลา ๘ ชั่วโมงของวัน ให้ร่างกายอดอาหาร ๑๖ ชั่วโมงต่อวัน เช่น

  • อดอาหารเช้า เช่น อาจจะกินข้าวตอน ๑๑.๐๐ น. และกินอีกครั้งภายใน ๑๙.๐๐ น.
  • การอดอาหารเย็น เช่น รับประทานอาหารเช้าตอน ๘.๐๐ น. และทานเที่ยงไม่เกิน ๑๖.๐๐ น. รายงานบอกว่า อาจได้ผลดีกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ในบางคน
  • ฯลฯ

ผมเชื่อมโยงกับ การถือศีล ๘ ที่ห้ามไม่ให้รับประทานอาหารเย็น ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา แม้ว่า เหตุผลในการปัญญัติศีลสิกขาบทดังกล่าว จะไม่ได้เกี่ยวกับการชะลอความแก่ แต่ที่ทรงห้ามอาจไม่ใช่เพราะเพียงแค่ไม่ให้กามกำเริบหรือไม่ให้รบกวนชาวบ้านเท่านั้น เป็นแน่ ...

สรุป "ความยั่งยืน" กับการ "อดอาหาร" เกี่ยวกันไหม ? ... ผมว่าเกี่ยวกันครับ ไม่มากก็ไม่น้อย....

ผมมีแรงบันดาลใจที่จะอดอาหารเย็นสักระยะหนึ่ง ไม่รู้ว่าจะทำได้กี่วัน แต่ตั้งใจว่า จะลดน้ำหนักไปให้ได้สัก ๗๐ กิโลกรัมให้ได้ ... ขอประกาศไว้ตรงนี้ เพื่อจะให้เป็นข้อผูกมัดใจตนเอง ให้ละอายท่านผู้อ่าน หากการลั่นวาจาในครั้งนี้ทำไม่ได้


หมายเลขบันทึก: 623019เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบ.. ชีวิตเริ่มซับซ้อนขึ้นแล้วค่ะ

วันนี้ขอ "ปลงอาบัติ" เรื่องการอดอาหารครับ สรุปคืออดลดอาหารลงไปได้ประมาณ ๗๓ กิโลกรัมจาก ๗๘ กิโลกรัม สัปดาห์นี้มาพักผ่อนต่างจังหวัดกับครอบครัว จึงผ่อนตัวเองกินเต็มที่... สัปดาห์หน้า ไปเริ่มว่ากันใหม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท